โรคกล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคกล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

26.09
8614
0

โรคกล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) เกิดจากการติดเชื้อในกล้ามเนื้อโดยมีการติดเชื้อหลายประเภทที่แตกต่างกันจึงทำให้เกิดลักษณะอาการบาดเจ็บและการใช้ยารักษารวมไปถึงลักษณะอาการของโรคแพ้ภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกัน

โรคกล้ามเนื้ออักเสบ

โรคกล้ามเนื้ออักเสบ myositis คือกลุ่มอาการที่มีลักษณะทั่วไปคือการติดเชื้อเรื้อรังในกล้ามเนื้อส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนเเรงเเละถูกทำลาย

อาการกล้ามเนื้ออักเสบ

อาการของโรคกล้ามเนื้ออักเสบมีอาการเเตกต่างกันไปตามประเภทของโรคกล้ามเนื้ออักเสบ

โรคกล้ามเนื้ออักเสบแบบเฉียบพลันเเละโรคกล้ามเนื้ออักเสบในเด็ก

นอกจากการอักเสบในกล้ามเนื้อและกล้ามเนื้ออ่อนเเรงเเล้ว โรคกล้ามเนื้ออักเสบเฉียบพลันเเละโรคกกล้ามเนื้ออักเสบในเด็กยังมีอาการดังต่อไปนี้ 

  • การกลือนลำบากหรือมีความลำบากในการกลืนอาหาร
  • มีความลำบากในการพูด
  • เกิดความเจ็บปวดในข้อต่อ
  • เกิดอาการอ่อนเเรงเและอ่อนล้า
  • มีการหายใจเข้าออกที่ช่วงสั้นๆ
  • เกิดอาการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ

ประเภทของกล้ามเนื้ออักเสบ

โรคกล้ามเนื้ออักเสบมีหลายประเภทเเตกต่างกันได้แก่ 

โรคกล้ามเนื้ออักเสบแบบเฉียบพลัน

โรคกล้ามเนื้ออักเสบเฉียบพลัน (PM) เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้น้อยมากซึ่งโรคกล้ามเนื้ออักเสบชนิดนี้มักเกิดขึ้นที่บริเวณกล้ามเนื้อลำตัวเช่นกล้ามเนื้อหลัง สะโพกและคอ 

เมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้อ่อนเเรงอาการที่เกิดขึ้นอาจเกิดขึ้นเป็นวันหรือเกิดขึ้นยาวนานหลายเดือน 

ผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบแบบเฉียบพลันมักเป็นโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง

มีข้อมูลพบว่าในสหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อเฉียบพลันมากกว่า 200,000 ราย

โรคผิวหนังเเละกล้ามเนื้ออักเสบ

โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบ (DM) มักเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อบริเวณแขนเเละขา อย่างไรก็ตามโรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบ (DM) เป็นสาเหตุทำให้เกิดผื่นขึ้นที่ผิวหนังและเกิดปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับผิวหนังด้วยเช่นกัน 

โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบ (DM) เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก โดยในสหรัฐอเมริกาพบผู้ที่มีอาการนี้น้อยกว่า 200,000 ราย 

โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบในเด็ก

โรคผิวหนังเเละกล้ามเนื้ออักเสบในเด็ก (JM) มักเกิดขึ้นในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี อาการที่เกิดขึ้นในเด็กได้แก่อาการกล้ามเนื้ออักเสบแบบเฉียบพลัน (JPM) และโรคผิวหนังเเละกล้ามเนื้ออักเสบ (JDM)

อาการกล้ามเนื้ออักเสบแบบเฉียบพลัน (JPM) ทำให้เกิดการติดเชื้อที่กล้ามเนื้อในขณะที่โรคผิวหนังเเละกล้ามเนื้ออักเสบ (JDM) ทำให้เกิดการติดเชื้อในหลอดเลือด แพทย์ได้วินิจฉัยว่าในแต่ละปีมีเด็กประมาณ 1,000 คนในสหรัฐอเมริกาเป็นโรคผิวหนังเเละกล้ามเนื้ออักเสบในเด็ก (JM) 

โรคกล้ามเนื้ออักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน

โรคกล้ามเนื้ออักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน (IMNM) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งซึ่งเป็นชื่อที่รู้จักกันเป็นส่วนใหญ่นั่นคือ necrotizing autoimmune myopathy อาการของกล้ามเนื้ออักเสบชนิดนี้คล้ายกับโรคกล้ามเนื้ออักเสบแบบเฉียบพลัน (PM) แต่กล้ามเนื้ออักเสบที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันนี้เป็นสาเหตุทำให้เนื้อเยื่อตายหรือทำให้เซลล์กล้ามเนื้อตายได้

การเกิดเนื้อเยื่อตายสามารถนำไปสู่การเกิดกล้ามเนื้ออ่อนเเรงที่ร้ายเเรงได้บนร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง ในบางกรณีที่เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน (IMNM) อาจมีสาเหตุมาจากการใช้ยาเช่นยาลดไขมันกลุ่มสแตติน (Statins)

โรคปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย

โรคปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย (IBM) เกิดจากกล้ามเนื้อที่เสื่อมและอ่อนเเรงลงซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นที่ร่างกายซีกใดซีกหนึ่งหรือมากว่านั้น 

โดยส่วนใหญ่โรคปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย (IBM) มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ในสหรัฐอเมริกาพบว่ามีผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ประมาณ 30,000 รายรวมถึงในทวีปยุโรปด้วย 

 โรคกล้ามเนื้ออักเสบแบบติดเชื้อ

โรคกล้ามเนื้ออักเสบแบบติดเชื้อ (IM) เป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบชนิดหนึ่งที่เกิดจากแบคทีเรีย เชื้อราเเละพยาธิรวมไปถึงการติดเชื้อจากไวรัสร่วมด้วย 

นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าโรคกล้ามเนื้ออักเสบชนิดนี้เกิดขึ้นกับคนที่อยู่ในประเทศเขตร้อนเท่านั้นแต่มีหลักฐานพบว่าโรคนี้สามารถเกิดขึ้นกับผู้ที่อยู่ในประเทศอื่นๆได้เช่นกัน 

สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออักเสบ

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบสาเหตุของกล้ามเนื้ออักเสบที่เเท้จริง ทั้งนี้นักวิจัยเสนอว่าปัจจัยทางด้านพันธุกรรมและสิ่งเเวดล้อมมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้ออักเสบนี้ 

ปัจจัยทางด้านสิ่งเเวดล้อมมีดังต่อไปนี้ 

  • เชื้อไวรัส
  • เชื้อแบคทีเรีย
  • รังสียูวี 
  • การสูบบุหรี่
  • การใช้ยาประเภทหนึ่งติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • การทานอาหารเสริม
  • การสัมผัสกับฝุ่น แก๊สหรือควัน

มีข้อมูลจากงานวิจัยหนึ่งพบว่าเมื่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออักเสบได้หลีกเลี่ยงและพยายามไม่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบพบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและไม่มีอาการของโรคเกิดซ้ำขึ้นอีก

นอกจากนี้ในงานวิจัยเดียวกันนี้ยังพบว่าปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวยังทำให้เกิดอาการเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้ออักเสบชนิดพิเศษอีกด้วย

โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบในเด็กและผู้ใหญ่

นอกจากการติดเชื้อในกล้ามเนื้อและกล้ามเนื้ออ่อนเเรงเเล้วโรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบทั้งในเด็กเเละผู้ใหญ่ยังมีอาการดังต่อไปนี้ 

  • เป็นผื่นสีแดงม่วงนูนที่เรียกว่า Gottron papules บนหลังมือหรือนิ้วมือ 
  • มีอาการบวมรอบดวงตา
  • มีผื่นสีเเดงม่วงขึ้นบางครั้งผื่นนี้มีรูปร่างคล้ายกับดอก heliotrope
  • ที่บริเวณฐานเล็บมีสีเเดง
  • น้ำหนักลดลง
  • เกิดก้อนเเคลเซียมสะสมในใต้ผิวหนัง

ในผู้ป่วยบางรายแพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคตามอายุของผู้ป่วยเพื่อทำการรักษาให้เหมาะสมตามอายุและมีการตรวจโรคมะเร็งด้วย

โรคกล้ามเนื้ออักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน

โรคกล้ามเนื้ออักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน (IMNM) มีลักษณะของอาการคล้ายกับโรคกล้ามเนื้ออักเสบแบบเฉียบพลัน (PM) อย่างไรก็ตามโรคกล้ามเนื้ออักเสบชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้รวดเร็วกว่าและมีอาการรุนเเรงกว่าโรคกล้ามเนื้ออักเสบชนิดอื่น

นอกจากนี้อาการกลืนลำบากยังสามารถเกิดขึ้นในโรคกล้ามเนื้ออักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันด้วยเช่นกัน

โรคปวดกล้ามอักเสบเนื้อทั่วร่างกาย

โรคปวดกล้ามเนื้ออักเสบทั่วร่างกายมีความเเตกต่างจากโรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วไปโดยโรคนี้จะไม่เกิดขึ้นที่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายในเวลาเดียวกัน ผู้ป่วยสามารถสังเกตุอาการกล้ามเนื้ออักเสบได้เฉพาะที่เเขนข้างใดข้างหนึ่งหรือขาข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น

โรคปวดกล้ามเนื้ออักเสบทั่วร่างกายเกิดขึ้นได้รวดเร็วกว่าโรคกล้ามเนื้ออักเสบชนิดอื่นๆโดยส่วนใหญ่มักมีอาการกล้ามเนื้อลีบหรือกล้ามเนื้อฝ่อซึ่งเป็นอาการกล้ามเนื้ออักเสบที่รุนเเรงกว่าโรคกล้ามเนื้ออักเสบชนิดอื่น

อาการของโรคปวดกล้ามเนื้ออักเสบทั่วร่างกายได้แก่

  • มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืน
  • ระบบการตอบสนองต่อสิ่งเร้ามีประสิทธิภาพลดลง
  • เกิดความเสียหายที่ระบบประสาท

โรคกล้ามเนื้ออักเสบแบบติดเชื้อ

นอกจากอาการกล้ามเนื้อติดเชื้อและกล้ามเนื้ออ่อนเเรงเเล้วโรคกล้ามเนื้ออักเสบแบบติดเชื้อยังมีอาการดังต่อไปนี้

การรักษากล้ามเนื้ออักเสบ

การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนเเรงโดยส่วนใหญ่เเล้วมักใช้ยารักษาตามอาการที่เกิดขึ้นและประเภทของโรคกล้ามเนื้ออักเสบที่แตกต่างกันตามที่แพทย์ได้วินิจฉัย

การใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์และยากดระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

โดยทั่วไปส่วนใหญ่การรักษาโรคกล้ามเนื้ออักเสบมักใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์และยากดระบบภูมิคุ้มกันรักษา โดยเเพทย์จะสั่งยาสองชนิดนี้เพื่อใช้รักษาร่วมกัน 

ยากลุ่มยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่ใช้สำหรับการรักษาโรคกล้ามเนื้ออักเสบได้แก่ ยาเพรดนิโซโลน (prednisolone) และยาเดกซาเมทาโซน (Dexamethasone)

ยาประเภทกดภูมิคุ้มกันส่วนใหญ่ที่นิยมใช้ได้แก่ เมทโธเทร็กเซต (Methotrexate) ยาอะซาไธโอพรีน (Azathioprine ) และยา mycophenolate mofetil

นอกจากนี้ยาชีววัตถุอย่างเช่น ริทูซิแมบ (Rituximab) เป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน

การรักษาโรคกล้ามเนื้ออักเสบทั้งร่างกาย

โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วทั้งร่างกาย (IBM) มักต่อต้านการรักษาด้วยยากลุ่มยาคอร์ติโคสเตียรอยด์และยากดภูมิคุ้มกันของร่างกายดังนั้นการรักษาด้วยสารชีวภาพ alemtuzumab อาจได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

สารชีวภาพ alemtuzumab คือแอนตี้บอดี้ที่ชะลอกระบวนการเกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วทั้งร่างกาย (IBM)และทำให้กล้ามเนื้อเเข็งเเรงมากขึ้น

การรักษาโรคกล้ามเนื้ออักเสบแบบติดเชื้อ

การรักษาโรคกล้ามเนื้ออักเสบแบบติดเชื้อมักรักษาตามความรุนเเรงของอาการที่เกิดขึ้น โดยผู้ป่วยบางรายอาจตอบสนองได้ดีกับยาปฏิชีวนะคลอกซาซิลลิน (cloxacillin) เป็นต้น ในขณะที่ผู้ป่วยรายอื่นอาจจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะที่ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำและการรักษาขั้นที่สองเช่นการดูดฝีที่เกิดขึ้นบริเวณที่ติดเชื้อออก

หากผู้ป่วยด้วยโรคนี้ยังไม่เข้ารับการรักษาอาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย

การเลือกในการรักษาอื่นๆ

เพื่อป้องกันอาการกล้ามเนื้ออ่อนเเรงและรักษากล้ามเนื้อให้เเข็งเเรงเเละมีความยืดหยุ่นอยู่เสมอ แพทย์มักอนะนำให้ออกกำลังกายด้วยโยคะ การยืดกล้ามเนื้อและทำกายภาพบำบัดรวมถึงการทำกิจกรรมบำบัดเป็นต้น และควรระวังไม่ให้เป็นกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *