โรคลมหลับ (Narcolepsy) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคลมหลับ (Narcolepsy) : อาการ สาเหตุ การรักษา

19.02
972
0

โรคลมหลับ (Narcolepsy) คือโรคเรื้อรังทางระบบประสาทชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุให้นอนหลับไม่สนิทและทำให้ง่วงมากในช่วงกลางวัน

โรคนี้ยังทำให้การนอนในช่วงหลับลึกแบบลูกตากรอกตัวอย่างรวดเร็ว (rapid eye movement : REM) ผิดปกติและทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมถึงทำให้เกิดโรคอื่นๆตามมาได้

ความรุนแรงของโรคลมหลับนั้นมีตั้งแต่ปานกลางถึงรุนแรงมาก ในเคสที่รุนแรง มันอาจส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางสังคม การเรียน การทำงาน และสุขภาพโดยรวมและความเป็นอยู่ของผู้ป่วย ผู้ที่เป็นโรคลมหลับอาจผล็อยหลับไปในเวลาใดก็ได้ อย่างเช่น ในขณะพูดหรือขับรถ

โรคลมหลับคืออะไร

โรคลมหลับเป็นความผิดปกติของการนอนหลับที่ทำให้ง่วงนอนในเวลากลางวันมากขึ้น

ในวงจรการหลับโดยปกติแล้ว เราจะเริ่มจากการหลับในช่วงหลับไม่ลึกก่อน จากนั้นเราก็จะหลับลึกขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งนั่นเป็นช่วงที่เรียกว่าช่วงหลับลึก เราจะใช้ 60-90 นาที จนกว่าจะเข้าสู่ช่วงหลับลึก

สำหรับผู้ที่เป็นโรคลมหลับ ผู้ป่วยจะเข้าสู่ช่วงหลับลึกภายใน 15 นาทีในวงจรการนอนหลับและเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ขณะตื่นอยู่ ซึ่งช่วงการหลับลึกนี้ เป็นช่วงที่เรามีความฝันเสมือนจริงและกล้ามเนื้อต่าง ๆ หยุดทำงาน

อาการของโรคลมหลับ

อาการเบื้องต้นของโรคลมหลับคืออาการง่วงอย่างมากในช่วงเวลากลางวัน แต่มันก็ยังรวมไปถึง โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการหลอนขณะหลับหรือผีอำ(Sleep Paralysis)

อีกทั้งยังรบกวนการนอนหลับในตอนกลางคืนอีกด้วย อย่างไรก็ตามผู้ที่เป็นโรคลมหลับใช้เวลาในการนอนหลับเท่ากับผู้ที่ไม่เป็นโรคนี้

ง่วงมากเกินปกติในตอนกลางวัน

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะง่วงอย่างต่อเนื่องและหลับไปโดยไม่รู้ตัวระหว่างวัน ซึ่งส่วนมากนั้นจะเป็นในเวลาที่ไม่เหมาะไม่ควร

ผู้ป่วยอาจพบอาการเหล่านี้:

  • ภาวะสมองล้า

  • ไม่มีสมาธิ

  • พลังงานลดลง

  • ความจำไม่ดี

  • หมดแรง อ่อนเพลีย

  • ความรู้สึกหดหู่

อาการหลอนขณะหลับ

อาการหลอนขณะหลับนั้นเหมือนจริง เป็นความรู้สึกหวาดกลัวที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังจะผล็อยหลับ ซึ่งอาจเป็นอาการที่ผสมกันระหว่างช่วงตื่นและช่วงหลับลึก

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้นคือ การอ่อนแรงของกล้ามเนื้ออย่างกระทันหันบริเวณ ใบหน้า ลำคอ และหัวเข่า ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการไม่มาก เช่น หัวหรือคอตก แต่บางคนอาจล้มลงไปกับพื้นได้

การอ่อนแรงที่เป็นเพียงอาการชั่วคราว ประมาณ 2 นาทีหรือน้อยกว่านั้น แต่อาจทำให้ล้มหรือเกิดอุบัติเหตุได้

สิ่งกระตุ้นสามารถเป็น ความรู้สึกที่รุนแรงต่าง ๆ เช่น ตกใจ หัวเราะ หรือโกรธ

ผีอำ

อาการนี้เป็นอาการที่ไม่สามารถพูดหรือขยับได้ในขณะที่หลับหรือตื่น ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ไม่กี่วินาทีจนถึงหลายนาที หลังจากอาการหายไปแล้วถึงจะสามารถขยับหรือพูดได้

สาเหตุของโรคลมหลับ

สาเหตุของโรคนี้นั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เหมือนว่าจะเป็นสาเหตุการขาด ไฮโปรเครติน หรือ โอเร็กซิน ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้ตื่น

ในบางครั้ง โรคลมหลับสามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม จากข้อมูลของจากศูนย์โรคผิดปกติทางพันธุกรรม ( Genetic and Rare Diseases Information Center )ระบุว่าโรคนี้อาจมีสาเหตุมาจากทั้งพันธุกรรมและปัจจัยทางสภาพแวดล้อม

เราต้องการไฮโปรเครตินเพื่อทำให้สมองของเราตื่น เมื่อไม่มีสารไฮโปรเครติน สมองของเราจะเข้าสู่ช่วงหลับลึกในตอนที่เราควรจะตื่น ผู้ที่เป็นโรคลมหลับ นี่เป็นสาเหตุให้ง่วงมากในช่วงกลางวันและมีปัญหาการนอนหลับในตอนกลางคืน

การบาดเจ็บทางสมองหรือเนื้องอกในสมองอาจทำให้เกิดโรคลมหลับได้เช่นกัน

การรักษาโรคลมหลับ

ยังไม่มีการรักษาสำหรับโรคลมหลับ แต่การรักษาด้วยยาและการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตอาจช่วยได้ ซึ่งมีวิธีการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้:

สำหรับการง่วงนอน

วิธีหนึ่งที่จะช่วยจัดการกับโรคลมหลับได้ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผู้ป่วยอาจต้องงีบหลับระหว่างวันประมาณ 15-20 นาที

แพทย์อาจสั่งยากระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางเพื่อป้องกันการง่วงนอน แต่ยังไม่มียาชนิดใดที่สามารถช่วยได้ทั้งหมด

ยาต่าง ๆ มีดังนี้:

  • ยาโมดาฟินิล (modafinil)

  • ยาอาร์โมดาฟินิล (armodafinil)

  • ยาเด๊กส์โตรแอมเฟตามีน (dexamphetamine)

  • ยาเมทิลเฟนิเดต (methylphenidate)

โดยปกติแล้วยาโมดาฟินิลและยาอาร์โมดาฟินิลนำมาใช้ในการรักษาก่อน

ส่วนยาอีกสองชนิดที่เหลือเป็นยาที่เก่ากว่าและมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมใช้ยาในทางที่ผิด อาจทำให้กระวนกระวายและกังวลหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะรวมถึงผลข้างเคียงอื่น ๆ

อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง

สารโซเดียมออกซิเบทได้รับการรับรองจากองค์กรอาหารและยาให้ใช้รักษาอาการง่วงมากในตอนกลางวัน ปัญหาการนอนหลับในตอนกลางคืน และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ยานี้มีผลข้างเคียงน้อยและยังทำปฏิกิริยากับยาอื่นน้อยมาก

ยาต้านซึมเศร้าต่าง ๆ ก็สามารถช่วยจัดการกับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้เช่นกัน แต่พวกมันมีผลข้างเคียงที่อันตราย เช่น ความดันโลหิตสูง และ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

แพทย์อาจทำการเปลี่ยนวิธีการรักษาเมื่ออาการของผู้ป่วยเปลี่ยนไป

คุณภาพการใช้ชีวิต

โรคลมหลับสามารถมีผลกระทบต่อชีวิตของผู้ป่วยได้ แพทย์อาจแนะนำวิธีเหล่านี้เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยจัดการกับโรคนี้ได้:

  • การได้รับกำลังใจจากคนรัก
  • การปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต
  • การได้รับความช่วยเหลือในการรับยาต่าง ๆ
  • การศึกษาเกี่ยวกับสารเสพติดและแอลกอฮอล์ว่าสามารถส่งผลกระทบต่อโรคลมหลับได้อย่างไรบ้าง
Narcolepsy

ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่นการใช้เครื่องจักร หรือ ขับรถ จนกว่าการรักษาจะทำให้อาการดีขึ้น

การใช้ชีวิตกับโรคลมหลับ

การปรับการใช้ชีวิตเหล่านี้อาจช่วยได้:

  • งีบหลับระหว่างวันเสมอ

  • ตื่น หลับ เป็นเวลา

  • ทำตามคำแนะนำของแพทย์

  • ออกกำลังกายทุกวัน วันละ 20 นาที แต่ไม่ควรออกกำลังกาย 4-5 ชั่วโมงก่อนนอน

  • หลีกเหลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์หลายชั่วโมงก่อนนอน

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนนอน

  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารหนัก ๆ ก่อนนอน

  • ผ่อนคลายตัวเองก่อนนอน เช่น อาบน้ำก่อนนอน

  • ทำห้องนอนให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะแก่การนอน

  • ขับขี่อย่างระมัดระวัง

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *