สายตาสั้น (Nearsightedness) : อาการ สาเหตุ การรักษา

สายตาสั้น (Nearsightedness) : อาการ สาเหตุ การรักษา

04.11
2702
0

ภาวะสายตาสั้นคืออะไร

อาการสายตาสั้น (Nearsightedness) เกิดจากการหักเหแสงของตาผิดปกติหมายความว่าเกิดการหักแหงเเสงที่ดวงตาผิดปกติหรือมีการหักเหของเเสงที่ไม่ถูกต้องทำให้ตาไม่สามารถโฟกัสแสงที่เข้ามาในดวงตาได้อย่างถูกต้องดังนั้นจึงทำให้เกิดการมองเห็นภาพที่ไม่ชัดหรือมองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลเป้นภาพเบลอ

ภาวะสายตาสั้นเป็นอาการปกติ สถาบันทัศนมาตรศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาได้ประเมินว่าภาวะสายตาสั้นได้เกิดขึ้นกับชาวอเมริกันเกือบ 30% ของประชากร 

ภาวะสายตาสั้นมีหลายประเภท โดยบทความด้านล่างนี้ได้ให้ข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะสายตาสั้น

สายตาสั้นทั่วไป

ภาวะสายตาสั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับดวงตา การสวมแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์สามารถช่วยทำให้คนที่มีสายตาสั้นเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น

สายตาสั้นที่มีค่าสายตาสูง

สายตาสั้นที่มีค่าสายตาสูงเป็นภาวะสายตาสั้นที่รุนเเรง อาการนี้เกิดขึ้นกับวัยรุ่นที่มีอาการสายตาสั้นและมีอาการสายตาสั้นรุนเเรงขึ้นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่หรือมีอายุเพิ่มมากขึ้น

อาการสายตาสั้นที่มีค่าสายตาสูงเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดปัญหาทางสายตาอื่นๆเช่นจอประสาทลอกและโรคต้อหินรวมถึงต้อกระจก

ภาวะตาเสื่อมจากสายตาสั้น

ผู้ที่มีภาวะสายตาเสื่อมจากสายตาสั้นหรือโรคตาเสื่อมและภาวะสายตาสั้นมักมีอาการทางสายตาอื่นๆร่วมด้วย โดยจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับจอประสาทตาเช่น

  • จอประสาทตาลอกเป็นอาการที่ทำให้จอประสาทตาบางลง
  • โรคจุดภาพชัดของจอตาเสื่อมเป็นอาการที่เกิดขึ้นภายในจอประสาทตาที่มีของเสียเกิดขึ้นเเละไม่ทำงานตามปกติ
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับจุด Forster-Fuchs ความผิดปกตินี้เกิดจากแผลที่อยู่บนจอประสาทตาที่สามารถทำให้เกิดจุดบอดได้

นอกจากนี้ภาวะตาเสื่อมที่เกิดจากสายตาสั้นสามารถทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นเนื่องจากการสวมใส่เเว่นหรือคอนเเทคเลนส์ที่ไม่ถูกต้อง

Nearsightedness

ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้น

ภาวะสายตาสั้นเกิดขึ้นเมื่อกระจกตาบนลูกตามีลักษณะยาวเกินไปหรือโค้งเกินไปซึ่งหมายความว่าแสงที่เข้ามาสู่ดวงตาหยุดอยู่ตรงด้านหน้าของจอประสาทตาแทนที่จะตกลงบนจอประสาทตา

จอประสาทตามีหน้าที่เป็นจุดตกกระทบของเเสงที่ทำให้เกิดภาพเเละส่งสัญญาณไปยังสมอง เมื่อแสงตกกระทบลงบนจุดโฟกัสเเสงบนจอประสาทตาผิดปกติจะทำให้มองเห็นเป็นภาพเบลอ

แม้ว่านักวิทยาศาตร์ยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่เเท้จริงของการเกิดภาวะสายตาสั้นได้เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นเช่นโรคทางพันธุกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสายตาสั้นได้ 

ตัวอย่างเช่นในเด็กที่พ่อเเม่มีภาวะสายตาสั้นมีเเนวโน้มเป็นโรคสายตาสั้นได้มากกว่าคนทั่วไปและยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นเมื่อทั้งพ่อเเละเเม่มีอาการสายตาสั้น

ในเด็กที่ทำกิจกรรมกลางเเจ้งน้อยหรือใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการมองจอใกล้ๆอาจมีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะสายตาสั้นได้ 

นอกจากนี้นักวิจัยยังได้เเนะนำว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างความฉลาดที่เพิ่มขึ้นกับภาวะสายตาสั้นซึ่งพวกเขายังไม่ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้

เเม้ว่าโดยปกติภาวะสายตาสั้นจะเกิดขึ้นกับคนในวัยเด็กแต่ภาวะสายตาสั้นสามารถเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ได้เช่นกันเนื่องจากอาการเมื่อยล้าทางสายตาที่เกิดจากการใช้งานสายตามากเกินไปจนทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับกลไกการโฟกัสของสายตา

นอกจากนี้ภาวะสายตาสั้นยังเกี่ยวข้องกับปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นอย่างเช่นโรคเบาหวานหรือการเกิดต้อกระจก

อาการสายตาสั้น

การมองเห็นภาพที่ไม่ชัดเจนเมื่อมองวัตถุในระยะไกลเป็นอาการหลักของภาวะสายตาสั้น นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นเกิดขึ้นได้แก่

  • อาการสายตาเมื่อยล้า
  • อาการปวดหัว
  • การหรี่ตา

หากเริ่มสังเหตุพบอาการเหล่านี้ ผู้ที่มีอาการควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในการวัดสายตา ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถช่วยระบุได้ว่าพวกเขาเป็นผู้ที่มีสายตาสั้นหรือไม่ด้วยการอ่านค่าสายตาที่วัดได้ จากนั้นผู้เชี่ยวชาญในการวัดสายตาจะแนะนำแว่นตาหรือคอนเเทคเลนส์ที่เหมาะสมกับปัญหาสายตาที่เกิดขึ้น  

ถ้าหากตรวจพบว่าเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะสายตาสั้นขั้นรุนเเรง แพทย์อาจเเนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดดวงตา

การพัฒนาภาวะสายตาสั้น

เเม้ว่าโดยปกติภาวะสายตาสั้นไม่ทำให้เกิดปัญหาทางสายตาอื่นๆได้แต่ภาวะสายตาสั้นมีเเนวโน้มที่รุนเเรงขึ้นเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้นซึ่งภาวะนี้เรียกว่าอาการสายตาสั้นจากค่าสายตาสูง

ผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นเนื่องจากค่าสายตาสูงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับสายตาดังต่อไปนี้ 

นอกจากนี้ภาวะสายตาสั้นยังทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นและปัญหาเกี่ยวกับสายตาอื่นๆที่เรียกว่าโรคจอประสาทตาเสื่อมซึ่งเป็นความผิดปกติที่เกิดจากภาวะสายตาสั้นขั้นรุนเเรงที่เกิดขึ้นเนื่องจากจอประสาทตาด้านหลังเกิดความเสียหาย

ภาวะผิดปกติของการหักเหเเสงที่ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการตาบอดได้โดยคิดเป็น 3% จากประชากรทั่วโลก

วิธีหนึ่งที่ผู้ป่วยสามารถทำได้เพื่อชะลอความรุนเเรงของการเกิดภาวะสายตาสั้นคือการเข้ารับการตรวจค่าสายตาจากจักษุแพทย์เป็นประจำ สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคสายตาสั้นได้แก่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือพ่อเเม่เป็นโรคสายตาสั้น การไปพบจักษุเเพทย์สามารถช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ 

วิธีรักษาสายตาสั้น

เมื่อจักษุเเพทย์ได้วินิจฉัยเเละยื่นยันว่าผู้ป่วยมีภาวะสายตาสั้น เนื่องจากมีวิธีการรักษาสายตาสั้นหลายรูปแบบดังนั้นการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสายตาจึงสามารถช่วยทำให้ผู้ป่วยสามารถตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพวกเขาได้

บทความต่อไปนี้เป็นการข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกในการรักษาเเละรายละเอียดอื่นๆเพิ่มเติม

การสวมใส่เเว่นเเละคอนเเทคเลนส์

การใส่เเว่นหรือการใส่คอนเเทคเลนส์เป็นวิธีการรักษาภาวะสายตาสั้นปกติทั่วไป โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดค่าสายตาจะทำการหาเลนส์สายตาที่เหมาะกับผู้ที่ภาวะสายตาสั้น นอกจากนี้ยังจะหากรอบแว่นที่ดหมาะสมสำหรับผู้ที่มีสายตาสั้นอีกด้วย 

คอนเเทคเลนส์เป็นแผ่นที่มีลักษณะใสที่ใช้สวมใสบนตา เช่นเดียวกับการตัดเเว่นสายตาการสวมใสคอนเเทคเลนส์จำเป็นต้องสวมใส่ให้เหมาะสมเช่นกัน

ผู้คนส่วนใหญ่มักไม่คุ้นชินกับการส่วมใส่เเว่นสามารถเปลี่ยนไปเลือกใส่คอนเเทคเลนส์ได้เนื่องจากคอนเเทคเลนส์มีขนาดเล็กเเละสังเกตุเห็นได้ยาก อย่างไรก็ตามควรทำความสะอาดคอนเเทคเลนส์ด้วยน้ำยาล้างคอนเเทคเลนส์เป็นประจำ

คอนแทคเลนส์ชนิดโอเคเลนส์ (Orthokeratology)

ผู้ที่ภาวะสายตาสั้นแบบไม่รุนเเรงสามารถรับการรักษาแบบที่ไม่ต้องผ่าตัดด้วยวิธีการที่เรียกว่าการใส่คอนแทคเลนส์ชนิดโอเคเลนส์หรือการแก้ไขจุดหักเหของเเสง โดยการรักษาด้วยวิธีนี้สามารถทำได้ด้วยการใส่คอนเเทคเลนส์ชนิดเเข็งเพื่อปรับปรุงความโค้งของกระจกตา

โดยการสวมใส่เลนส์ชนิดนี้บนกระจกตาจะทำให้กระจกตาเเบนลงซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเดินของลำเเสงที่เข้ามาสู่ดวงตาได้ โดยคนส่วนใหญ่มักใส่คอนเลนส์ชนิดนี้ตอนกลางคืนใรขณะที่นอนหลับ 

การรักษาด้วยวิธีนี้สามารถช่วยทำให้ผู้ที่ภาวะสายตาสั้นสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้น เเต่อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยวิธีนี้มีความเสี่ยงทำให้เกิดภาวะตาอักเสบได้

การผ่าตัด

มีวิธีการผ่าตัด 2 ประเภทในการรักษาภาวะสายตาสั้นสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการสวมใส่เเว่นและต้องการผลลัพธ์ที่ยาวนานหรือผู้ป่วยที่มีภาวะสายตาสั้นชนิดรุนเเรง

หนึ่งในวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดคือการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ โดยแพทย์จะใช้ลำเเสงที่มีพลังงานสูงผ่าตัดเพื่อปรับปรุงรูปร่างของกระจกตา

การผ่าตัดด้วยเเสงเลเซอร์จะช่วยปรับปรุงการโฟกัสแสงของดวงตาซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยที่มองเห็นภาพที่ไม่ชัดเจนจะสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น 

วิธีการผ่าตัดประเภทนี้ใช้ระยะเวลาประมาณ 10 นาทีต่อดวงตาแต่ละข้าง การผ่าตัดประเภทนี้อาจมีราคาแพงแต่โดยปกติการผ่าตัดประเภทนี้ไม่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บใดๆและการมองเห็นภาพจะกลับมาเป็นปกติภายใน 1 วันหลังจากได้รับการผ่าตัด

อย่างไรก็ตามหลังจากการผ่าตัดอาจจะมีอาการตาเเห้งหรือมองเห็นภาพเบลอเกิดขึ้นซึ่งเป็นอาการปกติ การเข้าพบเเพทย์ตามนัดเป็นประจำหลังจากการผ่าตัดเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อทำให้มั่นใจว่าดวงตาได้รับการรักษาอย่างเป็นปกติ

การผ่าตัดด้วยวิธีอื่นๆได้แก่การผ่าตัดแก้ไขเลนส์ภายในด้วยตาหรือข้างหน้าของดวงตา โดยส่วนใหญ่เเพทย์มักจะเเนะนำวิธีการผ่านตัดประเภทนี้สำหรับรักษาผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นขั้นรุนเเรง 

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *