ตาบอดกลางคืน (์Night Blindness) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ตาบอดกลางคืน (์Night Blindness) : อาการ สาเหตุ การรักษา

27.04
3631
0

ตาบอดกลางคืน หรือตาฟางกลางคืน (Night Blindness) คืออาการมองเห็นไม่ชัดเจนในที่ที่มีแสงน้อย เช่นเวลากลางคืน ภาวะตาบอดกลางคืนตัวมันเองไม่ได้จัดว่าเป็นโรค แต่เป็นผลมาจากโรคเกี่ยวกับดวงตาที่เป็นอยู่

เมื่อเจอแสงสลัวๆตาคนเราจะต้องมีการปรับสายตา ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการมองเห็นในที่มีไฟสลัวสำหรับคนที่มีภาวะตาบอดกลางคืน ซึ่งไม่ใช่การตาบอดแบบมองไม่เห็นอะไรเลย ทำให้เกิดปัญหาในการมองป้ายจราจรขณะขับรถในเวลากลางคืน และอาจต้องใช้เวลานานกว่าคนสายตาปกติในการปรับสายตาจากที่สว่างไปยังที่มืด

ภาวะตาบอดกลางคืนคืออาการที่มาภาวะอื่นอยู่ก่อน ซึ่งอาจมาจากหลายสาเหตุ ในบทความนี้จะอธิบายถึงอาการ สาเหตุและการรักษาภาวะตาบอดกลางคืน

สาเหตุของโรคตาบอดกลางคืน

ตาบอดกลางคืนอาจมีสาเหตุมาจากโรคอื่นๆ ซึ่งสามารถรักษาได้ เช่น:

โรคต้อหิน

โรคต้อหินเป็นกลุ่มโรคที่มีการเสื่อมสภาพของเส้นประสาทตาที่เชื่อมตาสู่สมอง สาเหตุมาจากความดันลูกตาสูง ซึ่งทำให้การมองเห็นแย่ลงและอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร

ต้อกระจก

ต้อกระจกเกิดจากเลนส์แก้วตามีความขุ่นมัว เกิดขึ้นเมื่อโปรตีนในเลนส์มีการเสื่อมสภาพ โดยมากมักเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ความขุ่นมัวของเลนส์จะทำให้การมองเห็นแย่ลง 

สายตาสั้น

คนที่สายตาสั้น หรือที่แพทย์เรียกว่า myopia คือการที่ไม่สามารถมองเห็นวัตถุจากที่ระยะไกลได้ ซึ่งเกิดจากลูกตาที่ยาวเกินไป ทำให้แสงไม่สามารถรวมกันด้านหลังจอเรตินาได้

ภาวะขาดวิตามิน เอ 

วิตามิน เอ คือสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการมองเห็น วิตามินเอจะสร้างโปรตีนที่ไปดูดซับแสงในจอเรตินาและช่วยในเรื่องการทำงานของดวงตา การขาดวิตามินเอจึงส่งผลกระทบรุนแรงต่อการมองเห็น 

โรคจอตามีสารสี (โรคอาร์พี)

เป็นกลุ่มโรคตาที่พบได้ยาก เกิดจากจอเรตินาเสียหาย เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ส่งผลให้มีปัญหาในการมองเห็นในที่มีแสงน้อย

Night Blindness

อาการตาบอดกลางคืน 

ตาบอดกลางคืนคือภาวะหนึ่งของตาที่ทำให้การมองเห็นในที่แสงน้อยด้อยลง

ยกตัวอย่างเช่น ตาบอดกลางคืนอาจทำให้ไม่สามารถมองเห็นดวงดาวในเวลากลางคืน หรือมองไม่เห็นสิ่งกีดขวางในห้องที่มีความมืด

เพื่อเป็นการระบุภาวะตาบอดกลางคืน ทาง American Academy of Ophthalmology ได้แนะนำให้ลองตอบคำถามดังต่อไปนี้ดู:

  • เห็นสิ่งที่อยู่รอบๆบ้านในเวลาที่มีแสงสลัวได้หรือไม่?
  • มีปัญหากับการขับรถในเวลากลางคืนเพิ่มขึ้นหรือไม่?
  • มีความยุ่งยากในการจำหน้าคนในที่มีแสงสลัวหรือไม่?
  • ใช้เวลาในการปรับสายตาจากที่สว่างมายังที่มืดนานกว่าปกติหรือ?
  • หลังจากปิดไฟสายตาต้องใช้เวลาในการปรับเพื่อการมองเห็นในห้องที่มืดนานกว่าปกติหรือไม่?

อาจมีอาการอื่นๆเกิดขึ้นร่วมกับตาบอดกลางคืนได้ ซึ่งอาการต่างๆเหล่านี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค เช่น:

การรักษาโรคตาบอดกลางคืน

การรักษาตาบอดกลางคืนมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่สาเหตุที่ทำให้เกิดตาบอดกลางคืน

การรักษาอาจรวมไปถึงการสวมใส่แว่นเฉพาะเจาะจงหรือคอนแทคเลนส์ที่สามารถช่วยให้การมองเห็นดีขึ้

การสวมแว่นยังสามารถช่วยป้องกันแสงอัลตราไวโอเลตที่อาจทำให้ดวงตาเสียหายในอนาคตได้อีกด้วย

เมื่อพบว่าสาเหตุของตาบอดกลางคืนคือการขาดวิตามินเอ ก็สามารถรักษาได้ด้วยการเพิ่มวิตามินเข้าไปในโภชนาการที่เรารับประทาน แหล่งอาหารที่มีวิตามินเอคือ:

  • ไข่
  • ธัญพืชเสริม
  • นมเสริมวิตามิน
  • ผักและผลไม้ที่มีสีเหลืองและสีส้ม
  • น้ำมันตับปลา
  • ผักใบเขียว ผักสีเข้ม

การผ่าตัดดวงตาอาจมีความจำเป็นในรายที่มีอาการรุนแรง การทำเลสิคก็เป็นการผ่าตัดรูปแบบหนึ่ง โดยการเปลี่ยนรูปทรงของกระจกตาเพื่อทำให้การมองเห็นดีขึ้น หรือการผ่าตัดรูปแบบอื่นที่ทำเพื่อเอาต้อกระจกออกจากดวงตา หรือเพื่อลดความดันลูกตาลงในการรักษาโรคต้อหิน

ในบางรายอาการตาบอดอาจไม่สามารถรักษาได้ โรคจอตามีสารสีเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ ถึงแม้ว่าจะมีอุปกรณ์และการบำบัดที่อาจช่วยทำให้อาการดีขึ้นแล้วก็ตาม

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *