โรคอ้วน (Obesity) : สาเหตุ การรักษา

โรคอ้วน (Obesity) : สาเหตุ การรักษา

01.09
2667
0

โรคอ้วน (Obesity) คือสภาวะการสะสมของของไขมันที่มีอยู่ตามภายในร่างกายที่มีมากเกินไป จึงสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ โดยทางการแพทย์สามารถบ่งชี้ได้จากผู้ที่มีภาวะค่าดัชนีมวลกายสูงมักเป็นผู้ที่มีโอกาสที่จะเป็นโรคอ้วนได้ การวัดค่าดัชนีมวลกาย(BMI) เป็นการวัดค่าดัชนีมวลของร่างกายที่แพทย์ใช้ในการประเมินว่าคนๆนั้นมีน้ำหนักตามอยู่ตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ โดยทำการประเมินจากเพศ อายุ และความสูง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการวัดค่าดัชนีมวลกายนั้นมีเพียงแค่การวัดส่วนสูงและชั่งน้ำหนักเท่านั้น การวัดค่าดัชนีมวลกายนั้น หากมีค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 25 ถึง 29.9 ขึ้นไป แสดงว่าเริ่มมีภาวะอ้วนและมีค่าวัดดัชนีมวลกายมากกว่า 30 ขึ้นไป แสดงว่าเข้าข่ายเป็นโรคอ้วนแล้วการวัดค่าดัชนีมวลกายในส่วนอื่น เช่น การวัดขนาดส่วนของเอวต่อสะโพก (WHR) การวัดขนาดเอวต่อส่วนสูง (WtHR) และวัดปริมาณในการกระจายไขมันในร่างกาย ซึ่งการทำเช่นนี้สามารถกำหนดน้ำหนักและรูปร่างของคนได้ด้วย หากมีภาวะอ้วนและมีน้ำหนักเกิน อาจทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นปัญหาสุขภาพหลายโรค เช่น ภาวะระบบเผาผลาญบกพร่อง(เมตาบอลิซึ่มซินโดรม) โรคข้ออักเสบ สามารถเป็นโรคมะเร็งได้ ภาวะระบบเผาผลาญบกพร่องมีความเกี่ยวข้องกับโรคต่างๆที่มาจากความอ้วน เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น การรักษาน้ำหนักให้คงที่หรือการลดน้ำหนักลงนั้น ควรทำร่วมกับการควบคุมอาหารและออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นวิธีการป้องกันภาวะอ้วนที่ดีที่สุด ซึ่งในบางกรณี ผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีอาการรุนแรงนั้น จำเป็นต้องทำการผ่าตัด

โรคอ้วน (Obesity)

สาเหตุของโรคอ้วน

ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในปี 2556 ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างยีนนี้และลักษณะพฤติกรรมที่ทำให้เกิดสาเหตุโรคอ้วน ดังต่อไปนี้

  • พฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคอ้วน
  • ลักษณะนิสัยที่ทำให้มีปัญหาโรคอ้วน
  • การรับประทานอาหารที่มีปริมาณมากขึ้น
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  • มีความอยากอาหารที่ไม่มีที่สุดหรือไม่เคยอิ่ม 

ฮอร์โมนเกรลินมีบทบาทสำคัญในการสร้างลักษณะนิสัยการกิน ซึ่งมักมีผลต่อการปล่อยฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและทำให้ไขมันไปสะสมยังส่วนอื่นๆของร่างกาย รวมถึงการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายด้วย

การทำงานของยีนของความอ้วนนี้ส่งผลต่อจำนวนของฮอร์โมนเกรลินที่ลดลง อาจทำให้อ้วนขึ้นได้มากกว่าคนปกติทั่วไป โดนการศึกษาจากคนที่มีปัญหาโรคอ้วนที่มีลักษณะนิสัยการกินที่ผิดปกติ จำนวน 250 คน ซึ่งได้ตีพิมพ์ในนิตยสาร Plos One ในปี 2560 ซึ่งนักวิจัยได้แนะนำว่า ยีนของความอ้วนนั้น มีบทบาทที่ทำให้เกิดการกินที่ผิดปกติได้ เช่น โรคกินไม่หยุด และ การรับประทานอาหารแบบตามใจปากได้ และนอกจากนี้ยังมีสาเหตุหลัก ๆ คือ

การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเกินไป

เมื่อคุณรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเกินไปมากกว่าพลังงานที่ร่างกายต้องการใช้ ร่างกายก็จะมีไขมันสะสมตามร่างกายมากขึ้น ทำให้มีอาการโรคอ้วนและน้ำหนักเกินตามมาได้ นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงและไขมันสูงก็สามารถทำให้น้ำหนักขึ้นได้จนกลายเป็นปัญหาโรคอ้วนได้เช่นกัน อาหารที่ทำให้มีความเสี่ยงที่จะมีน้ำหนักเกินจนเป็นภาวะอ้วนได้ มีดังนี้:

  • อาหารจานด่วน
  • อาหารทอด เช่น มันฝรั่งทอด ลูกชิ้นทอด กล้วยทอด
  • ไขมันจากเนื้อสัตว์
  • ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม
  • อาหารที่ส่วนผสมของน้ำตาล เช่น ขนมอบ อาหารเช้าพร้อมทาน และขนมคุกกี้
  • อาหารที่มีน้ำตาลซ่อนอยู่ เช่น ซอสมะเขือเทศ และอาหารกระป๋อง 
  • น้ำผลไม้ที่มีรสหวานจัด น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น ขนมปัง และ ขนมเบเกิล

อาหารแปรรูปบางชนิดที่มีส่วนผสมของน้ำตาลฟรุคโตสสูง อย่างเช่น น้ำเชื่อมข้าวโพด และรวมถึงสารให้ความหวานแทนน้ำตาล รวมถึงอาหารคาวอย่างซอสมะเขือเทศด้วย

การรับประทานอาหารมากเกินไปและการขาดการออกกำลังกายอย่างเป็นประจำนั้นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มีน้ำหนักเกินจนนำไปสู่ภาวะโรคอ้วนได้

ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างเช่นผักและผลไม้ ธัญพืช และน้ำผลไม้คั่นสดที่ไม่ใส่น้ำตาล แต่อย่างไรก็ตามหากรับประทานอาหารเหล่านี้มากจนเกินไป ยังคงเสี่ยงกับการที่จะเป็นโรคอ้วนได้เช่นกัน ถ้าหากคุณมีคนในครอบครัวเป็นโรคอ้วนจากพันธุกรรมยิ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามในขณะที่คุณกำลังควบคุณน้ำหนัก คุณมักอยากสนุกกับการรับประทานอาหารที่หลากหลาย การรับประทานอาหารที่สดใหม่และธัญพืชที่มีไฟเบอร์นั้นสามารถทำให้คุณอิ่มและช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้นด้วย

การใช้ชีวิตประจำวันที่ซ้ำซากจำเจ

คนส่วนใหญนั้นมักมีพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ทำแบบเดิมทุกวัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จำเจมากกว่ากิจวัตรประจำวันที่พ่อแม่หรือปู่ย่าตายายเคยทำเสียอีก

ตัวอย่างการทำกิจกรรมที่ทำเป็นประจำทุกวัน ซึ่งกลายเป็นนิสัยประจำตัวนั้น มีดังต่อไปนี้:

  • ชอบทำงานที่ในสำนักงานมากกว่าทำงานอยู่ที่บ้าน
  • เล่นเกมคอมพิวเตอร์เป็นประจำเเละใช้เวลานาน โดยที่ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกายใดๆเลย
  • ไปไหนมาไหนโดยรถมากกว่าการเดินหรือการขี่จักรยาน

คนที่ไม่ค่อยออกกำลังกายนั้น การเผาผลาญไขมันก็จะไม่ค่อยทำงานเท่าไหร่นัก

นอกจากนี้การออกกำลังกายนั้นก็ยังส่งผลไปยังการทำงานของฮอร์โมนและฮอร์โมนนั้นก็มีผลต่อการทำงานของสารอาหาร ซึ่งส่งไปหล่อเลี้ยงยังส่วนต่างๆของร่างกาย

มีผลงานวิจัยหลายงานแสดงให้เห็นว่า การออกกำลังกายนั้นสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดที่คงที่และระดับน้ำตาลในเลือดชนิดที่ไม่คงที่ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มีน้ำหนักเกินได้

ข้อมูลจากการตีพิมพ์ในวารสาร BMJ Open Sport and Exercise Medicine ในปี 2560 นักวิจัยได้บันทึกไว้ว่า ในขณะที่มีการออกแบบท่าทางออกกำลังกายให้มากขึ้นทุกวัน การใช้ชีวิตแบบผสมผสานการออกกำลังกายนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คุณสามารถรักษาสุขภาพได้ โดยการควบคุมน้ำหนักรวมถึงการควบคุมน้ำตาลในเลือดด้วย

การออกกำลังกายนั้น ไม่จำเป็นต้องทำที่ยิมหรือฟิตเนสก็ได้ การเคลื่อนไหวร่างกายไม่ว่าจะเป็นการเดิน การปั่นจักรยาน การขึ้นลงบันได หรือการทำงานบ้าน การเคลื่อนไหวร่างกายทุกอย่างนั้น มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักลงได้เช่นกัน

แต่อย่างไรก็ตามแต่ละกิจกรรมของการเคลื่อนไหวของร่างกายต่างส่งผลดีและเกิดประโยชน์ต่อร่างกายไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือระยะยาว

 การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ

เมื่อมีการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ร่างกายนั้นก็มีการผลิตเปปไทด์ฮอร์โมนเกรลินมากขึ้น ซึ่งทำให้กระตุ้นความอยากอาหารมากขึ้น ทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น ซึ่งในขณะเดียวกัน ก็สามารถส่งผลให้เกิดการผลิตเปปไทด์ฮอร์โมนเลปตินลดลงด้วย ซึ่งฮอร์โมนเลปตินนี้ช่วยลดความอยากอาหารที่มากเกินความจำเป็น แต่เมื่อไม่มีการผลิตฮอร์โมนเลปตินแล้ว ก็ทำให้เป็นสาเหตุของโรคอ้วนได้

ต่อมไร้ท่อถูกทำลาย

นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่า สภาวะอ้วนนั้นมีความเชื่อมโยงกับน้ำตาลฟรุกโตสและระบบการเผาผลาญไขมันในร่างกาย ซึ่งผู้เชียวชาญมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการรับประทานน้ำเชื่อมที่ทำมาจากข้าวโพดกับเครื่องดื่มที่รสหวานและอาหารที่ให้พลังงานสูงชนิดอื่นด้วย

นักวิจัยได้บันทึกว่า การเพิ่มของระดับน้ำตาลฟรุกโตสเป็นตัวการที่ทำให้มีความเสี่ยงที่จะมีภาวะระบบเผาผลาญบกพร่องในคนวัยหนุ่มสาวได้

การใช้ยา

การใช้ยาบางชนิดเป็นสาเหตุของโรคอ้วนได้เช่นเดียวกัน ยาที่เป็นสาเหตุของโรคอ้วนมีดังต่อไปนี้ การใช้ยาก็ทำให้เกิดสภาวะน้ำหนักเกินได้เช่น

  • การใช้ยาต้านอาการทางจิตรุ่นที่ 2 โดยเฉพาะยาโอแลนซาพิน ยาควิไทอาพิน และยาริสเปอร์ไรโดน
  • ยากันชัก และ ยาควบคุมอารมณ์ โดยเฉพาะยากาบาเพนติน
  • ยาที่รักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น ยาโทลบูตาไมด์
  • ยาที่รักษาโรคไขข้ออักเสบ เช่น ยากลูโคคอร์ติคอยด์
  • ยาต้านซึมเศร้าบางชนิด

แต่อย่างไรก็ตาม ยาบางชนิดก็ทำให้คุณน้ำหนักลดได้เช่นกัน ไม่ว่าใครก็ตามที่เริ่มใช้ยาตัวใหม่และมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องของน้ำหนัก ควรปรึกษาแพทย์ว่าหากใช้ยาชนิดนี้ต่อไปจะมีผลข้างเคียงที่เกี่ยวกับน้ำหนักหรือไม่ 

โรคอ้วนที่เกิดจากกรรมพันธุ์

ความผิดปกติทางพันธุกรรมนั้นเกิดจากยีนของความอ้วน (FTO)ซึ่งเป็นยีนด้อยที่ทำให้อ้วนง่ายมากกว่าคนปกติ

การรักษาโรคอ้วน

การเปลี่ยนประเภทของอาหารสำหรับคนวัยหนุ่มสาว สามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาโรคอ้วนได้ โดยการหลีกเลี่ยงการใช้น้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีระดับน้ำตาลฟรุกโตสสูง

ประเภทอาหารที่มีน้ำเชื่อมน้ำตาลฟรุกโตสสูงเป็นส่วนผสมนั้นมีดังต่อไปนี้

  • โซดา เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มเกลือแร่
  • ลูกอมและไอศกรีม
  • ครีมเทียมที่อยู่ในกาแฟ
  • ซอสและเครื่องปรุงรส รวมถึง ผงปรุงรส ซอสมะเขือเทศ และซอสบาร์บีคิว
  • อาหารที่มีรสหวาน เช่น โยเกิร์ต น้ำผลไม้ และอาหารกระป๋อง
  • ขนมปังอบที่กินได้ทันที
  • อาหารเช้า ซีเรียลบาร์ และรวมถึงเอนเนอจี้บาร์ หรือ นูเทรี่ยนบาร์

ควรลดปริมาณในการใช้น้ำเชื่อมและเครื่องปรุงรส ซึ่งมีวิธีต่อไปนี้:

  • ตรวจดูฉลากที่อยู่บนสินค้าก่อนซื้อ
  • เลือกอาหารที่ไม่มีรสหวานหรือไม่หวานมากจนเกินไป
  • ทำน้ำสลัดเองและทำอาหารรับประทานเองที่บ้าน

อาหารบางชนิดที่มีสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ถึงแม้ว่ามันจะปลอดภัย แต่ก็ยังสามารถทำให้เกิดปัญหาโรคอ้วนได้

โรคอ้วนทำให้เสียชีวิตได้หรือไม่

การที่จะทำให้คนที่มีน้ำหนักตัวมากให้ลดน้ำหนักลงได้นั้นเป็นเรื่องยากแต่ก็สามารถทำได้ ดูเหมือนว่าจะมีไขมันสะสมในร่างกายมากขึ้น ซึ่งทำให้ปริมาณโปรตีนsLR11มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งโปรตีนนี้จะปิดกั้นการทำหน้าที่เผาผลาญไขมัน ทำให้ไขมันในร่างกายมีมากขึ้น และทำให้เป็นสาเหตุโรคอ้วนขึ้นด้วย  

จากข้อมูลสถิติผู้ป่วยโรคอ้วนในประเทศไทย

สถิตินี้มาจากการคาดการว่า ‘โรคอ้วน’ บนความรุ่งเรืองของอุตสาหกรรมอาหาร โดยพบว่า งานวิจัยขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2554 ที่มีการสำรวจสถานการณ์โรคอ้วนในประเทศไทยเทียบเคียงกับประชากรเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน พบว่า ประชากรในประเทศไทยมีค่าเฉลี่ย BMI ≥ 25 อยู่ที่ 32.2 เปอร์เซ็นต์ สูงเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มอาเซียน 

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *