โรคดื้อต่อต้าน (Oppositional Defiant Disorder): อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคดื้อต่อต้าน (Oppositional Defiant Disorder): อาการ สาเหตุ การรักษา

07.05
1804
0

โรคดื้อต่อต้าน (Oppsositional Defiant Disorder) คือ การแสดงออกถึงพฤติกรรมดื้อรั้นและโมโหอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน 

โรคดื้อต่อต้าน (Oppositional defiant disorder) (ODD) ส่วนมากแล้วเกิดขึ้นในเด็ก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นกับวัยผู้ใหญ่ช่วงต้นได้เช่นกัน บางครั้งเด็ก ๆ อาจจะไม่เชื่อฟังและโต้เถียงบ่อย ๆ  แต่หากพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจมีสาเหตุที่ซ่อนอยู่ 

เด็กและวัยรุ่นสามารถมีพฤติกรรมก้าวร้าวได้เนื่องจากเป็นวัยต่อต้าน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาต่าง ๆ 

งานวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการสมองจากวัยเด็กสู่วัยหนุ่มมสาวแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมเหล่านี้อาจไม่จำเป็นต้องเป็นผลมาจากโรคที่มาจากความผิดปกติของร่างกาย 

ในความเป็นจริงแล้ว ปัจจุบันความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยทางสำคัญที่ทำให้คน ๆ หนึ่งมีพฤติกรรมไม่เชื่อฟังหรือชอบโต้แย้งนั้นสำคญมากกว่า 

อาการของโรคดื้อต่อต้าน

กลุ่มโรคคอนดักต์คือโรคที่ผู้ป่วยมีพฤติกรรมผิดปกติ โดยมีพฤติกรรม ขี้โมโห ชอบโต้เถียง เกรี้ยวกราด และไม่เชื่อฟัง โดยพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

การที่จะถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคดื้อต่อต้านได้นั้น ผู้ป่วยต้องมีอาการดังต่อไปนี้มากกว่าที่เพื่อนในวัยเดียวกันมี

อาการต่าง ๆ มีดังนี้: 

  • ลงไปนอนกับพื้นบ่อย ๆ 
  • มีพฤติกรรมเกรี้ยวกราด และรุนแรง 
  • ทำลายข้าวของ 
  • ลักขโมยของอย่างต่อเนื่อง 
  • ใช้แอลกอฮอล์หรือยาเสพติด 

โรคดื้อต่อต้านเกิดขึ้นมากในหมู่คนอายุยังน้อย ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคม โรงเรียน และชีวิตที่บ้านของพวกเขาได้ 

การแยกแยะอาการของโรค ODD หรือโรคคอนดักต์อื่น ๆ นั้นเป็นเรื่องที่ท้าทาย พฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกัย ODD สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กและวัยรุ่นในความถี่บ่อยที่แตกต่างกัน 

อย่างไรก็ตาม หากเด็กมีอาการมากกว่า 6 เดือนและมันส่งผลกระทบต่อชีวิตของเด็ก ก็อาจถูกวินิจฉัยว่าเป็น  ODD

พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ต้องมีความรุนแรงและเกิดขึ้นบ่อยกว่าเพื่อน ๆ วัยเดียวกัน 

การที่จจะวินิจฉัยได้นั้นต้องมั่นใจว่าเด็กแสดงพฤติกรรมเหล่านั้นบ่อยแค่ไหน 

หากเด็กแสดงพฤติกรรมเดิม ๆ ต่อสถานการณ์เดิม ๆ เด็กคนนั้นก็จะถูกสงสัยว่าเป็น ODD 

Oppositional Defiant Disorder

นอกจากนี้ ยังสามารถสอบถามผ้ที่มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กได้ด้วยเพื่อการวินิจฉัย 

แต่หากพฤติกรรมต่าง ๆ นั้นไม่เป็นรูปแบบเดิม ก็จะไม่ใช่ผลจากกลุ่มโรคคอนดักต์ 

ซึ่งในสถานการณ์นี้ ก็ไม่ควรที่จะพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับโรคนี้ เพราะอาจจะทำให้มีปัญหาเกิดขึ้นได้ 

เด็กและคนหนุ่มสาวที่เป็นโรคนี้จะแสดงพฤติกรรม ท้าทาย อาฆาต โกรธ และชอบโต้เถียงผู้ใหญ่หรือผู้ปกครอง อาการเหล่านี้จำเป็นต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนจึงจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น ODD

เมื่อเปรียบเทียบกับโรคในกลุ่มคอนดักต์อื่น ๆ ผู้ที่เป็น ODD จะแสดงพฤติกรรมไม่เชื่อฟัง หรือโต้เถียงกับผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ เช่น ครูหรือพ่อแม่ มากกว่ากลุ่มที่มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม (antisocial behavior) ODD นั้นไม่เหมือนกับออทิสติกแต่มีพฤติกรรมบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน 

อาการของ ODD มักจะปรากฏออกมาเมื่อเด็กมีอายุ 6 ถึง 8 ปี และมันก็เป็นไปได้ที่อาการของ ODD ในวัยเด็กจะยังหลงเหลืออยู่และไปแสดงออกตอนที่เป็นผู้ใหญ่ ตัวอย่างเช่น ผู้ใหญ่ที่เป็น ODD อาจรู้สึกโกรธผู้จัดการที่ที่ทำงาน เหมือนกับที่โกรธครูหรือพ่อแม่ในวัยเด็ก 

สาเหตุของโรคดื้อต่อต้าน 

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของ ODD แต่เหมือนว่าจะเกิดจากปัจจัยทางสภาพแวดล้อม การพัฒนา และยีน เช่น มีความเสี่ยงทางด้านสภาพแวดล้อม ตัวอย่างเช่น มีวัยเด็กที่โหดร้าย หรือยากจน และรวมเข้ากับปัจจัยทางพันธุกรรม ที่เป็นแรงจูงใจให้เกิดพฤติกรรมเกรี้ยวกราด หรือทำให้เกิด ODD ขึ้น 

การรักษาโรคดื้อต่อต้าน

การรักษา ODD นั้นเป็นสิ่งที่ท้าทายเพราะพฤติกรรมเหล่านั้นเป็นพฤติกรรมที่ซับซ้อน 

การรักษาของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไปตามแต่บุคคล 

การรักษาแบบจิตบำบัดเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่ชนิดของการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับแต่ละคน  เป้าหมายแรก ๆ คือการช่วยให้ผู้ป่วยจัดการกับความเครียด ผู้ใหญ่หรือพ่อแม่ และการแสดงออกทางอารมณ์

การรักษารูปแบบอื่น ๆ อาจถูกนำมารักษาปัจจัยอื่น ๆ ที่ซ่อนอยู่ เช่น การบำบัดครอบครัวอาจช่วยผู้ป่วยได้หากอาการป่วยนั้นมาจากปัญหาในการใช้ชีวิตที่บ้าน 

การรักษา ODD ไม่จำเป็นต้องใช้ยา แต่อาจใช้ยารักษาโรคอื่น ๆ ที่อาจเป็นร่วมด้วย เช่น โรคสมาธิสั้น (ADHD)

นี่คือที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *