โรคกลัว (Phobia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคกลัว (Phobia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

02.03
3964
0

โรคกลัว (Phobia) คือโรควิตกกังวลรูปแบบหนึ่งที่มีสาเหตุมาจากประสบการณ์เฉพาะบุคคลที่ทำให้เกิดการกลัวต่อสถานการณ์ สิ่งมีชีวิต สถานที่หรือสิ่งของแบบสุดขั้วอย่างไม่มีเหตุผล

เมื่อคน ๆ นั้นเกิดอาการกลัว พวกเขามักจะปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตบ่อยๆเพื่อหลีกเลี่ยงกับสิ่งที่พวกเขาคิดว่าอาจเป็นอันตรายกับพวกเขา ภาพในหัวของพวกเขาจะรุนแรงเกิดจริงเป็นเหตุทำให้เกิดการหวาดกลัวอย่างมาก

โรคกลัวสามารถวิจิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภทชนิดหนึ่ง

คนที่เป็นโรคนี้จะประสบกับภาวะเครียดกดดันขั้นสูงสุดเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่ทำให้เกิดความกลัว สิ่งนี้สามารถปิดกั้นพวกเขาจากการดำเนินชีวิตตามปกติและในบางครั้งอาจเป็นสาเหตุนำไปสู่โรคแพนิคได้

โรคกลัวคืออะไร

โรคกลัวคือการกลัวที่ไม่มีเหตุผลและเกินจริง

คำว่า “กลัว” มักใช้กล่าวอ้างกับการกลัวในบางสิ่งบางอย่างที่เป็นตัวกระตุ้น โรคกลัวมี 3 แบบจัดประเภทไว้โดย American Psychiatric Association (APA) ดังนี้:

โรคกลัวเฉพาะอย่าง (Specific phobia) : คือการกลัวเฉพาะเจาะจงอย่างไม่มีเหตุผลและเกินจริง

โรคกลัวกิจกรรมทางสังคม (Social phobia) หรือโรควิตกกังวลทางสังคม: คือการกลัวและประหม่าเมื่อต้องออกไปเป็นเป้าสายตาหรือถูกรายล้อมอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ทางสังคม มีความรู้สึกเหมือนโดนใครบางคนกดดันอย่างหนัก ซึ่งต่างจากการเขินอาย

โรคกลัวสถานการณ์: เป็นอาการกลัวสถานการณ์ที่ยากจะหลบหนีออกจากการกลัวสุดขีด เช่นการติดอยู่ในลิฟท์หรือหรือการออกจากบ้าน เป็นเรื่องที่เข้าใจกันผิดๆว่าการกลัวน่าจะเกิดจากการกลัวที่เปิดโล่ง แต่กลับกลายเป้นการกลัวที่ถูกจำกัดอยู่ในที่เล็กๆเช่นในลิฟท์ หรือกลัวการอยู่ในยานพาหนะสาธารณะ คนที่เป็นโรคกลัวสถานการณ์มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคแพนิค

การกลัวเฉพาะสิ่งเป็นที่รู้กันดีว่าเป็นการกลัวเรื่องง่ายๆที่สามารถเชื่อมโยงหาสาเหตุได้ว่าเป็นการกลัวในสิ่งที่ไม่ได้ค่อยเกิดขึ้นบ่อยในชีวิตประจำวันของคนนั้นๆ เช่นกลัวงู ดังนั้นจึงไม่ค่อยส่งผลประทบการใช้ชีวิตวันต่อวันมากนัก

การกลัวกิจกรรมทางสังคมและการกลัวสถานการณ์เป็นการกลัวที่ซับซ้อน สิ่งกระตุ้นมาจากเรื่องง่ายๆ คนที่กลัวลักษณะนี้พบว่ายากที่หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่นการต้องออกจากบ้านหรือการต้องออกไปอยู่ท่ามกลางผู้คน

โรคกลัวสามารถวินิจฉัยได้จากการที่ผู้ป่วยเริ่มมีการจัดการชีวิตของพวกเขารอบๆตัวเพื่อหลบเลี่ยงต้นเหตุที่ทำให้พวกเขากลัว และเป็นการกลัวที่มีความรุนแรงมากกว่าการกลัวตามปกติ คนที่เป็นโรคกลัวจะพยายามทำทุกทางเพื่อหลีกเลี่ยงทุกสิ่งอย่างที่มากระตุ้นอาการวิตกกังวล

สาเหตุของโรคกลัว

เป็นเรื่องผิดปกติหากเพิ่งมาเป็นโรคกลัวหลังจากอายุ 30 ปีขึ้นไป เพราะส่วนใหญ่แล้วมักเริ่มเกิดตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ตอนต้น

การเกิดโรคมีสาเหตุมาจากการได้รับประสบการณ์ที่กดดัน เจอกับเหตุการณ์ตึงเครียด มีพ่อแม่หรือคนในบ้านมีโรคกลัวให้เด็กเห็นเป็นตัวอย่าง

โรคกลัวแบบเฉพาะ

มักมีอาการให้เห็นก่อน 4-8 ขวบ ในบางรายอาจเป็นผลมาจากประสบการณ์ที่สร้างบาดแผลในใจตั้งแต่เด็กๆ ยกตัวอย่างเช่นโรคกลัวที่แคบ อาจพัฒนามาจากตอนเด็กๆอาจเคยมีประสบการณ์ต้องถูกจับไปอยู่ในที่แคบๆมาก่อน

โรคกลัวที่เริ่มมาตั้งแต่เด็กมักมีสาเหตุมาจากการรู้เห็นการอาการกลัวของสมาชิกในครอบครัว ยกตัวอย่างเช่น เด็กที่มีแม่เป็นโรคกลัวสถานการณ์ก็มีแนวโน้มอาจเป็นโรคแบบเดียวกันฃ

โรคกลัวแบบซับซ้อน

จากการหาข้อมูลเพื่อต้องการความแน่ใจว่าทำไมคนเราจึงมีอาการกลัวสถานการณ์หรือกลัวสังคม ทำให้นักวิจัยมีความเชื่อว่าโรคกลัวแบบซับซ้อนอาจมีสาเหตุรวมๆมาจากประสบการณ์ชีวิต สารเคมีในสมองและยีน

สมองมีการทำงานอย่างไรในระหว่างที่เกิดโรคกลัว

บางพื้นที่ของสมองเราจะเก็บเรื่องราวและจดจำเรื่องที่ทำอันตรายหรือเหตุการณ์แย่ๆไว้

หากคนๆนั้นได้เผชิญกับเหตุการณ์บางอย่างที่คล้ายกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในชีวิต บางส่วนในสมองเราจะรับความทรงจำนั้นๆไว้ บางทีอาจเกิดมากกว่าครั้งเดียว จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมร่างกายเราจึงทำปฏิกิริยาเดียวกัน

โรคกลัว คือสมองจัดการรับมือกับความกลัวและความกดดันกับเหตุการณ์น่ากลัวได้อย่างไม่มีความเหมาะสม

นักวิจัยพบว่าโรคกลัวมักเกี่ยวข้องกับสมองส่วนอมิกดาลา ที่อยู่ด้านหลังต่อมใต้สมอง อมิกดาลาสามารถกระตุ้นให้ปล่อยฮอร์โมนสู้หรือหนี ทำให้ร่างกายและจิตใจตื่นตัวสูงและเกิดความตึงเครียด

อาการของโรคกลัว

คนที่เป็นโรคกลัวจะต้องประสบกับอาการต่อไปนี้ซึ่งเป็นอาการหลักๆที่เป็นของโรคกลัวคือ:

  • ความรู้สึกวิตกกังวลที่ไม่สามารถควบคุมได้เมื่อต้องเผชิญกับแหล่งที่มาที่ทำให้เกิดความกลัว

  • รู้สึกว่าแหล่งที่ทำให้เกิดการกลัวนั้นจะต้องหลีกเลี่ยงในทุกกรณี

  • ไม่มีความสามารถในการรับมือเมื่อต้องเจอกับสิ่งกระตุ้นให้กลัว

  • ยอมรับว่าการกลัวเป็นสิ่งไร้สาระ ไม่มีเหตุมีผลและมากเกินจริงผสมผสานกับความที่ไม่สามารถควบคุมความรู้สีกที่เกิดขึ้นได้

คนที่ต้องประสบกับความรู้สึกหวาดกลัวและวิตกกังวลเกินเหตุเมื่อต้องเผชิญกับสิ่งที่ทำให้พวกเขากลัว ความรู้สึกดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อร่างกายด้วย เช่น:

ความรู้สึกวิตกกังวลสามารถเกิดขึ้นง่ายๆเพียงแค่คิดถึงสิ่งที่กลัวเท่านั้น โรคกลัวในวัยเด็กพ่อแม่อาจสังเกตเวลาที่เด็กๆร้องไห้แล้วพวกเขาเริ่มมาอ้อนมาขึ้น หรือพยายามมาหลบด้านหลังขาพ่อแม่หรือสิ่งของ เด็ก ๆ อาจอาละวาดเพื่อระบายความเครียด

โรคกลัวแบบซับซ้อน

โรคกลัวแบบซับซ้อนพบว่าส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ได้มากกว่าโรคกลัวแบบเฉพาะ

ยกตัวอย่าง คนที่เป็นโรคกลัวแบบสถานการณ์อาจเป็นโรคกลัวอย่างอื่นร่วมด้วย เช่นโรคกลัวการอยู่คนเดียว หรือกลัวการโดนทิ้งให้อยู่ลำพัง และโรคกลัวที่แคบ เป็นการกลัวเวลาต้องติดอยู่ในพื้นที่ปิด

ในรายที่มีอาการรุนแรง คนที่เป็นโรคกลัวสถานการณ์จะไม่ค่อยออกจากบ้าน

Phobia

ประเภทของโรคกลัว

โรคกลัวที่พบได้บ่อยคือ จะมีอาการกลัวที่แตกต่างกันออกไป คือ:

  • โรคกลัวที่แคบ: คือการกลัวที่แคบๆหรือการถูกขัง

  • โรคกลัวเครื่องบิน: คือการกลัวการบิน

  • โรคกลัวแมงมุม

  • โรคกลัวการขับรถ

  • โรคกลัวการอาเจียน

  • โรคกลัวหน้าแดง

  • โรควิตกกังวลเกี่ยวกับความเจ็บป่วย: เป็นการกลัวว่าตัวเองจะป่วย

  • โรคกลัวสัตว์

  • โรคกลัวน้ำ

  • โรคกลัวความสูง

  • โรคกลัวเลือด การบาดเจ็บและการฉีดยา: เป็นการกลัวการบาดเจ็บรวมถึงกลัวเลือดด้วย

  • โรคกลัวบันไดเลื่อน

  • โรคกลัวอุโมงค์

โรคกลัวดังกล่าวต่างจากการกลัวเฉพาะ คนกลัวในกลุ่มนี้กลัวได้เกือบทุกอย่าง ดังนั้นเมื่อสังคมเปลี่ยน รายชื่อโรคกลัวก็มีแนวโน้มจะเปลี่ยนไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น การกลัวการอยู่คนเดียวก็เปลี่ยนไปเป็นโรคกลัวการขาดมือถือ คือการกลัวการอยู่แบบไม่มีมือถือหรือคอมพิวเตอร์

ถ้าจะให้อธิบายในกระดาษแผ่นเดียวก็คือ “การกลัวการอยู่แบบไม่เจอเทคโนโลยี”

การรักษาโรคกลัว

โรคกลัวมีโอกาสรักษาได้สูง คนที่เป็นโรคมักรู้ตัวว่าตัวเองมีภาวะดังกล่าว ทำให้การตรวจวินิจฉัยใสมักไม่ผิดเพี้ยน

การได้พูดคุยกับนักจิตแพทย์จะสามารถช่วยรักษาโรคกลัวขั้นต้นได้

หากว่าโรคกลัวไม่ได้เป็นปัญหารุนแรง คนส่วนใหญ่ก็มักจะหาทางเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดอาการกลัวแบบง่ายๆโดยการอยู่ในที่ๆพวกเขาควบคุมเองได้ คนที่เป็นโรคกลัวแบบเฉพาะจะไม่รักษาหากการกลัวนั้น ๆ สามารถจัดการเองได้

เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากในการหลบเลี่ยงการกลัวบางอย่าง ซึ่งมักพบในโรคกลัวแบบซับซ้อน กรณีดังกล่าวการได้พูดคุยกับนักบำบัดทางจิตอาจสามารถช่วยการฟื้นฟูในขั้นแรกได้

โรคกลัวส่วนใหญ่สามารถเยียวยาได้หากได้รับการรักษาที่เหมาะสม ไม่มีการรักษาเดี่ยวๆแบบไหนจะได้ผลดีสำหรับทุกๆคนที่เป็นโรคกลัว การรักษาจึงจำเป็นต้องปรับให้เข้าแต่ละคนแต่ละกรณีเพื่อผลที่ดีที่สุด

แพทย์ นักจิตวิทยาอาจแนะนำการรักษาด้วยการบำบัดพฤติกรรม การรับประทานยาหรือทำร่วมกัน จุดประสงค์ของการบำบัดก็เพื่อลดอาการรกลัวและอาการวิตกกังวลลง และยังจะช่วยให้คนเหล่านั้นสามารถรับมือต่อปฏิกิริยาที่มีกับสิ่งที่พวกเขากลัว

การรักษาด้วยยา

ยาต่อไปนี้ส่งผลต่อการรักษาโรคกลัวได้

ยาเบต้าบล็อกเกอร์

ช่วยลดสัญญานวิตกกังวลทางกายที่อาจเกิดจากโรคกลัวได้

ผลข้างเคียงที่พบคือ ปวดท้อง เหนื่อยล้า นอนไม่หลับและนิ้วเย็น

ยารักษาอาการซึมเศร้า

ยา Serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) คือยาที่สั่งจ่ายเพื่อคนที่เป็นโรคกลัว ส่งผลต่อระดับเซโรโทนินในสมอง และยังทำให้อารมณ์ดีขึ้นด้วย

ยา SSRIs อาจเป็นสาเหตุของอาการคลื่นไส้ มีปัญหาด้านการนอนและปวดศีรษะ

หากการใช้ยา SSRI ไม่ได้ผล แพทย์อาจสั่งจ่ายยา monoamine oxidase inhibitor (MAOI) สำหรับโรคกลัวสังคม การใช้ยาตัวนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภท ผลข้างเคียงอาจทำให้เกิดอาการมึนงง ปวดท้อง กระวนกระวาย ปวดศีรษะและนอนไม่หลับ

ยากล่อมประสาท

ยาเบนโซไดอะซีปีน เป็นตัวอย่างหนึ่งของยากล่อมประสาทที่ถูกสั่งจ่ายรักษาโรคกลัว เพื่อลดอาการหวาดวิตกกังวล คนที่มีประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ไม่ควรใช้ยากล่อมประสาท

พฤติกรรมบำบัด

เป็นการบำบัดโรคทางเลือกในการรักษาโรคกลัว

สิ่งต่อไปนี้สามารถช่วยให้คนที่เป็นโรคกลัวสามารถเปลี่ยนตัวเองต่อการตอบสนองสิ่งที่ทำให้เกิดอาการกลัวได้ โดยต้องค่อยๆทำตามขั้นตอนที่ละขั้นๆ ยกตัวอย่างเช่นคนที่กลัวการบิน อาาจทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้:

  1. คิดเรื่องการบิน

  2. นักบำบัดจะให้พวกเขาดูรูปเครื่องบิน

  3. พาไปที่สนามบิน

  4. พวกเขาจะค่อยๆเพิ่มทีละอย่างด้วยการนั่งในห้องฝึกนักบิน

  5. จนในท้ายที่สุดพวกเขาก็จะสามารถขึ้นบินจริงได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *