โปลิโอ (Poliomyelitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โปลิโอ (Poliomyelitis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

13.01
2591
0

โรคโปลิโอ (Polio) หรือที่เรียกว่า Poliomyelitis หรือ Infantile paralysis เป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสที่ติดต่อกันได้ง่ายที่อาจนำไปสู่การเป็นอัมพาต ปัญหาด้านการหายใจหรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต

โรคโปลิโอนั้นมีทั้งผู้ป่วยที่แสดงอาการและไม่มีอาการ โดยร้อยละประมาณ 95% นั้นไม่มีการแสดงอาการ

Poliomyelitis

ข้อเท็จจริงที่สำคัญโปลิโอ

ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับโรคโปลิโอมีดังนี้

  • โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสโปลิโอ

  • การติดเชื้อโปลิโอส่วนใหญ่นั้นไม่แสดงอาการ

  • โรคโปลิโอถูกกำจัดไปแล้วในทุกประเทศทั่วโลกยกเว้นประเทศไนจีเรีย ปากีสถานและอัฟกานิสถาน

  • หญิงมีครรภ์นั้นจะมีภูมิคุ้มกันน้อยต่อโรคโปลิโอ

  • ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่เคยเป็นโรคโปลิโอจะเกิดซ้ำอีก

อาการของโรคโปลิโอ

โปลิโอขั้นรุนแรงสามารถทำให้เกิดอัมพาต และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคโปลิโอจะไม่แสดงอาการใด ๆ หรือไม่มีอาการป่วยอย่างเห็นได้ชัด

อาการโปลิโอนั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของโรคโปลิโอ โปลิโอที่มีอาการนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท โดยประเภทที่ไม่รุนแรงเรียกว่า กลุ่มที่มีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือกลุ่มที่มีอาการเพียงเล็กน้อย และโปลิโอประเภทที่รุนแรงนั้นเรียกว่า กลุ่มที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงโดยพบเฉลี่ย 1% จากผู้ป่วยทั้งหมด

ผู้ป่วยหลายคนที่อยู่ในกลุ่มที่มีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบนี้จะสามารถฟื้นตัว และรักษาให้หายได้ แต่ผู้ป่วยในกลุ่มที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้นจะเป็นอัมพาตถาวร

อาการในกลุ่มที่มีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

โปลิโอกลุ่มที่มีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบนี้ (Non-paralytic polio) หรือที่เรียกว่า กลุ่มที่มีอาการเพียงเล็กน้อย (Abortive poliomyelitis) จะมีอาการคล้ายโรคหวัดซึ่งเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วัน หรือไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้

อาการในกลุ่มที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โปลิโอในกลุ่มที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงนี้จะเกิดขึ้นในอัตราที่น้อยมากของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโปลิโอ ซึ่งในกรณีนี้ไวรัสจะเข้าสู่เซลล์ประสาทสั่งการ (Motor neurons) ซึ่งทำหน้าที่ถอดแบบและทำลายเซลล์ โดยเซลล์เหล่านี้จะอยู่ในไขสันหลัง ก้านสมอง หรือเยื่อหุ้มสมองซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญของสมองในการควบคุมการเคลื่อนไหว

อาการของโรคโปลิโอในกลุ่มนี้มักเริ่มในลักษณะเดียวกันกับโปลิโอกลุ่มที่มีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แต่จะมีอาการร้ายแรงขึ้นในเวลาต่อมา ได้แก่

  • สูญเสียการตอบสนองของกล้ามเนื้อ

  • กล้ามเนื้อเจ็บปวด หรือหดเกร็งอย่างรุนแรง

  • กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงปวกเปียกซึ่งบางครั้งมีอาการแย่ลงข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย

โปลิโอกลุ่มที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้

  • โปลิโอไขสันหลัง (Spinal polio): ไวรัสโจมตีเซลล์ประสาทสั่งการในไขสันหลังซึ่งทำให้เกิดอัมพาตที่แขน และขา รวมถึงเกิดปัญหาด้านการหายใจ

  • โปลิโอก้านสมองส่วนท้าย (Bulbar polio): ไวรัสจะทำลายเซลล์ประสาทที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการมองเห็น การรับรส การกลืน และการหายใจ

  • โปลิโอไขสันหลังและก้านสมองส่วนท้าย (Bulbospinal polio): ไวรัสจะทำให้เกิดอาการของโรคโปลิโอทั้งกระดูกสันหลังและก้านสมองส่วนท้ายพร้อมกัน

ภาวะแทรกซ้อนและอาการหลังเกิดโรคโปลิโอ

ภาวะหลังเกิดโรคโปลิโอ (Post-polio syndrome) แสดงให้เห็นถึงกลุ่มอาการที่มีผลต่อผู้ป่วยโปลิโอมากถึง 64% ซึ่งจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโปลิโอหลายปีหลังจากติดเชื้อครั้งก่อน โดยเฉลี่ยแล้วกลุ่มอาการหลังเกิดโรคโปลิโอ (Post-polio syndrome) จะเกิดขึ้น 35 ปีหลังจากการติดเชื้อ

โดยมีลักษณะและอาการ ดังนี้

  • ปวดกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงเรื่อย ๆ

  • กล้ามเนื้อลีบหรือหดตัวลง

  • อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ

  • เกิดอาการกลืนและหายใจลำบาก

  • ประสบปัญหากับการอดทนต่ออากาศหนาว

  • เกิดปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

  • เกิดปัญหาด้านสมาธิและความทรงจำ

  • อารมณ์แปรปรวนและมีอาการซึมเศร้า

ภาวะหลังเกิดโรคโปลิโอเป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ไม่มีทางรักษา แต่ไม่ใช่โรคติดต่อหรือไม่สามารถแพร่เชื้อได้

การวินิจฉัยโรคโปลิโอ

โปลิโอเป็นโรคที่มักจะสังเกตุได้เนื่องจากมีอาการ เช่น ปวดเมื่อยบริเวณหลัง และคอ การตอบสนองที่ผิดปกติ และมีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนหรือการหายใจ แพทย์จะทำการตรวจโรคโปลิโอด้วยการตรวจสารคัดหลั่งในคอ อุจจาระ หรือน้ำไขสันหลัง

สาเหตุของการเกิดโรคโปลิโอ

เชื้อไวรัสโปลิโอมักจะติดออกมากับอุจจาระของผู้ป่วยที่ติดเชื้อโปลิโอ โดยไวรัสนี้จะแพร่กระจายได้ง่ายจากอุจจาระลงสู่แหล่งน้ำ หรือจากการสัมผัสเข้าสู่อาหารในพื้นที่ที่ขาดสุขอนามัย

นอกเหนือจากนี้การติดต่อสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่ติดเชื้อสามารถทำให้เกิดโรคโปลิโอได้ ผู้ที่เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโปลิโอสามารถแพร่เชื้อได้ทางอุจจาระเป็นเวลาหลายสัปดาห์ถึงแม้ว่าจะไม่แสดงอาการใด ๆ ก็ตาม

เมื่อไวรัสได้เข้าสู่ร่างกายแล้ว ไวรัสจะเพิ่มจำนวนที่เซลล์ลำคอ และเซลล์ลำไส้ โดยที่ไวรัสจะอยู่ในลำไส้ก่อนก่อนที่จะแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย และในที่สุดไวรัสจะแพร่เข้าสู่กระแสเลือดทำให้สามารถแพร่กระจายไปทั่วทั้งร่างกาย และสร้างความเสียหายได้ได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *