โรคจิต (Psychosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคจิต (Psychosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

13.10
2028
0

โรคจิต (Psychosis) คือ การสูญเสียการติดต่อและการรับรู้ความเป็นจริง มัน ถือว่าเป็นความป่วยทางจิตใจ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยทางร่างกาย

โรคจิตคืออะไร?

โรคจิต (Psychosis) คือ การที่บุคคลมีประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง หรือมีความเชื่อที่ไม่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง

คนโรคจิตจะมีอาการประสาทหลอน หรือภาพลวงตา พวกเขาอาจเห็นหรือได้ยินสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง

นี่อาจเป็นเรื่องที่น่ากลัวอย่างไม่คาดคิด เพราะคนโรคจิตสามารถที่จะทำร้ายตัวเองและผู้อื่นได้

โรคจิตมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของโรคจิตเภท และแม้ว่าจะมีอาการอื่น ๆ แต่โรคจิตเป็นหนึ่งในโรคจิตเภท

ประเภทของโรคจิต

ความผิดปกติหลายอย่างสามารถบ่งบอกว่ามีอาการทางจิต ได้แก่ :

  • โรคจิตเภท – เป็นโรคจิตที่ร้ายแรง ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกคิดและการกระทำของผู้ป่วยทำให้ไม่สามารถแยกแยะความเป็นจริงออกจากจินตนาการ
  • Schizoaffective disorder – อาการคล้ายกับโรคจิตเภท ในช่วงเวลาที่อารมณ์แปรปรวน
  • โรคทางจิตโดยสังเขป – อาการทางจิตเป็นเวลาอย่างน้อย 1 วัน แต่ไม่เกิน 1 เดือน มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ตึงเครียด
  • โรคหลงผิด – ผู้ป่วยจะมีความเชื่อในสิ่งผิดๆ หรือไม่เป็นความจริง อาการจะคงอยู่เป็นเวลา 1 เดือนหรือนานกว่านั้น
  • โรคอารมณ์สองขั้ว – มีอารมณ์สูงและต่ำ
  • โรคซึมเศร้า
  • ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดแบบรุนแรง
  • โรคจิตที่เกิดจากสารเสพติด ได้แก่ แอลกอฮอล์ ยาเสพติด และสารกระตุ้นบางประเภท

สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุหลักของอาการทางจิต แต่โรคจิตก็สามารถเกิดจากโรคอื่นๆ ได้เช่นกัน ได้แก่

  • เนื้องอกในสมอง
  • โรคสมองเสื่อม – เช่น โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น
  • โรคทางระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน เป็นต้น
  • HIV และการติดเชื้ออื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อสมอง
  • โรคลมบ้าหมูบางประเภท
  • โรคหลอดเลือดสมอง

อาการของโรคจิต

อาการทั่วไปของคนที่เป็นโรคจิตมีดังนี้

  • ภาพหลอน – การได้ยิน การมองเห็น หรือรู้สึกถึงสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง
  • ความหลงผิด – ความเชื่อผิด ๆ  มักเป็นความกลัวหรือสงสัยแบบผิดๆ
  • ความระส่ำระสาย – คิด หรือพูดจาวกวน
  • ความคิดที่ไม่เป็นระเบียบ – มีการเชื่อมโยงที่ความคิดอย่างแปลกประหลาาด
  • ไม่มีสมาธิ

โรคจิตเภทแม้ว่าอาการอาจเริ่มมีอาการช้า และเริ่มเป็นโรคจิตที่รุนแรงขึ้น แต่บางคนอาจพบว่าหลังจากหยุดใช้ยารักษาแล้วกลับไปมีอาการได้อย่างรวดเร็ว

อาการเริ่มแรกของโรคจิตที่รุนแรงได้แก่

  • ความรู้สึกระแวงและสงสัย
  • ความวิตกกังวล
  • การรับรู้ที่ผิดจากความเป็นจริง
  • อาการโรคซึมเศร้า
  • อยู่ในภวังความคิด
  • นอนหลับไม่สนิท

อาการประสาทหลอนนั้นส่งผลต่อประสาทสัมผัส (การมองเห็น ได้ยินเสียง การรับกลิ่น การรับรส และการสัมผัส) ในผู้ที่เป็นโรคจิต แต่ประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตเภทอาการประสาทหลอนมักจะเป็นการได้ยินในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง

อาการประสาทหลอนมีดังนี้

  • การได้ยินหลายเสียงพูดคุยกันในทางลบเกี่ยวกับตนเอง
  • เสียงบรรยายเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองกำลังทำ
  • เสียงพูดซ้ำในสิ่งที่กำลังคิด

อาการหลงผิดของคนโรคจิต

ตัวอย่างของอาการหลงผิดทางจิต ได้แก่ การหวาดระแวงซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกี่ยวข้องกับโรคจิตเภท และการหลงผิดในอำนาจ

ความหลงผิดแบบหวาดระแวง – หวาดระแวงบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมรอบข้างมากเกินไป โดยเชื่อว่าผู้อื่นวางแผนจะทำร้ายตนเอง

ความหลงผิดในความยิ่งใหญ่ – เป็นการหลงผิดที่คิดว่าตัวเองมีอำนาจ อาจจะคิดไปถึงว่าตนเองมีอำนาจเป็นผู้นำระดับโลก

สาเหตุของโรคจิต

สาเหตุของโรคจิตยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่อาจจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยบางอย่างดังนี้

  • พันธุกรรม – งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการโรคจิต
  • การเปลี่ยนแปลงภายในสมอง – การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสมองและสารเคมีบางชนิดพบได้ในคนที่เป็นโรคจิต การสแกนสมองพบว่า มีสารสีเทาลดลงในสมองของผู้ป่วยโรคจิตบางคน ซึ่งอาจอธิบายถึงผลกระทบต่อการประมวลผลความคิดที่เปลี่ยนไปได้
  • ฮอร์โมน / การนอนหลับ – ยกตัวอย่างเช่น โรคจิตหลังคลอดบุตร (ปกติภายใน 2 สัปดาห์) ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่นักวิจัยบางคนเชื่อว่าอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน และรูปแบบการนอนที่ไม่เพียงพอ

การรักษาโรคจิต

การรักษาหลักในโรคนี้คือการใช้ยารักษาโรคจิต ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าในปัจจุบันเชื่อว่าสาเหตุของโรคจิตเภทนี้เป็นมาจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ซึ่งยารักษาโรคจิตจะไปช่วยแก้ไขหรือปรับระดับของสารเคมีต่างๆ ให้เข้าที่ทำให้อาการทางจิตดีขึ้น อย่างไรก็ตามปัญหาส่วนหนึ่งของผู้ป่วยจิตเวชมักต้องการปรับตัวต่อโรค ต่อสังคมรอบข้าง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่อาจแก้ไขได้ด้วยยา การช่วยด้วยจิตบำบัดหรือการให้คำแนะนำของแพทย์หรือบุคลากรทางสุขภาพจิตจะช่วยในส่วนนี้อย่างมาก

โดยทั่วไปแล้วหากผู้ป่วยทางจิตมีอาการค่อนข้างมากแพทย์ก็มักรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งนอกจากเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยรบกวนผู้อื่นหรือเป็นการป้องกันอันตรายแล้ว ในการรักษาก็อาจจำเป็นต้องใช้ยาในขนาดสูง ซึ่งการรักษาในโรงพยาบาลจะสะดวกกว่าเนื่องจากมีแพทย์พยาบาลดูแลใกล้ชิด การปรับยาทำได้สะดวก หากมีอาการข้างเคียงจากยาก็แก้ไขได้โดยเร็ว

หากผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงมาก ญาติพอดูแลกันได้ แม้ผู้ป่วยจะมีอาการหูแว่วหรือประสาทหลอนแต่ก็ไม่วุ่นวาย ไม่ก้าวร้าว ตักเตือนพอเชื่อฟัง แพทย์ก็มักจะให้รักษาตัวอยู่กับบ้านมากกว่า เพราะการใช้ยาไม่จำเป็นต้องใช้ขนาดสูง โอกาสเกิดอาการข้างเคียงก็มีน้อย ผู้ป่วยและญาติจำนวนไม่น้อยที่หากไม่จำเป็นจริงๆ ก็ไม่อยากอยู่โรงพยาบาลเนื่องจากเกรงว่าจะมีผู้อื่นทราบว่าเป็นโรคจิต หรือเกรงว่าจะมีผลต่องานที่ทำ นอกจากนี้การอยู่โรงพยาบาลนานๆ ยังทำให้ความสัมพันธ์ห่างเหินจากญาติไป เมื่อกลับบ้านก็ต้องมาเริ่มปรับตัวกันใหม่

ในการดูว่าจะรับผู้ป่วยไว้อยู่ในโรงพยาบาลหรือไม่ แพทย์จะพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียต่างๆ เหล่านี้ ร่วมกับคำนึงถึงสภาพแวดล้อมในครอบครัวขณะนั้น ผลกระทบของตัวโรคที่มีต่อผู้ป่วยโดยจะดูเป็นรายๆ ไป ไม่ได้มีเป็นกฎตายตัวว่าถ้าอาการเช่นนี้จะต้องรับหรือไม่รับ แต่ผู้ป่วยวิกลจริตหลายรายหากเป็นภัยต่อตนเองและคนรอบข้างแพทย์อาจจะต้องแนะนำให้อยู่รับการรักษาที่โรงพยาบาล

การรักษามีหลายวิธีซึ่งแพทย์มักใช้ร่วมกันโดยมีตัวหลักคือยารักษาโรคจิต

ยารักษาโรคจิต

การรักษาด้วยยารักษาโรคจิตนั้นเป็นหัวใจของการรักษา นอกจากเพื่อการควบคุมอาการแล้ว ยังสามารถลดการกำเริบซ้ำของโรคได้ พบว่าผู้ป่วยที่กลับมีอาการกำเริบซ้ำอยู่บ่อย ๆ นั้น ส่วนใหญ่มีปัญหามาจากการขาดยา

การรักษานั้นอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง

1) ระยะควบคุมอาการ เป็นการรักษาในช่วงอาการกำเริบ เป้าหมายของการรักษาในระยะนี้ คือ การควบคุมอาการให้สงบลงโดยเร็ว ยามีส่วนสำคัญมาก จะทำให้อาการของผู้ป่วยสงบลงโดยเร็ว โดยกลางคืนนอนหลับได้ อารมณ์หงุดหงิดหรือพฤติกรรมก้าวร้าวลดลง อาการกระสับกระส่าย หรือวุ่นวายก็จะดีขึ้น ซึ่งมักเห็นผลในการรักษาเช่นนี้ได้ภายในสัปดาห์แรก บางรายแค่ 3-4 วันก็ดีขึ้น ส่วนอาการประสาทหลอนจะใช้เวลาหลายสัปดาห์ อาการหลงผิดก็เช่นกัน ผู้ป่วยบางรายแม้อาการจะดีขึ้นมาก แต่ก็ยังคงมีอาการหลงผิดหรือประสาทหลอนอยู่บ้าง โดยอาจเป็นห่างขึ้น หรือมีครั้งละไม่นาน

สำหรับผู้ป่วยที่อยู่โรงพยาบาลหากแพทย์ดูแล้วเห็นว่าอาการสงบลง พูดจาพอรับฟัง ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ก็มักจะให้กลับบ้าน โดยที่ไม่จำเป็นต้องอยู่จนให้อาการต่างๆ หายไปหมด เนื่องจากหากผู้ป่วยอยู่โรงพยาบาลนานเกินความจำเป็นก็มักจะมีผลเสียมากกว่าผลดี ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่อยู่โรงพยาบาลนานๆ แล้วกลับบ้านไม่ได้เพราะไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่บ้านได้ดังเดิม และทางบ้านก็มักปรับตัวไม่ได้เช่นกันเพราะเริ่มเคยชินกับการอยู่โดยไม่มีผู้ป่วย

ในช่วงที่รักษาด้วยยารักษาโรคจิต ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการข้างเคียงจากยา เช่น มือสั่น ทำอะไรช้าลง หรือปวดเกร็งกล้ามเนื้อ (ดูรายละเอียดในบทยารักษาโรคจิต) เมื่อแพทย์พบก็อาจลดขนาดยายารักษาโรคจิตลง หรือหากเห็นว่าลดขนาดยายังไม่ได้เพราะอาการยังมากอยู่ ก็จะให้ยาช่วยแก้อาการข้างเคียงเหล่านี้ร่วมไปกับยารักษาโรคจิต

2) ระยะให้ยาต่อเนื่อง หลังจากที่อาการสงบลงแล้ว ผู้ป่วยยังจำเป็นต้องกินยาต่อเนื่องอยู่อีก ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้กลับมามีอาการกำเริบขึ้นมาอีก ยิ่งผู้ป่วยที่ดูแล้วมีแนวโน้มที่อาการจะกำเริบหรือหายยาก การกินยายิ่งเป็นสิ่งสำคัญ ขนาดของยาที่ใช้ในระยะนี้จะต่ำกว่าในระยะแรก ไม่มีการกำหนดขนาดแน่นอนว่าควรให้ยาขนาดเท่าไร แพทย์จะปรับขนาดยาในผู้ป่วยเป็นรายๆไป โดยดูว่าอาการของโรคเป็นมากน้อยเพียงใด มีอาการข้างเคียงจากยาหรือไม่และผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้อีกมากน้อยเพียงใด

โดยทั่วไปเมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นสักช่วงหนึ่งแล้ว (เป็นเดือนๆ) แพทย์จะค่อย ๆ ลดยาลง จนถึงขนาดต่ำสุดที่คุมอาการได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละคน ในระหว่างที่ค่อยๆ ลดยา (2-3 สัปดาห์จึงจะปรับลดยาทีหนึ่ง) หากผู้ป่วยกลับมามีอาการขึ้นมาอีกก็จะปรับยาขึ้นไปเท่าขนาดเดิมก่อนหน้านั้น คงยาไว้ในขนาดนี้สัก 4-5 เดือนแล้วก็ลองลดดูใหม่ หากลดลงอีกครั้งหนึ่งแล้วผู้ป่วยกลับมีอาการอีก ก็แสดงว่าผู้ป่วยใช้ยาขนาดต่ำสุดได้แค่นี้ ต่ำกว่านี้อีกไม่ได้ ขนาดยาที่ใช้โดยเฉลี่ยประมาณ 200-500 มิลลิกรัม ของยาคลอโปรมาซีนต่อวัน (ดูในบทยารักษาโรคจิต) ผู้ป่วยที่ไม่ยอมรับประทานยาอาจใช้ยาฉีดประเภทฉีด 3-4 สัปดาห์ครั้ง

อาการเริ่มแรกที่แสดงว่าจะกลับมาป่วยอีกในผู้ป่วยแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่จะเริ่มด้วยอาการนอนไม่ค่อยหลับ หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย โกรธแม้แต่กับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ผู้ป่วยโดยมากมักไม่สังเกตเห็นความผิดปกติของตน การสนใจเอาใจใส่ของญาติหรือเพื่อนๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญในกรณีนี้ ผู้ป่วยบางคนอาจเก็บตัวมากขึ้น ไม่ค่อยไปไหนมาไหนเหมือนเดิม หรือหันมาสนใจเรื่องไสยศาสตร์ บางคนมีความรู้สึกว่าเหมือนกับมีอะไรแปลกๆ เกิดขึ้นกับตนเอง แต่ก็บอกได้ไม่ชัดว่าเป็นอะไร บางคนมักกลับมาบ่นให้ที่บ้านฟังว่าถูกเจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานกลั่นแกล้ง ข้อน่าสังเกตอย่างหนึ่งคือ อาการเริ่มแรกที่จะกลับมาเป็นในแต่ละคนมักจะเป็นแบบเดิมๆ ทุกครั้ง

การรักษาด้วยไฟฟ้า

การรักษาด้วยไฟฟ้า เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าผ่านบริเวณศีรษะของผู้ป่วยในปริมาณน้อยๆ เพื่อทำให้เกิดการชักเหมือนกับในโรคลมชัก กระแสไฟที่ใช้มีขนาดต่ำมาก ไม่มีอันตรายต่อสมองอย่างแน่นอน ปัจจุบันวิธีการทำก้าวหน้าขึ้นมาก การชักที่เกิดขึ้นนั้นอาจเห็นเพียงปลายแขนขยับเล็กน้อย เนื่องจากก่อนการทำแพทย์จะทำให้ผู้ป่วยหมดสติและกล้ามเนื้อคลายตัวทั้งหมด ซึ่งเป็นกระบวนการเหมือนกับที่ใช้ในการผ่าตัดทั่วๆ ไป แต่ระยะเวลาสั้นกว่ามาก โดยใช้เวลาทั้งหมดประมาณไม่ถึง 5 นาที การรักษาจะทำวันเว้นวัน เช่น วันจันทร์-พุธ-ศุกร์ ทำทั้งหมดประมาณ 10-12 ครั้ง อาจมากน้อยกว่านี้ก็ได้ตามแต่ที่แพทย์เห็นว่าผู้ป่วยอาการเป็นอย่างไร

แพทย์ใช้การรักษาวิธีนี้กับโรคทางจิตเวชหลายๆ โรค เช่น โรคซึมเศร้าที่มีอาการุนแรง คิดฆ่าตัวตาย เป็นต้น ซึ่งจะได้ผลดีมาก ในผู้ป่วยโรคจิตเภทนั้นผลไม่ดีเท่าการรักษาด้วยยา โดยทั่วไปจะใช้ในกรณีที่ให้ยาขนาดสูงแล้วผู้ป่วยก็ยังมีอาการไม่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังอาจใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการวุ่นวายมาก หรืออยู่นิ่งเฉย ไม่กินข้าวกินน้ำ

การดูแลรักษาด้านจิตใจและสังคม

อาการของผู้ป่วยมักก่อให้เกิดปัญหาระหว่างตัวเขากับสังคมรอบข้าง แม้ในระยะอาการดีขึ้นบ้างแล้ว ปัญหาทางด้านสังคมก็ยังคงมีอยู่ ซึ่งยาช่วยไม่ได้ นอกจากนี้อาการบางอย่าง เช่น อาการเฉื่อยชา แยกตัว ซึมเซา หรือภาวะท้อแท้หมดกำลังใจ มักไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา การช่วยเหลือในด้านจิตใจและสังคม ที่แพทย์หรือผู้รักษาอาจใช้ร่วมกับยา ได้แก่

1) การช่วยเหลือด้านจิตใจ ผู้ป่วยอาจมีความคับข้องใจ รู้สึกเครียด ไม่ทราบว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรกับปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งปัญหาภายในตนเองและปัญหาที่มีกับคนรอบข้าง ผู้รักษาจะให้คำแนะนำที่ผู้ป่วยสามารถนำไปปฏิบัติได้ เช่น ช่วยผู้ป่วยในการหาวิธีแก้ปัญหาในแบบอื่นๆ ที่เขาพอทำได้ ช่วยผู้ป่วยค้นหาดูว่าความเครียดหรือความกดดันอะไรที่เขามักทนไม่ได้ เป็นต้น

2) การให้คำแนะนำแก่ครอบครัว เป็นการให้ความรู้แก่ญาติและผู้ดูแลผู้ป่วย เกี่ยวกับเรื่องของโรคและปัญหาต่างๆ ของผู้ป่วยที่อาจเกิดขึ้น ผู้ปกครองมักเข้าใจว่าเป็นเพราะตนเลี้ยงดูไม่ดีจึงทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคจิตเกิดความรู้สึกผิด หรือกล่าวโทษตนเอง นอกจากนี้บางครอบครัวมีการใช้อารมณ์ต่อกันสูง และอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยเป็นเวลานานในแต่ละวัน ซึ่งอาจเป็นการไปเพิ่มความกดดันแก่ผู้ป่วย ทั้งสองกรณีนี้การทำครอบครัวบำบัดหรือให้ความรู้ในเรื่องโรค รวมทั้งสิ่งที่ญาติควรปฏิบัติต่อผู้ป่วย จะช่วยได้เป็นอย่างยิ่ง

3) กลุ่มบำบัด เป็นการจัดกิจกรรมกลุ่มระหว่างผู้ป่วยขณะที่ผู้ป่วยอยู้ในโรงพยาบาล โดยส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกว่ามีเพื่อน มีคนเข้าใจ ไม่โดดเดี่ยว มีการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาและให้คำแนะนำแก่กัน ฝึกทักษะทางสังคม เน้นการสนับสนุนให้กำลังใจแก่กัน

4) นิเวศน์บำบัด เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาลเพื่อช่วยส่งเสริมขบวนการรักษา ประกอบด้วย การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในหอผู้ป่วย การจัดสภาพแวดล้อมภายในหอผู้ป่วยให้น่าอยู่ ผู้ป่วยต้องช่วยในกิจกรรมต่าง ๆ เท่าที่พอทำได้ เพื่อส่งเสริมความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองของผู้ป่วย ลดความรู้สึกว่าการอยู่โรงพยาบาลเหมือนอยู่ให้ผ่านพ้นไปวันๆ เท่านั้น

จะต้องกินยาไปนานเท่าไร

ระยะเวลาในการรักษานั้น ส่วนใหญ่เห็นว่าในผู้ที่เป็นครั้งแรกนั้นหลังจากอาการโรคจิตดีขึ้นแล้วควรกินยาต่อไปอีกประมาณ 1 ปี หากผู้ป่วยมีอาการกำเริบครั้งที่สองควรกินยาต่อเนื่องไประยะยาว เช่น 5 ปี หากเป็นบ่อยกว่านี้ อาจต้องกินยาต่อเนื่องไปตลอด

ข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคจิต

ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับโรคจิตมีดังนี้ นี่เป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับบทความนี้

  • โรคจิตไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการทางจิต
  • การหลงผิดทางจิต คือการคิดว่าตัวเองเป็นบุคคลสำคัญ
  • ประวัติการวินิจฉัยโรคจิตก่อนหน้าจะเป็นตัวช่วยสำคัญในการบำบัดรักษา

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *