โรคต้อเนื้อ (Pterygium) อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคต้อเนื้อ (Pterygium) อาการ สาเหตุ การรักษา

29.10
718
0

ต้อเนื้อ (Pteryguim) คือ การที่ผังผืดของเยื่อบุตาเกิดขยายไปสู่ตาดำ โดยทั่วไปแล้วมักพบบ่อยที่หัวตา ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือเป็นลิ่มที่โตอยู่บริเวณเยื่อบุของกระจกตา

เยื่อบุตามีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อบางๆที่ใส ปกคลุมอยู่รอบๆดวงตา ส่วนกระจกตาจะมีลักษณะใส ครอบคลุมส่วนหน้าของตา.

โรคต่อเนื้อไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้มีอาการระคายเคือง หรือมีการมองเห็นที่เปลี่ยนไป

บทความนี้ เราจะพูดถึงสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษาของโรคต้อเนื้อ รวมไปถึงผู้ที่มีโอกาสจะเป็นโรคต้อเนื้อได้ 

โรคต้อเนื้อ

อาการต้อเนื้อ

โรคต้อเนื้อ มักเกิดขึ้นด้านในของดวงตา บริเวณใกล้กับจมูก โดยที่จเกิดขึ้นเพียงข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้

ต้อเนื้ออาจจะไม่สามารถสังเกตได้ในระยะเริ่มต้น และอาจจะไม่มีอาการระคายเคืองหรือกระทบการมองเห็นใดๆ

แต่เมื่อต้อเนื้อมีการเจริญเติบโตมากขึ้น จะสามารถสังเกตเห็นได้ โดยจะสังเกตุได้ว่า มีเยื่อหนาเป็นรูปสามเหลี่ยม อาจมีสีแดง ชมพูหรือเหลือง

ผู้ป่วยอาจมีอาการ :

  • เยื่อบุตาเป็นสีแดง
  • มีอาการคัน ตาแห้งและอักเสบ
  • อาจรู้สึกเหมือนมีทรายหรือเศษผงอยู่ในดวงตา

ถ้าหากต้อเนื้อมีการเจริญเติบโตไปจนถึงตรงกลางของกระจกตา อาจทำให้มีอาการพร่ามัวในการมองเห็น

สาเหตุของโรคต้อเนื้อ

โดยส่วนมากมักจะพบในผู้ที่ใช้สายตากลางแจ้ง จึงทำให้มีการตั้งชื่อว่า “surfer’s eye,”

อย่างไรก็ตาม ต้อเนื้ออาจเกิดได้จาก การระคายเคืองของตาจากลม ฝุ่น หรือสิ่งสกปรกต่างๆ

ใน 2014reviews เคยมีการกล่าวไว้ว่า พันธุกรรมก็มีส่วนเกี่ยวข้องในการเกิดโรคต้อเนื้อได้

โดยผู้เขียนได้กล่าวไว้ว่า นอกจากแสงยูวีที่ส่งผลให้เกิดต้อเนื้อแล้ว ในผู่ที่ได้รับผลกระทบจากแสงยูวีต่ำ ก็สามารถเกิดโรคต้อเนื้อได้เช่นกัน ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากแสงยูวีมากบางคนกลับไม่มีอาการของโรคเลย

วิธีการรักษาต้อเนื้อ

ในผู้ป่วยหลายรายไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษา ถ้าต้อเนื้อมีขนาดเล็กและไม่ส่งผลกระทบใดๆ ผู้ป่วยอาจะเลือกที่จะใช้ยาตามร้ายขายยาทั่งไปรักษาตัวเองก่อน

แต่ถ้าหากว่าต้อเนื้อมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น หรือว่าทำให้เกิดอาการที่น่ารำคาญ ผู้ป่วยอาจมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับยาที่สั่งจากแพทย์หรือเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษา

การรักษาด้วยตัวเอง

วิธีการรักษาโรคต้อเนื้อด้วยตัวเองที่บ้านมีดังนี้ : 

  • ใช้น้ำตาเทียมที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เพื่อช่วยให้ตามีความชุ่มชื้นและบรรเทาอาการระคายเคือง
  • ใช้ขี้ผึ้งหยอดตาช่วย ในกรณีที่น้ำตาเทียมอาจใช้ไม่ได้ผล
  • เปลี่ยนมาสวมแว่นตา เมื่อมีอาการระคายเคืองหรือเจ็บขณะที่สวมใส่คอนแทกเลนส์

การรับยาจากแพทย์

ในบางครั้ง การดูแลตัวเองที่บ้านอาจจะไม่สามารถควบคุมอาการได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับยาจากแพทย์

ยาหยอดตาจากแพทย์บางชนิดจะมีส่วนผสมของสารหล่อลื่น ทำให้ช่วยลดอาการตาแห้งหรือระคายเคืองได้ดีกว่า ยาบางชนิดอาจมีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการบวมและอักเสบของตาได้

การผ่าตัดต้อเนื้อ

ในบางกรณี ต้อเนื้ออาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็น ทำให้ไม่สามารถใช้ยาในการรักษาได้

แพทย์จึงแนะนำให้มีการผ่าตัดเพื่อนำเอาต้อเนื้อออกจากตา

อย่างไรก็ตาม ต้อเนื้อสามารถกลับมาเติบโตได้ใหม่หลังการผ่าตัด แพทย์จึงจะแนะนำวิธีนี้สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นเท่านั้น

เพื่อลดความเป็นไปได้ของการเกิดต้อเนื้อหลังผ่าตัด ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการใช้สายตากลางแจ้ง ฝุ่นผงหรือสิ่งระคายเคืองอื่นๆ และควรพบจักษุแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อติดตามอาการ

วิธีการป้องกันต้อเนื้อ

วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือ หลีกเหลี่ยงดวงตาจากสิ่งระคายเคืองต่างๆ เช่น : 

  • แสงแดด
  • ลม
  • ความแห้ง
  • ฝุ่นผง

เพื่อปกป้องดวงตา เราสามารถ :

  • สวมแว่นตา: ควรสวมใส่แว่นตากันแดดเมื่อออกสู่ที่แจ้ง รวมไปถึงขณะที่นั่งรถโดยสารต่างๆ โดยที่ควรเลือกใช้แว่นตาทรงกลมที่สามารถป้องกันแสงยูวีได้มากถึง 99-100% และควรหัดสวมใส่แว่นตากันแดดถึงแม้ว่า จะฟ้าครึ้ม ฝนตก หรือหิมะตก
  • สวมหมวกปีกกว้าง: หมวกปีกกว้างจะช่วยปกป้องสายตาจากแสงแดดได้เมื่อออกสู่กลางแจ้ง
  • สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตา : ควรสวมใส่แว่นป้องกันตาหรือแว่นป้องกันลม เมื่ออยู่ในบริเวณที่มีฝุ่นหรือสกปรกมาก
  • ใช้น้ำตาเทียม : น้ำตาเทียมจะช่วยให้สายตามีความชุ่มชื้น ลดอาการแห้งและระคายเคือง

อย่างไรก็ตาม ควรมีการพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพสายตาและอาการต้อเนื้ออย่างสม่ำเสมอ

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *