ไวรัส Respiratory Syncytial Virus (RSV) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ไวรัส Respiratory Syncytial Virus (RSV) : อาการ สาเหตุ การรักษา

25.02
616
0

ไวรัส Respiratory syncytial virus หรือ ไวรัส RSV คือการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจที่ส่งผลกระทบต่อปอดและทางเดินหายใจทั้งในผู้ใหญ่และในเด็ก 

อาการป่วยนี้เกิดจากไวรัสชื่อ  “sin-SISH-ul” อาการมีตั้งแต่น้อย ๆ เหมือนไข้หวัด บางคนจึงเรียกว่าไข้หวัด RSV ซึ่งบางครั้งมีความรุนแรงและต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล 

เคสที่รุนแรงส่วนมากนั้นเกิดขึ้นกับเด็กและผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 

Respiratory Syncytial Virus

ไวรัส RSV คืออะไร

เชื้อไวรัส RSV เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ติดต่อง่ายมากและส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ เด็กส่วนมากจะติดเชื้อไวรัสชนิดนี้เมื่ออายุประมาณ 2 ขวบ  ในผู้ใหญ่ ผู้ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ  ไวรัสนี้ทำให้เกิดอาการทางระบบหายใจหลายอย่าง 

อาการต่าง ๆ สามารถเป็นตั้งแต่ เล็กน้อยเหมือนหวัด อย่างไรก็ตาม หากมันส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง จะทำให้เกิดหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน และ ปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ 

ใน 1 – 2 เปอร์เซนต์ของทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือนที่ติดเชื้อจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล 

สาเหตุของไวรัส RSV

RSV นั้นสามาถติดต่อได้ง่ายผ่านสารคัดหลั่ง เมื่อผู้ที่ติดเชื้อไอ หรือ จาม สารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจของผู้ป่วยผ่านออกมาจากปากหรือจมูกไปสู่อากาศ 

RSV สามารถมีชีวิตอยู่ข้างนอกร่างกายได้หลายชั่วโมง เช่น อยู่ตามโต๊ะ มือ และเสื้อผ้า ทำให้มันง่ายที่จะติดต่อจากคนสู่คน 

ผู้ป่วยจะสามารถเเพร่เชื้อได้ประมาณ 3-8 วัน แต่ในเด็กและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอจะสามารถแพร่เชื้อได้ประมาณ 4 สัปดาห์ แม้ว่าอาการต่าง ๆ จะหายไปแล้วก็ตาม 

ความเสี่ยงของการมีภาวะแทรกซ้อนหรืออาการรุนแรง มีดังนี้: 

  • ทารกที่เกิดก่อนกำหนด 
  • เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี 
  • ผู้สูงอายุ 
  • ผู้ใหญ่หรือเด็กที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ 
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด หรือ ผู้ที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง 
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด (Asthma)

การติดเชื้อมักเกิดขึ้นกับเด็กที่อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียน 

ไวรัส RSV ในทารก 

อาการเริ่มแรกของเด็กและทารก มีดังนี้: 

  • น้ำมูกไหล (Runny nose)
  • เบื่ออาหาร
  • ไอ และอาจหายใจมีเสียงวี๊ด ๆ 

ทารกที่ยังเด็กมาก ๆ อาจแสดงอาการที่แตกต่างจากเด็กที่โตกว่า และ ผู้ใหญ่ ดังนี้: 

  • หงุดหงิด
  • เคลื่อนหวน้อยลง
  • เบื่ออาหาร
  • ภาวะหยุดหายใจชั่วคราว หรือหยุดหายใจขณะหลับ Obstructive Sleep Apnea

RSV นั้นสามารถเป็นอันตรายต่อทารกได้ โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนด 

  • ทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน 
  • เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปีและมีปัญหาเกี่ยวกับ ปอด หัวใจ หรือประสาทและกล้ามเนื้อ 
  • เด็กที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ 

อย่างไรก็ตาม เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีที่ติดเชื้อส่วนมากไม่มีอาการรุนแรง 

อาการของไวรัส RSV 

เมื่อติดเชื้อไวรัส RSV อาการนั้นจะแสดงให้เห็นปรมาณ 3 – 8 วันหลังจากได้รับเชื้อไวรัส 

เด็ก และ ทารกจะอาการดีขึ้นภายใน 1 – 2 สัปดาห์ แต่ RSV ยังสามารถแพร่ได้นานกว่านั้นในเโกอายุต่ำกว่า 6 เดือน และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ 

อาการต่าง ๆ มีดังนี้: 

  • น้ำมูกไหล 
  • ไอ 
  • จาม
  • เจ็บคอ
  • ปวดหัวน้อย ๆ 
  • เบื่ออาหาร
  • มีไข้ 
  • มีเสียงวี๊ด หายใจเร็ว หายใจลำบาก 
  • ไม่สบายตัว ขยับตัวน้อยลงในทารก 
  • หายใจสั้น ตื้น และเร็วในทารก 
  • อาการตัวเขียว (cyanosis)

อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้: 

  • ปอดบวม 
  • หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน 
  • การติดเชื้อในหูชั้นกลาง 
  • โรคหอบหืด
  • การกลับไปติดเชื้อ RSV อีก

การกลับมาติดเชื้อใหม่นั้นเป็นเรื่องปกติเมื่อติดครั้งแรกแล้ว 

สำหรับเคสรุนแรงต้องนอนโรงพยาบาล เพื่อที่จะ: 

  • สังเกตอาการ โดยเฉพาะการหายใจ 
  • ให้ยาเพิ่มอีก ถ้าจำเป็น 

Bronchiolitis หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน 

หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลันเป็นการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนล่างเนื่องจาก RSV ซึ่งปกติแล้วจะเกิดขึ้นกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี 

ทางเดินหายใจอักเสบและติดเชื้อ อาการเหล่านี้มักจะปรากฏขึ้น: 

  • มีไข้ 
  • ไอแห้ง ไอต่อเนื่อง
  • มีปัญหาในการป้อนอาหาร
  • หายใจมีเสียงวี๊ด 

เคสส่วนมากนั้นไม่รุนแรง แต่หากลูกของคุณหายใจหรือกินลำบาก มีไข้ เหนื่อย หรือ ไม่สบายตัว ควรพาไปพบแพทย์

การรักษาเชื้อไวรัส RSV

ในเคสที่มีอาการน้อย เป้าหมายของการรักษาจะเป็นการบรรเทาอาการ

การบรรเทาอาการต่าง ๆ มีดังนี้: 

  • ใช้เครื่องทำความชื้น 
  • ใช้หลอดดูดสารคัดหลั่งออก 
  • ให้ดื่มของเหลวเพิ่มขึ้น 
  • ให้อยู่ในท่านั่ง
  • การใช้ยาหยอดจมูก 
  • ให้ยาลดไข้ (acetaminophen ) หากมีไข้ 

ในเคสที่รุนแรง การรักษาในโรงพยาบาลจะมีดังนี้: 

  • การให้ออกซิเจน 
  • การนำสารคัดหลั่งออกจากทางเดินหายใจ 
  • การใส่ท่อช่วยหายใจ ในกรณีที่ระบบหายใจล้มเหลว หรือ ภาวะหยุดหายใจรุนแรง 

ในเคสที่พบได้น้อย อาจต้องใช้ยาพ่น ยาเหล่านี้มีคุณประโยชน์ที่ค่อนข้างจำกัดต่อการรักษาการติดเชื้อ RSV  รวมไปถึง หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน 

ยาเหล่านี้ เช่น: 

  • ไรบาวิริน  (Virazole) สำหรับต้านไวรัส 
  • เอพริเนฟริน ใช้สูดดมหรือฉีดเพื่อบรรเทาอาการ 

การติดเชื้อ RSV มักดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ ถึงแม้ว่าจะเป็นเคสรุนแรงที่ต้องนอนโรงพยาบาล 

นี่คือที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *