ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis) อาการ สาเหตุ การรักษา: 

ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis) อาการ สาเหตุ การรักษา: 

14.05
7863
0

ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis) คือ การที่กล้ามเนื้อลายตาย และปล่อยสารต่าง ๆ เข้าไปในเลือด ทำให้เกิดภาวะไตวาย 

ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย ปกติแล้วเกิดขึ้นจากเหตุการที่เฉพาะเจาะจง ส่วนมากแล้วคือ การบาดเจ็บ การออกกำลังกายหนักเกินไป การติดเชื้อ การใช้สารเสพติด หรือการใช้ยาบางชนิด 

ภาวะกล้ามเนื้อลายสลายคืออะไร 

เมื่อกล้ามเนื้อลายถูกทำลายหรือตาย ส่วนประกอบของมันจะถูกทำให้แตกออก และถูกปล่อยเข้าไปยังระบบเลือดเพื่อที่จะถูกกรองและถูกขับออกจากร่างกาย 

ส่วนประกอบเหล่านี้สามารถทำให้เกิดความเสียหายของไตได้ และที่พบมากที่สุดคือ โปรตีนไมโยโกลบิน 

โปรตีนไมโยดกลบินสามารถไปอุดกั้นระบบท่อในไตได้ และหากการอุดกั้นนั้นรุนแรงมากพอ ก็จะเกิดความเสียหายต่อไตและทำให้เกิดภาวะไตวย เอนไซม์ที่เป็นส่วนประกอบของเซลล์ โดยเฉาะ Creatine Kinase (CK) นั้นก็ทำให้ไตทำงานหนักขึ้นด้วยเช่นกัน 

กล้ามเนื้อที่ถูกทำลายยังกักของเหลวของร่างกายไว้ด้วย ซึ่งทำให้ร่างกายขาดน้ำ และทำให้ปริมาณของเลือดที่ไหลไปที่ตับลดลง ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ไตเกิดความเสียหาย 

อาการแทรกซ้อนของภาวะกล้ามเนื้อลายสลายนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงและปัจจัยต่าง ๆ ในเคสที่เป็นเล็กน้อยอาจไม่แสดงอาการใดเลย และอาจตรวจเจอได้โดยการตรวจเลือดเท่านั้น บ่อยครั้งในเคสที่รุนแรงจะทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม มันเป็นอันตรายถึงชีวิต 

สาเหตุภาวะกล้ามเนื้อสลาย

ในกรณีผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อลายสลายส่วนมากเป็นส่วนนึงของการสลายของกล้ามเนื้อลายอันเนื่องมาจากการบาดเจ็บ แต่ปกติแล้ว อะไรก็ตามที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้่อ ภาวะขาดน้ำ หรือการบาดเจ็บที่ไตทำให้โอกาสในการเกิดโรคนี้สูงขึ้น 

ในหลายกรณีที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากอาการบาดเจ็บโดยตรงนั้นเป็นผลมาจากปัจจัยที่แตกต่างกันหลายอย่าง 

นักวิจัยยังทำการเสาะหาว่าปัจจัยใดที่อาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อลายสลายได้ ดังนี้: 

  • เสื่อมสภาพ 
  • ผลลัพท์จากการบาดเจ็บภายนอก การติดเชื้อ หรือสารต่าง ๆ 
  • ได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรม เกิดจากโรคทางพันธุกรรม เช่น  muscular myopathies 

มีสาเหตุและปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย ดังนี้: 

  • มีความเสียหายเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อลาย 
  • ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เป็นเวลานานเกินไป 
  • ออกกำลังกายกล้ามเนื้อหนักเกินไป 
  • เป็นลมแดด หรือออกกำลังกายมากเกินไปในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี 
  • ภาวะตัวเย็นเกิน hypothermia
  • การเผาผลาญที่มากเกินไปทำให้กล้ามเนื้อเสียหาย 
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรมของกล้ามเนื้อ หรือ metabolic myopathies
  • อาหารเสริมหรือยาลดน้ำหนัก โดยเฉพาะที่มีส่วนผสมของ ephedra และ creatine
  • การติดเชื้อ การติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด 
  • ภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย โดยเฉพาะในกรณีที่ส่งผลกระทบต่อ โพแทสเซียม และ แคลเซียม 
  • ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ เช่น ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ และ ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์สูง 
  • โรคไต หรือ ความผิดปกติที่ไต 
  • หัวใจวาย หรือ เส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บและไม่สามารถขยับได้ 
  • การผ่าตัดหลอดเลือด ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อได้บ่อย เพราะต้องอยู่นิ่ง ๆ นาน ๆ ระว่างและหลังการผ่าตัด 
  • ภาวะโลหิตจาง 
  • การอักเสบของกล้ามเนื้อ 

Rhabdomyolysis

สาเหตุที่เป็นไปได้อื่น ๆ คือ การสัมผัสกับสารพิษต่าง ๆ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์หรือการใช้ยาเสพติดเป็นเวลานาน รวมไปถึงการสัมผัสกับพิษในสิ่งแวดล้อม เช่น พิษของสัตว์เลื้อยคลานหรือแมลง รา และ คาร์บอนมอนอกไซด์ 

ยาบางชนิดก็สามารถทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อลายสลายได้เช่นกัน เช่น ภาวะนี้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยประมาณ์ 0.3 ถึง 13.5 เคส จาก 1 ล้านเคสที่ใช้ยาลดไมมันกลุ่ม statin ยาอื่น ๆ เช่น ยาต้านอาการทางจิต และยาที่ใช้สำหรับจัดการกับโรคทางกล้ามเนื้อ เช่น กลุ่มโรคพาร์กินสัน

อาการกล้ามเนื้อลายสลาย

แม้ว่าอาการจะไม่แสดงออกมาในเคสที่ไม่รุนแรง ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อลายสลายมักมีอาการที่เหมือนกัน อาการส่วนมากจะเกิดขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันหลังจากเกิดภาวะนี้ 

อาการเบื้องต้นมีดังนี้: 

ควรพบแพทย์เมื่อมีอาการ หากไม่รักษาอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นและเป็นอันตรายถึงชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ไตวาย 

การรักษาภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย

การรักษานั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเคส อาการ และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นที่อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อไต ในเคสที่รุนแรง ไตที่เสียหายไปแล้วอาจไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที 

การรักษาอย่างนึงคือการฉีดของเหลวเข้าไปในเส้นเลือด น้ำปริมาณมาก ๆ อยู่ในเส้นเลือดได้นานเพื่อที่จะทำให้ร่างกายมีน้ำอีกครั้งและสามารถขับไมโยโกลบินได้ 

การรักษาอื่นสำหรับเคสที่รุนแรงมีดังนี้: 

  • การทำให้ปัสสาวะเป็นด่าง (urine alkalization)
  • การฟอก (dialysis)
  • การกรองเลือด (filtration of the blood) ในเคสที่หนักมาก ๆ 

นี่คือที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *