หิด (Scabies) อาการ สาเหตุ การรักษา

หิด (Scabies) อาการ สาเหตุ การรักษา

01.11
18997
0

หิด (Scabies) คือหนึ่งในโรคผิวหนัง ที่อาจทำให้เกิดอาการคันหรือเป็นผื่น โดยโรคหิดเกิดจากไรแปดขาที่มีขนาดเล็กมาก

โรคหิดสามารถติดต่อและแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ด้วยการสัมผัสอย่างใกล้ชิด ทำให้สถานที่ที่สามารถเกิดการแพร่กระจายได้ง่ายที่สุดคือ ครอบครัว สถานรับเลี้ยงเด็ก บ้านพักคนชรา เรือนจำ

โรคหิดสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป กับทุกเพศทุกวัย และผู้ที่มีความใกล้ชิดกับบุคคลที่เป็นโรคหิต จำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาด้วย

Scabies

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคหิด

นี่คืออาการที่ชัดเจนของโรคหิด โดยที่ในบทความจะกล่าวถึง รายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติม

  • ไรจะใช้ชีวิจอยู่บนผิวหนังของมนุษย์ เพื่อให้อาหาร และสามารถมีชีวิตอยู่ได้ 48-72 ชั่วโมงโดยไม่มีมนุษย์
  • อาการผื่นคันของผู้ที่เป็นโรคหิด เกิดจากการที่ร่างกายมีปฏิกริยาแพ้ไข่และของเสียของไร
  • ผู้ที่เป็นโรคหิด จะมีไรโดยเฉลี่ยประมาณ 15-20 ตัว
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหิด คือ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกันกับผู้ป่วย

ในแต่ละปี มีผู้ติดโรคหิดหลายล้านคน ทุกเชื่อชาติ ทุกเพศ ทุกวัยและทุกสถานะ

โรคหิดสามารถติดต่อได้โดยการสัมผัส ใช้ผ้าปูที่นอน เสื้อผ้า หรือเฟอร์นิเจอร์ที่มีไร

ในแต่ละปี จะมีผู้ติดโรคหิดมากถึง 300 ล้านคนทั่วโลก และ 1 ล้านคนในสหรัฐอเมริกา

โรคหิดมักพบได้มากในเด็กและวัยรุ่น โดยส่วนมากมักจะมีการระบาดในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียน

อาการของโรคหิด

อาการของโรคหิดจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าเคยได้รับการสัมผัสจากไรหรือไม่ ผู้ที่สัมผัสครั้งแรก อาจจำเป็นที่จะใช้เวลา 2-6 สัปดาห์ก่อนที่จะแสดงอาการ

และระยะเสลาในการแสดงอาการจะสั้งลง ในการติดเชื้อครั้งต่อไป เพราะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถตอบสนองต่อได้เร็วขึ้น โดยอาจใช้เวลาเพียง 1-4 วัน

สัญญาณและอาการของโรคมีดังนี้ :

  • อาการคัน: มักจะมีอาการแย่ลงในเวลากลางคืน และอาจจะรุุนแรงมากขึ้น อาการคันเป็นอาการที่พบได้มากที่สุดในโรคหิด
  • ผื่น: เมื่อไรกระทบกับผิวหนัง จะมีการสร้างรอยไว้บนผิว มีลัษณะคล้ายลมพิษหรือสิว ทำให้ผิวหนังลอกและอาจมีแผลพุพอง
  • แผล: จะเกิดในผู้ที่มีรอยขีดข่วนบนผิวหนัง โดยจะนำไปสู่การพุพองและติดเชื้อได้
  • ผิวหนาขึ้น: อาการหิดนอร์เวย์ เป็นหิดชนิดที่รุนแรงเป็นชนิดที่จะทำให้มีตัวไรและไข่ 100-1000 ตัวอยู่บนผิวหนังทำให้เกิดอาการที่รุนแรง

ผู้ที่ได้รับเชื้อหิด จะมีผิวหนังที่กลายเป็นสีเทา แข็ง กระจายเป็นวงกว้าง

ไรที่อาศัยอยู่ตามพื้นผิวทั่วไป สามารถมีอายุได้ถึงหนึ่งสัปดาห์

แหล่งสะสมของไรในผู้ใหญ่ที่พบได้มากที่สุดคือ :

  • ซอกนิ้ว
  • รอบเล็บ
  • รักแร้
  • รอบเอว
  • ด้านในข้อมือ
  • ข้อพับแขน
  • ฝ่าเท้า
  • หน้าอก บริเวณรอบๆหัวนม
  • อวัยวะเพศชาย
  • ก้น
  • หัวเข่า
  • หัวไหล่

แหล่งสะสมของไรในเด็กที่พบได้มากที่สุดคือ :

  • หนังศรีษะ
  • ใบหน้า
  • ลำคอ
  • ฝ่ามือ
  • ฝ่าเท้า

ในเด็กทารก โรกหิดมีแนวโน้มที่จะแสดงอาการหงุดหงิด ส่งผลต่อการนอนหลับและการรับประทานอาหารได้

6 วิธีการรักษาโรคหิด

โรคหิดเป็นโรคที่มีอัตราการติดต่อสูง ดังนั้น ใครก็ตามที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ได้รับการวิเคราะห์ว่าเป็นโรคหิดแล้ว ควรได้รับการรักษาโรคหิดด้วยเช่นกันแม้ว่าจะไม่แสดงอาการใดๆก็ตาม 

โรคหิดสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาทาเฉพาะที่ เช่น ครีมเพอร์เมทริน5% ครีมโครทามิทันหรือโลชั่นลิเดน โดยส่วนมาก แพทย์จะสั่งให้ใช้ยาเฉพาะในเวลากลางคืนและล้างออกในตอนเช้า

สำหรับผู้ที่มีภาวะป่วยเป็นโรคหิดเกรอะกัง หรือไม่มีการตอบสนองต่อยาทาเฉพาะที่ แพทย์อาจมีการแนะนำให้ใช้ยาไอเวิร์ไมซินในการรักษา

ยาชนิดนี้รักษาหิด ไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร รวมไปถึงเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 15 กิโลกรัม

แพทย์อาจมีการใช้ยาชนิดอื่นๆเช่น ยาต้านฮิสทามีน ครีมทาแก้คัน ยาปฏิชีวนะ หรือสเตียรอยด์ ในการช่วยบรรเทาอาการ

การรักษาด้วยยาของแพทย์ จะทำให้ไรตายไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ผื่นคันอาจมีอาการแย่ลง

อย่างไรก็ตาม ผิวหนังควรหายเป็นปกติภายใน 4 สัปดาห์หลังการรักษา และอาจมีการรักษามากกว่าหนึ่งครั้ง

โดยที่ยาบางชนิดสามารถหาซื้อได้ทั่วไป

การทดสอบและวินิจฉัยโรค

บางครั้งโรคหิดอาจจะถูกเข้าใจผิดได้ว่าเป็นเพียงโรคผิวหนังอักเสบทั่วไป หรือเป็นโรคเรื้อน เนื่องจากมีอาการคันและอักเสบเหมือนกัน อต่อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ทันทีหากไม่แน่ใจ เพราะโรคหิดจำเป็นที่จะต้องได้รับยาจากแพทย์

แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้ด้วยการขูดตัวอย่างจากผิวหนัง และนำไปตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์

สาเหตุของหิด

เกิดจากการที่ผิวหนังถูกรบกวนจากไร ที่เรียกว่า ไรคัน

หลังจากที่ไรสามารถเข้าไปอยู่ใต้ผิวหนังได้แล้ว ไรตัวเมียจะสร้างโพรงและวางไข่ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อนแล้ว จะย้ายไปอยู่ที่บริเวณผิวหนัง ก่อนที่จะแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายและผู้อื่นด้วยการสัมผัส

โรคหิด สามารถติดต่อไปยังสัตวืเลี้ยงได้เช่นกัน แต่จะมีสายพันธุ์ที่เปลี่ยนไป

หิดเป็นโรคติดต่อที่แพร่กระจายได้ง่ายโดยการสัมผัสผิวหนังโดยตรง การใช้ผ้าปูที่นอนหรือผ้าขนหนูร่วมกัน หรือใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีไรเกาะอยู่ ผู้ที่มีแนวโน้มในการติดไรได้แก่ : 

  • เด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือไปโรงเรียน
  • ผู้ปกครองของเด็กเล็ก
  • การมีเพศสัมพันธ์ในคนหนุ่มสาว หรือผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ผู้ที่อยู่ในสถานดูแล
  • คนแก่
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมไปถึงผู้ที่ติดเชื้อ HIV ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือได้รับยาต้านภูมิคุ้มกัน

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *