เจ้าชายนิทรา (Sleeping Prince) : อาการ สาเหตุและการรักษา

เจ้าชายนิทรา (Sleeping Prince) : อาการ สาเหตุและการรักษา

18.12
9257
0

เจ้าชายหรือโรคเจ้าหญิงนิทรา (Sleeping Prince) เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการหมดสติและไม่รู้สึกตัว โดยผู้ที่เป็นโรคนี้จะสูญเสียการทำงานของสมองเนื่องจากสมองถูกทำลาย และสมองไม่สั่งการ หรือเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงจึงทำให้ผู้ป่วยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งต่างๆได้เพียงบางส่วนของร่างกาย

ดังนั้นการขยับร่างกายหรือการทำกิจกรรมต่างๆจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้อื่นทั้งหมดเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด อย่างไรก็ตามโรคเจ้าหญิงนิทราแตกต่างจากภาวะสมองตาย เนื่องจากระบบต่างๆในร่างกายยังสามารถทำงานได้ตามปกติเช่นการหายใจและระบบหมุนเวียนเลือดภายในร่างกาย แต่สำหรับการเคลื่อนไหวผู้ป่วยสามารถลืมตาได้เพียงอย่างเดียวและสามารถแสดงสีหน้า ร้องไห้หรือหัวเราะได้

นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคเจ้าชายนิทราในเป็นเวลานานอาจได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนอนติดเตียงเรื้อรังหรือผู้ป่วยที่เป็นผักถาวร

  • ผู้ป่วยที่เป็นสภาพผักเรื้อรังหมายถึงผู้ป่วยด้วยโรคเจ้าชายนิทรามากกว่า 4 สัปดาห์
  • ผู้ป่วยที่เป็นสภาพผักถาวร หมายถึงผู้ป่วยที่นอนเป็นเจ้าชายนิทรามากกว่า 6 เดือนและมีอาการบาดเจ็บในสมอง หรือเป็นโรคเจ้าชายนิทรามากกว่า 12  เดือนในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บที่สมอง โดยผู้ป่วยมีโอกาสหายน้อยมากหลังจากได้รับการรักษา

นอกจากนี้โรคเจ้าชายนิทรายังมีความแตกต่างจากอาการหมดสติทั่วไป สำหรับอาการหมดสติเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บหรือสมองและก้านสมองได้รับความเสียหาย ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถลืมตาได้หลังจากได้รับบาดเจ็บ ซึ่งภาวะหมดสติมีอาการดังต่อไปนี้ได้แก่ไม่สามารถพูดหรือสื่อสาร รวมถึงขยับร่างกายหรือแสดงความต้องการได้ และผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

เนื่องจากการเกิดภาวะหยุดหายใจเฉียบพลันสามารถเกิดขึ้นเมื่อหมดสติได้ อย่างไรก็ตามการรักษาอาการที่เกิดขึ้นสามารถทำให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติได้

อาการของโรคเจ้าชายนิทรา

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเจ้าหญิงนิทราสามารถหายใจและมีอัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ โดยไม่จำเป็นต้องใจเครื่องช่วยหายใจในขณะที่นอนหลับหรือตื่นนอน ในช่วงที่ตื่นนอนผู้ป่วยสามารถตอบสนองด้วยการกระพริบตาเมื่อได้ยินเสียงดังได้

หรือบีบมือเมื่อรู้สึกเจ็บหรือแสดงปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อร่างกายได้รับความเจ็บปวด ทั้งนี้การตอบสนองของร่างกายที่เกิดขึ้นดังกล่าวคนไข้ไม่ได้รู้สึกตัว นอกจากนี้คนไข้ยังสามารถแสดงอาการตอบสนองจากการรับรู้ได้เช่นมีสิ่งแปลกปลอมเข้าในดวงตาหรือแสดงอารมณ์ต่างๆ

สาเหตุของโรคเจ้าชายนิทรา

โรคเจ้าชายนิทราหรือสภาพผักเป็นหนึ่งในอาการความผิดปกติเกี่ยวกับความรู้สึกตัวที่เกิดขึ้นเมื่อบางส่วนของสมองได้รับบาดเจ็บหรือถูกทำลาย ซึ่งสามารถแบ่งอาการบาดเจ็บที่สมองและอาการบาดเจ็บที่สมองเรื้อรังได้ดังต่อไปนี้

  • ภาวะสมองบาดเจ็บ เป็นอาการบาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระเเทกจากวัตถุสิ่งของหรือเกิดเเรงกระทบกระเทือนที่ศีรษะอย่างรุนเเรงเช่นประสบอุบัติเหตุทางรถยนตร์และการตกจากที่สูงหรือถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนเเรง
  • อาการเจ็บปวดที่สมอง (ภาวะสมองไม่ได้บาดเจ็บ) 
  • เป็นการบาดเจ็บเนื่องจากปัญหาทางสุขภาพ ที่ทำให้เกิดปัญหาสมองขาดออกซิเจนส่งผมให้เนื้อเยื่อตายหรือมีปัญหาเกิดขึ้นกับสมองโดยตรงอย่างเช่นโรคเส้นเลือดในสมองแตก โรคหัวใจ การติดเชื้อในสมองอย่างรุนเเรงเนื่องจากมีสารพิษในสมองหรือการสูดดมก๊าซมากเกินไปจนทำให้หายใจไม่ออก รวมถึงภาวะผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัวที่เกิดจากเลือดออกในสมอง
  • สมองเกิดความเสียหายเรื้อรัง (ภาวะสมองถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง
  • เป็นอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในสมองเเละทำให้สมองค่อยๆถูกทำลายเมื่อเวลาผ่านไปในระยะยาว โรคที่ทำลายสมองเช่นโรคอัลไซเมอร์และโรคพาคินสันหรือมีเนื้องอกเกิดขึ้นในสมอง

วิธีการรักษาโรคเจ้าชาย

นิทรา

วิธีการรักษาโรคเจ้าชายนิทราขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว สำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะต้องทำการรักษาทันทีเพื่อป้องกันอาการเลือดออกในสมองหรือสมองบวม สำหรับผู้ที่เป็นโรคหรือมีปัญหาสุขภาพจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโรคที่เกิดขึ้น  หรือถ้าหากผู้ป่วยได้สัมผัสกับยาพิษแพทย์จะทำการรักษาด้วยยาถอนพิษ

อย่างไรก็ตาม การรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเจ้าชายนิทราเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยการรักษาสามารถปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้

  • แพทย์จำเป็นต้องเจาะคอของผู้ป่วยเพื่อเปิดทางเดินหายใจและป้องกันการอุดตันรวมถึงป้องกันภาวะปอดบวมจากการสำลัก 
  • ให้อาหารผู้ป่วยผ่านสายยางเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารและน้ำที่เพียงพอ โดยแพทย์สามารถเจาะสายยางให้อาหารผู้ป่วยผ่านทางจมูก หรือเจาะท้องต่อสายยางเพื่อลำเลียงอาหารเข้าสู่กระเพาะโดยตรง
  • ช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ป่วยได้ขยับร่างกายอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อแขนขาลีบ ซึ่งเป็นอาการที่รุนเเรงของผู้ป่วยที่เป็นโรคเจ้าชายนิทรา
  • ช่วยให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายข้อต่อเบาๆเพื่อป้องกันข้อต่อฝืด
  • ช่วยผู้ป่วยได้ขยับร่างกายและพลิกตัวผู้ป่วยเป็นประจำเพื่อป้องกับการเกิดแผลกดเจ็บ รวมถึงทำความสะอาดร่างกายให้ผู้ป่วย
  • ดูแลการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ เพื่อรักษาความสะอาด ด้วยการสอดท่อหรือสายยางเข้าไปในร่างกายเพื่อให้ผู้ป่วยขับปัสสาวะออกมา
  • แพทย์จะทำการเฝ้าสังเกตุอาการและให้ยาปฏิชีวนะแก่ผู้ป่วยเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อที่ปอดหรือระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ช่วยทำความสะอาดฟันเเละช่องปากให้กับผู้ป่วย
  • ทำกิจกรรมต่างๆเช่นให้ผู้ป่วยฟังเพลง ดูโทรทัศน์หรือดูรูปภาพของครอบครัว

นอกจากนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการกระตุ้นความรู้สึก เพื่อเพิ่มระดับการตอบสนองของร่างกาย ซึ่งการกระตุ้นความรู้สึกจะนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความรู้สึกหลักเท่านั้น

สำหรับการรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งเป็นการรักษาจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมกับสมาชิกในครอบครัวเช่นการเปิดหนังเรื่องที่ชอบดูด้วยกันกับคนในครอบครัวหรือดูรูปภาพเพื่อน รวมถึงการพูดคุยหรือเล่นดนตรีให้กับผู้ป่วย การฉีดน้ำหอมกลิ่นที่ผู้ป่วยชอบหรือการจัดดอกไม้ไว้ในผู้ป่วยและการจับมือหรือนำวัตถุหลายชนิดมาให้ผู้ป่วยสัมผัส

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *