โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

16.05
1873
0

โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis) คือภาวะที่เส้นประสาทในกระดูกสันหลังถูกกดทับ อาจนำไปสู่อาการผิดปกติหลายอย่าง รวมถึงความเจ็บปวด อ่อนแรง และชาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบเกิดขึ้นเมื่อช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังหรือกระดูกสันหลังแคบลง การหดตัวนี้จะบีบอัดโพรงประสาทระหว่างกระดูกสันหลัง และรากประสาท อาจทำให้เกิดอาการปวด อ่อนแรง หรือชาบ่อย ๆ ที่ขา และเท้า

กระดูกสันหลังประกอบด้วยกระดูก 33 ชิ้นที่เชื่อมต่อกันเป็นโพรงประสาท โพรงประสาทประกอบด้วยไขสันหลังซึ่งยื่นออกมาจากฐานของกะโหลกศีรษะลงไปที่หลังส่วนล่าง

ฐานของไขสันหลังจะแยกออกเป็นมัดของรากประสาท  รากประสาทเหล่านี้จะแตกแขนงออกจากโพรงประสาทผ่านช่องว่างในกระดูกสันหลัง

สาเหตุของโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการเกิดโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นรูปแบบความเสื่อมของโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลัง และโครงสร้างโดยรอบที่เกิดขึ้นตามวัย

การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้เกิดการบีบตัวของโพรงประสาทกระดูกสันหลัง อันได้แก่ :

  • การพัฒนาของกระดูกที่ผิดปกติ เรียกว่ากระดูกงอกบนกระดูกสันหลัง
  • การเสื่อมและการอักเสบของข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลัง
  • ความหนาที่เพิ่มขึ้นของเอ็นที่รองรับกระดูกสันหลัง

โรคข้ออักเสบที่ทำให้เกิดโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบมีดังต่อไปนี้:

ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบได้แก่ :

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ

โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบอาจมีอาการมาตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดจากกระดูกสันหลังมีลักษณะตีบแต่กำเนิด หรือลักษณะช่องกระดูกสันหลังมีขนาดเล็ก

โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลังเนื่องจากอายุ หรืออาการทางการแพทย์อื่น ๆ

ปัจจัยต่อไปนี้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโพรงกระดูกสันหลังตีบแคป:

  • โรคกระดูกสันหลังคดเป็นอาการที่กระดูกสันหลังเกืดอาการโค้งที่บริเวณด้านข้าง
  • เคยได้รับบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง หรือได้รับการผ่าตัดที่กระดูกสันหลังมาก่อน
  • มีฟลูออไรด์หรือแคลเซียมมากเกินไปในร่างกาย

อาการของโรคกระดูกสันหลังตีบแคบ

ผู้ที่เป็นโรคกระดูกสันหลังตีบแคบอาจพบอาการที่ขาหรือเท้า ดังต่อไปนี้:

  • ปวดอย่างรุนแรง
  • อาการชา
  • อาการอ่อนแรง
  • เป็นตะคริว

อาการเหล่านี้อาจเริ่มอย่างช้า ๆ และแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป

ในกรณีที่รุนแรงผู้ป่วยอาจมีอาการอัมพาตบริเวณขาบางส่วน หรือทั้งหมดได้

ผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังตีบแคบบางราย อาจมีอาการอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่าอาการบาดเจ็บบริเวณรากประสาทส่วนปลาย (CES)

อาการบาดเจ็บบริเวณรากประสาทส่วนปลายมีผลกระทบต่อรากประสาทที่ฐานของกระดูกสันหลัง เป็นภาวะร้ายแรงที่ทำให้เป็นอัมพาตถาวร และยังลุกลามได้หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา

อาการของการบาดเจ็บบริเวณรากประสาทส่วนปลาย ได้แก่ :

  • อาการปวดเส้นประสาทไซแอ็ททิคาที่จะไปยังขาแต่ละข้าง
  • อาการอ่อนแรงที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง
  • เดินลำบาก
  • กระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ทำงานผิดปกติ
  • สูญเสียความรู้สึกที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก และต้นขาด้านใน
  • การสูญเสียสมรรถภาพทางเพศ

ปัจจัยอื่น ๆ สามารถส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการที่คล้ายคลึงกับโรคนี้ได้ ดังนั้นหากสงสัยว่าเป็นโรค ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง

Spinal Stenosis

การรักษาโรคกระดูกสันหลังตีบแคบ

อาการของโรคกระดูกสันหลังตีบแคบจะค่อย ๆ แย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป แม้จะยังไม่มีวิธีรักษาเฉพาะ แต่การรักษาแบบผสมผสานสามารถช่วยให้อาการคงตัว และบรรเทาอาการบางอย่างได้

วิธีในการรักษาโรคกระดูกสันหลังตีบแคบ ได้แก่ :

การรักษาด้วยยา : ยาบรรเทาอาการปวด เช่น อะเซตามิโนเฟน และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ แต่หากอาการรุนแรงแพทย์อาจสั่งจ่ายยาอื่น ๆ เช่น:

  • ยาแก้ปวดอย่างแรง เช่น opioids
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อบรรเทาอาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ และตะคริว
  • การฉีดสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบรอบไขสันหลัง

การรักษาด้วยการผ่าตัด : ผู้ป่วยบางรายอาจต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขอาการกดทับที่กระดูกสันหลัง เพื่อบรรเทาอาการที่รุนแรง หรือแย่ลง

การผ่าตัดเพื่อลดการบีบอัดของกระดูกสันหลัง ลดหรือกำจัดการเจริญเติบโตของกระดูกและเนื้อเยื่อที่อักเสบบริเวณช่องกระดูกสันหลัง ซึ่งช่วยให้เส้นประสาท และไขสันหลังมีพื้นที่ว่างเพิ่มขึ้น

ขั้นตอนและรูปแบบการผ่าตัดต้องอยู่ในการพิจารณาของศัลยแพทย์โดยจะเปิดป่กแผลให้น้อยที่สุดแต่ก็ขึ้นกับอาการของโรค

ตัวเลือกที่ทำให้แผลเกิดน้อยที่สุดคือการปผ่าตัดด้วยกล้องขนาดเล็ก และเครื่องมืออื่น ๆ ผ่านแผลขนาดเล็ก ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อเสียหายน้อยลงได้ ช่วยให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อได้รับความเสียหายน้อยลง และความเสี่ยงต่อการติดเชื้อก็จะลดลงด้วย

การรรักษาด้วยการออกกำลังกาย : การออกกำลังกายเป็นประจำหรือการทำกายภาพบำบัดสามารถเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณหลัง แขน และขา ให้ยืดหยุ่น ทรงตัวและการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังตีบแคบควรทำอย่างน้อย 30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์

และท่าการออกกัลงกายที่ดีควรทำท่างอร่างกายด้วย โดยการงอหลังส่วนล่างให้โน้มไปข้างหน้า เมื่อหลังแข็งแรงขึ้น ผู้ป่วยสามารถเพิ่มการออกกำลังกายที่ไม่หักโหมอื่น ๆ  อย่างการเดิน หรือว่ายน้ำ ได้

การรักษาด้วยการยืดหลัง : การทำกายบริหารเพื่อเพิ่มช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลัง ลดแรงบีบอัดของช่องกระดูกสันหลัง:

ท่าเข่าถึงหน้าอก วิธีการดังนี้:

  • เริ่มต้นด้วยการนอนหงายบนพื้น แล้วงอเข่าทั้งสองข้าง
  • ค่อย ๆ ดึงเข่าขวาเข้าหาหน้าอก แล้วจับไว้หลวม ๆ ด้วยมือทั้งสองข้าง
  • ค่อย ๆ ดึงเข่าเข้าหาหน้าอก 10 ครั้ง
  • ทำเช่นเดียวกันกับขาอีกข้าง

ท่ากอดเข่า วิธีการดังนี้:

  • เริ่มต้นด้วยการนอนหงายบนพื้น แล้วงอเข่า
  • ดึงเข่าทั้งสองข้างเข้าใกล้หน้าอก ด้วยมือทั้งสองข้าง
  • จากนั้นค่อย ๆ ปล่อยเข่าให้กลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้น
  • ทำซ้ำ 10 ครั้ง

การทำท่าประลองยุทธ์ วิธีการดังนี้ :

  • เริ่มต้นด้วยการนอนหงายบนพื้น แล้วงอเข่า
  • ดันหลังส่วนล่างลงไปสัมผัสพื้น พร้อมดึงกล้ามเนื้อท้องส่วนล่างให้ยกขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการขยับสะโพก
  • ค้างไว้ 5 วินาทีแล้วหายใจตามปกติ จากนั้นจึงผ่อนคืนท่าเดิม
  • ทำซ้ำ 10 ครั้ง

ท่ายืดหลังส่วนล่าง วิธีการดังนี้ :

  • เริ่มต้นด้วยการนอนหงายบนพื้น แล้วงอเข่าทั้งสองข้าง
  • ดึงกล้ามเนื้อหน้าท้องให้ยกขึ้นมา
  • ค่อย ๆ เอนเข่าทั้ง 2 ข้างไปทางด้านขวามือ โดยไม่ฝืนจนเกินไป จากนั้นหมุนเข่ากลับมาที่กึ่งกลาง
  • เอนเข่าทั้ง 2 ข้างไปทางซ้ายมือ โดยไม่ฝืนจนเกินไป จากนั้นหมุนเข่ากลับมาที่กึ่งกลาง
  • ทำซ้ำ 10 ครั้ง

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *