ม้ามโต (Splenomegaly) : สาเหตุ อาการ การรักษา

ม้ามโต (Splenomegaly) : สาเหตุ อาการ การรักษา

24.02
13470
0

โรคม้ามโต (Splenomegaly) เป็นภาวะที่ม้ามมีขนาดใหญ่กว่า 20 ซม. (7.9 นิ้ว) หรือมีน้ำหนักมากกว่า 1,000 กรัม (2.2 ปอนด์)

ม้ามทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน หน้าที่ของม้ามคือการกรองเลือด ภาวะม้ามโตเกิดขึ้นเมื่อม้ามขยายขนาดขึ้นหรือมีน้ำหนักมากขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพจะถือว่า การมีภาวะม้ามโตนั้น ม้ามจะต้องมีขนาดตั้งแต่ 12 ถึง 20 เซนติเมตร (ซม.) (4.7 ถึง 7.9 นิ้ว ) และมีน้ำหนักมากกว่า 400 กรัม (กรัม) (0.88 ปอนด์)

สาเหตุของโรคม้ามโต

การตรวจวินิฉัยด้วยการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายช่วยระบุได้ว่า เกิดภาวะม้ามโตหรือไม่

โดยสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของภาวะม้ามโต ได้แก่ :

  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับเลือด: ภาวะหรือโรคต่าง ๆ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือภาวะไขกระดูกมีความผิดปกติ อาจทำให้เซลล์มะเร็งรุกรามไปถึงม้าม และเกิดโรคต่าง ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้ขนาดของม้ามขยายใหญ่ขึ้นได้ ประมาณ 64% ของผู้ป่วยภาวะม้ามโตที่ขยายขนาดใหญ่ขึ้นเกิดจากความผิดปกติของเลือด

  • มีโรคตับ: โรคตับ เช่น โรคตับแข็ง หรือตับอักเสบ ทำให้เลือดดำไหลผ่านตับเข้าสู่หัวใจไม่สะดวกและความดันของหลอดเลือดดำย้อนกลับไปที่ม้ามเพิ่มขึ้นทำให้ม้ามโตและขยายขนาดขึ้นเรื่อย ๆ ภาวะตับและม้ามขยายเกิดขึ้นเมื่อเกิดการขยายตัวและการบวมช้ำของตับและม้าม

  • มีภาวะม้ามติดเชื้อ: เนื่องจากม้ามเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้น การติดเชื้อ เช่น เชื้อโมโนนิวคลีโอซิส เชื้อวัณโรค เยื่อบุหัวใจอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเอชไอวี อาจทำให้ม้ามขยายตัวได้

สาเหตุของภาวะม้ามโตที่พบได้น้อย ได้แก่ :

  • มีความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน รวมถึง โรคที่มีการอักเสบและมีการทำลายเนื้อเยื่อหลายอวัยวะ เช่น ผิวหนัง ไต ข้อ หัวใจ และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

  • ความผิดปกติที่มีส่วนประกอบของเลือดในระดับต่ำหรือลดลง เช่น ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกจากภูมิตัวเอง หรือโรคที่มีเกล็ดเลือดต่ำซึ่งเป็นผลมาจากร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อต้านเกล็ดเลือด

  • โรคที่มีการแทรกซึมของเนื้อเยื่อ เช่น โรคที่เกิดจากการมีสารแอมีลอยด์ (Amyloid) เข้าไปสะสมตามเนื้อเยื่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย หรือ โรคที่เกี่ยวข้องกับการสะสมที่ผิดปกติของเซลล์ที่อักเสบ

  • ภาวะของเหลวคั่งในม้าม รวมถึง ภาวะหัวใจล้มเหลว และภาวะความดันสูงในระบบหลอดเลือดดำของตับ

  • ภาวะแทรกซ้อนโรคเคียวเซลล์ (Sickle Cell Anemia) ซึ่งรวมถึง ภาวะอื่น ๆ ด้วย เช่น โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว และโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแตก

  • ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ เช่น ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำในตับหรือพอร์ทัล

  • ภาวะที่พบได้ยาก รวมถึง โรคบานติ (Bantis Syndrome) ที่เชื่อมโยงกับม้ามโต โลหิตจาง ตับแข็ง และภาวะผิดตำแหน่งของม้าม

หากไม่มองถึงสาเหตุแล้ว ภาวะม้ามโตเป็นภาวะที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ทั้งนี้ ประชากรประมาณ 2% เกิดภาวะม้ามโต ซึ่งอาจจะเป็นช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตก็ได้

ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงเป็นภาวะม้ามโตน้อยกว่าคนในวัยอื่นเล็กน้อย เนื่องจากส่วนหุ้มภายนอกของม้ามจะบางลงและมีขนาดเล็กลงตามอายุ

อาการของโรคม้ามโต

ผู้ป่วยภาวะม้ามโตอาจไม่มีอาการใด ๆ เลย ทั้งนี้ หากมีอาการม้ามโตเกิดขึ้น ก็อาจจะมีเช่น:

  • มีอาการท้องอืด

  • รู้สึกอิ่มเร็วแม้รับประทานอาหารเพียงเล็กน้อย

  • มีการติดเชื้อบ่อยครั้ง

  • มีโรคโลหิตจาง

  • มีอาการเมื่อยล้า

  • รู้สึกเจ็บหรือปวดรอบ ๆ ซี่โครงด้านซ้าย

  • มีเลือดออกง่าย

อย่างไรก็ตาม อาการของภาวะม้ามโตมักเกิดขึ้นจากสาเหตุที่มีอยู่ก่อนหน้าแล้ว ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยภาวะม้ามโตมักมีมะเร็งอยู่ก่อนแล้ว โดยมักจะ:

  • มีเหงื่อออกเวลานอนกลางคืน

  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

  • รู้สึกเหนื่อยง่าย

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีภาวะม้ามโตที่มีการติดเชื้ออาจมีอาการแตกต่างกันอย่างมาก ได้แก่:

  • มีไข้

  • รู้สึกเหมือนไม่สบาย

  • รู้สึกหนาวสั่น

ในขณะเดียวกัน ผู้ที่มีภาวะม้ามโตโดยมีโรคเกี่ยวกับเลือดอาจมีอาการต่างๆ ได้แก่ :

  • มีเลือดออกง่าย

  • มีรอยช้ำง่าย

  • วิงเวียนศีรษะ

  • หายใจหอบถี่

แพทย์จะวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยที่มีภาวะม้ามโต ไปพร้อม ๆ กับโรคอื่น ๆ ที่มีอยู่ก่อนหน้าด้วย

ทั้งนี้ ในเคสส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่มีภาวะม้ามโตจะไม่รู้สึกหรือสังเกตว่าตัวเองมีม้ามโต เว้นเสียแต่ว่า แพทย์จะตรวจเจอว่า ม้ามขยายขนาดขึ้นบริเวณชายโครงด้านซ้าย

การวินิจฉัยโรคม้ามโต

ในการวินิจฉัยภาวะม้ามโต แพทย์จะซักประวัติผู้ป่วยโดยเฉพาะให้ผู้ป่วยได้บอกอาการต่าง ๆ ที่มี นอกจากนี้ แพทย์ยังต้องทำการตรวจร่างกายเพื่อดูว่า ผู้ป่วยมีภาวะม้ามโตหรือไม่

แพทย์ที่สงสัยว่า ผู้ป่วยอาจมีภาวะม้ามโตจะแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจวินิฉัยด้วยภาพถ่าย และนอกจากนี้ แพทย์ยังจะใช้การตรวจอื่น ๆ อีก เช่น :

  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด: ซึ่งรวมถึงการตรวจวัดระดับเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือด ทั้งนี้ จำนวนของเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดต่ำอาจบ่งบอกว่า ผู้ป่วยอาจมีภาวะม้ามโต

  • การตรวจวินิฉัยด้วยภาพถ่าย: โดยปกติ การตรวจวินิฉัยด้วยภาพถ่ายจะรวมถึง การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และการตรวจอัลตราซาวนด์

  • การตรวจการทำงานของตับ: การมีเอนไซม์ตับในระดับที่สูง เช่น เอนไซม์แอสพาร์เตตอะมิโนทรานส์เฟอเรส (AST) และเอนไซม์อะลานีนอะมิโนทรานสเฟอเรส (ALT) อาจบ่งว่า ผู้ป่วยอาจมีภาวะม้ามโต

ทั้งนี้ การตรวจที่แพทย์แนะนำอาจขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคที่มีมาก่อนหน้าแล้ว

การรักษาภาวะม้ามโต

เนื่องจากโรคอื่น ๆ มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดภาวะม้ามโต การรักษามักจะเริ่มด้วยการรักษาภาวะของโรคที่มีมาก่อนหน้าเสียก่อน ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีภาวะม้ามโตเนื่องจากโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวจะต้องได้รับการถ่ายเลือดหรือการเปลี่ยนถ่ายเลือด

ในบางกรณี เช่น ม้ามแตกหรือมะเร็งม้าม ศัลยแพทย์อาจต้องผ่าตัดเอาม้ามออก หรือเรียกว่า การผ่าตัดม้าม โดยปกติแล้ว คนเรายังสามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องมีม้าม เช่นเดียวกับไม่ต้องมีถุงน้ำดีหรือไส้ติ่งก็ได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากม้ามมีเลือดมาหล่อเลี้ยงจำนวนมาก การผ่าตัดจึงต้องระวังเพราะมีความเสี่ยงสูง เพราะอาจให้เกิดเลือดออกมากเกินไปได้

ในขณะที่อยู่ระหว่างการรักษาภาวะที่มีมาก่อนหน้า ผู้ป่วยควรระมัดระวังไม่ให้เกิดการบาดเจ็บที่ช่องท้อง การบาดเจ็บที่ม้ามที่มีขนาดโตขึ้นอาจทำให้ม้ามแตกได้ง่าย ซึ่งอาจทำให้เกิดการตกเลือดที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะม้ามโตควรหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่มีโอกาสเกิดการการกระแทกเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดการบาดเจ็บ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคม้ามโต

ภาวะม้ามโตอาจเกิดภาวะม้ามแตกได้ ซึ่งผู้ป่วยภาวะม้ามแตกจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด และมักจะต้องถ่ายเลือดเพื่อให้ระดับเลือดกลับมาอยู่ในภาวะปกติ

หากผู้ป่วยต้องผ่าตัดเอาม้ามออก ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดการติดเชื้อบางประเภทได้ เช่น โรคติดเชื้อนิวโมคอกคัส และติดเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส ที่ทำให้เกิดโรคไข้กาฬหลังแอ่นได้

ม้ามมักมีเซลล์ภูมิคุ้มกันที่สามารถช่วยต่อสู้กับโรคเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเอาม้ามออกอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะที่แรงขึ้นเพื่อต้านการติดเชื้อ เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้ารับการผ่าตัด

เมื่อไรที่ผู้ป่วยภาวะม้ามโตต้องพบแพทย์

ผู้ป่วยที่มีภาวะม้ามโตควรพบแพทย์ทันที หากมีอาการใด ๆ ที่บ่งบอกถึง ภาวะม้ามโต เช่น อาการของโรคในช่องท้องที่ไม่ทราบสาเหตุ รวมถึงอาการบวมช้ำ ปวด หรือเบื่ออาหาร หรือรู้สึกมีอาการต่าง ๆ ในม้ามบริเวณด้านซ้ายของลำตัว

หากผู้ป่วยที่มีภาวะอื่นที่อาจทำให้เกิดภาวะม้ามโตอยู่แล้ว ควรเข้าใจภาวะของโรคที่ตัวเองมีและปรึกษาแพทย์หากมีอาการของโรคปรากฎขึ้นมา

ภาวะม้ามโตเป็นภาวะที่ไม่ได้พบบ่อย แต่หากมีแล้ว อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรืออาจทำให้เกิดม้ามแตกได้

ทั้งนี้ ภาวะม้ามโตอาจเกิดขึ้นได้จากภาวะของโรคต่าง ๆ ที่มีมาก่อนหน้า เช่น ความผิดปกติของเลือด ไปจนถึง มีโรคตับ

หากผู้ป่วยสงสัยว่ามีภาวะม้ามโต ควรพบแพทย์และดำเนินการเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่ช่องท้องทันที

นี่คือที่มาในแหล่งบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *