เท้าบวม (Swollen Feet) อาการ สาเหตุ การรักษา

เท้าบวม (Swollen Feet) อาการ สาเหตุ การรักษา

02.11
2952
0

อาการเท้าบวม (Swollen Feet) อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดได้จากอาการบาดเจ็บเล็กๆน้อยๆที่ง่ายต่อการรักษา แต่อาการเท้าบวม ก็อาจเป็นสัญญาณของปัญหาด้านสุขภาพที่ร้ายแรง จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์

เราจะพูดถึงสาเหตุของอาการเท้าบวม ว่าเมื่อไหร่ควรได้รับการดูแลจากแพทย์ และสาเหตุเกิดจากอะไร

Swollen Feet

อาการบวมน้ำ

อาการบวมน้ำเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อของเหลวติดอยู่ในเนื้อเยื่อของร่างกาย โดยส่วนมากแล้วจะเกิดขึ้นบริเวณเท้า แต่ก็สามารถพบในบริเวณอื่นๆได้เช่น ใบหน้าหรือหน้าท้อง

สัญญาณอื่นๆของอาการบวมน้ำ :

  • ผิวแตก มีลักษณะมันวาวในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ
  • ผิวจะมีลัษณะบุ๋มลงไปหลังจากโดนกด
  • มีความรู้สึกไม่สบายตัวและเคลื่อนไหวได้ไม่ถนัด
  • มีอาการไอ หรือหายใจลำบาก ถ้าอาการบวมส่งผลต่อปอด

วิธีการรักษา

อาการบวมน้ำสามารถหายไปเองได้ แต่ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ

การรักษาตัวที่บ้าน ทำได้โดย  การสวมถุงน่องเพื่อลดอาการบวม ลดการรับประทานเกลือ และนอนราบยกขาสูงเหนือหน้าอก

หากอาการไม่ดีขึ้น ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคที่แท้จริง

อาการบาดเจ็บที่เท้าหรือข้อเท้า

การบาดเจ็บอาจทำให้เกิดอาการบวมในบริเวณนั้นได้

ตัวอย่างเช่น ข้อเท้าเคล็ดซึ่งเกิดจากการที่เส้นเอ็นยืดออกมากกว่าปกติทั่วไป จนทำให้เท้าเกิดอาการบวมได้

วิธีการรักษา

วิธีการรักษาอาการบาดเจ็บบริเวณเท้าหรือข้อเท้า ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บควรจะยกเท้าขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักที่เท้ามากเกินไป

ใช้น้ำแข็งประคบหรือผ้าพันแผลพันไว้ เพื่อลดอาการบวม และรับประทานยาแก้ปวดที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด

หากอาการปวดหรือบวมไม่หายไป ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น

การตั้งครรภ์

ในผู้ที่ตั้งครรภ์ในระยะสุดท้าย ช่วงเท้าและข้อเท้ามักมีอาการบวม เกิดจากการกักเก็ยของเหลว และความดันในหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้น

การรักษาด้วยตนเอง

ผู้ที่หญิงที่ตั้งครรภ์ สามารถยกเท้าสูง สวมใส่รองเท้าที่สบายและรองรับแรงกดได้ดี และหลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน

หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่เย็น และลดเกลือ การดื่มน้ำที่เพิ่มขึ้นจะช่วยลดการกักเก็บของเหลวได้ การสวมเสื้อผ้าที่ช่วยรองรับในการพยุงตัว เช่น ถุงน่อง จะช่วยลดอาการไม่สบายตัวและลดบวมได้

ภาวะครรภ์เป็นพิษ

หากมีอาการบวมระหว่างตั้งครรภ์เกิดขึ้นอย่างกะทันหันและรุนแรง อาจเป็นสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอด โดยอาจมีอาการ มีโปรตีนอยู่ในปัสสาวะ การคั่งของของเหลวที่มากเกิดไปอย่างรวดเร็วและมีความดันโลหิตสูง

ภาวะครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะที่รุนแรงซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงหลังของการตั้งครรภ์ และอาจมีอาการชักได้ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งแพทย์ทันที

สัญญาณของครรภ์เป็นพิษ : 

  • มีอาการบวมอย่างรุนแรง
  • ปวดหัว
  • เวียนหัว
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น
  • ปัสสาวะบ่อยน้อยลง

วิธีการรักษา

หากประสบกับภาวะครรภ์เป็นพิษ ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษากับแพทย์โดยทันที

การใช้ชีวิตประจำวัน

การใช้ชีวิตประจำวันอาจส่งผลกระทบ ทำให้เกิดอาการเท้าบวมได้ เช่น : 

  • ไม่ค่อยขยับตัว
  • มีน้ำหนักมาก
  • สวมรองเท้าที่ไม่กระชับ

วิธีการรักษาตัวที่บ้าน

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและคบคุมน้ำหนัก จะทำให้ลดอาการบวมของเท้าได้

วิธีอื่นๆที่สามารถลดอาการเท้าบวมได้มีดังนี้ : 

  • ดื่มน้ำมากๆ
  • สวมถุงเท้าที่รัดหรือถุงน่อง
  • แช่เท้าในน้ำเย็น
  • ยกเท้าสูงกว่าหัวใจอย่างสม่ำเสมอ
  • กระฉับกระเฉงอยู่ตลอดเวลา
  • ลดน้ำหนักหากมีน้ำหนักมาก
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงการรับประทานเกลือ
  • นวดเท้า
  • รับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมมากขึ้น เพื่อช่วยลดการกักเก็บน้ำ

ผลข้างเคียงของยา

Share on Pinterest

สเตียรอยด์สามารถทำให้เกิดอาการบวมได้

การทานยาบางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการเท้าบวมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบวมน้ำ

ยาที่สามารถทำให้เกิดอาการบวมได้มีดังนี้ :

  • ฮอร์โมน เช่น เอสโตรเจนและฮอร์โมนเพศชาย
  • ยาปิดกั้นแคลเซียม ที่ช่วยมนการควบคุมความดันโลหิต
  • สเตียรอยด์
  • ยาต้านซึมเศร้า
  • ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
  • ยาที่ช่วยเรื่องโรคเบาหวาน

หากคิดว่าอาการเท้าบวมเป็นผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับลดปริมาณหรือเปลี่ยนชนิดของยา

แอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์สามารถทำให้ร่างกายมีอาการบวมน้ำได้ หากอาการบวมเกิดขึ้นมากกว่าสองวัน ควรปรึกษาแพทย์

อาการเท้าบวมที่เกิดหลังจากการดิ่มแอลกอฮอล์ อาจแสดงให้เห็นถึงการทำงานที่ผิดปกติของหัวใจ ตับ หรือไต

วิธีการรักษาด้วยตัวเอง

การยกเท้าขึ้นให้สูงกว่าหัวใจ และการดื่มน้ำมากๆ รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการบริโภคเกลือ รวมไปถึงการแช่เท้าในน้ำเย็น ก็สามารช่วยลดอาการบวมได้

อากาศร้อน

อาการร้อนสามารถส่งผลให้เท้าบวมได้ เนื่องจากเส้นเลือดมีการขยาดตัวเพื่อช่วยให้ร่างกายเย็นลง ซึ่งทำให้ของเหลวสามารถไหลซึมเข้าสู้เนื้อเยื่อโดยรอบได้ ทำให้มีการสะสมของของเหลวบริเวณเท้าและข้อเท้าได้

วิธีการรักษาด้วยตัวเอง

การดื่มน้ำปริมาณมากและใส่รองเท้าที่กระชับและสบายสามารถระบายอากาศได้ จะช่วยป้องกันไม่ให้มีอาการเท้าบวมในอากาศร้อนได้

การติดเชื้อ

การติดเชื้ออาจทำให้เกิดอาการบวมได้ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน มีความเสี่ยงสูงมากที่จะได้รับการติดเชื้อบริเวณเท้า ดังนั้นจึงควรระมัดระวังไม่ให้ได้รับบาดเจ็บจนกลายเป็นแผลพุพอง

วิธีการรักษา

โดยส่วนมาก แพทย์จะสั่งยาฆ่าเชื้อเพื่อรักษาอาการติดเชื้อ

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *