ลิ้นไก่อักเสบ (Swollen Uvula) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ลิ้นไก่อักเสบ (Swollen Uvula) : อาการ สาเหตุ การรักษา

11.05
220542
0

ลิ้นไก่อักเสบ  (Swollen Uvula) อาจเกิดขึ้นไม่บ่อย แต่ก็เกิดขึ้นได้ ซึ่งจะมีอาการบวมแดง บวมช้ำและอักเสบ ซึ่งเรียกว่า ลิ้นไก่อักเสบ

ลิ้นไก่จะเป็นติ่งห้อยอยู่ด้านในของปากบริเวณลำคอ และอาจบวมเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสก็ได้

เพดานปากของเราประกอบไปด้วยสองส่วนหลักคือเพดานแข็งที่ด้านหน้าและเพดาน

อ่อนที่อยู่ด้านหลัง เราจะมองเห็นลิ้นไก่ได้เมื่ออ้าปากและลิ้นไก่อยู่ด้านในลำคอซึ่งมีลักษณะเป็นติ่งห้อยลงมาจากกลางเพดานอ่อน

ลิ้นไก่ประกอบด้วยเยื่อเมือก เนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกล้ามเนื้อรวมถึงท่อขับน้ำลาย โดยลิ้นไก่มีความยืดหยุ่นมากซึ่งช่วยให้มันทำหน้าที่ของมันได้ตามปกติ

อาการลิ้นไก่อักเสบ

ลิ้นไก่บวมเป็นการตอบสนองโดยอัตโนมัติของร่างกายต่อการบาดเจ็บ อาการแพ้หรือความเจ็บป่วย การอักเสบอาจรวมถึง การเกิดรอยแดง ระคายเคือง คัน บวมหรือมีอาการแสบร้อน

หากระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถกำจัดเชื้อต่าง ๆ ได้ เช่น ไวรัสหรือแบคทีเรีย ลิ้นไก่อาจเกิดการติดเชื้อได้เช่นกัน

ภาวะลิ้นไก่อักเสบอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่า เหมือนมีอะไรติดอยู่ที่คอด้านในและกลืนลำบาก ในผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาเรื่องการใช้เสียงด้วย

อาการอื่น ๆ ได้แก่ :

  • มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ
  • มีอาการเจ็บคอ
  • ต่อมทอนซิลบวม
  • มีน้ำลายออกมากผิดปกติ
  • มีอาการสำลักหรืออยากจะอ้วกบ่อย ๆ
  • มีไข้
  • รู้สึกเจ็บปวดบริเวณลิ้นไก่
  • มีปัญหาเรื่องการกลืนอาหาร เช่น รู้สึกเจ็บปวดเวลากลืน

Uvula

 สาเหตุของลิ้นไก่อักเสบ

การติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส เช่น คออักเสบ ติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิสหรือติดเชื้อทางเดินหายใจที่อาจทำให้เกิดภาวะลิ้นไก่อักเสบ เป็นหวัดจากการติดเชื้อได้ง่ายและจมูกอุดตัน จึงทำให้ผู้ป่วยมักหายใจทางปาก

ภาวะลิ้นไก่อักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อมักเกิดร่วมกับภาวะอื่น ๆ ด้วย เช่น การติดเชื้อในปากหรือลำคอ ภาวะต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เกิดการอักเสบในลำคอ โดยต่อมาก็จะทำให้กิดภาวะลิ้นไก่อักเสบ

สาเหตุอื่น ๆ ของภาวะลิ้นไก่อักเสบ ได้แก่ :

  • โรคภูมิแพ้: เกิดอาการแพ้ที่ไปกระตุ้นการสะสมของของเหลวในลำคอหรือปากทำให้เกิดอาการบวม ซึ่งอาจเป็นผลมาจากอาการแพ้อาหารหรือแม้แต่แมลงสัตว์กัดต่อย ปฏิกิริยาอะนาไฟแล็กติกหรือช็อกเป็นอันตรายมากและต้องได้รับการรักษาพยาบาลทันที
  • ด้านพันธุศาสตร์: ปากแหว่งหรือเพดานโหว่เป็นลักษณะที่มีมาแต่กำเนิดที่ส่งผลกระทบต่อเพดานปาก ซึ่งอาจทำให้ลิ้นไก่โต อยู่ผิดที่ หดตัวหรือหายไป

ลิ้นไก่ยาวเป็นลักษณะทางพันธุกรรม แม้ว่าจะไม่มีอาการบวม แต่ก็อาจทำให้เกิดอาการคล้ายกันได้เนื่องจากขนาดที่ยาว แองจิโออีดีม่ากรรมพันธุ์เป็นภาวะทางพันธุกรรมที่หายากซึ่งทำให้เกิดอาการตัวบวมและอาจส่งผลต่อลิ้นไก่ได้

ลิ้นไก่อักเสบอาจเกิดจาก:

  • ภาวะปากแห้ง
  • บาดเจ็บที่ลิ้นไก่หรือบริเวณลำคอ
  • มีกรดไหลย้อน
  • สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจนทำให้เกิดอาการระคายเคืองในช่องปาก ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะลิ้นไก่อักเสบ การหายใจเอาสารเคมีเข้าไปทำให้บวมได้เช่นกัน
  • ผู้ป่วยหลังผ่าตัดบางรายอาจมีอาการลิ้นไก่อักเสบ การดมยาสลบอาจทำให้เกิดการระคายเคืองและลิ้นไก่อักเสบ เกิดการบาดเจ็บจากท่อต่าง ๆ ที่สอดเข้าไปในลำคอและอาจทำให้เกิดภาวะลิ้นไก่อักเสบได้

การดูแลรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน

ผู้ที่มีภาวะลิ้นไก่อักเสบไม่มากสามารถดูแลรักษาเองได้ที่บ้าน ต่อไปนี้เป็นวิธีดูแลรักษาภาวะลิ้นไก่อักเสบได้ด้วยตัวเอง ผู้ที่มีภาวะลิ้นไก่อักเสบควรปฏิบัติดังนี้

  • การดื่มน้ำมาก ๆ อาจช่วยให้ภาวะลิ้นไก่อักเสบดีขึ้น เนื่องจากอาการบวมอาจเกิดจากการขาดน้ำหรือปากแห้ง
  • ดื่มของเหลวมาก ๆ บางครั้ง อาจเกิดภาวะลิ้นไก่อักเสบเนื่องจากปากแห้งหรือขาดน้ำ ด้วยเหตุนี้ น้ำจึงเป็นยาที่ดีที่สุด
  • การกลั้วคอด้วยน้ำอุ่นและเกลือแกงธรรมดาช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้
  • ยาอมให้ชุ่มคอ เช่น ยาหยอดแก้ไอยูคาลิปตัส หรือสเปรย์พ่นคอที่ช่วยบรรเทาอาการปวด
  • ชาร้อนและน้ำผึ้ง หรือน้ำผึ้งกับน้ำร้อน ก็ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้
  • เคี้ยวพวกก้อนน้ำแข็งเล็ก ๆ อาจช่วยลดอาการบวมได้
  • ดื่มชาที่ทำจากใบโหระพาช่วยลดอาการระคายคอได้ ใบโหระพาสามารถหาซื้อได้ทั่วไป
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

การดูแลรักษาด้วยตัวเองที่บ้านทำควบคู่ไปกับการทานยาบรรเทาอาการปวดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปช่วยทำให้ลิ้นไก่ลดบวมได้ภายในระยะเวลา 2-3 วัน

การรักษาภาวะลิ้นไก่บวม

หากอาการไม่ดีขึ้นหรือดูแย่ลง ผู้ป่วยควรพบแพทย์ทันที ในกรณีที่เกิดอาการแพ้ ควรรีบพบแพทย์ทันทีเช่นกัน

และเพื่อช่วยให้แพทย์สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงได้ อาจต้องใช้การตรวจวินิฉัยด้วยภาพถ่ายช่วย หากแพทย์สงสัยว่าลิ้นไก่ที่บวมอาจเกิดจากการติดเชื้อบางชนิด แพทย์อาจต้องเก็บของเหลวจากที่คอส่งตรวจหรือตรวจเลือด

แพทย์มักจะตรวจพบภาวะลิ้นไก่อักสับแต่อาจให้ตรวจเลือด เพาะเชื้อหรือเอกซเรย์เพิ่มได้ เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยบางราย อาจไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงของภาวะลิ้นไก่อักเสบได้

คนที่มีอาการดังต่อไปนี้ควรไปพบแพทย์ทันที:

  • กลืนอาหารลำบากหรือกลืนแล้วรู้สึกเจ็บปวด
  • มีภาวะขาดน้ำ (Dehydration)
  • หายใจลำบาก
  • มีเลือด หนองหรือสารคัดหลั่งออกจากลิ้นไก่
  • มีความรู้สึกปวดและรักษาให้หายยาก
  • เป็นไข้และปวดท้อง
  • หูอื้อ
  • หากผิวหนังหรือริมฝีปากเป็นสีช้ำหรือไม่ตอบสนอง เป็นลมหรือมีอาการชัก ควรโทรขอความช่วยเหลือทันที

แพทย์มักจะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะหากเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย สเตียรอยด์อาจช่วยลดอาการบวม ปวดและแดงได้

ในกรณีที่เกิดอาการแพ้ อาจใช้ยาแอนตี้ฮิสตามีนเพื่อลดอาการคันและช่วยให้หายใจคล่องขึ้นได้

ผู้ที่มีภาวะลิ้นไก่อักเสบมักจะฟื้นตัวได้เร็วหากรักษาด้วยยาและดูแลตัวเองที่บ้านเป็นอย่างดี ในขณะที่หายจากภาวะลิ้นไก่อักเสบแล้ว ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงไม่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้รวมทั้งหยุดสูบบุหรี่และดื่มเหล้าด้วย

ผู้ป่วยลิ้นไก่อักเสบส่วนใหญ่มักหายจากโรคได้เร็วและไม่ได้รับผลข้างเคียงใด ๆ

ลิ้นไก่และการนอนกรน

ผู้ใหญ่ราว 45% ส่วนใหญ่จะนอนกรนเป็นครั้งคราว และราว 25% จะนอนกรนต่อเนื่อง การนอนกรนเกิดขึ้นเมื่อทางเดินหายใจด้านในปากและจมูกถูกปิดกั้น ซึ่งเป็นบริเวณที่ลิ้นและเพดานอ่อนด้านบนหย่อนลงมาใกล้ชิดกับเพดานอ่อนและลิ้นไก่

เมื่ออวัยวะเหล่านี้กระทบกันช่วงที่ลมหายใจเคลื่อผ่าน อวัยวะจะสั่นสะเทือนและทำให้เกิดเสียง ที่เรียกว่า เสียงกรน หากลิ้นไก่ขยายใหญ่ขึ้น การนอนกรนอาจกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นตามมาด้วย เชื่อกันว่า ลิ้นไก่ทำให้เกิดเสียงกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ เนื่องจากพบว่าผู้ที่มีปัญหาเหล่านี้จะมีภาวะลิ้นไก่อักเสบด้วย

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *