โรคซิฟิลิส (Syphilis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคซิฟิลิส (Syphilis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

20.08
22668
0

โรคซิลิฟิส (Syphilis) คือ การติดเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามารถรักษาได้ในระยะแรก แต่หากไม่มีการรักษาก็สามารถนำไปสู่ความพิการ หรืออาจถึงแก่ชีวิตได้

ซิฟิลิสเกิดจากการติดเชื้อของแบคทีเรีย T. pallidum bacteria. โดยแบคทีเรียนี้สามารถติดต่อเมื่อสัมผัสกับแผลที่มีเชื้อซิฟิลิส

แผลเหล่านี้อาจเกิดขึ้นที่ผิวหนัง เยื่อบุของช่องคลอด ทวารหนัก หรือริมฝีปาก

ซิฟิลิสมักแพร่กระจายในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ค่อยพบการแพร่เชื้อผ่านการจูบ

สัญญาณแรกที่บ่งบอกว่าเป็นซิฟิลิส คือ มีแผลที่มีอาการเจ็บเล็กน้อยบริเวณที่ติดเชื้อ ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีอาการเจ็บ

แผลเหล่านี้สามารถหายไปเอง แต่หากไม่ได้รับการรักษาแบคทีเรียจะยังคงอเจริญต่อไป เชื้อซิฟิลิสสามารถอยู่ในร่างกายเป็นเวลาหลายสิบปี ก่อนที่จะเริ่มทำลายส่วนอื่นๆ รวมถึงสมอง

อาการของโรคซิฟิลิส

แพทย์จัดหมวดหมู่ระยะของอาการโรคซิฟิลิส ดังนี้ ระยะปฐมภูมิ ทุติยภูมิ แฝง และตติยภูมิ โดยมีความหลากหลายแตกต่างกันไป โรคนี้สามารถติดต่อได้ในระยะปฐมภูมิและระยะทุติยภูมิ ซิฟิลิสในระยะตติยภูมิไม่ได้เป็นโรคติดต่อ แต่มีอาการรุนแรงกว่าระยะอื่นๆ อาการของซิฟิลิสที่พบได้บ่อยมีดังนี้

อาการซิฟิลิสระยะปฐมภูมิ

อาการของโรคซิฟิลิสปฐมภูมิ ได้แก่ มีอาการเจ็บรอบแผลซิฟิลิส หรือแผลริมอ่อน. แผลเหล่านี้จะปรากฏหลังจาก 10 วัน หรือนาน 3 เดือน หลังจากแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย  แผลริมอ่อนหายไปเองได้ภายใน 2-6 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามหากไม่มีการรักษา เชื้อก็ยังคงเจริญต่อไปและจะมีการพัฒนาความรุนแรง

อาการซิฟิลิสระยะทุติยภูมิ

อาการซิฟิลิสระยะทุตยภูมิได้แก่ :

  • แผลที่มีลักษณะคล้ายกับหูดที่อวัยวะเพศหรือทวารหนัก
  • ผื่นสีแดงหรือสีน้ำตาลแดง เริ่มจากบริเวณที่ติดเชื้อ และแพร่กระจายไปทั่วร่างกายรวมทั้งฝ่ามือและฝ่าเท้า
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ไข้
  • เจ็บคอ
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม
  • ผมร่วง
  • ปวดศีรษะ
  • น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ

อาการเหล่านี้สามารถหายไปหลังจากไม่กี่สัปดาห์ แต่จะสามารถกลับมาได้อีกหากไม่มีการรักษาซิฟิลิส และอาจนำไปสู่ซิฟิลิสแฝงหรือตติยภูมิได้

สาเหตุของซิฟิลิส

ซิฟิลิสเกิดจากการติดเชื้อ T. pallidum ที่ส่งผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อสามารถส่งผ่านจากมารดาไปยังทารกในครรภ์ ทำให้ทารกเป็นซิฟิลิสตั้งแต่กำเนิด

ซิฟิลิสไม่สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับวัตถุอื่นๆได้ เว้นแต่การสัมผัสกับแผลโดยตรงหรือการมีเพศสัมพันธ์

การตรวจสอบเพื่อวินิจฉัย

แพทย์จะทำการตรวจสอบร่างกายเบื้องต้น ซักถามประวัติการมีเพศสัมพันธ์ และทำการตรวจสอบดังนี้ :

  • การตรวจเลือด: การตรวจนี้สามารถตรวจพบการติดเชื้อในปัจจุบัน หรือแม้แต่ในอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากแอนติบอดี้ต่อเชื้อซิฟิลิสจะมีอยู่หลายปี
  • ตรวจของเหลวในร่างกาย: แพทย์สามารถวิเคราะห์จากของเหลวบริเวณแผลริมอ่อนในระยะเริ่มต้น หรือระยะที่สอง
  • ตรวจของเหลวจากไขสันหลัง: แพทย์จะเก็บตัวอย่างของเหลวจากไขสันหลัง และตรวจดูผลของโรคที่กระทบต่อระบบประสาท

หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซิฟิลิส จำเป็นต้องแจ้งให้คู่นอนมาทำการตรวจสอบด้วยเช่นกัน เนื่องจากซิฟิลิสนั้นจำเป็นต้องได้รับการรักษา

โรคซิลิฟิส (Syphilis)

การรักษาซิฟิลิส

การรักษาโรคซิฟิลิสในระยะแรกมีโอกาสรักษาหายได้ วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการและระยะเวลาที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อแบคทีเรีย อย่างไรก็ตามในช่วงระยะปฐมภูมิระยะทุติยภูมิ หรือตติยภูมิ ผู้ป่วยโรคซิฟิลิสจะได้รับการรักษาโดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อยาที่ใช้ได้แก่ เพนนิซิลิน จี เบนซาไทน์ 

ซิฟิลิสระยะตติยภูมิจะต้องฉีดยาตัวนี้หลายครั้งตลอดสัปดาห์ สำหรับระยะนี้ต้องการ เพนนิซิลินทางหลอดเลือดดำ (IV) ทุก 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 2 สัปดาห์เพื่อกำจัดแบคทีเรียออกจากระบบประสาทส่วนกลาง

การรักษาจะป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อร่างกาย และการกลับมามีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยอีกครั้ง แต่ความเสียหายที่เกิดไปแล้วจะไม่สามารถฟื้นฟูกลับมาได้

ในผู้ป่วยที่มีอาการแพ้เพนิซิลลินบางครั้งสามารถใช้ยาทางเลือกตัวอื่นๆ ได้ อย่างไรก็ตามในระหว่างตั้งครรภ์ ผู้เป็นซิฟิลิสตติยภูมิ หรือผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้จะต้องได้รับยาเพนนิซิลลิน เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ปลอดภัย ทารกแรกเกิดที่มีซิฟิลิสจะได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

เมื่อได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจจะพบอาการหนาวสั่น มีไข้ คลื่นไส้ ปวดเมื่อยในวันแรกของการรักษา ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของ Jarisch-Herxheimer 

เมื่อไรที่จะกลับมามีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยได้

ผู้ป่วยซิฟิลิสต้องหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าผื่นซิฟิลิสจะหาย และเสร็จสิ้นการรักษาโดยสมบูรณ์ และได้รับผลการตรวจเลือดที่ยืนยันว่าได้หายขาดจากโรคซิฟิลิสแล้ว ซึ่งอาจใช้เวลาหลายเดือนในการตรวจเลือด เพื่อแสดงว่าซิฟิลิสลดลงในระดับที่เหมาะสม และหายขาดแล้ว

การป้องกันซิฟิลิส

การป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงซิฟิลิสมีดังนี้ :

  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อซิฟิลิส
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • สวมใส่ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ใช้พลาสติกระหว่างออรัลเซ็กซ์
  • หลีกเลี่ยงการใช้เซ็กส์ทอยร่วมกัน
  • หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และยาเสพติด ที่สามารถทำให้มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย

หากเป็นซิฟิลิสแล้ว ถึงแม้จะรักษาหายแล้วก็ตาม ผู้ป่วยสามารถกลับมาเป็นโรคซิฟิลิสได้อีกครั้งหนึ่ง หากได้รับเชื้อซิฟิลิส

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *