ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Tachycardia) : อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Tachycardia) : อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

03.11
3243
0

ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Tachycardia) คือ อัตราการเต้นของหัวใจขณะที่ปกติสูงกว่าคนทั่วไป อัตราการเต้นของหัวใจคนปกติ 60 – 100 ครั้ง/นาที เมื่ออาการหัวใจเต้นเร็วเกินไปเลือดจะสูบฉีดได้อย่างมีประสิทธิภาพน้อยลงและการไหลเวียนของเลือดไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เนื่องจากเมื่อหัวใจเต้นเร็วขึ้นกล้ามเนื้อหัวใจก็ต้องการออกซิเจนมากขึ้น  เมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจขาดออกซิเจน เซลล์จะตาย และนำไปสู่อาการหัวใจวายได้

ในสภาวะปกติระบบไฟฟ้าจะควบคุมจังหวะและอัตราการเต้นของหัวใจ หัวใจมีสี่ห้อง ได้แก่ ห้องขวาบน ห้องขวาล่าง ห้องซ้ายบน และห้องซ้ายล่าง ระหว่างห้องบนและล่างจะมีลิ้นหัวใจกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ หัวใจห้องขวาจะรับเลือดที่มีออกซิเจนต่ำกลับจากส่วนต่างๆของร่างกายแล้วส่งเลือดไปฟอกที่ปอด หัวใจห้องซ้ายรับเลือดที่มีออกซิเจนสูงกลับจากปอดเพื่อส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย การนำไฟฟ้า 1 ครั้ง ทำให้หัวใจเต้น 1 ครั้ง คลื่นกระแสไฟฟ้าจากห้องบนสู่ห้องล่างทำให้หัวใจห้องบนและล่างทำงานสัมพันธ์กัน

จุดกำเนิดคลื่นกระแสไฟฟ้าอยู่ที่ผนังห้องขวาบน (Sinus node หรือ Sinoatrial node, SA node) SA node จะผลิตคลื่นกระแสไฟฟ้า ส่งมากระตุ้นหัวใจห้องบนทั้งสองห้องผลักดันเลือดลงมาที่ห้องล่าง หัวใจห้องล่างทั้งสองห้องก็รับเลือดจากห้องบน ต่อจากนี้สัญญาณไฟฟ้าจะมากระตุ้นปุ่มกำเนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจซึ่งอยู่ระหว่างหัวใจห้องบนและล่าง (Atrioventricular node, AV node) ให้ชักนำกระแสไฟฟ้าผ่านเครือข่ายพิเศษไปสู่ห้องล่างทั้งสองห้อง หัวใจห้องขวาล่างจะผลักดันเลือดไปฟอกที่ปอด ส่วนหัวใจห้องล่างซ้ายจะผลักดันเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย

Tachycardia

อาการของภาวะหัวใจเต้นเร็ว

อาการของภาวะหัวใจเต้นเร็วมีดังต่อไปนี้

บางครั้งอาการหัวใจเต้นเร็วก็ไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยจะทราบก็ต่อเมื่อได้รับการตรวจร่างกาย

สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

หัวใจเต้นเร็วโดยทั่วไปเกิดจากการหยุดชะงักของแรงกระตุ้นทางไฟฟ้า ที่ควบคุมการสูบฉีดของหัวใจ โดยสาเหตุที่เป็นไปได้มีดังนี้

  • การตอบสนองต่อยาบางชนิด
  • ความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด
  • บริโภคแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • ใช้โคเคนและสารเสพติดอื่นๆ
  • ความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์
  • โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ และหัวใจวาย
  • ความดันโลหิตสูง
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ
  • การสูบบุหรี่
  • โรคปอดบางชนิด

ในบางกรณีแพทย์ก็ยากที่จะหาสาเหตุของภาวะหัวใจเต้นเร็วได้

ประเภทของหัวใจเต้นเร็ว

ภาวะหัวใจเต้นเร็วสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ดังนี้ 

ภาวะการเต้นผิดปกติของหัวใจ (Arrhythmia)

บางครั้งคลื่นไฟฟ้าอาจเกิดขึ้นที่เอเทรียมด้านซ้ายแทนที่จะเป็นโหนดไซนัส ทำให้ห้องหดตัวในอัตราที่สูงเกินไปและผิดปกติ ทำให้หัวใจห้องบนเต้นเร็วกว่าปกติ ซึ่งเป็นความผิดปกติที่พบได้มากในภาวะหัวใจเต้นเร็ว

ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Atrial Flutter)

หัวใจเต้นอย่างรวดเร็ว แต่สม่ำเสมอ เกิดจากปัญหาวงจรภายในเอเทรียมด้านขวา การหดตัวของ Atria อ่อนแอลงจากการเต้นอย่างรวดเร็วของหัวใจ บางครั้งภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัด มักจะพบในหัวใจห้องบน

ภาวะหัวใจห้องบนเต้นเร็วผิดปกติ (SVT)

เป็นความผิดปกติของหัวใจห้องบนที่เต้นเร็วอย่างผิดปกติ เนื่องจากปัญหาการส่งสัญญาณที่ซับซ้อนภายในห้องหัวใจ ภาวะนี้มักจะพบโดยกำเนิด

ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติ  (Ventricular Tachycardia)

สัญญาณไฟฟ้าที่ผิดปกติในห้องหัวใจทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความเร็วของการเต้นของหัวใจและการหดตัวไม่เหมาะสม ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงส่วนอื่นๆได้อย่างเหมาะสม ถือว่าเป็นอันตรายต่อชีวิต และเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์

ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็ว แบบแผ่ว  (Ventricular fibrillation)

หัวใจห้องล่างเต้นเร็วและสั่น ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ หากจังหวะการเต้นของหัวใจไม่ได้รับการฟื้นฟูอย่างรวดเร็วการไหลเวียนของเลือดจะหยุดลงทำให้เสียชีวิตได้ ผู้ที่มีภาวะหัวใจโตหรือผู้ที่เคยถูกฟ้าผ่าอาจพบภาวะนี้

การรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็ว

วิธีการรักษาแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ อายุ และสุขภาพโดยทั่วไปของผู้ที่มีอาการหัวใจเต้นเร็ว สิ่งที่จำเป็นต้องทำในการรักษาคือ การวินิจฉัยสาเหตุ และทำการรักษาให้ตรงจุด ลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่มีความเสี่ยง

ภาวะหัวใจเต้นเร็ว สามารถรักษาได้ด้วย 3 วิธี 

  1. การรับประทานยา เพื่อให้เข้าไปลดการทำงานที่ผิดปกติ ลดการปล่อยสัญญาณไฟฟ้าผิดจากจุดบางจุดในห้องหัวใจ แม้ว่าการรับประทานยาจะมีความเสี่ยงน้อย แต่การรักษาให้หายก็ไม่ได้ 100% เช่นกัน อีกทั้งในผู้ป่วยรับประทานยาอาจมีผลข้างเคียงของอาการซึมเศร้าได้ แม้ว่าจะรับประทานยาได้ไม่นานก็เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน หรือคนที่เป็นหอบหืดอยู่แล้วก็อาจจะเป็นมากขึ้น
  2. การรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจ จะมีการเอาสายนำสัญญาณเข้าไปในร่างกายผ่านเส้นเลือดเข้าไปยังหัวใจห้องต่าง ๆ และบันทึกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจว่ามีความผิดปกติแบบไหน กระตุ้นให้เกิดการเต้นผิดจังหวะและหาจุดที่ผิดปกติ เมื่อเจอแล้วจึงใช้คลื่นวิทยุหรือคลื่นความร้อนเข้าไปทำลาย อาการเต้นผิดจังหวะของหัวใจก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไป โดยวิธีนี้มีโอกาสหายขาดได้มากถึง 95% และผลข้างเคียงพบได้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับการทานยา
  3. การรักษาด้วยเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ ในกรณีนี้มักใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะการเต้นของหัวใจผิดจังหวะแบบรุนแรงที่ใช้การรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าไม่ได้ โดยการฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจไว้ที่หน้าอกซ้ายหรือขวา เครื่องกระตุกหัวใจนี้จะคอยบันทึกการเต้นของหัวใจ ถ้ามีการเต้นผิดจังหวะแบบรุนแรง เครื่องจะช็อตไฟฟ้าให้หัวใจกลับมาเต้นในจังหวะปกติ การรักษาด้วยวิธีนี้จะทำเพียงไม่กี่รายเท่านั้นหรือในกรณีจำเป็น เช่น ผู้ป่วยมีเส้นเลือดหัวใจตีบ หรือผู้สูงอายุ เป็นต้น ซึ่งเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจนั้น จะแตกต่างจากเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจปกติ เนื่องจากสามารถช๊อตไฟฟ้าหัวใจได้

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *