พยาธิตัวตืด (Tapeworms) : อาการ สาเหตุ การรักษา

พยาธิตัวตืด (Tapeworms) : อาการ สาเหตุ การรักษา

04.09
71555
0

พยาธิตัวตืด (Tapeworms) คือเชื้อพยาธิที่อยู่ในลำไส้ ที่มีลักษณะคล้ายกับเทปที่แบน มีสีขาวขุ่น ลำตัวเป็นปล้อง ซึ่งพยาธิชนิดนี้อาศัยอยู่ได้ทั้งในพืชและสัตว์

พยาธิตัวตืดนั้นไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ ซึ่งมันต้องใช้ชีวิตอยู่ในลำไส้ของสิ่งมีชีวิตอื่น รวมถึงมนุษย์ด้วย

ซึ่งไข่ของพยาธิตัวตืดสามารถเข้าไปยังร่างกายได้โดยการรับประทานอาหารโดยเฉพาะอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบหรืออาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุกหรือดื่มน้ำที่มีไข่พยาธิผสมอยู่ด้วย   

นอกจากนี้ก็ยังสามารถเกิดการติดเชื้อพยาธิตัวตืดจากการสัมผัสมูลสัตว์หรือน้ำที่ดื่มเข้าไป เมื่อมีการติดเชื้อพยาธิตัวตืดจากสัตว์ไปสู่คน 

พยาธิตัวตืด (Tapeworms)

เกร็ดความรู้จากพยาธิตัวตืด

นี่คือจุดสำคัญเกี่ยวกับพยาธิตัวตืด ซึ่งเป็นข้อมูลเพิ่มเติมจากบทความนี้

  • พยาธิตัวตืดเป็นพยาธิที่มีชีวิตรอดด้วยการใช้ชีวิตอยู่ในสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น สัตว์
  • พยาธิตัวตืดเติบโตหลังจากที่สัตว์เหล่านั้นได้กินไข่พยาธิตัวตืดเข้าไป
  • การดื่มน้ำและรับประทานอาหารที่มีไข่พยาธิตัวตืดอยู่ เป็นสาเหตุเบื้องต้นในการติดเชื้อพยาธิตัวตืดในร่างกาย
  • การรับประทานยาถ่ายพยาธิตัวตืดเป็นวิธีรักษาโรคพยาธิเบื้องต้น

อาการของโรคพยาธิตัวตืด

คนส่วนใหญที่มีอาการพยาธิตัวตืด มักจะไม่มีอาการแสดงออกมาว่ามีพยาธิตัวตืดอยู่ในลำไส้

แต่หากมีอาการพยาธิตัวตืดที่แสดงออกมา มักมีอาการเหนื่อยล้า ปวดท้อง น้ำหนักลด และอาการท้องเสีย

อาการของโรคพยาธิตัวตืดที่ปรากฏขึ้นมานั้น อาจมีความแตกต่างกันไป และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วยต่อไปนี้:

  • มีพยาธิตัวตืดและไข่พยาธิตัวตืดในอุจจาระ
  • ปวดท้อง
  • อาเจียน
  • วิงเวียนศีรษะ
  • เริ่มมีอาการอ่อนเพลีย
  • มีอาการลำไส้อักเสบ
  • ท้องเสีย
  • น้ำหนักลด
  • เบื่ออาหาร
  • นอนไม่หลับซึ่งอาจมาจากอาการอื่นๆได้
  • เวียนหัว
  • มีอาการชักอย่างรุนแรง
  • ภาวะขาดสารอาหาร
  • ภาวะขาดวิตามินB12ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้ยากในอาการของโรคพยาธิ 

สาเหตุของพยาธิตัวตืด

คนส่วนใหญมักติดเชื้อพยาธิตัวตืดหลังจากที่ได้กลืนหรับประทานอาหารที่มีไข่หรือตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดอยู่ ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้:

การกลืนกินไข่ของพยาธิตัวตืด

ไข่ของพยาธิตัวตืดนั้นสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้จาก:

  • อาหาร
  • น้ำดื่ม
  • การสัมผัสดินที่ปนเปื้อนพยาธิตัวตืด

หากเกิดการติดเชื้อพยาธิตัวตืดในสัตว์ เช่น หมูหรือสุกร ซึ่งอาจมีไข่และตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดอยู่ภายในร่างกาย ที่ออกมากับมูลของสัตร์เหล่านั้นด้วย และพยาธิเหล่านี้ก็จะลงสู่พื้นดิน ซึ่งมีไข่ของพยาธิตัวตืดอยู่นับพันกว่าฟองที่อยู่ในดินได้

การติดเชื้อพยาธิตัวตืดในมนุษย์นั้นสามารถทำได้โดย:

  • ดื่มน้ำที่ไข่พยาธิปนเปื้อนอยู่
  • สัมผัสสัตว์หรือดินที่มีการปนเปื้อนของพยาธิ
  • รับประทานอาหารที่ปนเปื้อนพยาธิ

ไข่ของพยาธินั้นจะฟักเป็นตัวอ่อน และเข้าไปสู่กระเพาะอาหารหรือภายนอกลำไส้ก็ได้ หรืออาจเข้าไปยังอวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย ซึ่งการติดเชื้อพยาธิตัวตืดนี้มักมีการติดเชื้อมาจากหมูมากที่สุดและรองลงมาก็อาจติดเชื้อมาจากสัตว์อื่น เช่นการรับประทานอาหารที่ทำมาจากเนื้อวัวหรือปลา

การติดเชื้อพยาธิตัวตืดก็สามารถเกิดขึ้นได้จากการรับประทานเนื้อวัวหรือปลาดิบที่มีเชื้อพยาธินี้ได้เช่นกัน

ซึ่งหากว่าเนื้อวัวหรือปลาดิบที่มีไข่หรือตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดอยู่ด้วย ทำให้เกิดถุงน้ำหุ้มตัวออ่อนของพยาธิซึ่งสามารถเติบโตเป็นตัวเต็มวัยในลำไส้ได้

ซึ่งพยาธิตัวตืดที่เป็นตัวเต็มวัยนั้นสามารถ:

  • มีชีวิตอยู่ได้ถึง 20 ปี
  • มีลำตัวยาวถึง 50 ฟุต
  • ยึดติดกับผนังลำไส้ได้
  • อยู่ในระบบย่อยอาหารของมนุษย์และออกมากับอุจจาระอขงมนุษย์ด้วย

การติดเชื้อพยาธิตัวตืดจากปลาดิบนั้น สามารถพบได้ในปประเทศที่นิยมรับประทานปลาดิบเป็นอาหารหลัก เช่น ประเทศแถบยุโรปตะวันออก สแกนดินาเวีย และญี่ปุ่น ซึ่งการรับประทานอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุกหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ เช่น ปลาสดอย่างปลาแซลม่อนนั้น เป็นแหล่งที่พบพยาธิตัวตืดได้บ่อยที่สุด

การติดเชื้อพยาธิตัวตืดจากคนสู่คน

การติดเชื้อพยาธิตัวตืดแคระนั้นสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ซึ่งพยาธิตัวตืดแคระนั้นเป็นพยาธิชนิดเดียวที่มีวงจรชีวิตในสัตว์ตัวเดียวเท่านั้น และพยาธิตัวตืดแคระนั้นเป็นพยาธิที่พบได้บ่อยมากบนโลกใบนี้

การติดเชื้อพยาธิตัวตืดจากแมลงสู่คน

เห็บหมัดหรือแมลงบางชนิดก็สามารถติดเชื้อพยาธิไปสู่คนได้โดยการกินมูลของหนูที่มีเชื้อพยาธิตัวตืด ซึ่งแมลงเหล่านั้นเป็นตัวกลางที่นำไข่หรือพยาธิตัวตืดตัวเต็มวัยมาสู่คนได้ การติดเชื้อพยาธินี้สามารถเกิดขึ้นได้ร่วมกับการติดเชื้อพยาธิตัวตืดแคระและมักพบได้ในสถานที่ที่ไม่ถูกสุขอนามัย

การกลับมาติดเชื้อพยาธิตัวตืดอีกครั้ง

ระหว่างที่ทำการรักษาโรคพยาธินั้น มนุษยก็สามารถกลับมาติดเชื้อพยาธิตัวตืดได้หากไม่รักษาสุขอนามัยที่ถูกต้อง และไข่ของพยาธิตัวตืดก็ออกมากับอุจจาระด้วย และหากไม่ล้างมือหลังจากเข้าห้องน้ำ อาจทำให้กลับมาติดเชื้ออีกครั้งหนึ่งได้

การป้องกันพยาธิไม่ให้เข้าสู่ร่างกายนั้นคือ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะทำให้ติดเชื้อพยาธิ

ปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อพยาธิตัวตืดคือ:

  • ทำงานที่มีการสัมผัสตัวสัตว์: โดยเฉพาะการสัผัสกับมูลของสัตว์ที่ติดเชื้อพยาธินี้โดยที่ไม่มีการกำจัดอุจจาระที่มีประสิทธิภาพ
  • การขาดสุขอนามัยเบื้องต้น:หากคุณไม่ค่อยได้ล้างมือ ก็อาจทำให้มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อพยาธิได้
  • การเดินทางหรือใช้ชีวิตในบางพื้นที่ที่ไม่สะอาด : ในบางพ้นที่หรอบางประเทศนั้นที่มีสุขอนามัยที่ไม่สะอาดพอ ก็ทำให้มีความเสี่ยงที่ติดเชื้อพยาธิได้เช่นเดียวกัน
  • การรับประทานอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุกหรือรับประทานเนื้อวัวหรือปลาดิบ: อาหารที่ดิบนั้นมักมีตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดอยู่ ซึ่งหากได้รับประทานเข้าไปแล้ว ก็อาจกลีนไข่หรือตัวอ่อนไปด้วย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่า การรับประทานซูชิให้ปลอดภัยต้องแช่แข็งไว้ก่อนรับประทาน ซึ่งความเสี่ยงในการติดเชื้อพยาธิตัวตืดนั้นเกิดขึ้นจากการรับประทานปลาน้ำจืดมากกว่าปลาน้ำเค็ม

วิธีรักษาโรคพยาธิตัวตืด

วิธีรักษาโรคพยาธิตัวตืดนั้น ในการรักษาพยาธิตัวตืดที่เป็นตัวอ่อนหรือไข่พยาธิตัวตืดมีวิธีรักษาที่ซับซ้อนมากกว่าการรักษาพยาธิตัวตืดที่เติบโดตเต็มวัยแล้ว

ถึงแม้ว่าพยาธิตัวตืดตัวเต็มวัยสามารถใช้ชีวิตอยู่ในลำไส้ได้ แต่พยาธิตัวตืดที่เป็นตัวอ่อนหรือไข่พยาธิตัวตืดสามารถอยู่ได้ตามทุกส่วนของร่างกาย เมื่อเกิดการติดเชื้อตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด ทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้แต่มักจะพบในบางกรณีที่หายากเท่านั้น

การรับประทานยาถ่ายพยาธิตัวตืด

การรับประทานยาถ่ายพยาธิตัวตืดนั้นอาจจะต้องได้รับการแนะนำจากแพทย์ก่อนที่จะใช้ยา ซึ่งยาเหล่านี้ไม่สามารถทำให้ระบบย่อยอาหารทำการย่อยได้ แต่จะทำการละลายเพื่อฆ่าเชื้อพยาธิตัวตืดตัวเต็มวัยได้

แพทย์อาจจะแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาระบายเพื่อถ่ายพยาธิตัวตืดโดยออกมากับอุจจาระ หากว่าผู้ป่วยมีพยาธิตัวตืดหมูร่วมอยู่ด้วย แพทย์จะให้รับประทานยาแก้อาเจียน เพื่อป้องกันอาการเจียนออกมา ซึ่งอาการอาเจียนระหว่างที่มีการติดเชื้อพยาธิทำให้พยาธิตัวตืดกลับมาอยู่ในร่างกายโดยการกลืนหรือกินตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดได้

อุจจาระของผู้ป่วยที่มีเชื้อพยาธิตัวตืดนั้นมีการตรวจหาพยาธิตัวตืดหลายครั้ง ซึ่งอาจใช้เวลา 1 ถึง 3 เดือน หลังการรักษาด้วยยาถ่ายพยาธิตัวตืด วิธีรักษาโรคพยาธินี้หากปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ทำให้การรักษานี้มีประสิทธิภาพมากถึง 95 เปอร์เซนต์กันเลยทีเดียว

ยาต้านการอักเสบ

หากเกิดการติดเชื้อพยาธิตัวตืดที่มีผลทำให้เนื้อเยื่อนอกลำไส้เกิดการอักเสบ อาจมีการรับประทานยาสเตียรอยด์ที่ช่วยรักษาอาการอักเสบ เพื่อลดอาการปวดบวมบริเวณอวัยวะส่วนอื่นในร่างกายที่เกิดจากการก่อตัวของถุงน้ำที่หุ้มตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดไว้ได้

การผ่าตัดเอาถุงน้ำหุ้มตัวอ่อนพยาธิตัวตืดออกมา

หากผู้ป่วยมีถุงน้ำที่หุ้มตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดที่รุนแรงมากที่พบได้อวัยวะที่สำคัญ ซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น ปอดหรือตับ การผ่าตัดเอาถุงน้ำออกนั้นก็เป็นวิธีรักษาโรคพยาธิที่แนะนำอีกหนึ่งวิธี ซึ่งแพทย์อาจทำการผ่าตัดโดยใช้สายระบายแล้วสารต้านพยาธิเช่น สารฟอร์มาลิน เพื่อทำลายถุงน้ำหุ้มตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดให้หายไป

การป้องกันการติดเชื้อพยาธิตัวตืด

นี่คือวิธีการป้องกันการติดเชื้อพยาธิตัวตืด ซึ่งมีดังต่อไปนี้:

  • สุขอนามัยที่ดี: หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่เป็นประจำหลังจากที่เข้าห้องน้ำและก่อนรับประทานอาหาร
  • ข้อควรระวังในการปรุงอาหาร: ควรล้างทำความสะอาดอาหารสดเพื่อชำระล้างพยาธิตัวตืดที่มากับอาหารก่อนปรุงอาหารด้วยน้ำสะอาด
  • การปศุสัตว์: ควรกำจัดมูลสัตว์และอุจจาระของมนุษย์ให้เหมาะสม และลดการสัมผัสสัตว์ที่มีไข่ของพยาธิโดยตรง
  • การปรุงเนื้อสัตว์: ปรุงอาหารประเภทเนื้อสัตว์ในอุณหภูมิที่ 150 องศาฟาเรนไอต์ (หรือความร้อนระดับ 66 องศาเซลเซียส) ให้ทั่วถึงบริเวณเนื้อสัตว์ ซึ่งวิธีนี้ทำให้กำจัดไข่หรือตัวอ่อนของพยาธิได้ดี 
  • การรับประทานเนื้อวัวหรือปลาดิบ: ควรแช่เนื้อวัวหรือเนื้อปลาดิบไว้ที่ 7 วัน เพื่อกำจัดไข่หรือตัวอ่อนของพยาธิตัวตด
  • การรับประทานอาหารดิบ: ไม่ควรรับประทานเนื้อหมู เนื้อวัว หรือเนื้อปลาแบบกึ่งสุกกึ่งดิบ
  • การป้องกันสุนัข: หากคุณมีสุนัข ควรให้สุนัขรักษาอาการโรคพยาธิตัวตืดและดูแลสุนัขให้อยู่ในสุขอนามัยที่ดีเป็นพิเศษและให้สุนัขกินเนื้อหรอปลาที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น
  • สุขอนามัยในห้องครัว: รักษความสะอาดที่ห้องครัวโดยการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อเป็นประจำ

ไม่ควรรับประทานอาหารดิบโดยใช้มือหยิบอาหารเข้าปาก และควรล้างมือให้สะอาดหลังจากที่สัมผัสอาหารดิบ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่า การย่างเนื้อวัวหรือเนื้อปลาให้สุกนั้น ไม่ใช่วิธีที่ทำให้กำจัดเชื้อพยาธิตัวตืดได้ถูกต้อง

สถิติการติดเชื้อพยาธิตัวตืดในประเทศไทย

สถิตินี้มาจากงานที่มีช่อว่าPathology of parasitic infectionซึ่งพบว่า ในประเทศไทยโรคพยาธิลำไส้ตืดหมูในคนมีรายงานพบค่อนข้างน้อย ซึ่งภาคที่พบเชื้อพยาธิตัวตืดมากที่สุดคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(3.4%) และภาคเหนือ(1.2%)ภาคกลางพบน้อย(0.2%) ส่วนภาคใต้พบน้อยมากจนอาจไม่พบเลย

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *