กลุ่มอาการยึกยือ (Tardive Dyskinesia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

กลุ่มอาการยึกยือ (Tardive Dyskinesia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

16.04
6852
0

กลุ่มอาการยึกยือ (Tardive Dyskinesia) คือผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งมักจะเกิดที่ใบหน้า การเคลื่อนไหวเหล่านี้จะทำให้เกิดการกระตุก, แข็งเกร็ง และไม่สามารถควบคุมได้

Tardive dyskinesia ไม่สัมพันธ์กับความผิดปกติอื่นที่เป็นสาเหตุให้เกิดการเคลื่อนไหวโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น โรคพาร์คินสัน (Parkinson’s disease) หรือ โรคกล้ามเนื้อกระตุก (Tic disorders)

ในบทความนี้เราจะพิจารณาถึงสาเหตุและอาการของ Tardive dyskinesia และการป้องกัน

กลุ่มอาการยึกยือ คืออะไร

กลุ่มอาการยึกยือ มักเกิดจากผลข้างเคียงของยารักษาโรคจิต ซึ่งยาเหล่านี้ออกฤทธิ์ขัดขวางโดปามีน ที่ซึ่งเป็นสารเคมีภายในสมองที่ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ

โดยส่วนใหญ่ กลุ่มอาการยึกยือ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นรับประทานยาเหล่านี้เป็นเวลานาน อย่างไรก็ตามในบางรายอาจเกิดขึ้นได้ในไม่ช้าภายหลังเริ่มใช้ยา นอกจากนี้ยังอาจเกิดขึ้นหากรับประทานยาขนาดสูง

น่าเสียดายที่ยาหลายชนิดที่ทำให้เกิด กลุ่มอาการยึกยือ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพโดยรวมของบุคคล สำหรับผู้ป่วยทางจิตอย่างรุนแรง ยาเหล่านี้อาจช่วยชีวิตได้

บุคคลไม่ควรหยุด หรือเปลี่ยนยารักษาโรคจิตโดยไม่ได้รับความรู้และความเห็นชอบจากแพทย์

มากถึงงร้อยละ 30 ของผู้ที่ใช้ยารักษาโรคจิตในระยะยาวจะเกิดกลุ่มอาการยึกยือเนื่องจากความเสี่ยงนี้เป็นสิ่งสำคัญ ผู้ที่ใช้ยาประเภทนี้ เพื่อระวังสัญญาณเริ่มต้นของภาวะ กลุ่มอาการยึกยือหากรู้ตั้งแต่เนิ่นๆอาจง่ายต่อการรักษา

กว่า 4 ปีที่กลุ่มอาการยึกยือ ถือว่าเป็นผลข้างเคียงที่ไม่สามารถรักษาได้และเป็นผลข้างเคียงที่เกิดอย่างถาวร อย่างไรก็ตามมียาตัวใหม่ที่มีแนวโน้มได้รับการอนุมัติเพื่อใข้ในการรักษาอาการนี้

ยาที่ก่อให้เกิดภาวะกลุ่มอาการยึกยือ

ยาต้านโรคจิตที่เรียกว่า Neuroleptics เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของภาวะ tardive dyskinesia ยาเหล่านี้เรียกว่า โดปามีนรีเซบเตอร์แอนทาโกนีส(dopamine receptor antagonists)

Neuroleptics รักษาสภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคทางจิต ภาวะเหล่านี้อาจเปลี่ยนมุมมองของบุคคลเกี่ยวกับความเป็นจริง ผู้ที่มีอาการทางจิตอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างต่อไปนี้:

      การหลงผิด(Delusions) — เป็นความเชื่อถาวรที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานความเป็ยจริง

      เห็นภาพหลอน(Hallucinations) — การได้ยิน หรือมองเห็นสิ่งที่ไม่มีอยู่

สภาวะที่เกี่ยวข้องกับโรคทางจิต ได้แก่:

      โรคจิตเภท(Schizophrenia)

      โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder)

      ภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง(Severe depression)

      ยาเสพติด

ยา Neuroleptics รุ่นเก่าหรือเรียกอีกอย่างว่า  Neuroleptics รุ่นแรก หรือ “typical” neuroleptics  มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิด tardive dyskinesia มากกว่า ยา neuroleptics รุ่นใหม่

ยา Neuroleptics รุ่นเก่าอาจทำให้เกิด tardive dyskinesia ในระยะยาวได้ถึงร้อยละ 32.4 ของผู้ที่ใช้ยานี้ในระยะยาว Neuroleptics รุ่นแรกได้แก่:

  •       โครโพรมาซีน(Chlorpromazine)
  •       ฟูเพนนาซีน(Fluphenazine)
  •       ฮาโลเพอริโดน(haloperidol)
  •       เพอฟีนาซีน(Perphenazine)

ยารุ่นที่สอง หรือ “atypical” เป็นยารุ่นใหม่ที่อาจมีโอกาสน้อยที่จะทำให้เกิดภาวะ tardive dyskinesia ในความเป็นจริง การตรวจชิ้นหนึ่งพบว่า ยาเหล่านี้มีอัตราการเกิด tardive dyskinesia ถึงร้อยละ 13.1 สำหรับผู้ใช้ระยะยาว

ยา neuroleptics รุ่นที่สองที่พบบ่อยมากที่สุด ได้แก่:

      ริสเพอริโดน(Risperidone)

      โอเลนซาพีน(Olanzapine)

      คิวเธียพีน(Quetiapine)

      ซิบพาสิโดน(Ziprasidone)

      อะริพิพราโซน(Aripiprazole)

      พาลิเพอริโดน (Paliperidone)

      ลูราสสิโดน (Lurasidone)

ยาบางชนิดที่ถูกออกแบบมาเพื่อรักษาสภาพการย่อยอาหารนอกเหนือจากโรคจิตแล้วยังเชื่อมโยงกับ tardive dyskinesia :

      เมทโทโคลพรามาย(Metoclopramide) ซึ่งช่วยรักษาการบาดเจ็บ หรือแผลในลำคอหรือกระเพาะอาหาร และช่วยให้กระเพาะอาหารว่างในผู้ป่วยโรคเบาหวาน การใช้เมทโทโคลพรามาย เป็นเวลานานกว่า 12 สัปดาห์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็น tardive dyskinesia

      โปรโคลเพอราซีน(Prochlorperazine) บางครั้งใช้ในการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง นอกเหนือจากนี้ยังใช้ในการรักษาโรคจิตเภทหรือความวิตกกังวลอย่างรุนแรง

ปัจจัยเสี่ยง

การใช้ยา neuroleptics โดยเฉพาะการใช้เป็นเวลานาน จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุด ในการพัฒนาไปสู่ภาวะ tardive dyskinesia.

ปัจจัยอื่นๆที่ทำให้บุคคลเพิ่มความเสี่ยง ได้แก่:

      เป็นโรคเบาหวาน

      อายุที่มากขึ้น

      เพศหญิง

      เป็นโรคสมองเสื่อม (Dementia) หรือได้รับบาดเจ็บที่สมอง

      เป็นชาวแอฟริกา หรือแอฟริกา อเมริกา

      ดื่มแอลกอฮอล์ หรือเสพสารเสพติด

ไม่ใช่ทุกคนที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะเป็น tardive dyskinesia อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่รับประทานยารักษาโรคจิตต้องทราบปัจจัยเสี่ยงและไปพบแพทย์หากมีอาการปรากฏขึ้น

อาการของกลุ่มอาการยึกยือ

อาการกลุ่มอาการยึกยือ มักค่อยๆปรากฏขึ้นขณะรับประทานยารักษาโรคจิต แต่อาจแสดงเป็นเดือนหรือหลายปีหลังจากที่หยุดยา

บุคคลควรปรึกษาแพทย์ทันทีที่มีอาการเพื่อช่วยรักษาในระยะแรก

อาการหลักของ tardive dyskinesia คือการเคลื่อนไหวของใบหน้าโดยไม่รู้ตัว การเคลื่อนไหวเหล่านี้รวมถึงอาการ:

      ทำหน้าตาบูดบึ้ง

      หน้าบึ้ง

      บึนปาก

      แลบลิ้น

      การเคี้ยว

      เม้มริมฝีปาก

      กะพริบตามากเกินไป

ส่วนน้อยที่กลุ่มอาการยึกยือจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของแขน, ขา, นิ้ว และนิ้มโป้งเท้า

การป้องกัน

การป้องกันกลุ่มอาการยึกยือ เป็นไปไม่ได้เสมอไป เนื่องจากอาการอาจเกิดขึ้นอย่างกระทันหัน วิธีที่ดีที่สุดในการลดอาการกลุ่มอาการยึกยือคือรายงานการเคลื่อนไหวโดยไม่รู้ตัวต่อผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพทันทีที่เกิดขึ้น

วิธีการหนึ่งในการสังเกตเห็นผลข้างเคียงนี้ในระยะเริ่มต้นคือ การไปพบจิตแพทย์เป็นประจำในขณะที่รับประทานยารักษาโรคจิต โดยจิตแพทย์อาจใช้การตรวจคัดกรองที่เรียกว่า Abnormal Involuntary Movement Scale(AIMS) ซึ่งช่วยระบุอาการของภาวะ กลุ่มอาการยึกยือ

ผู้ที่ใช้ยาเมทโทโคลพรามาย(Metoclopramide) หรือโปรโคลเพอราซีน(Prochlorperazine) สำหรับปัญหาทางเดินอาหารอาจต้องได้รับการประเมินโดยแพทย์เป็นประจำเพื่อหาอาการของกลุ่มอาการยึกยือ ซึ่งโดยทั่วไปควรใช้ยาเหล่านี้ในช่วงสั้นๆเท่านั้นเมื่อรักษาปัญหาการย่อยอาการ

การรักษา

การรักษากลุ่มอาการยึกยืออาจเกี่ยวข้องกับการลดปริมาณยารักษาโรคจิต หรือเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่น ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์ผู้สั่งจ่ายยาเท่านั้นเนื่องจากความเจ็บป่ายทางจิตขั้นรุนแรอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

บางครั้งการเปลี่ยนหรือลดยาจะช่วยบรรเทาอาการกลุ่มอาการยึกยือ ได้ แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป

จนกระทั้งเมื่อไม่นานมานี้ยังไม่มีวีธีการรักษาที่จะรับการอนุมัติจาก FDA สำหรับ กลุ่มอาการยึกยือในปีค.ศ.2017 มีการอนุมัติยาสองชนิดเพื่อรักษาสภาวะนี้ :

      วาลเบนนาซีน valbenazine (Ingrezza)

      ดูเทตตะเบนนาซีน deutetrabenazine (Austedo)

ใครก็ตามที่ต้องการลองใช้ยาเหล่านี้เพื่อลดอาการ tardive dyskinesia ควรปรึกษาแพทย์

สถาบันประสาทวิทยาแห่งอเมริกา(The American Academy of Neurology) แนะนำว่าสารสกัดจากใบแปะก๊วยอาจช่วยบรรเทาอาการ tardive dyskinesia ในบางคน อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าผลของมันได้รับการศึกษาเฉพาะในผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคจิตเภท

พวกเขายังตั้งข้อสังเกตว่า ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงว่าวิธีการรักษาทางธรรมชาติอื่ยๆ เช่น วิตามินอีและเมลาโทนินใช้ได้ผลกับภาวะ tardive dyskinesia

อย่างไรก็ตามมีหลักฐานบางอย่างที่แสดงว่ายาคลายความวิตกกังวลที่เรียกว่า โครนาซีแปม(Clonazepam) สามารถช่วยรักษาอาการชักกระตุกได้แต่ยานี้สามารถสร้างนิสัยได้

แนวโน้ม

แม้ว่าภาวะกลุ่มอาการยึกยือ ตัวมันเองจะไม่เป็นอันตรายแก่ชีวิต แต่อาการของมันอาจส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลได้ หากบุคคลใดรับประทานยารักษาโรคจิตควรทราบถึงสัญญาณของอาการชักกระตุกเพื่อให้สามารถรายงานอาการใดๆให้แพทย์ทราบได้ทันทีที่เกิดขึ้น

แม้ว่าจะไม่มีวิธีการรักษาที่ชัดเจนสำหรับทุกคนที่มีภาวะ tardive dyskinesia แต่ระบบประสาทที่ใหม่กว่าร่วมกับการรักษาที่ได้รับอนุมัติจาก FDA ก็ให้ความหวังสำหรับภาวะนี้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

       https://www.webmd.com/mental-health/tardive-dyskinesia

       https://medlineplus.gov/ency/article/000685.htm

       https://www.ninds.nih.gov/Disorders/All-Disorders/Tardive-Dyskinesia-Information-Page

       https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5472076/

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *