มะเร็งอัณฑะ (Testicular Cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

มะเร็งอัณฑะ (Testicular Cancer) : อาการ สาเหตุ การรักษา

09.02
4272
0

มะเร็งอัณฑะ (Testicular Cancer) คือมะเร็งที่พบได้น้อยมาก สำหรับผู้ชายลูกอัณฑะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายและเก็บอสุจิ

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทำหน้าที่ควบคุมการพัฒนาอวัยวะสืบพันธุ์ และลักษณะทางกายภาพอื่น ๆ ของผู้ชาย

อายุเฉลี่ยของผู้ที่เป็นมะเร็งอัณฑะอยู่ที่ 33 ปี และผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นชายหนุ่มและวัยกลางคน นอกจากนี้ มะเร็งอัณฑะยังเกิดขึ้นกับผู้ชายก่อนวัยแรกรุ่น แต่พบได้น้อยมากและมีเพียง 8% เท่านั้นที่เป็นผู้ป่วยหลังวัย 55 ปี

อาการของโรคมะเร็งอันฑะ

อาการของมะเร็งอัณฑะมักปรากฏในระยะเริ่มต้น แต่บางครั้งอาการก็ไม่ปรากฏให้เห็นจนกว่าจะถึงระยะลุกลาม

ผู้ป่วยอาจสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดยแพทย์สามารถตรวจพบว่าเป็นมะเร็งอัณฑะเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการตรวจร่างกาย

อาการระยะเริ่มต้นที่พบบ่อย ๆ ได้แก่ เกิดมีก้อนที่ไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดหรือบวมที่อัณฑะ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ในอัณฑะซึ่งมาจากหลายสาเหตุ ซึ่งก้อนเนื้ออาจไม่ได้หมายถึง ก้อนมะเร็งเสมอไป ทั้งนี้ หากสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ควรพบแพทย์ทันที เช่น :

  • มีอาการปวดในลูกอัณฑะหรือถุงอัณฑะอย่างรุนแรง

  • รู้สึกหนักถุงอัณฑะ

  • เห็นความแตกต่างได้ชัดของขนาดอัณฑะทั้งสองข้าง

ในบางกรณีหากเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้หน้าอกโตและเจ็บด้วย

สำหรับระยะลุกลาม เมื่อมะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นแล้ว ผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้

มีอาการปวดหลัง หากมะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง

  • หายใจลำบาก หากมะเร็งลามไปยังปอด

  • ปวดท้อง หากมะเร็งลามไปยังตับ

  • มีอาการปวดหัวและรู้สึกมึนงง หากมะเร็งลามไปยังสมอง

สาเหตุของมะเร็งอัณฑะ

มะเร็งอัณฑะส่วนใหญ่เริ่มเกิดในเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งเซลล์เหล่านี้คือเซลล์ในอัณฑะที่ทำหน้าที่ผลิตอสุจิแต่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่

ปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงว่า ทำไมเซลล์อัณฑะจึงเป็นมะเร็ง ทั้งนี้ ปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงได้

มะเร็งอัณฑะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้:

  • มีภาวะลูกอัณฑะติดค้างหรือลูกอัณฑะไม่เลื่อนลงถุง

  • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งอัณฑะ

  • ลูกอัณฑะติดค้างเกิดขึ้นได้กับคนผิวขาว มากกว่าคนผิวดำหรือชาวเอเชีย

การติดเชื้อเอชไอวีอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งอัณฑะได้ แต่การทำหมันไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งอัณฑะ

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีวิธีป้องกันมะเร็งอัณฑะได้ เนื่องจากแพทย์ยังไม่ทราบที่แท้จริงว่ามะเร็งอัณฑะเกิดจากสาเหตุใด นอกจากนี้ปัจจัยทางพันธุกรรมอาจมีบทบาทเกี่ยวข้องและทำให้เกิดโรคมะเร็งอัณฑะได้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

ปัจจัยเสี่ยงใดบ้างที่ผู้ป่วยควรคำนึงถึงก่อนทำหมัน

การรักษามะเร็งอัณฑะ

มะเร็งอัณฑะสามารถรักษาให้หายได้ โดยเฉพาะในระยะแรก ๆ ผู้ชายส่วนใหญ่ที่เป็นมะเร็งอัณฑะจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างน้อยอีก 5 ปีหลังการวินิจฉัย

แพทย์มักแนะนำวิธีรักษาดังต่อไปนี้:

  • การผ่าตัดศัลยกรรม

  • การฉายแสงบำบัด

  • เคมีบำบัด

  • การรักษาด้วยสเต็มเซลล์

  • การเฝ้าระวัง

ศัลยกรรมรักษา

ศัลยแพทย์จะผ่าตัดเอาอัณฑะข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างออก เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้องอกแพร่กระจายไปที่อื่น

วิธีนี้ทำร่วมกับการให้ยาชาทั่วไป จากนั้นศัลยแพทย์จะทำแผลเล็ก ๆ ที่ขาหนีบและเอาลูกอัณฑะออกทางรอยผ่าตัด

การเอาลูกอัณฑะข้างเดียวออกไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตทางเพศหรือภาวะเจริญพันธุ์ของผู้ป่วย แต่การเอาอัณฑะทั้งสองข้างออกหมายความว่า ผู้ป่วยจะไม่สามารถให้กำเนิดบุตรได้ตามธรรมชาติ

อย่างไรก็ตาม ยังมีตัวเลือกอื่น ๆ ที่เป็นตัวช่วยสำหรับภาวะเจริญพันธุ์ได้อีก เช่น แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยฝากสเปิร์มหรืออสุจิแช่แข็งไว้ในธนาคารอสุจิเพื่อใช้ในอนาคต เมื่อจำเป็น

ผลกระทบอื่น ๆ จากการตัดอัณฑะออก เช่น:

  • การสูญเสียความต้องการทางเพศ

  • อวัยวะเพศไม่แข็งตัว

  • รู้สึกเหนื่อยง่าย

  • รู้สึกร้อนวูบวาบ

  • สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ

แพทย์อาจจ่ายผลิตภัณฑ์เสริมฮอร์โมนเพศชาย เช่น เจลแผ่นแปะ หรือ ยาฉีด เพื่อช่วยเสริมสรรถภาพทางเพศ

นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังสามารถฟื้นฟูลักษณะของอัณฑะได้ โดยการใส่อัณฑะเทียม ทั้งนี้ ศัลยแพทย์จะใส่อัณฑะเทียมเข้าไปในถุงอัณฑะ แล้วเติมน้ำเกลือเข้าไป

ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดในระยะแรกอาจไม่ต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม

การผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง

หากมะเร็งลามไปถึงต่อมน้ำเหลือง โดยปกติแล้วจะเกิดแผลเป็นบริเวณรอบ ๆ เส้นเลือดใหญ่ที่อยู่ด้านหลังของช่องท้อง ศัลยแพทย์จะต้องผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองออก โดยวิธีการผ่าตัดแบบเปิดหรือแบบส่องกล้อง

ทั้งนี้การผ่าตัดจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์โดยตรง แต่ความเสียหายของเส้นประสาทอาจส่งผลต่อการหลั่งน้ำอสุจิของผู้ป่วยทำให้อสุจิจะไม่ออกมาทางท่อปัสสาวะ แต่ไปออกที่กระเพาะปัสสาวะแทน

ซึ่งความผิดปกติดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่จำนวนอสุจิที่ลดลงอาจส่งผลต่อการสืบพันธุ์ของผู้ป่วยได้

การฉายเเสงบำบัด

การรักษาด้วยวิธีฉายรังสีจะทำลายดีเอ็นเอภายในเซลล์เนื้องอกและความสามารถในการสืบพันธุ์ ด้วยวิธีรักษานี้สามารถกำจัดมะเร็งและสามารถป้องกันไม่ให้เชื้อมะเร็งลุกลามหรือกลับมาเกิดขึ้นได้อีกครั้ง

ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดอาจต้องเข้ารับการรักษาด้วยรังสีซ้ำ เพื่อทำให้มั่นใจว่าการรักษาด้วยการผ่าตัดสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งที่เหลืออยู่ให้หมด แต่ถ้ามะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการฉายรังสี

ผลข้างเคียงชั่วคราวต่อไปนี้อาจเกิดขึ้นได้ เช่น:

• รู้สึกเหนื่อยง่าย

• มีผื่นขึ้น

• มีอาการกล้ามเนื้อและข้อต่อตึง

• รู้สึกเบื่ออาหาร

• รู้สึกคลื่นไส้

อาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อสิ้นสุดการรักษา

เคมีบำบัด

การรักษาด้วยเคมีบำบัดเป็นการใช้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งและหยุดการแบ่งตัว รวมถึงการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

แพทย์อาจแนะนำให้ทำเคมีบำบัดหากมะเร็งอัณฑะแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย โดยแพทย์สามารถให้ยาเคมีบำบัดทั้งชนิดรับประทานหรือฉีดเข้าเส้นเลือด

ยาเคมีบำบัดจะโจมตีเซลล์ที่ยังมีสภาพดีและเซลล์มะเร็งไปด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงดังต่อไปนี้:

• มีอาการคลื่นไส้อาเจียน

• มีผมร่วง

• มีแผลในปาก

• รู้สึกเหนื่อยง่ายและรู้สึกไม่สบาย

อาการเหล่านี้มักจะหายไปเองหลังจากสิ้นสุดการรักษา

การรักษาด้วยสเต็มเซลล์

ในบางกรณี การบำบัดด้วยเซลล์ต้นกำเนิดทำให้ผู้ป่วยที่รับยาเคมีบำบัดด้วยโด้สที่สูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้

หลายสัปดาห์ก่อนเข้ารับการรักษา ผู้เชี่ยวชาญจะใช้เครื่องมือพิเศษในการเก็บเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดของผู้ป่วย โดยผู้เชี่ยวชาญจะทำการแช่แข็งและจัดเก็บเซลล์เหล่านี้ไว้

ผู้ป่วยจะได้รับยาเคมีบำบัดในปริมาณสูง จากนั้นแพทย์จะฉีดเซลล์ต้นกำเนิดเข้าหลอดเลือดดำ เช่นเดียวกับการถ่ายเลือด

เซลล์เหล่านี้จะเข้าไปอยู่ในไขกระดูกและเริ่มสร้างเซลล์เม็ดเลือดใหม่ ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยฟื้นตัวจากการใช้เคมีบำบัดในปริมาณที่สูงขึ้นได้

ข้อเสียของการบำบัดประเภทนี้ ได้แก่ :

• เนื่องจากมีการใช้เคมีบำบัดในปริมาณมาก จึงมีความเสี่ยงและอาจมีผลเสียที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้

• อาจต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน

• อาจมีค่าใช้จ่ายสูง และประกันสุขภาพอาจไม่ครอบคลุม

การเฝ้าระวัง

แพทย์ยังคงเฝ้าระวัง หลังผู้ป่วยเข้ารับการรักษามะเร็งอัณฑะแล้ว เพื่อตรวจหาอาการใดที่บ่งชี้ได้ว่า อาจมีเชื้อมะเร็งเกิดขึ้นอีกครั้ง

โดยการเฝ้าระวังไม่เกี่ยวกับการรักษาที่ทำอยู่ แต่ผู้ป่วยจะต้องมาพบแพทย์ตามนัดตามปกติและเพื่อตรวจอาการ

การวินิจฉัยโรคมะเร็งอัณฑะ

ในการวินิจฉัยมะเร็งอัณฑะ แพทย์จะแนะนำ:

การตรวจเลือด: การตรวจเลือดสามารถวัดระดับของ แอลฟา-ฟีโตโปรตีน ฮอร์โมนเอชซีจี และแลคเตตดีไฮโดรจีเนส ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้อาจช่วยบ่งบอกได้ว่ามีเนื้องอกเกิดขึ้น

อัลตราซาวด์

การทำอัลตราซาวด์จะทำให้ทราบว่า ผู้ป่วยมีเนื้องอกและมองเห็นขนาดของเนื้องอกได้อย่างชัดเจน

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ

แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อตัวอย่างจากลูกอัณฑะเพื่อส่งตรวจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจสามารถบอกได้ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่

การตรวจมะเร็งด้วยตัวเอง

การตรวจร่างกายเป็นประจำอาจช่วยให้พบมะเร็งแต่ระยะเเรก

และช่วงที่สามารถตรวจหามะเร็งอัณฑะได้ดีที่สุดคือเมื่อผิวหนังบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ุคลายตัว โดยปกติแล้ว ก็คือช่วงหลังอาบน้ำอุ่นหรือหลังอาบน้ำ

การตรวจมะเร็งด้วยตนเอง:

  •  ค่อย ๆ ประคองถุงอัณฑะไว้ในฝ่ามือทั้งสองข้าง ยืนหน้ากระจกและสำรวจหา  อาการบวมที่ผิวหนังของถุงอัณฑะ

  •  สัมผัสขนาดและน้ำหนักของอัณฑะก่อน

  • ใช้นิ้วและหัวแม่มือกดรอบอัณฑะ เพื่อสำรวจก้อนเนื้อหรืออาการบวมผิดปกติ

  •  การสัมผัสลูกอัณฑะแต่ละข้าง วางนิ้วชี้และนิ้วกลางไว้ใต้อัณฑะข้างหนึ่ง โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบน ค่อย ๆ คลึงลูกอัณฑะระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วมือ ซึ่งพื้นผิวหนังควรจะราบเรียบ เป็นรูปไข่ และค่อนข้างตึง ไม่มีก้อนหรืออาการบวม ด้านบนและด้านหลังของอัณฑะแต่ละข้างควรมีส่วนคล้ายท่อ ที่เรียกว่า หลอดน้ำอสุจิ ซึ่งเป็นที่เก็บอสุจิ

ควรทำขั้นตอนนี้ทุกเดือนเพื่อตรวจดูการเปลี่ยนแปลงขนาด น้ำหนัก หรือคลำอัณฑะ

ผู้ชายจะมีลูกอัณฑะข้างหนึ่งห้อยต่ำกว่าลูกอัณฑะอีกข้าง หรือลูกอัณฑะข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง ถ้าหากขนาดของลูกอัณฑะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป ไม่จำเป็นต้องกังวลใดๆ

ประเภทของมะเร็งอัณฑะ

หากการตรวจพบว่าเกิดเชื้อมะเร็งในอัณฑะ แพทย์ต้องทราบด้วยว่าเป็นมะเร็งชนิดใด และอยู่ในระยะใดก่อนที่จะพูดคุยถึงแผนการรักษากับผู้ป่วยแต่ละคน

มะเร็งอัณฑะมีสองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่:

  • เซมิโนมา: มะเร็งชนิดนี้เติบโตช้าและมีเพียงเซลล์เซมิโนมาเท่านั้น นอกจากนี้เชื้อมะเร็งประเภทนี้ยังสามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท ได้แก่ประเทศคลาสสิกและประเภทสเปิร์มมาโทไซต์

  • นอนเซมิโนมา: มะเร็งชนิดนี้อาจเป็นเซลล์มะเร็งหลายชนิด ทั้งนี้ ยังมีหลายชนิดย่อย ได้แก่ เอมไบรโอนัล คาร์ซิโนมา เนื้องอกโยล์คแซค และ มะเร็งคอริโอคาร์ซิโนม่า รวมถึงเนื้องอกเทอราโทมา

เนื้องอกอื่น ๆ ที่ไม่เป็นมะเร็ง ได้แก่ เนื้องอกในสโตรมัล ก้อนเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์เลดิก และเนื้องอกของเซลล์เซอร์โทไล

ระยะของมะเร็ง

  • ระยะไม่ลุกลาม: มะเร็งจะอยู่ในอัณฑะเท่านั้นและยังไม่แพร่กระจาย

  • ระยะลุกลามไปพื้นที่ใกล้เคียง: มะเร็งลุกลามเข้าไปถึงต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง

  • ระยะลุกลามไปยังอวัยวะอื่น: มะเร็งแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ปอด ตับ สมองและกระดูก

วิธีการป้องกันโรคมะเร็งอัณฑะ

ปัจจุบันยังไม่สามารถป้องกันมะเร็งอัณฑะได้ เนื่องจากยังไม่ทราบปัจจัยเสี่ยงที่แท้จริง อย่างไรก็ตามหากครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งอัณฑะ การตรวจโรคทางพันธุกรรมสามารถช่วยให้ตรวจพบมะเร็งได้เร็วขึ้น ถ้าหากมั่นตรวจความผิดปกติตนเองเป็นประจำอาจนำไปสู่การวินิจฉัยพบโรคได้เร็วขึ้น

หากพบแนวโน้มของผู้ที่เป็นมะเร็งอัณฑะในระยะเริ่มต้นระยะแรก โดย 95% ของผู้ป่วยมีชีวิตอย่างน้อยอีก 5 ปีหลังจากการวินิจฉัย

ผู้ป่วยราว 11% ได้รับการวินิจฉัยหลังจากมะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ แล้ว ตามสถิติของสมาคมผู้ป่วยโรคมะเร็งในสหรัฐอเมริกาพบว่ามีผู้ป่วยราว 74% สามารถมีชีวิตอยู่ต่ออย่างน้อยได้อีก 5 ปี

การตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ สามารถทำให้การตรวจพบมะเร็งอัณฑะในระยะเริ่มต้นง่ายขึ้นและเมื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงทีจะมีแนวโน้มที่ดีในมะเร็งชนิดนี้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *