หูอื้อ (Tinitus) : อาการ สาเหตุ การรักษา

หูอื้อ (Tinitus) : อาการ สาเหตุ การรักษา

27.10
1510
0

เสียงอื้อในหู (Tinitus) คือการได้ยินเสียง “สั่นกระดิ่งเกิดขึ้นในหู” นอกจากเสียงนี้พวกเขายังได้ยินเสียงฟ่อ เสียงดังกริ๊กหรือเสียงกระซิบเกิดขึ้นภายในหู ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแบบชั่วคราวและเรื้อรังถาวร 

สาเหตุทั่วไปที่ทำเกิดภาวะหูอื้อคือการได้ยินเสียงดังสะสมเป้นเวลานานหรือได้รับการบาดเจ็บที่คอและศีรษะรวมไปถึงการติดเชื้อในหู บางครั้งอาการหูอื้อสามารถบ่งบอกถึงโรคร้ายเเรงได้ 

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาภาวะเสียงอื้อในหูแต่มีวิธีจัดการกับอาการนี้ คนส่วนใหญ่ที่มีภาวะเสียงอื้อในหูเรื้อรังจะสามารถปรับตัวกับเสียงสั่นกระดิ่งที่เกิดขึ้นในหูได้เมื่อเวลาผ่านไป โดย 1 ใน 5 ของผู้ที่มีภาวะเสียงอื้อพบว่าอาการนี้รบกวนการใช้ชีวิตของผู้ป่วยหรือมีอาการที่รุนเเรงขึ้น

ในผู้ป่วยบางรายอาการนี้นำไปสู่โรคนอนไม่หลับ ทำให้มีสมาธิจดจ่อได้น้อยลงในการทำงานหรือการเรียน รบกวนจิตใจ ทำให้เกิดอาการกังวลเเละเกิดโรคซึมเศร้าได้  

Tinitus

ภาวะเสียงอื้อในหูคืออะไร 

อาการเสียงหูอื้อเกิดขึ้นเมื่อเราได้ยินเสียงบางอย่างที่ไม่สามารถทราบถึงต้นกำเนิดของเสียงนั้นๆภายนอกร่างกายได้ ซึ่งภาวะนี้ไม่ใช่โรคแต่สามารถทำให้เกิดอาการต่างๆตามมาได้

โดยปกติเสียงที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีภาวะหูอื้อมีความเเตกต่างกันซึ่งหมายความว่าผู้ที่มีภาวะเสียงอื้อในหูเท่านั้นสามารถได้ยินเสียงเหล่านั้นได้ 

โดยอาการส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมักมีรูปเเบบเสียงสั่นของกระดิ่งที่เกิดขึ้นสม่ำเสมอและมีเสียงสูงดังนั้นเสียงเหล่านี้จึงทำให้เกิดอาการรำคาญแต่โดยปกติเเล้วภาวะนี้ไม่ได้บ่งบอกถึงอาการร้ายเเรงชองโรคใดๆ

มีเพียง 1 เปอร์เซนต์ของภาวะเสียงอื้อในหูที่เกิดจากภาวะอื่นๆที่ทำให้ผู้คนได้ยินอื้อเกิดขึ้นในหู บางครั้งเสียงที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจหรือระบบกล้ามเนื้อเเละกระดูกภายในร่างกายของคน ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณของโรคร้ายเเรงที่อาจเกิดขึ้นได้

อาการหูอื้อ

ภาวะเสียงอื้อในหูไม่เกี่ยวกับการได้ยินเสียง โดยเสียงที่เกิดขึ้นภายในหูสามารถเกิดขึ้นเป็นพักๆหรือเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งอาจเกิดขึ้นในหูข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างไม่ว่าจะเป็นเสียงที่มีความถี่ต่ำหรือความถี่สูง

ภาวะเสียงอื้อในหูที่เกิดขึ้นมีหลายรูปแบบโดยสามารถอธิบายเป็นเสียงต่างๆดังต่อไปนี้เช่น เสียงผิวปาก เสียงกึ๊กกั๊ก เสียงแหลมเเละดัง เสียงฟ่อ เสียงไฟฟ้าสถิตย์ เสียงคำราม เสียงหึงๆเหมือนผึ้งบิน เสียงเต้นของชีพจร เสียงกระเเสน้ำไหลหรือเสียงเครื่องดนตรี 

ระดับความดังของเสียงที่ได้ยินมีระดับความดังที่เกิดขึ้นเเตกต่างกัน โดยปกติสามารถสังเกตุเสียงที่เกิดขึ้นในหูได้ในช่วงกลางคืนหรือในช่วงที่มีเสียงเงียบ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน 

การรักษาอาการหูอื้อ

ขั้นตอนเเรกของการรักษาคือการรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะเสียงอื้อในหู

วิธีการรักษาอาการที่เกี่ยวข้องได้แก่

  • การรักษาภาวะติดเชื้อภายในช่องหู
  • การใช้ยาบางชนิดสามารถทำให้เกิดหูอื้อ
  • การรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคความผิดปกติที่ข้อต่อขากรรไกรที่เกิดขึ้นบริเวณกระดูกแก้มเเละกระดูกขากรรไกร

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาภาวะเสียงอื้อในหูโดยเฉพาะ โดยผู้คนส่วนมักมีการปรับตัวเเละเรียกรู้เกี่ยวกับลักษณะของเสียงที่เกิดขึ้นซึ่งส่วนใหญ่พวกเขาจะเพิกเฉยต่อเสียงที่ได้ยินเเละมุ่งเน้นไปที่วิธีการบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นเเทน 

ถ้าหากการรักษาใช้ไม่ได้ผล ผู้ป่วยอาจต่อสนองกับวิธีการรักษาอาการที่เกิดขึ้นจากภาวะเสียงอื้อในหูเช่นภาวะนอนไม่หลับ ภาวะวิตกกังวล ได้ยินเสียงแปลกๆ ไม่ชอบเข้าสังคมและโรคซึมเศร้า การรักษาโรคเหล่านี้ให้คุณภาพของผู้ป่วยดีขึ้นได้ 

สาเหตุหูอื้อ

สาเหตุส่วนใหญ่ของภาวะเสียงอื้อในหูเกิดจากความเสียหายและการสูญเสียเซลล์เส้นประสาทสัมผัสขนาดเล็กภายในอวัยวะรูปหอยโข่งของหูชั้นใน

ภาวะเสียงอื้อภายในหูมีเเนวโน้มเกิดขึ้นกับผู้สูงวัยรวมถึงผู้ที่สัมผัสกับเสียงดังมากเกินไปเป็นระยะเวลายาวนาน ดังนั้นภาวะสูญเสียการได้ยินจึงเกิดจากภาวะเสียงอื้อในหู

นักวิจัยเเนะนำว่าการสูญเสียประสาทสัมผัสเสียงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการได้รับคลื่นความถี่ของเสียงจึงทำให้สมองเปลี่ยนกระบวนการรับรู้เสียง 

เมื่อสมองได้รับการกระตุ้นภายนอกด้วยคลื่นความถี่เสียงเฉพาะ  สมองจะเริ่มปรับตัวเเละเปลี่ยนแปลงการรับรู้เสียง ภาวะเสียงอื้อในหูอาจเกิดจากการที่สมองปรับเปลี่ยนวิธีรับเสียงเพื่อเติมเต็มสัญญาณของเสียงที่ขาดหายไปซึ่งเป็นเสียงที่ไม่สามารถได้ยินอีกต่อไป

การใช้ยาบางประเภทเช่นยาแอสไพริน ไอบูโพรเฟน ยาปฏิชีวนะบางชนิดและยาขับปัสสาวะสามารถทำให้เกิดภาวะหูอื้อหรือสูญเสียการได้ยินได้ 

สาเหตุที่สามารถทำให้เกิดภาวะหูอื้อมีดังต่อไปนี้ 

  • อาการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือคอ
  • การติดเชื้อภายในหู
  • มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหูหรือขี้หูสัมผัสกับเยื่อเเก้วหู
  • หูชั้นกลางมีปัญหา
  • เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับกระดูกข้อต่อของขากรรไกร
  • กระดูกของหูชั้นกลางเกิดอาการเเข็งทื่อ
  • เกิดอาการบาดเจ็บในสมองอย่างรุนเเรง
  •  โรคเกี่ยวกับหัวใจเเละหลอดเลือดหัวใจ 
  • โรคเบาหวาน

ถ้าหากภาวะเสียงอื้อภายในหูเกิดจากขี้หูหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในหู ควรรักษาด้วยการทำความสะอาดช่องหูหรือนำสิ่งแปลกปลอมออกจากหู 

ภาวะเสียงอื้อในหูที่มีเสียงเหมือนหัวใจเต้นอาจมีเเนวโน้มที่รุนเเรงขึ้น โดยอาการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากมีบางอย่างที่ผิดปกติเกิดขึ้นในช่องหูเช่นเนื้องอกหรือความผิดปกติของการเชื่อมต่อระหว่างเส้นเลือดดำเเละเส้นเลือดเเดง 

ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นนี้จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยโรคจากเเพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 

วัยรุ่นส่วนใหญ่ที่ชอบฟังเพลงเสียงดังมักมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินในอนาคต

หนึ่งในงานวิจัยพบว่าในหมู่วัยรุ่นจำนวน 170 คนมากกว่าครึ่งของวัยรุ่นจำนวนนี้มีเคยมีอาการเสียงอื้อในหูเมื่อปีที่เเล้ว นักวิจัยค้นพบว่า “กิจกรรมที่ทำในช่วงเวลาว่างทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดเสียงอื้อในหู” เช่นการฟังเพลงเสียงดังด้วยการใช้หูฟังเป็นการกระตุ้นทำให้เกิดภาวะเสียงอื้อในหูได้ 

อย่างไรก็ตามนักวิจัยยังค้นพบว่าภาวะเสียงอื้อในหูสามารถเกิดขึ้นกับผู้ที่ฟังเพลงเสียงเบาด้วยเช่นกันและนักวิจัยยังเเนะนำว่าพวกเขาอาจเป็นผู้ที่สูญเสียการได้ยินในอนาคตได้เช่นกัน

งานวิจัยได้ค้นพบว่าภาวะเสียงอื้อในหูเกิดขึ้นจากความอดทนต่อเสียงที่มีความถี่ต่ำและเสียงดังของหูในวัยรุ่นซึ่งทำให้เกิดภาวะการสูฐเสียการได้ยินในอนาคตเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้นได้ 

บทสรุปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาวะเสียงอื้อในหู

นี่คือข้อมูลหลักเกี่ยวกับอาการเสียงอื้อในหู รายละเอียดเพิ่มเติมอยู่ในบทความหลัก

  • ประชากรชาวอเมริกัน 50 ล้านรายเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับภาวะเสียงอื้อในหู
  • ภาวะเสียงอื้อในหูส่วนใหญ่เกิดจาก อวัยวะรูปหอยโข่งในช่องหูหรือหูชั้นในถูกทำลาย
  • การใช้ยาบางประเภททำให้ภาวะเสียงอื้อในหูรุนเเรงขึ้นได้เช่นการใช้ยาแอสไพรินปริมาณมาก
  • ผู้ที่มีภาวะเสียงอื้อในหูมักอ่อนไหวกับเสียงดัง
  • คนส่วนใหญ่สามารถเรียนรู้เพื่อใช้ชีวิตอยู่กับภาวะเสียงอื้อภายในหูได้แต่อาการนี้มีวิธีรักษาสำหรับผู้ที่ไม่สามารถทดกับเสียงอื้อในหู

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *