โรคพยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคพยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

29.03
20017
0

พยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis) เป็นการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ บุคคลจะได้รับเชื้อผ่านทางช่องคลอด, ปาก หรือการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

พยาธิที่เรียกว่า Trichomonas vaginalis เป็นสาเหตุของพยาธิในช่องคลอด(Trichomoniasis/Trich) ซึ่งสามารถรักษาได้หากต้องการรักษา อย่างไรก็ตาม มีเพียงร้อยละ 30 ของผู้ที่มีอาการของพยาธิในช่องคลอดตามข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค(the Centers for Disease Control and Prevention :CDC)

หากไม่ได้รับการรักษา พยาธิในช่องคลอดอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ มีผลต่อการตั้งครรภ์และยังเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี

พยาธิในช่องคลอดเป็นหนึ่งในการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยที่สุดในสหรัฐอเมริกา ซึ่งศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้คนเกือบ 3.7 ล้านคน มันเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่รักษาได้บ่อยที่สุด

สาเหตุและการแพร่กระจาย

T. vaginalis พยาธิที่เป็นสาเหตุของพยาธิในช่องคลอด สามารถติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ บุคคลสามารถแพร่เชื้อระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องปาก, ทวารหนัก หรือช่องคลอด หรือการสัมผัสอวัยวะเพศ

ในเพศหญิง พยาธิในช่องคลอดส่วนใหญ่มีผลต่อระบบสืบพันธ์ุส่วนล่าง ในเพศชายจะส่งผลต่อท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นท่อที่เป็นทางผ่านของปัสสาวะ

ส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่น ทวารหนัก, มือ หรือปาก มักไม่ค่อยติดเชื้อ

ผู้ที่มีโอกาสในการมรพยาธิในช่องคลอดสูงได้แก่:

  • เพศหญิง

  • ผู้ที่มีคู่นอนมากกว่า 1 คน

  • ผู้ที่มีประวัติเคยเป็นพยาธิในช่องคลอดหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน

ด้วยจำนวนคู่นอนที่มากขึ้นก็เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นพยาธิในช่องคลอดให้กับบุคคลมากขึ้นเช่นกัน

อาการของโรคพยาธิในช่องคลอด

อาการอาจปรากฏขึ้นระหว่าง 5-28 วันหลังการสัมผัส หรืออาจปรากฏภายหลัง หรือไม่ปรากฏเลย

เมื่อมีอาการแสดง อาจส่งผลทั้งเพศชายและหญิงแตกต่างกัน

อาการเล็กน้อย ได้แก่ การระคายเคือง แต่บางคนที่มีอาการรุนแรงกว่านั้นอาจมีอาการอักเสบร่วมด้วย

อาการที่เป็นไปได้ในเพศหญิงได้แก่:

  • ตกขาวมีฟองและมีกลิ่นเหม็น ซึ่งอาจมีลักษณะใส, ขาว, เทา, เหลือง หรือเขียว

  • ตกขาวมีเลือดปน

  • ระคายเคืองอวัยวะเพศ

  • ไม่สุขสบายระหว่างมีเพศสัมพันธ์หรือเมื่อปัสสาวะ

  • ขาหนีบบวม

  • ปัสสาวะบ่อย

  • พบได้น้อยราย : ปวดท้องน้อย

อาการในเพศชายได้แก่:

  • มีสิ่งคัดหลั่งออกมาจากอวัยวะเพศชาย

  • คันภายในอวัยวะเพศชาย

  • รู้สึกแสบร้อนหลังจากหลั่งอสุจิ หรือปัสสาวะ

  • ปัสสาวะบ่อย

  • ปวดเวลาปัสสาวะ

ภาวะแทรกซ้อนของพยาธิในช่องคลอด

พยาธิในช่องคลอดนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ได้แก่

Trichomoniasis

ปัญหาระหว่าตั้งครรภ์

ผู้เชี่ยวชาญได้เชื่อมโยงพยาธิในช่องคลอดกับภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ได้แก่:

  • การคลอดก่อนกำหนด

  • ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด

  • ทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

  • ภาวะมีบุตรยาก

บางครั้งผู้หญิงสามารถแพร่เชื่อไปสู่ทารกแรกเกิดได้ในระหว่างการคลอด แต่พบได้น้อย

สามารถรับการรักษาด้วย เมดโทรนิดาโซน(Metronidazole) ในระหว่างตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย

ปัญหาอื่นๆ

พยาธิในช่องคลอดอาจเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อในระบบสืบพันธ์ุ

มีการศึกษาที่ชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างพยาธิในช่องคลอดและเชื้อเอชพีวี(Human papillomavirus :HPV) ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม

ความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี

การติดเชื่อพยาธิในช่องคลอดสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ โดยเฉพาะในเพศหญิง

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงได้ขึ้นอยู่กับ:

  • การอักเสบ

  • ภูมิคุ้มกันต่ำ

  • การเปลี่ยนแปลงสมดุลของแบคทีเรียโดยธรรมชาติในช่องคลอดในเพศหญิง

ปัจจัยเหล่านี้อาจลดการป้องกันตามธรรมชาติของคนจากไวรัส

การตรวจและวินิจฉัย

ในการวินิจฉัยการติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด แพทย์จะ:

  • ตรวจภายใน

  • เก็บตัวอย่างสิ่งคัดหลั่งจากช่องคลอดหรืออวัยวะเพศมาส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์

  • ป้ายเชื้อจากปากมดลูกเพื่อตรวจเพาะเชื้อทางห้องปฏิบัติการ

ผลการตรวจจะรายงานผลประมาณ 1 สัปดาห์

การเตรียมการสำหรับนัดหมาย

ผู้หญิงควรตั้งเป้าหมายที่จะนัดหมายในช่วงเวลาที่ไม่มีประจำเดือน

ก่อนนัดควรเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นบริเวณอวัยวะเพศ เนื่องจากอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ แพทย์อาจแนะนำให้หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือการสอดใส่วัตถุใดๆรวมถึงผ้าอนามัยแบบสอดเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมงก่อน

ไม่ได้เป็นการตรวจหาเชื้อพยาธิในช่องคลอด หากบุคคลมีการตรวจ Pap smear ที่ชัดเจน พวกเขาอาจยังมีพยาธิในช่องคลอดหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น

เนื่องจากการเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่เชื้อเอชไอวี ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีจึงควรได้รับการตรวจอย่างน้อยปีละครั้ง

หากผลตรวจเป็นบวก

หากผลการตรวจเป็นบวก แพทย์จะสั่งการรักษาและให้คำแนะนำควรทำอย่างไรต่อไป

ผู้ป่วยจะต้องปฏิบัติดังนี้:

  • แนะนำให้พาคู่นอนเข้ารับการตรวจด้วย

  • ใช้ยาให้ครบตามแพทย์สั่งเพื่อหยุดการติดเชื้อไม่ให้กลับมาอีก

  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าการรักษาจะเสร็จสิ้น

  • ขอคำแนะนำจากแพทย์เพิ่มเติม หากอาการยังคงอยู่ภายใน 2-3 วันหลังจากที่ใช้ยาปฏิชีวนะครบตามจำนวน

แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ

การรักษาพยาธิในช่องคลอด

พยาธิในช่องคลอดรักษาได้ง่ายในทั้งเพศชายและเพศหญิง รวมถึงในระหว่างตั้งครรภ์

การรักษาโดยปกติมักให้รับประทานยาปฏิชีวนะเพียงหนึ่งครั้ง แต่แพทย์อาจสั่งยาเหน็บช่องคลอดหรือยาทาเฉพาะที่

ยาปฏิชีวนะที่สามารถฆ่าพยาธิ ได้แก่ เมโทรนิดาโซล (Metronidazole:Flagyl) และ ทินิดาโซล (Tinidazole:Tindamax)

งดดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างช่วงที่ได้รับยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) เนื่องจากอาจมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ ปวดศีรษะ และหน้าแดง

หากยังอาการภายหลังจากได้รับการรักษาควรกลับไปพบแพทย์อีกครั้ง

การให้นมบุตรหลังการรักษา

ไม่ควรรับประทานยาทินิดาโซล (Tinidazole) ในระช่วงที่มีการให้นมบุตร

สามารถใช้ยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) แต่แพทย์อาจแนะนำให้รอ 12–24 ชั่วโมงก่อนการให้นมบุตร หลังจากได้รับยา

การป้องกัน

เพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือการติดเชื้อซ้ำ คู่นอนควรต้องได้รับการรักษาด้วยเช่นกัน

วิธีป้องกันความเสี่ยงของการติดเชื้อหรือการติดเชื้อซ้ำ ได้แก่ :

  • เลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน

  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 7–10 วัน หลังการรักษา

  • หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด เพราะอาจส่งผลต่อแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพในช่องคลอด

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยากระตุ้นประสาทและแอลกอฮอล์เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย

  • ใช้ถุงยางอนามัยระหว่างมีเพศสัมพันธ์

ถุงยางอนามัยสามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถป้องกันได้อย่างเต็มที่เนื่องจากพยาธิสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ในบริเวณที่ไม่มีการป้องกัน

สำหรับผู้ที่มีอาการหรือคิดว่าเคยสัมผัสกับผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์

ประเด็นสำคัญ

พยาธิในช่องคลอดคือการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้ง่ายและอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน แต่ปัจจุบันมีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

โดยการรักษาสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนและยับยั้งการแพร่กระจายไปสู่บุคคลอื่นได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *