โรคนิ้วล็อก (Trigger Finger) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคนิ้วล็อก (Trigger Finger) : อาการ สาเหตุ การรักษา

25.09
1548
0

โรคนิ้วล็อค (Trigger Finger) คือ อากานิ้วล็อค ที่มีนิ้วงอเเล้วไม่สามารถเหยียดนิ้วตรงได้ 

เนื่องจากโรคนิ้วล็อคมีอาการที่แตกต่างกัน แพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาตามความรุนเเรงของอาการเช่นการผ่าตัด การใช้ยาหรือการรักษาด้วยการบำบัดที่บ้าน 

คนส่วนใหญ่มักมีประสบการณ์นิ้วล็อคที่นิ้วมือสี่นิ้วหรือนิ้งหัวเเม่มือทั้งนี้อาการของนิ้วล็อคสามารถเกิดขึ้นได้กับนิ้วใดก็ได้ 

อาการนิ้วล็อกเกิดจากการติดเชื้อบริเวณรอบๆเส้นเอ็น Flexor tendons ซึ่งเส้นเอ็น Flexor tendons นี้ทำหน้าที่สำหรับการงอนิ้วมือ

ยิ่งไปกว่านั้นอาการนิ้วล็อคยังสามารถเกิดขึ้นเนื่องจากการติดเชื้อที่ “เส้นเอ็นยึดกระดูก” ซึ่งเป็นเส้นเอ็นที่ยึดกระดูกมือที่ติดกับเส้นเอ็นสำหรับการงอนิ้วมือ (flexor tendon) ซึ่งการติดเชื้อที่เส้นเอ็นยึดกระดูกมือส่งผลกระทบต่อความสามารถในการขยับมือทำให้ไม่สามารถขยับมืออย่างคล่องเเคล่วได้ 

หากคุณได้อ่านบทความนี้คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับทางเลือกในการรักษาโรคนิ้วล็อครวมถึงสาเหตุและวิธีป้องกันโรคนิ้วล็อค 

สาเหตุนิ้วล็อค

บางครั้งอาการนิ้วล็อกเกิดขึ้นได้โดยไม่มีสาเหตุและหลายครั้งที่อาการนิ้วล็อคอาจเกิดจากปัจจัยดังต่อไปนี้

  • เป็นผลที่เกิดจากโรคเบาหวานและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคเหล่านี้มักมีอาการนิ้วมือล็อค 
  • การใช้งานนิ้วมือหนักมากเกินไปซึ่งอาการนิ้วล็อคนี้มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ใช้มือทำงานอย่างหนักโดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานกับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ต้องใช้มือออกเเรงตลอดเวลาดังนั้นผู้คนเหล่านี้จึงมีความเสี่ยงเป็นโรคนิ้วล็อคสูง 
  • การสัมผัสกับเเรงต้านทานเช่นการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกิดเเรงสั่นสะเทือนเข้าไปในมือเช่นการจับแฮนด์ปั่นจักรยานสามารถทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้เช่นกัน 

โดยปกติการบาดเจ็บเฉพาะที่ไม่ได้ทำให้เกิดโรคนิ้วมือล็อค

โดยส่วนใหญ่อาการของโรคนี้มักเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีถึง 50ปีขึ้นไปข้อมูลจากงานวิจัยหัวข้อ วิธีรักษาเกี่ยวกับส่วนที่ติดกันของกระดูกและกล้ามเนื้อ และในงานวิจัยนี้ยังได้ระบุว่าผู้หญิงมีเเนวโน้มที่จะเป็นโรคนิ้วล็อคได้มากกว่าผู้ชาย 6 เท่า 

นอกจากนี้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานยังมีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคนิ้วมือล็อคโดยมีการประเมินว่าผู้ป่วยโรคเบาหวาน 10 % มักมีอาการของโรคนิ้วล็อคเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรส่วนใหญ่มีโอกาสเกิดนิ้วล็อคเพียง 2-3% เท่านั้น

อาการนิ้วล็อค

อาการของโรคนิ้วมือล็อคส่วนใหญ่มีดังต่อไปนี้

  • มีก้อนเกิดที่เส้นเอ็นหรือมีก้อนที่เห็นได้บนฝ่ามือหรือโค่นนิ้วมือ
  • เมื่อใช้นิ้วมือหยิบจับสิ่งของมักเกิดอาการล็อคหรือเกิดเสียงเมื่อขยับนิ้ว 
  • เกิดความเจ็บปวดเเละรู้สึกเจ็บเมื่อกางนิ้วมือออกหรืองอนิ้วมือ

ผู้ป่วยที่สังเกตุอาการของตัวเองเเล้วพบว่ามีอาการเจ็บปวดรุนเเรงขึ้นหลังจากใช้มือทำงานเป็นเวลานาน โดยส่วนใหญ่เเล้วผู้ที่มีอาการแบบนี้มักจะปวดมือในช่วงเช้ามากกว่าช่วงอื่นของวัน

เนื่องจากอาการนิ้วมือล็อคของเเต่ละคนเกิดขึ้นเเตกต่างกันดังนั้นแพทย์มักจะทำการวินิจฉัยด้วยการตรวจร่างกาย

การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

โดยปกติทั่วไปแพทย์จะแนะนำวิธีรักษาโรคนิ้วล็อคแบบไม่ผ่าตัดให้กับผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการหรือปัญหาเกี่ยวกับนิ้งล็อคซึ่งผู้ป่วยสามารถทำเองได้ที่บ้านด้วยวิธีดังต่อไปนี้ 

การพักผ่อน

อาการนิ้วล็อคเกิดจากการใช้งานมือมากเกินไปดังนั้นการพักมือจึงสามารถบรรเทาอาการปวดมือได้ โดยส่วนใหญ่เเล้วเพียงใช้เวลาพักมือ 1 ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเห็นว่าอาการนิ้วล็อคดีขึ้น

การซื้อยาใช้เอง

การใช้ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ช่นยาไอบลูโรเฟนและนาพร็อกเซนสามารถช่วยลดความเจ็บปวดจากการอักเสบติดเชื้อของโรคนิ้วมือล็อคได้ 

การใส่เฝือก

โดยปกติการใส่เฝือกเพื่อรักษาอาการนิ้วล็อคจะใส่เฝือกรอบๆฝ่ามือโดยเฝือกจะมีขนาดเล็กครอบคลุมข้อนิ้วล่างสุดที่เกิดการติดเชื้อ การใส่เฝือกทำให้ผู้ที่มีอาการนิ้วล็อกสามารถขยับปลายนิ้วได้เพื่อที่จะได้ไม่ต้องขยับข้อนิ้วด้านล่างสุดที่เกิดการติดเชื้อซึ่งเป็นบริเวณที่ใกล้กับฝ่ามือที่สุด

การออกกำลังกายสำหรับมือเเละนิ้วมือ

การออกกำลังกายมือเเละนิ้วมือสามารถทำได้ด้วยการยืดกล้ามเนื้อเเละทำให้กล้ามเนื้อรอบเอ็นมือเเละนิ้วมือเเข็งเเรงขึ้นซึ่งสามารถช่วยลดอาการอ่อนเพลียของกล้ามเนื้อและบรรเทาอาการเจ็บปวดได้  อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญคือการหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายมือเเละนิ้วมือที่หนักเกินไปเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บที่เพิ่มมากขึ้น

การใช้น้ำเเข็งประคบ 

การใส่น้ำเเข็งประคบบริเวณนิ้วมือที่เกิดการติดเชื้อและผ่ามือเป็นเวลา 10-15 นาทีสามารถช่วยลดการติดเชื้อได้ ผู้ที่มีอาการนิ้วล็อคความใช้น้ำเเข็งประคบนิ้วมือ 3 – 5 ครั้งต่อวัน 

การใช้อุปกรณ์ป้องกัน 

การใช้อุปกรณ์ป้องกันเช่นยางหุ้มพวงมาลัยรถยนตร์ ปลอกหุ้มแฮนด์จับจักรยานหรือเเม้เเต่ปลอกหุ้มปากกาสามารถช่วยลดเเรงเสียดทานและบรรเทาอาการติดเชื้อที่นำไปสู่อาการนิ้วมือล็อคได้ 

การฉีดยาสเตียรอยด์ 

แพทย์สามารถฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์รอบเส้นเอ็นของนิ้วมือที่เกิดการติดเชื้อได้ซึ่งยาสเตียรอยด์นี้จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดที่เกิดจากนิ้วมือล็อคเเละทำให้นิ้วมือสามารถขยับได้ตามปกติ บางครั้งผู้ป่วยอาจจะต้องได้รับการฉีดยาสามครั้งเพื่อบรรเทาอาการนิ้วมือล็อค 

จากข้อมูลการศึกษาย้อนหลังในงานวิจัยเรื่อการผ่าตัดศัลยกรรมฝ่ามือ พบว่า 39% ของผู้ที่เป็นโรคนิ้วมือล็อคเมื่อได้รับการรักษาด้วยวิธีฉีดยาพบว่าอาการเจ็บปวดบรรเทาลงในระยะยาวเมื่อได้รับการฉีดยาครั้งที่สองหรือครั้งที่สาม

โดยผู้ที่ได้รับการฉีดยารักษานิ้วล็อคครั้งที่สามมีอาการเจ็บปวดจากโรคนิ้วล็อคลดลงเป็นเวลาโดยเฉลี่ย 407 วัน 

การผ่าตัดนิ้วล็อค

หากผู้ป่วยได้รับการรักษาโรคนิ้วล็อคมือแบบไม่ผ่าตัดเเล้วแต่ยังคงมีอาการเจ็บปวดจากนิ้วมือล็อคอยู่ แพทย์แนะนำให้รักษาด้วยวิธีรักษานิ้วล็อคด้วยการผ่าตัด โดยส่วนใหญ่เเล้วเเพทย์จะเเนะนำวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถ “หยิบจับ” สิ่งของหรือไม่สามารถขยับมือได้

โดยปกติแพทย์ที่ทำการผ่าตัดจะแบ่งการรักษาอาการนิ้วมื้อล็อคออกเป็น 2 วิธีได้แก่วิธีเเรกคือการผ่าเปิดฝ่ามือเพื่อดูลักษณะของการติดเชื้อที่เอ็นกล้ามเนื้อยึดกระดูก (pulley) ที่ส่งผลต่อการขยับนิ้วมือ วิธีที่สองคือการใช้เข็มขนาดเล็กสอดเข้าไปบริเวณที่เกิดการติดเชื้อเพื่อเส้นเอ็นที่ยึดกับกระดูกคลายลง

มีหลักฐานจากงานวิจัยที่ค้นพบว่าการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการนิ้วมือล็อคสามารถลดอาการเจ็บปวดของนิ้วมือและอาการอื่นๆได้เป็นระยะเวลานานกว่าการฉีดยาสเตียรอยด์ อย่างไรก็ตามข้อมูลจากงานวิจัยรายงานว่าผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดจะมีอาการเจ็บปวดลดลงภายใน 6-12 เดือนหลังจากการผ่าตัด แต่อย่างไรก็ตามแพทย์ยังคงไม่มั่นใจว่าการผ่าตัดสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดของนิ้วล็อคในระยะยาวได้หรือไม่ 

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *