ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid) : อาการ สาเหตุ การรักษา

30.12
2237
0

ไทฟอยด์ (Typhoid) คือ การติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้มีอาการไข้ขึ้นสูง ท้องเสีย และอาเจียน อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi

การติดเชื้อมักเกิดจากการปนเปื้อนทางอาหาร และน้ำดื่ม พบได้บ่อยในผู้ที่ไม่ค่อยชอบล้างมือ และสามารถแพร่กระจายผ่านพาหะแบคทีเรียต่างๆ 

หากผู้ป่วยไข้ไทฟอยด์ได้รับการวินิจฉัยรวดเร็ว ก็จะสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ แต่หากรักษาไม่ทันเวลา ก็สามารถสร้างปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้

Typhoid

ข้อควรรู้เกี่ยวกับไทฟอยด์

  • ไทฟอยด์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยในประเทศที่ยังไม่พัฒนา
  • ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาประมาณ 25%พบว่าเสียชีวิต
  • ผู้ป่วยไข้ไทฟอยด์จะมีไข้สูง และระบบทางเดินอาหารที่มีปัญหา
  • ผู้ป่วยบางรายนั้นไม่แสดงอาการ แต่เป็นพาหะของโรค
  • ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับเชื้อจากการเดินทางไปยังประเทศ หรือถิ่นที่มีการระบาดของโรค โดยมักจะเป็นประเทศที่มีระบบสุขาภิบาลไม่ดี
  • ไข้ไทฟอยด์สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ

ไข้ไทฟอยด์ ( ไข้รากสาดน้อย )  

ไทฟอยด์ (Typhoid) คือ การที่ร่างกายติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า Salmonella typhimurium (S. typhi) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดที่อาศัยอยู่ในลำไส้ และกระแสเลือดของมนุษย์ สามารถแพร่กระจายระหว่างบุคคลโดยการสัมผัสกับอุจจาระของผู้ติดเชื้อ

ไม่มีสัตว์ใดที่เป็นพาหะของโรคนี้ ไข้ไทฟอยด์เป็นการแพร่กระจายเชื้อจากมนุษย์สู่มนุษย์เสมอ

หากไม่ได้รับการรักษา ประมาณ 1 ใน 5 ของผู้ป่วยไทฟอยด์อาจถึงแก่ชีวิตได้ ในกรณีที่ได้รับการรักษามากกว่า 96% จะปลอดภัยดี

เชื้อ S. typhi  เข้าทางปาก และใช้เวลา 1-3 สัปดาห์ในลำไส้ หลังจากนั้นจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ผนังลำไส้ และเข้าสู่กระแสเลือดในที่สุด

จากกระแสเลือด เชื้อสามารถแพร่กระจายเข้าสู่เนื้อเยื่อและอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ติดเชื้อสามารถต่อสู้ได้เพียงเล็กน้อย เนื่องจาก S. typhi สามารถอาศัยอยู่ภายในเซลล์ของร่างกายได้อย่างปลอดภัยในสภาวะปกติ

ไข้ไทฟอยด์สามารถได้รับการวินิจฉัยจากการตรวจหาเชื้อ S. typhi ทางเลือด อุจจาระ ปัสสาวะ หรือตัวอย่างไขกระดูก

อาการของไข้ไทฟอยด์

อาการของไทยฟอยด์จะเริ่มปรากฏระหว่าง 6 – 30 วันหลังจากสัมผัสกับแบคทีเรีย  

อาการหลัก 2 อย่างของไทฟอยด์ คือมีไข้ และมีผื่น ไข้ไทฟอยด์จะสูงเป็นพิเศษ โดยจะค่อยๆเพิ่มขึ้นในช่วงหลายวัน อุณหภูมิสามารถขึ้นสูงถึง 39-40 องศาเซลเซียส

อาการผื่นนั้นจะแสดงเป็นจุดสีแดงกุหลาบ โดยเฉพาะที่คอและหน้าท้อง

อาการอื่น ๆ ของไข้ไทฟอยด์ได้แก่:

ในกรณีที่อาการรุนแรง และไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้ลำไส้ทะลุได้ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อของเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านในของช่องท้อง  

การติดเชื้ออีกชนิดหนึ่ง คือ พาราไทฟอยด์ เกิดจากเชื้อ Salmonella enterica มีอาการคล้ายกับไทฟอยด์ แต่มีความอันตรายน้อยกว่า

การรักษาไข้ไทฟอยด์

การรักษาไทฟอยด์ที่ได้ผลมีเพียงวิธีเดียว คือ การใช้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ Ciprofloxacin (ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์) และ Ceftriaxone นอกจากยาปฏิชีวนะแล้วการดื่มน้ำให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญ

ในกรณีที่อาการรุนแรงมากขึ้น ลำไส้ทะลุ อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด

การดื้อยาปฏิชีวนะของไข้ไทฟอยด์

โรคไข้ไทฟอยด์ก็เหมือนกับการติดเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ ที่มีแนวโน้มเกี่ยวกับการดื้อยาปฏิชีวนะที่เพิ่มขึ้นจำนวนมากต่อ S. typhi

มีการศึกษาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาพบว่าไข้ไทฟอยด์มีความต้านทานต่อ trimethoprim-sulfamethoxazole และ ampicillin Ciprofloxacin ซึ่งเป็นหนึ่งในยาหลักสำหรับไทฟอยด์ก็ประสบปัญหา เช่นเดียวกัน การศึกษาบางชิ้นพบว่าอัตราการดื้อยา Salmonella typhimurium อยู่ที่ประมาณ 35%

สาเหตุของไข้ไทฟอยด์

ไทฟอยด์เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย S. typhi และสามารถแพร่กระจายได้โดยผ่านทางอาหาร และน้ำดื่มที่ปนเปื้อนอุจจาระที่ติดเชื้อ การล้างผัก และผลไม้สามารถแพร่กระจายเชื้อได้หากมีการใช้น้ำที่ปนเปื้อน

บางคนสามารถเป็นพาหะของไทฟอยด์ได้โดยไม่แสดงอาการ ซึ่งหมายความว่าพวกเขาเป็นแหล่งเพาะบ่มแบคทีเรีย แต่ไม่ได้รับผลกระทบที่ร้ายแรง ในผู้ป่วยบางราย ยังคงมีเชื้อแบคทีเรียในร่างกายต่อไป หลังจากอาการโรคของพวกเขาหายไป บางครั้งโรคอาจแสดงอาการขึ้นอีกครั้ง

ผู้ที่มีผลตรวจเป็นบวก และเป็นพาหะ จะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานกับเด็กหรือผู้สูงอายุ จนกว่าจะหายขาด

การป้องกันไข้ไทฟอยด์

ประเทศที่ไม่สามารถเข้าถึงถึงน้ำสะอาดและอุปกรณ์ทำความสะอาดเครื่องนุ่งห่มได้ดี จะมีอัตราผู้ป่วยโรคไทฟอยด์ที่สูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว

การฉีดวัคซีน

หากมีเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคไทฟอยด์ แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้ไทฟอยด์ และก่อนเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ก็แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้ไทฟอยด์

วัคซีนป้องกันไข้ไทฟอยด์มี 2 ชนิด คือวัคซีนชนิดฉีด (Vi Capsular Polysaccharide Typhoid Vaccine:ViCPS) ซึ่งใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งเดียว และสามารถฉีดกระตุ้นทุกๆ 3 ปี ถ้ามีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ และวัคซีนชนิดกิน (Oral Typhoid Vaccine: Ty21a) ซึ่งเป็นวัคซีนเชื้อมีชีวิตอ่อนฤทธิ์ แต่ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย อาการข้างเคียงของวัคซีนชนิดมีน้อย ได้แก่ ไข้ ปวดศีรษะ บวมแดงบริเวณที่ฉีด และอาจมีปฏิกิริยาอื่นๆ เช่น มึนศีรษะ คันตามตัว และปวดท้อง

การกำจัดเชื้อไทฟอยด์

แม้ว่าอาการของไทฟอยด์จะสิ้นสุดไปแล้ว แต่ผู้ป่วยก็ยังสามารถเป็นพาหะของเชื้อแบคทีเรียได้

สิ่งนี้ทำให้ยากที่จะยากในการควบคุมโรค เนื่องด้วยมนุษย์นั้นต้องมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ

การหลีกเลี่ยงการติดเชื้อไทฟอยด์

ไข้ไทฟอยด์แพร่กระจายโดยการสัมผัส และการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระผู้ที่ติดเชื้อ อาจจะเนื่องมาจากแหล่งน้ำที่สกปรก

ต่อไปนี้เป็นกฎทั่วไปที่ต้องปฏิบัติตาม เมื่อเดินทางไกล เพื่อช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อไทฟอยด์:

  • ดื่มน้ำดื่มบรรจุขวด โดยเฉพาะน้ำอัดลม
  • หากไม่สามารถหาแหล่งน้ำดื่มบรรจุขวดได้ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าน้ำได้ผ่านการต้มเดือดอย่างน้อย 1 นาที
  • ระมัดระวังการรับประทานอาหารที่ปรุงโดยบุคคลอื่น
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจากร้านอาหารข้างทาง และรับประทานอาหารที่เพิ่งปรุงสุกใหม่ๆ
  • งดบริโภคน้ำแข็งในเครื่องดื่ม
  • หลีกเลี่ยงผลไม้ และผักดิบ ควรปอกผลไม้ด้วยตัวเองและงดรับประทานเปลือกของผลไม้

แหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *