ปัสสาวะเล็ด (Urinary Incontinence): อาการ สาเหตุ การรักษา

ปัสสาวะเล็ด (Urinary Incontinence): อาการ สาเหตุ การรักษา

11.03
515
0

ภาวะปัสสาวะเล็ด (Urinary Incontinence) คือ การที่มีปัสสาวะเล็ดออกมาโดยไม่สามารถควบคุมได้ นั้นคือภาวะที่ถ่ายปัสสาวะออกมาในเวลาที่ไม่ได้ต้องการให้ออกมา การควบคุมกล้ามเนื้อหูรูดสูญเสียหรืออ่อนแอ

ภาวะปัสสาวะเล็ดคือปัญหาที่สามารถพบเจอได้ทั่วไปที่ส่งผลกระทบได้กับทุกๆคน

จากข้อมูลของ American Urological Association, พบ1 ใน 4  ถึง 1 ใน3 ของผู้ชายและผู้หญิงในสหรัฐอเมริกาต้องเคยพบเจอกับอาการปัสสาวะเล็ดมาก่อน

ภาวะปัสสาวะเล็ดมักเกิดขึ้นในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เฉลี่ย 30 เปอร์เซ็นต์ของเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 30-60ปต้องทุกข์ทรมาณจากอาการดังกล่าว และมักเกิดเฉลี่ย 1.5-5 เปอร์เซ็นต์

Urinary Incontinence

ภาวะปัสสาวะเล็ดคือ?

ภาวะปัสสาวะเล็ด คิอภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถกลั้นปัสสาวะไม่ให้ไหลออกมาได้

ซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจากแรงเค้น เช่น การไอ, ภาวะที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์และหลังการตั้งครรภ์และยังมีโรคอื่นๆที่อาจเป็นสาเหตุได้อีกเช่น โรคอ้วน

การบริหารการควบคุมกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อเชิงกรานหรือการออกกำลังกายแบบคีเกล (ขมิบ) สามารถช่วยป้องกันหรือลดภาวะดังกล่าวได้

การรักษาปัสสาวะเล็ด

การรักษาขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆมากมายเช่น รูปแบบของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่, อายุของผู้ป่วย, โรคประจำตัว, และสภาวะทางจิต

ภาวะปัสสาวะเล็ดจากแรงเค้น

การบริหารอุ้งเชิงกรานหรือที่เรียกว่าการออกกำลังกายแบบคีเกล จะช่วยทำให้กระเพาะหูรูดปัสสาวะและกล้ามเนื้อเชิงกรานมีความแข็งแรงมากขึ้น – กล้ามเนื้อนั้นก็จะช่วยควบคุมการกลั้นปัสสาวะได้

การฝึกกระเพาะปัสสาวะ

  • เทคนิคหน่วงเวลา: จุดประสงค์เพื่อควบคุมการถูกกระตุ้น ผู้ป่วยจะเรียนรู้วิธีการหน่วงเวลาไว้ยังไม่ไปปัสสาวะแม้จะอยากปัสสาวะแล้วก็ตามที

  • พยายามถ่ายปัสสาวะสองครั้ง:  เมื่อเข้าห้องน้ำหนึ่งครั้งให้ถ่ายปัสสาวะครั้งแรก แล้วให้คอยอีกประมาณ 2 นาทีจากนั้นจึงค่อยพยายามถ่ายปัสสาวะออกอีกครั้ง

  • มีตารางการเข้าห้องน้ำ: ตั้งเวลาการเข้าห้องน้ำไว้ในแต่ละวัน ยกตัวอย่างเช่น ทุกๆ 2 ชั่วโมง

การฝึกกระเพาะปัสสาวะนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้ดีอีกครั้ง

การใช้ยารักษาภาวะปัสสาวะเล็ด

หากมีความจำเป็นต้องใช้ยา ตามปกติแล้วมักจะใช้ยาผสมผสานกับการนำเทคนิคต่างๆและการบริหารมารักษาร่วมกัน

ยาที่นำมาใช้ในการรักษาภาวะปัสสาวะเล็ดคือ:

  • ยาต้านอะเซเทิลโคลีน เพื่อช่วยทำให้กระเพาะปัสสาวะไม่บีบตัวไวเกินไปและอาจยังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถทนต่อการกระตุ้นได้ดี

  • ยาเอสโตนเจนอาจทำให้เนื่อเยื่อท่อในปัสสาวะและบริเวณมดลูกแข็งแรงขึ้นและมีอาการน้อยลง

  • ยาอิมิพรามีน (Tofranil) คือ ยาต้านเศร้าชนิดไตรไซคลิก

อุปกรณ์ทางการแพทย์

ต่อไปนี้คืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ออกแบบมาเพื่อผู้หญิงโดยเฉพาะ

  • อุปกรณ์สวนใส่ท่อปัสสาวะ: ผู้หญิงจะสวนอุปกรณ์เข้าสู่ท่อปัสสาวะก่อนออกไปทำกิจกรรมและนำออกเมื่อต้องการจะปัสสาวะ

  • ห่วงพยุงในช่องคลอด: เป็นอุปกรณ์ห่วงแข็งที่ถูกสอดใส่เข้าไปในช่องคลอดและสวมใส่ไว้ตลอดทั้งวัน เพื่อช่วยพยุงกระเพาะปัสสาวะไว้และป้องกันการรั่วไหล

  • การบำบัดด้วยไฟฟ้าคลื่นความถี่วิทยุ: เนื่อเยื่อในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างจะรู้สึกร้อน เมื่อได้รับการบำบัดก็จะมีความกระชับมากขึ้นเป็นผลทำให้การควบคุมปัสสาวะก็จะดีขึ้นด้วย

  • การทำโบท็อก (โบทูลินัมท็อกซินเอ): ด้วยการฉีดเข้าสู่กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งสามารถช่วยยัยยั้งไม่ให้กระเพาะปัสสาวะทำงานมากเกินไป

  • ด้วยวิธี Bulking agents: ด้วยการฉีดเข้าสู่เนื้อเยื่อรอบๆท่อปัสสาวะ เพื่อช่วยให้ท่อปัสสาวะปิด

  • การกระตุ้นเส้นประสาทที่กระเบนเหน็บ: คือการฝังอุปกรณ์ใต้ผิวหนังบริเวณสะโพก สายไฟจะถูกต่อไปยังสมองที่วิ่งมาจากกระดูกไขสันหลังถึงกระเพาะปัสสาวะ  สายไฟจะกระจายกระแสไฟฟ้าขั้วบวกไปยังสมองเพื่อช่วยในการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ

การผ่าตัด

การผ่าตัดคือทางเลือกหนึ่งหากพบว่าการบำบัดอื่นๆไม่ได้ผล สตรีที่วางแผนจะมีบุตรควรปรึกษาแพทย์ในการรับการผ่าตัดก่อนการตัดสินใจ

  • การผ่าตัดแบบ : โดยใช้แผ่นใยตาข่ายสอดใส่เข้าไปที่ท่อปัสสาวะส่วนคอเพื่อช่วยพยุงท่อปัสสาวะและหยุดยั้งการไหลซึมของปัสสาวะ

  • การผ่าตัด Colposuspension: ด้วยการพยุงปัสสาวะส่วนคอเพื่อเป็นการช่วยบรรเทาภาวะปัสสาวะเล็ด

  • ใช้กล้ามเนื้อหูรูดเทียม: ใช้กล้ามเนื้อหูรูดเทียมหรือวาล์ว ด้วยการใส่เข้าไปเพื่อควบคุมการไหลของปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะไปสู่ท่อปัสสาวะ

ทางเลือกอื่นๆ

การสวนปัสสาวะ: เป็นท่อที่ต่อออกมาจากกระเพาะปัสสาวะ ผ่านท่อปัสสาวะ และเอาออกจากร่างกายลงสู่ถุงเก็บปัสสาวะ

ใช้แผ่นดูดซับของเหลว: แผ่นดูกซับมามากมายหลายชนิด สามารถหาซื้อได้ร้านขายยาหรือตามซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป

สาเหตุของปัสสาวะเล็ด

สาเหตุและรูปแบบของการไม่สามารถควบคุมได้มักเกี่ยวข้องกัน

อาการไอจามปัสสาวะเล็ด

มีปัจจัยมาจาก:

  • ตั้งครรถ์และคลอดบุตร

  • สตรีวัยทอง ในขณะที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนตกลงก็อาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอลงได้

  • การผ่าตัดมดลูก และการผ่าตัดบางอย่าง

  • อายุ

  • โรคอ้วน

อาการปัสสาวะราด

สาเหตุของรูปแบบปัสสาวะราดเกิดขึ้นเพราะ:

อาการปัสสาวะเล็ดเมื่อกระเพาะปัสสาวะขยายเต็มที่แล้ว

เกิดขึ้นเมื่อกระเพาะปัสสาวะถูกขัดขวางหรือตีบตัน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก:

  • โรคต่อมลูกหมากโต

  • มีเนื้องอกกดทับกับกระเพาะปัสสาวะ

  • นิ่วในทางเดินปัสสาวะ

  • ท้องผูก

  • มีการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะ

การควบคุมไม่ได้อย่างสิ้นเชิง

อาจเป็นผลมาจาก:

  • เกิดจากกายภาพที่เป็นมาตั้งแต่เกิด

  • กระดูกไขสันหลังได้รับบาดเจ็บที่เกิดผลต่อระบบส่งสัญญานของประสาทจากสมองสู่กระเพาะปัสสาวะ

  • มีแผลชอนทะลุที่เกิดขึ้นกับท่อหรือช่องระหว่างกระเพาะปัสสาวะและบริเวณใกล้เคียง ซึ่งมักเกิดขึ้นที่ มักเกิดขึ้นที่ช่องคลอด

สาเหตุอื่นๆ:

มีดังต่อไปนี้:

  • ยาบางชนิด โดยเฉพาะยาขับปัสสาวะ, กลุ่มยาลดความดันโลหิต, ยานอนหลับ, ยาระงับประสาทและยาคลายกล้ามเนื้อ

  • แอลกอฮอล์

  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

รูปแบบ

รูปแบบของภาวะปัสสาวะเล็ดตามปกติแล้วมักเกี่ยวเนื่องมาจากสาเหตุที่มำให้เกิดภาวะดังกล่าว

เช่น:

  • อาการปัสสาวะเล็ดขณะไอ จาม: การที่ปัสสาวะไหลซึมออกมาขณะไอ, หัวเราะ, หรือทำกิจกรรมบางอย่างเช่นวิ่งหรือกระโดด

  • อาการปัสสาวะราด คือการเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดและไม่สามารถยับยั้งได้

  • อาการปัสสาวะเล็ดเพื่อกระเพาะปัสสาวะขยายเต็มที่: เกิดจากการที่กระเพาะปัสสาวะไม่สามารถกักเก็บได้จึงส่งผลให้เกิดการรั่วซึม

  • อาการปัสสาวะเล็ดอย่างสิ้นเชิง: กระเพาะปัสสาวะไม่สามารถเก็บน้ำปัสสาวะได้

  • อาการปัสสาวะเล็ดที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ: การปัสสาวะเล็ดเพราะจากการไปเข้าห้องน้ำไม่ทัน, มีปัญหามาจากการเคลื่อนไหวบกพร่อง

  • อาการปัสสาวะเล็ดแบบรวมหลายๆรูปแบบ

อาการปัสสาวะเล็ด

อาการหลักๆคือปล่อยให้ปัสสาวะเล็ด (รั่วซึม) ออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ การเกิดภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อไรหรืออย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบของภาวะปัสสาวะเล็ด

อาการปัสสาวะเล็ดขณะไอ จาม

เป็นภาวะปัสสาวะเล็ดชนิดที่พบเห็นได้บ่อยมากที่สุด โดยเฉพาะมักเกิดขึ้นกับเพศหญิงที่คลอดบุตรหรือกำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

รูปแบบนี้เกิดขึ้นมาจากแรงเค้นทางร่างกายมากกว่าทางด้านจิตใจ เมื่อกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อทั้งหมดในระบบควบคุมปัสสาวะมีแรงเค้นอย่างรุนแรง ผู้ป่วยจะเกิดปัสสาวะเล็ดโดยไม่ได้ตั้งใจ

การกระทำต่อไปนี้อาจเป็นตัวกระตุ้นการเกิดอาการปัสสาวะเล็ดขณะไอ จาม:

  • ไอ  จาม  หรือหัวเราะ

  • ยกของหนัก

  • ออกกำลังกาย

อาการปัสสาวะราด

หรือที่รู้จักกันว่าการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบรีเฟล็กซ์หรือภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน นี่คือรูปแบบที่พบบ่อยเป็นอันดับสอง ภาวะนี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เป็นการหดตัวที่ผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ไปกระตุ้นให้ปัสสาวะเล็ดออกมาแบบไม่สามารถหยุดได้

เมื่อรู้สึกถูกกระตุ้นให้อยากปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีเวลาช่วงเวลาที่จะสามารถกลั้นไว้ได้เพียงแค่สั้นๆก่อนปัสสาวะจะไหลออกมา โดยไม่ว่าจะพยายามกลั้นด้วยวิธีใดก็ตาม

การกระตุ้นให้เกิดการปัสสาวะอาจมีสาเหตุมาจาก :

  • การเปลี่ยนท่าทีอย่างฉับพลัน

  • ได้ยินเสียงน้ำไหล

  • มีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะขณะถึงจุดสุดยอด

กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอาจทำไปโดยไม่ได้ตั้งใจเพราะเกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทของกระเพาะปัสสาวะ, ระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อ

กระเพาะปัสสาวะเล็ดเมื่อกระเพาะปัสสาวะขยายเต็มที่

มักเกิดในเพศชายที่เป็นโรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมากโต, กระเพาะปัสสาวะได้รับความเสียหาย, ท่อปัสสาวะถูกกีดขวาง ต่อมลูกหมากโตก็เป็นสาเหตุของการขัดขวางในกระเพาะปัสสาวะได้ด้วย

กระเพาะปัสสาวะไม่สามารถกักเก็บปัสสาวะได้มากเท่าที่ร่างกายสร้างมา, หรือกระเพาะปัสสาวะไม่มีที่ว่างมากพอ จึงเป็นสาเหตุทำให้มีปัสสาวะจำนวนเล็กๆไหลซึมออกมาได้

ผู้ป่วยจึงต้องการถ่ายปัสสาวะบ่อยๆและบางครั้งอาจมีอาการ “หกเรี่ยราด” หรือมีปัสสาวะหยดออกมาจากท่อปัสสาวะ

อาการไม่สามารถกลั้นแบบผสม

จะมีอาการทั้งแบบปัสสาวะเล็ดแบบไอจามและแบบปัสสาวะราดร่วมกัน

อาการปัสสาวะเล็ดที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ

การเกิดจากรูปแบบนี้ผู้ป่วยมักจะทราบดีว่าตนเองต้องไปถ่ายปัสสาวะ แต่ไม่สามารถไปเข้าห้องน้ำให้ทันเวลาเนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว

สาเหตุทั่วๆไปที่ทำให้เกิดภาวะปัสสาวะเล็ดที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ:

  • ความสับสน

  • โรคสมองเสื่อม Dementia

  • สายตามีปัญหาหรือไม่สามารถเคลื่อนไหวได้

  • ความคล่องแคล่วบกพร่อง ทำให้ไม่สามารถปลดกระดุมกางเกงได้

  • เครียด, วิตกกังวล หรือโกรธก็สามารถนำไปสู่การปฏิเสธการเข้าห้องน้ำ

อาการปัสสาวะเล็ดแบบที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะคือ อาการที่พบได้แพร่หลายในผู้สูงอายุและอยู่ในสถานที่เลี้ยงดูคนชรา

อาการปัสสาวะแบบกลั้นไมได้อย่างสิ้นเชิง

ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่าผู้ป่วยจะมีการไหลซึมของปัสสาวะอย่างต่อเนื่องหรือมีปัสสาวะไหลจำนวนมากที่ไม่สามารถควบคุมไว้ได้

ผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหามาตั้งแต่เกิด (เกิดมาพร้อมข้อบกพร่อง)  อาจเป็นเพราะเกิดการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังหรือระบบขับถ่ายปัสสาวะ หรืออาจเกิดรู (แผลชอนทะลุ) ระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับส่วนอื่นๆ ยกตัวอย่าง ในช่องคลอด

ปัจจัยเสี่ยง

ต่อไปนี้คือปัจจัยเสี่ยงให้เกิดภาวะปัสสาวะเล็ด:

  • โรคอ้วน: เป็นการไปเพิ่มแรงกดที่กระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อรอบๆ ทำให้เกิดการรั่่วไหลมากขึ้นเมื่อคนๆนั้นจามหรือไอ

  • การสูบบุหรี่: อาจทำให้เกิดโรคไอเรื้อรัง ซึ่งอาจส่งผลให้มีปัญหาในการกลั้นปัสสาวะ

  • เพศ: ผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะปัสสาวะเล็ดมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีลูก

  • อายุเยอะ: กล้ามเนื้อในกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะอ่อนแอไปตามอา

  • โรคบางโรค: เช่นเบาหวาน ,โรคไต, กระดูกสันหลังได้รับบาดเจ็บและโรคเกี่ยวกับระบบประสาทจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงสูง

  • โรคต่อมลูกหมาก: ภาวะปัสสาวะเล็ดอาจเกิดขึ้นหลังจากมีการผ่าตัดต่อมลูกหมากหรือหลังการบำบัดด้วยรังสี

การวินิจฉัย

แนวทางในการวินิจฉัยภาวะปัสสาวะเล็ดคือ:

  • การบันทึก: ผู้ป่วยจะต้องจดบันทึกปริมาณการดื่มว่ามากน้อยแค่ไหน, ปริมาณปัสสาวะมีเท่าไรและจำนวนครั้งในการถ่ายปัสสาวะ

  • การตรวจร่างกาย: แพทย์จะทำการตรวจช่องคลอดและเช็คความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกระดูกเชิงกราน แพทย์อาจตรวจทวารหนักของผู้ป่วยเพศชาย ในรายที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคต่อมลูกหมากโต

  • การตรวจปัสสาวะ: การตรวจนี้เพื่อตัดสัญญานโรคของการติดเชื้อและการทำงานที่ผิดปกติออกไป

  • การตรวจเลือด: สามารถประเมินการทำงานของไตได้

  • การตรวจวัดปริมาณของปัสสาวะที่เหลือค้าง (PVR): คือการประเมินจากปริมาณปัสสาวะที่เหลือค้างจากปัสสาวะเสร็จสมบูรณ์ว่ามีมากน้อยเท่าไร

  • การอัลตราซาวน์กระดูกเชิงกราน: เป็นการตรวจที่ให้ภาพที่สามารถช่วยทำให้แพทย์สามารถระบุความผิดปกติอื่นๆได้

  • ภาวะวิกฤต: แพทย์อาจขอให้ผู้ป่วยทำอาการที่ไปเพิ่มแรงกดเค้นในขณะที่แพทย์สังเกตุดูปริมาณปัสสาวะที่เสียไป

  • การตรวจพลศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ: คือการทดสอบด้วยการวัดแรงดันของกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูดว่าสามารถทนได้หรือไม่

  • การถ่ายภาพรังสีที่กระเพาะปัสสาวะ: เป็นการเอกซเรย์ที่ทำให้เห็นภาพของกระพาะปัสสาวะ

  • การส่องกล้องดูกระเพาะปัสสาวะ: ด้วยการใช้ท่อบางๆที่มีกล้องติดอยู่ที่ปลายท่อสอดใส่เข้าไปสู่ แพทย์จะสามารถเห็นท่อปัสสาวะที่ผิดปกติได้

ภาวะแทรกซ้อน

การไม่สามารถกลั้นปัสสาวะไว้นำไปสู่ความรู้สึกไม่สบายตัว, ความอับอาย, และบางครั้งอาจเกิดปัญหาทางร่างกายอื่นๆ

เช่น:

  • ผิวหนังมีปัญหา- ผู้ป่วยที่มีภาวะปัสสาวะเล็ดส่วนใหญ่มักมีอาการทางผิวหนังเช่นเจ็บ, ผื่น, และการติดเชื้อ เพราะผิวหนังจะเปียกหรือชื้นอยู่เกือบจะตลอดเวลา- ทำให้แผลยากจะรักษาและอาจเกิดการติดเชื้อราได้

  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ- การต้องสอดใส่อุปกรณ์ของเป็นเวลานานก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงได้

  • การหย่อนยาน- ส่วนของมดลูก, กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะอาจหย่อนลงมาตรงบริเวณทางเข้าของมดลูก เป็นสาเหตุทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแอ

ความอับอายก็สามารถเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยแยกตัวออกห่างจากสังคมและสิ่งนี้อาจนำไปสู่ภาวะโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะปัสสาวะเล็ดควรไปพบแพทย์และทำการรักษาอย่างเหมาะสม

ข้อเท็จจริงของภาวะปัสสาวะเล็ด

  • ภาวะปัสสาวะเล็ดมักเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

  • มีสาเหตุมากมายที่ทำให้เกิดภาวะปัสสาวะเล็ด

  • โรคอ้วนและการสูบบุหรี่คือปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะปัสสาวะเล็ด and

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *