

ปัสสาวะ (Urinary Retention)ไม่ออกคือการที่ปัสสาวะไม่สุด มักต้องปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะทันทีหลังเพิ่งปัสสาวะไป หรือปัสสาวะเล็ด
ปัสสาวะไม่ออกเรื้อรัง จากปัญหาของช่องเชิงกรานหรือต่อมลูกหมาก หรือเฉียบพลัน เช่นจากการติดเชื้อ
สาเหตุปัสสาวะไม่ออก
อาการปัสสาวะไม่ออกมีปัจจัยและเงื่อนไขหลายอย่างที่ทำให้ปัสสาวะไม่ออก เช่น
การอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ เช่นจากนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
ท่อปัสสาวะบวมจากการอักเสบหรือบาดเจ็บ
เส้นประสาทที่มาเลี้ยงระบบทางเดินปัสสาวะเสียหายจากการบาดเจ็บของไขสันหลัง
จากต่อมลูกหมาก เช่น ต่อมลูกหมากอักเสบ เนื้องอก หรือมะเร็งของต่อมลูหมาก
ยาที่มีผลต่อระบบประสาท
ท้องผูกรุนแรง อุจจาระในลำไส้ใหญ่ไปกดท่อปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะ
ยาสลบ อาจมีผลกดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงทางเดินปัสสาวะชั่วคราว ทำให้ปัสสาวะไม่สุด
cystocele เกิดจากบางส่วนกระเพาะปัสสาวะหย่อนลงมาในช่องคลอด กดกระเพาะปัสสาวะ
ปัญหาจากอุ้งเชิงกราน ที่ทำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทเสียหน้าที่ไป เช่นบาดเจ็บจากการคลอดหรือบาดเจ็บทางร่างกายอื่นๆ
อาการปัสสาวะไม่ออก
อาการฉี่ไม่ออกหรือ ปัสสาวะไม่หมด มีสองประเภทคือ เรื้อรังและเฉียบพลัน
ปัสสาวะไม่ออกเรื้อรัง
อาการจะค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลาเป็นเดือนหรือปี และเกิดอยู่นาน มีอาการดังนี้
ปัสสาวะลำบาก อาจเกิดต่อเนื่องหรือเป็นครั้งคราว
ปวดปัสสาวะอีกแม้ว่าเพิ่งปัสสาวะเสร็จ
ปัสสาวะอ่อน น้ำปัสสาวะไม่พุ่งเป็นสาย หรือปัสสาวะขัดน้ำปัสสาวะหยุดเป็นช่วง
ต้องเบ่งเพื่อให้ปัสสาวะออก
ไม่ปวดปัสสาวะจึงไม่สามารถปัสสาวะให้สุดได้
ปัสสาวะบ่อย
ปัสสาวะมากกว่า 8 คร้ังต่อวัน
ปัสสาวะเล็ด โดยเฉพาะถ้าปล่อยไว้นาน ไม่ได้รักษา
ปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลัน
ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ อาจเกิดจากการอุดตันในท่อปัสสาวะ หรือส่วนอื่นๆของทางเดินปัสสาวะ มีอาการ
ไม่สามารถปัสสาวะได้
ปวดปัสสาวะมาก
ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการของการติดเชื้อร่วมด้วย เช่น มีไข้ หนาวสั่น แต่แม้ว่าจะไม่มีอาการเหล่านี้ ก็ควรไปพบแพทย์ทันที
ผู้ป่วยบางคนอาจไม่ได้สังเกตว่าตนมีอาการปัสสาวะไม่สุด จนกระทั่งเกิดอาการปัสสาวะเล็ด ดังนั้นถ้ามีอาการปัสสาวะเล็ด ควรไปพบแพทย์เช่นกัน
การรักษาอาการปัสสาวะไม่ออก
การรักษาขึ้นกับสาเหตุ บางสาเหตุรักษาได้ง่าย การรักษาที่แพทย์ให้ เช่น
ยาปฎิชีวนะ ถ้ามีการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ
กายภาพบำบัด ถ้ามีความผิดปกติของอุ้งเชิงกราน
เปลี่ยนยา ถ้ายานั้นมีผลต่อการปัสสาวะไม่สุด
ใช้ท่อสวนปัสสาวะ
ถ่างท่อปัสสาวะ เพื่อรักษาการตีบหรืออุดตัน
ใส่ท่อถาวรไว้ในท่อปัสสาวะ เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ
ผ่าตัดต่อมลูกหมากออก หรือตัดเนื้อเยื่อต่อมที่โตผิดปกติออก
ผ่าตัดรักษา cystocele
บางครั้งแพทย์จะแนะนำให้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเช่น ให้ดื่มน้ำมากขึ้น รีบไปห้องน้ำถ้าเริ่มปวดปัสสาวะ หรือเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น
สรุป
การปัสสาวะไม่ออก ทำให้เจ็บปวดและไม่สบายกาย หากเกิดอย่างเฉียบพลันและทำให้ปัสสาวะไม่ได้ ทำให้เจ็บปวดและน่ากลัว
การรักษาที่ล่าช้ายิ่งทำให้อาการเลวลง อาการปัสสาวะไม่ออกรักษาได้ ไม่ควรอายที่จะไปพบแพทย์
แพทย์ทั่วไปสามารถวินิจฉัยและรักษาได้ บางกรณีอาจต้องส่งต่อให้แพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ หรือผู้เชี่ยวชาญทางลำไส้ใหญ่หรืออุ้งเชิงกราน เพื่อการวินิจฉัยและรักษาต่อไป
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
https://www.niddk.nih.gov/health-information/urologic-diseases/urinary-retention
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15427-urinary-retention