ไวรัสลงกระเพาะ (Viral Gastroenteritis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ไวรัสลงกระเพาะ (Viral Gastroenteritis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

01.03
5069
0

เป็นโรคติดเชื้อในลำไส้ที่มีการติดต่อได้ง่ายมาก ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Stomach Flu หรือ ไวรัสลงกระเพาะ

โรคไวรัสลงกระเพาะ Viral Gastroenteritis หรือ Stomach Flu เกิดได้จากไวรัสหลายชนิด และบ่อยครั้งจะเกิดขึ้นในผู้ที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อหรือการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน น้อยครั้งที่ไวรัสลงกระเพาะจะมีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย

ถึงแม้ว่าโรคไวรัสลงกระเพาะนั้นจะทำให้รู้สึกไม่สบายตัวอย่างมาก แต่ผู้ป่วยส่วนมากจะหายได้ภายในเวลาไม่กี่วันโดยไม่มีอาการแทรกซ้อน

โรคไวรัสลงกระเพาะนั้นไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งปกติแล้วจะปล่อยให้การติดเชื้อดำเนินไป การรักษาที่บ้านสามารถทำให้อาการดีขึ้นได้

อาการของไวรัสลงกระเพาะ

ถึงแม้ว่าไวรัสลงกระเพาะจะถูกเรียกว่า ไข้หวัดลงกระเพาะแต่มันแตกต่างจากไข้หวัดใหญ่  ไข้หวัดใหญ่จะส่งผลกระทบแค่กับ จมูก คอ และปอด แต่ไวรัสลงกระเพาะอาการจะส่งผลต่อกระเพาะและลำไส้

อาการของไวรัสลงกระเพาะมีดังนี้:

ในกรณีส่วนใหญ่ อาการจะปรากฏขึ้นใน 1-3 วันของการติดเชื้อ ซึ่งมีทั้งอาการน้อย ๆ ไปจนถึงรุนแรง อาการต่าง ๆ มักจะเริ่มแสดงขึ้นมาหลังจากได้รับไวรัส 12-48 ชั่วโมง และมักจะมีอาการประมาณ 3-7 วัน หรือในเคสรุนแรง อาจนานถึง 10 วัน

หากเป็นเชื้อไวรัสลงกระเพาะไม่ควรไปเรียนหรือทำงาน

การรักษาโรคไวรัสลงกระเพาะ

ยังไม่มียาที่สามารถรักษาไวรัสลงกระเพาะได้ ยาปฏิชีวนะไม่สามารถรักษาได้เพราะเป็นการติดเชื้อจากไวรัส

  • ไอบูโปรเฟน – สามารถลดไข้และบรรเทาปวด แต่ควรใช้อย่างระมัดระวังเพราะมันทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารและทำให้ไตทำงานหนักขึ้นในขณะที่สูญเสียน้ำอยู่แล้ว

  • อะเซตามีโนเฟน หรือ พาราเซตามอล – ยานี้ถูกแนะนำให้ใช้บ่อย เพราะมีผลข้างเคียงน้อยกว่าไอบูโปรเฟน

  • ยาต้านการอาเจียน Antiemetics – ยานี้ทำให้หายจากการคลื่นไส้ได้ หมออาจสั่ง promethazine ondansetron metoclopramide และ prochlorperazine ให้ผู้ป่วย

  • ยาแก้ท้องร่วง antidiarrheals – ซับซาลิไซเลต  (Pepto-Bismol) และ โลเพอราไมด์ (Imodium) ไม่ควรใช้ Pepto-Bismol ในเด็ก

สาเหตุของไวรัสลงกระเพาะ

ไวรัสลงกระเพาะเกิดจากไวรัสหลายชนิด มันเกิดได้หลังจากการสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนไวรัส น้อยครั้งมากที่จะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

ไวรัสลงกระเพาะกับอาหารเป็นพิษ

อาการของไวรัสลงกระเพาะและอาหารเป็นพิษนั้นคล้ายคลึงกันมาก ถึงแม้ว่าอาหารเป็นพิษนั้นจะพบได้บ่อยกว่า

ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ ระยะเวลาของการป่วย อาหารเป็นพิษนั้นสามารถหายได้ใน 2-3 วัน ในขณะที่ไวรัสลงกระเพาะนั้นอาจต้องใช้เวลาถึง 10 วันในการรักษา

Viral Gastroenteritis

การดูแลตัวเองที่บ้านเมื่อเป็นไวรัสลงกระเพาะ

น่าเสียดายที่ไม่มีการรักษาที่สามารถรักษาโรคไวรัสลงกระเพาะได้ ยาปฏิชีวนะก็ไม่รักษาการติดเชื้อจากไวรัส การบรรเทาอาการจากที่บ้านจึงเป็นวิธีที่ช่วยผู้ป่วยได้

ดื่มน้ำเยอะ ๆ

ผู้ป่วยที่เป็นไวรัสลงกระเพาะจะไม่อยากอาหาร และอาจทำให้ขาดน้ำได้ เพราะร่างกายเสียน้ำไปมากจากการท้องเสีย อาเจียน และ เหงื่อออก

จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้มีน้ำในร่างกายเพียงพอที่จะไม่เกิดอาการขาดน้ำ ผู้ป่วยควรดื่มน้ำเยอะ ๆ เช่น โซดา น้ำซุป หรือเครื่องดื่มเกลือแร่ที่ไม่มีคาเฟอีน

ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทานหรือดื่มได้สามารถอมน้ำแข็งไว้เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำ

ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มาคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชาดำ และช็อคโกแลต เพราะพวกมันจะทำให้ไม่สบายท้อง และคาเฟอีนจะไปรบกวนการนอนหลับ ซึ่งจำเป็นต่อการพักฟื้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน เพราะจะทำให้ปัสสาวะบ่อย และทำให้เสียนำ้มากยิ่งขึ้น

อาหารที่ควรรับประทาน

ไวรัสลงกระเพาะมักทำให้การอยากอาหารลดลงหรือไม่อยากอาหารเลย อย่างไรก็ตาม เมื่ออาการดีขึ้นควรค่อย ๆ เริ่มกินและกินอาหารง่าย ๆ

ควรเติมน้ำให้ร่างกายด้วยเครื่องดื่มเกลือแร่ เครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีน หรือน้ำผลไม้ แล้วจากนั้นจึงเปลี่ยนไปกินซุป และอาหารมื้อเล็ก ๆ

ผู้ป่วยบางรายดื่มนมแล้วทำให้อาการท้องเสียแย่ลง แต่บางคนก็ไม่ ไม่ควรกินอาหารที่มีไฟเบอร์มากเกินไปเพราะไฟเบอร์ทำให้ลำไส้ลื่น อาหารที่มีมะเขือเทศ ไขมัน และมีรสเผ็ดก็ทำให้อาการท้องเสียแย่ลงเช่นกัน

การพักผ่อน

ไวรัสลงกระเพาะนั้นทำให้หมดแรง ร่างกายใช้พลังไปมากกับการต่อสู้กับการติดเชื้อและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ด้วยเหตุนี้ การพักผ่อนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันได้ทำงานและเซลล์ต่าง ๆ ได้ซ่อมแซมตัวเอง

ผู้ป่วยควรพักในตอนกลางวันและหลับให้สบายในตอนกลางคืน

ผู้ป่วยบางรายอาจพบว่าอาการดีขึ้นจากการทำตามการรักษาเหล่านี้ :

ขิง และ เปปเปอร์มินท์

ขิงช่วยลดการอักเสบและช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน และยังช่วยบรรเทาอาการปวดท้องและการบวมได้อีกด้วย

การทำน้ำขิง:

  • ผงขิง 1 ช้อนชา หรือ ครึ่งช้อนชา ต่อ น้ำ 1 แก้ว

  • ต้ม 5 นาที แล้วปล่อยไว้ 10 นาที

  • หากใช้รากขิงสดให้กรองก่อนดื่ม

  • ดื่ม 2-3 ครั้ง ทุกวัน

ขิงถูกใช้เพื่อให้รสเผ็ดในอาหาร ผู้ป่วยสามารถรับประทานขิงชนิดแคปซูล ดื่มเครื่องดื่มขิง หรือ เคี้ยวขิงเป็นชิ้น

มินท์ เช่น เปปเปอร์มินท์ สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดท้องได้ และช่วยเรื่องแก๊สในกระเพาะ และอาการบวม การดื่มเป็นน้ำจะช่วยในการบรรเทาอาการปวดท้องได้ดีที่สุด

วิธีทำชามินท์ ต้มใบมินท์ 2-3 ใบแล้วกรองเอาแต่น้ำ

การกดจุด

บางคนกล่าวว่า การกดจุดสามารถช่วยลดการคลื่นไส้ได้ โดยการทาบนิ้วมือ  3 นิ้วลงไปบนฝ่ามือจากด้านล่างของฝ่ามือ กดนิ้วลงไประหว่างเส้นเอ็น นวดประมาณ 2-3 นาที

ดอกคาโมมายล์

ดอกคาโมมายล์สามารถช่วยใช้บรรเทาอาการไวรัสลงกระเพาะได้ มันช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและต้านการอักเสบ

ดอกไม้ชนิดนี้อาจช่วยบรรเทาอาการ ท้องเสีย ปวดท้อง ท้องบวม คลื่นไส้ และแก๊สในกระเพาะสำหรับบางคนได้

วิธีการทำชาคาโมมายล์:

  • ใส่ดอกคาโมมายล์ 2-3 ช้อนชาลงไปในน้ำร้อน

  • ปิด และปล่อยทิ้งไว้ 10-15 นาที

  • กรอง และเติมน้ำมะนาว หรือ น้ำผึ้งตามชอบ

  • ดื่มชานี้ 3-4 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 2-3 วัน

ชาโรสแมรี่ และชาเม็ดยี่หร่าก็อาจจะช่วยต้านการอักเสบและรักษาระบบย่อยอาหารได้เช่นกัน

การดูแลเด็ก

หากเด็กเล็กมีอาการมากกว่า 1-2 วัน ควรพาไปพบแพทย์ ควรให้เด็กจิบน้ำบ่อย ๆ เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ

สารละลายอิเล็กโทรไลต์ เช่น Pedialyte สามารถช่วยเติมน้ำให้ร่างกายได้เช่นกัน

นี่คือที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *