โรคไอกรน (Whooping Cough) : เราควรรู้อะไรบ้างจากโรคไอกรน

โรคไอกรน (Whooping Cough) : เราควรรู้อะไรบ้างจากโรคไอกรน

26.01
2098
0

โรคไอกรน เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียบอร์เดเทลลา เพอร์ทัสซิส ในบางประเทศ โรคไอกรน เรียกอีกอย่างว่า ไอ 100 วัน

โรคนี้มีการตั้งชื่อตามอาการไอที่เป็นเอกลักษณ์และมีเสียงที่มีลักษณะจำเพาะ ซึ่งตามมาด้วยการหายใจเข้าอย่างรวดเร็วหนึ่งครั้ง ทำให้มีเสียงดังที่มีลักษณะจำเพาะคือเสียงดัง “วู้ป” ขึ้นมาหลังหยุดไอ

ทั้งนี้ ยอดผู้ป่วยจะสูงขึ้นทุก ๆ 2-5 ปี โดยในจำนวน 93% ของผู้ป่วย เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า จำนวนผู้ป่วยที่แท้จริงในสหรัฐอเมริกาช่วงก่อนที่จะมีวัคซีนสูงกว่าตัวเลขที่รายงานมาก เนื่องจาก ใช่ว่าคนไข้ทุกเคสจะที่มีการนับและลงบันทึก หรือมีการรายตัวเลข ผู้ป่วยหลายคนไม่มีการนำมาเข้าสถิติ

หลังจากมีการฉีดวัคซีนในคนจำนวนมากในทศวรรษที่ 1940 อัตราโรคไอกรนลดลงเหลือน้อยกว่า 1 ต่อ 100,000 ภายในปี 1970 ปัจจุบัน โรคไอกรนจะเกิดในเด็กเล็ก ๆ ที่เด็กเกินกว่าจะได้รับวัคซีนครบตามกำหนด และในกลุ่มวัยรุ่นที่มีภูมิคุ้มกันลดลง อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา ตัวเลขผู้ป่วยก็เริ่มเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ

ข้อมูลเกี่ยวกับโรคไอกรน

ข้อสังเกตสำคัญบางประการเกี่ยวกับโรคไอกรน

  • โรคไอกรนเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย “บอร์เดเทลลา เพอร์ทัสซิส”

  • เด็กที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนจะมีแนวโน้มเป็นโรคไอกรนสูงกว่า 23 เท่า

  • เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคจะอยู่ในละอองฝอย เมื่อผู้ป่วยไอและจาม ละอองฝอยจะกระจายเชื้อไปยังผู้ที่อยู่ใกล้

  • ทารกที่เป็นโรคไอกรนมักต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

อาการของผู้ที่เป็นโรคไอกรนเป็นอย่างไร

อาการของโรคไอกรนจะเกิดขึ้นแบบไม่รุนแรง และค่อยเป็นข้อไป และมักมีอาการของโรคภายใน 6-20 วันหลังจากได้รับเชื้อแบคทีเรียบอร์เดเทลลา เพอร์ทัสซิส ซึ่งเชื้อบอร์เดเทลลา เพอร์ทัสซิสมีระยะฟักตัว 6 ถึง 20 วัน

ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการไม่รุนแรง แต่จะแย่ลงเรื่อย ๆ ก่อนที่จะดีขึ้นในระยะฟื้นตัว อาการและอาการแสดงเริ่มแรกของโรคไอกรนนั้นคล้ายกับโรคไข้หวัดทั่วไป:

อาการระยะเริ่มต้นของโรคไอกรน

  • คัดจมูก หายใจไม่สะดวก

  • ไอแห้งและระคายคอ

  • ไม่สบาย (รู้สึกไม่สบาย คลั่นเนื้อคลั่นตัว)

  • มีไข้อ่อน ๆ

  • มีน้ำมูกไหล

  • เจ็บคอ 

  • น้ำตาไหล

  • ท้องเสีย  (บางครั้ง)

อาการและอาการแสดงข้างต้นเป็นเรื่องปกติในช่วงสัปดาห์แรก หลังจากนั้นอาการก็จะรุนแรงขึ้น

ระยะที่ 2 (ระยะรุนแรง)

โรคไอกรนใน “ระยะรุนแรง” หรือระยะที่ 2 นี้ ผู้ป่วยจะมีอาการต่าง ๆ ได้แก่ :

มีอาการไอรุนแรง – ไอต่อเนื่องกัน 2-3 นาที บางครั้ง การไอแต่ละครั้งจะเกิดขึ้นหลังจากไอเสร็จ ซึ่งจะกินเวลานานหลาย 10 นาทีต่อครั้ง โดยทั่วไป ผู้ป่วยจะไอ 10-15 ครั้งในแต่ละวัน

ในช่วงการไอ ผู้ป่วยจะมีการหายใจเข้าอย่างรวดเร็วหนึ่งครั้งระหว่างไอและหายใจเข้าอย่างรวดเร็วอีกครั้งหลังไอ ทำให้มีเสียงดังที่มีลักษณะจำเพาะคือเสียงดัง “วู้ป” ทั้งนี้ พบได้น้อยในเด็กเล็กและทารก แต่เด็กอาจขย้อนหรือหายใจเข้าอย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่หยุดหายใจชั่วคราว

เด็กเล็ก ๆ อาจมีอาการใบหน้าเขียวคล้ำ (อาการตัวเขียว) ในระหว่างไอ แม้คุณพ่อคุณแม่จะรู้สึกกลัวและกังวลมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาการไอของลูกน้อยจะไม่น่ากังวล และเด็กจะกลับมาหายใจได้อีกเป็นปกติ

การไอเป็นช่วงระยะเวลานาน ๆ ทำให้อาเจียนได้ ซึ่งมักเกิดขึ้นในเด็กเล็กและทารก

Whooping Cough

ในผู้ใหญ่และวัยรุ่นเอง อาการของโรคไอกรนจะรุนแรงน้อยกว่าในทารกและเด็กเล็ก โดยมักจะคล้ายกับอาการที่พบในโรคหลอดลมอักเสบ

ในบางกรณี ซึ่งอาจไม่ได้พบบ่อยนัก โรคไอกรนอาจทำให้ทารกเสียชีวิตอย่างกะทันหันได้โดยไม่คาดคิด

ระยะฟื้นตัว

ในระยะนี้ ผู้ป่วยจะเริ่มฟื้นตัว ผู้ป่วยจะมีอาการไอน้อยลง และอาการรุนแรงน้อยลง ระยะฟื้นตัวนี้อาจใช้เวลา 3 เดือนขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ในระยะนี้ ผู้ป่วยอาจยังมีอาการไอรุนแรงอยู่

โรคไอกรนมีสาเหตุมาจากอะไร

โรคไอกรน เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียชื่อบอร์เดเทลลา เพอร์ทัสซิส การติดเชื้อเกิดขึ้นในเยื่อบุทางเดินหายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท่อลม (trachea) และหลอดลม (ซึ่งเป็นทางเดินลมหายใจที่แยกออกจากหลอดลมไปยังปอด)

ทันทีที่บอร์เดเทลลา เพอร์ทัสซิส กระจายไปถึงเยื่อบุทางเดินหายใจ เชื้อจะเพิ่มจำนวนและทวีคูณขึ้น และทำให้ส่วนที่ละลายเมือกของเยื่อบุเป็นอัมพาต ทำให้เกิดการสะสมของเมือก เมื่อเมือกสะสมเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยจะพยายามขับเมือกออกโดยการไอ อาการไอจะรุนแรงขึ้นเนื่องจากมีน้ำมูกไหลมาก

ขณะที่  การอักเสบของทางเดินหายใจแย่ลง (คือมีอาการบวมขึ้น) ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง จะทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบากขึ้น และทำให้หายใจเสียงดัง “วู้ป” เมื่อผู้ป่วยพยายามที่จะหายใจเข้าหลังจากไอเสร็จแล้ว

โรคไอกรนแพร่กระจายหรือระบาดอย่างไร

ผู้ป่วยบอร์เดเทลลา เพอร์ทัสซิส สามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ใน 6-20 วัน หลังจากที่แบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายจนถึง 3 สัปดาห์หลังจากเริ่มมีอาการของโรคไอกรน

ทั้งนี้ แบคทีเรียจะกระจายอยู่ในละอองฝอยเล็ก ๆ ในลมหายใจ เมื่อผู้ป่วยไอและจาม ละอองฝอยจะถูกขับออกไปในอากาศ

คนที่สูดเอาละอองฝอยเหล่านี้เข้าไป หรือสัมผัสกับละอองฝอยเหล่านี้ ก็อาจติดเชื้อได้

การป้องกันและวัคซีนป้องกันโรคไอกรน

การป้องกันโรคไอกรนเป็นหัวใจสำคัญ หากสมาชิกในครอบครัวที่ติดเชื้อ ทั้งนี้ แพทย์อาจแนะนำให้สมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ ต้องเข้ารับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

วัคซีนไอกรน

วัคซีนไอกรนป้องกันไอกรน

สำหรับประชาชนทั่วไป วัคซีนไอกรนมีไว้เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เช่น วัคซีน DTaP ป้องกัน โรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน

ทั้งนี้ ทารกและเด็กเล็กจะต้องฉีด 5 ครั้ง ตามตารางการฉีดวัคซีนที่แนะนำนั้น

นอกจากนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ตลอดจนผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับทารก (ทารกแรกเกิดและทารกอายุไม่เกิน 12 เดือน) ที่เป็นไอกรนต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรนด้วย

 สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยทั่วโลก ซึ่งโดยปกติแล้ว โรคนี้ สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน สำหรับกรณีที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ (กว่า 90 เปอร์เซ็นต์) อาจเกิดขึ้นได้ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง

วารสารกุมารเวชศาสตร์ ฉบับหนึ่ง ระบุว่า เด็ก ๆ ที่ผู้ปกครองไม่ยอมให้ฉีดวัคซีนจะมีโอกาสเสี่ยงถึง  23 เท่า  ในการเป็นโรคไอกรน เมื่อเทียบกับเด็กที่ได้รับการฉีดวัคซีนจนครบรอบการฉีด

การวินิจฉัยโรคโรคไอกรน

ในช่วงระยะเริ่มต้น แพทย์อาจวินิจฉัยโรคผิดพลาดได้ซึ่งก็อาจเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากอาการและอาการแสดงจะคล้ายกันกับโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ เช่น หลอดลมอักเสบ ไข้หวัดใหญ่    และโรคไข้หวัด

แพทย์มักจะวินิจฉัยโรคไอกรนได้โดยการซักประวัติผู้ป่วย ถามถึงอาการและฟังอาการไอ (เสียงไอกรนจะเป็นเอกลักษณ์มาก)

การตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค เช่น:

  • การเพาะเชื้อจากคอหรือจมูกเพื่อตรวจวินิจฉัย แพทย์จะการเก็บตัวอย่างที่เป็นสารคัดหลั่งและการดูดเสมหะเพื่อส่งตรวจในห้องปฏิบัติการและตรวจดูว่ามีแบคทีเรีย บอร์เดเทลลา เพอร์ทัสซิส อยู่หรือไม่

  • การตรวจเลือด แพทย์อาจต้องการทราบว่า จำนวนเม็ดเลือดขาวมีอยู่เท่าไร ทั้งนี้ หากตรวจแล้วพบว่ามีจำนวนเม็ดเลือดขาวสูง แสดงว่าอาจมีการติดเชื้อบางชนิด

  • การเอกซเรย์ทรวงอก แพทย์อาจต้องตรวจดูว่ามีการอักเสบหรือมีของเหลวในปอดหรือไม่

หากสงสัยว่าเป็นโรคไอกรนในทารก คุณพ่อคุณแม่อาจต้องพาลูกน้อยไปตรวจวินิจฉัยในโรงพยาบาล

การรักษาโรคไอกรน

โดยปกติแล้ว เด็กทารกควรต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจาก โรคไอกรนในเด็กในวัยนี้อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้ ทั้งนี้ เด็กอาจจำเป็นต้องให้ยาทางหลอดเลือดดำ หากไม่สามารถให้ของเหลวหรืออาหารได้ โดยแพทย์จะแยกทารกไว้ในหอผู้ป่วย เพื่อให้แน่ใจว่า โรคจะไม่แพร่กระจายไปยังผู้ป่วยรายอื่น ๆ

อนึ่ง ผู้ป่วยที่เป็นเด็กโต วัยรุ่น และผู้ใหญ่สามารถรับการรักษาได้ที่บ้าน

การรักษาด้วยยา

แพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียบอร์เดเทลลา เพอร์ทัสซิส และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น ทั้งนี้ แพทย์อาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะให้กับสมาชิกในครอบครัวด้วยเช่นกัน ยาปฏิชีวนะช่วยยับยั้งการติดเชื้อภายใน 5 วันหลังจากรับประทานยา

หากไม่ได้รับการรักษาและปล่อยไว้จนถึงระยะอื่น ๆ แพทย์อาจไม่สั่งยาปฏิชีวนรักษาผู้ป่วย เพราะเชื้อแบคทีเรียอาจหายไปหมดแล้ว

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ แพทย์จะสั่งจ่ายยาคอร์ติโคสเตียรอยด์หากเด็กมีอาการรุนแรง ยาเหล่านี้ให้ใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะ คอร์ติโคสเตียรอยด์ เป็น ฮอร์โมนที่มีฤทธิ์แรง (สเตียรอยด์) ซึ่งมีประสิทธิภาพมากในการลดการอักเสบในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งช่วยทำให้เด็กหายใจได้ง่ายขึ้น

การให้ออกซิเจน – แพทย์อาจให้ออกซิเจนผ่านหน้ากากออกซิเจน หากผู้ป่วยต้องได้รับออกซิเจน นอกจากนี้ อาจจำเป็นต้องดูดเสมหะที่สะสมในทางเดินหายใจออก

การรักษาอาการไอ – แพทย์อาจห้ามไม่ให้ใช้ยาแก้ไอที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป เนื่องจากใช้ไม่ได้ผลกับไปไอกรน ซึ่งผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดเท่านั้นหากเกิดอาการไอ ทั้งนี้ การไอจะช่วยขับเสมหะที่สะสมในทางเดินหายใจออกมาได้

การดูตัวเองที่ผู้ป่วยสามารถทำได้ที่บ้าน

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเด็กโตและผู้ใหญ่ มักมีอาการไม่รุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วย:

  • พักผ่อนให้เพียงพอ

  • กินของเหลวมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ

  • พยายามขับน้ำมูกออกจากทางเดินหายใจและโพลงจมูกด้านในเพื่อป้องกันการสำลัก

  • ผู้ป่วยสามารถรับประทนยาแก้ปวด เช่น ไทลีนอล หรือไอบูโพรเฟ่น เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอและลดไข้ แต่ห้ามให้แอสไพรินแก่เด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี

ภาวะแทรกซ้อน

ผู้ป่วยที่เป็นเด็กโตและผู้ใหญ่ ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายจากโรคไอกรนได้โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือปัญหาใด ๆ ในกรณีส่วนใหญ่ ภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดจากการไอมากต่อเนื่องและรุนแรงมาก ๆ อาจรวมถึง:

  • มีใบหน้าบวม

  • เป็นไส้เลื่อนในช่องท้อง

  • เส้นเลือดแตกในตาขาว (ตาขาว)

  • ซี่โครงร้าวหรือช้ำ

  • มีแผลในปากและลิ้น

  • มีเลือดกำเดาไหล

  •  หูชั้นกลางอักเสบ  (เกิดการติดเชื้อในหูชั้นกลาง)

ทารกและเด็กเล็กมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่เกิดจากโรคไอกรน ได้แก่ :

หยุดหายใจชั่วคราว หากอาการหายใจลำบากมีความรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยอาจเสี่ยงสมองโดนทำลาย เนื่องจากการขาดออกซิเจน (ซึ่งในกรณีนี้ เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก)

คุณแม่ตั้งครรภ์ ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันลดลง และคนที่เป็นเบาหวาน มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *