เจ็บข้อมือ (Wrist Pain) : อาการ สาเหตุ การรักษา

เจ็บข้อมือ (Wrist Pain) : อาการ สาเหตุ การรักษา

24.11
11351
0

อาการเจ็บข้อมือ (Wrist Pain) เป็นอาการที่พบได้โดยทั่วไป โดยข้อต่อที่ข้อมือทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหวพื้นฐานสำหรับการพิมพ์ข้อความหรือการเขียนหนังสือ เมื่อมีอาการปวดข้อมือเกิดขึ้น สามารถทำให้กิจกรรมเหล่านี้ถูกรบกวนและส่งผลต่อคุณภาพในชีวิตได้ 

ข้อมือมีข้อต่อชิ้นเดียวโดยมีกระดูกลิ้นเล็กๆหลายชิ้นรวมกันซึ่งเป็นจุดที่กระดูกแขนเชื่อมเข้ากับกระดูกมือ

อาการบาดเจ็บที่ข้อมือเกิดขึ้นเนื่องจากเกิดแรงกระเเทกเฉียบพลัน ตัวอย่างเช่นข้อมือเคล็ดเกิดจากเส้นเอ็นกล้ามเนื้อยืดออกมากเกินไป โดยปกติอาการปวดข้อมือชนิดนี้มักเกิดขึ้นเมื่อได้รับการบาดเจ็บแบบเฉียบพลัน บทความนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวข้องกับสาเหตุ อาการและวิธีรักษาอาการเจ็บข้อมือ

Wrist Pain

สาเหตุของอาการเจ็บข้อมือคืออะไร

อาการบาดเจ็บเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาการอ่อนล้าธรรมดาหรือเกิดขึ้นจากโรค โดยปกติอาการบาดเจ็บที่ข้อมือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เจ็บข้อมือรวมถึงการบีบอัดของเส้นประสาทที่อยู่ในบริเวณข้อมือสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้

สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บข้อมือได้แก่

โรคชามือจากโพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาท

สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการปวดข้อมือมาจากอาการบาดเจ็บที่ข้อมือซึ่งอาจเกิดจากการใช้ข้อมือหรือการออกกำลังกายข้อมือมากเกินไป

โรคชามือจากโพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาทเป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อเส้นเอ็นยึดกระดูกที่ข้อมือหนาขึ้นและมีเเรงกดบนเส้นประสาท เมื่อเส้นประสาทถูกบีบอัดเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ชา และทำให้มืออ่อนเเรงได้

สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือโรคข้ออักเสบเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคชามือจากโพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาทได้มากกว่าคนทั่วไป

โรคนี้ยังความเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวซ้ำที่เกี่ยวข้องกับการยก การพิมพ์ หรือการใช้อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนที่มือ

โรคข้อกระดูกอักเสบ

โรคข้อกระดูกอักเสบมีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อที่ข้อต่อและกระดูกอ่อนที่ครอบคลุมที่กระดูกฉีกขาด โรคนี้สามารถเกิดขึ้นกับข้อต่อทุกส่วนของร่างกายรวมถึงข้อมือด้วย โดยส่วนใหญ่โรคกระดูกข้อต่ออักเสบเกิดขึ้นกับคนวัยกลางคนและผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคข้อกระดูกอักเสบ 

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ เนื่องจากเนื้อเยื่อสุขภาพดีถูกทำลายด้วยระบบภูมิคุ้มกันตัวเองจึงทำให้เกิดอาการเจ็บปวดข้อมือในบริเวณที่เกิดการอักเสบ

เอ็นข้อมืออักเสบ

สำหรับอาการนี้เกิดขึ้นกับเส้นเอ็นกล้ามเนื้อที่อยู่ครอบคลุมบริเวณนิ้วหัวแม่มือที่ดูด้านเดียวกับข้อมือเกิดการติดเชื้อและบวมขึ้น ทั้งนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้แต่ส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับอาการบาดเจ็บเนื่องจากการใช้งานมากเกินไป อาการเอ็นข้อมืออักเสบได้แก่มีอาการเจ็บปวดในข้อมือและมีอาการข้อมือบวมร่วมกับข้อมือและแขนรวมถึงนิ้วโป้งอ่อนเเรง 

อาการบาดเจ็บจากการใช้งานซ้ำ

ตามชื่อดังกล่าว อาการบาดเจ็บซ้ำจากการใช้งานเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้ข้อมือซ้ำซากหลายครั้งเช่นการพิมพ์หรือการถักนิตติ้ง การใช้งานข้อต่อมากเกินไปเป็นสาเหตุทำให้เกิดข้อต่อบวมและเกิดการกดทับของเส้นประสาทรอบๆ

 อาการนี้สามารถเกิดขึ้นกับข้อต่อทุกส่วนของร่างกายเช่นข้อมือเป็นต้น

อาการบวมที่เกิดจากกระดูกอ่อนข้อมือบาดเจ็บ

triangular fibrocartilage เป็นส่วนของข้อมืออยู่บริเวณกระดูกข้อมือด้านนิ้วก้อยทำหน้าที่รองรับน้ำหนักและพยุงกระดูกชิ้นเล็ก อาการบาดเจ็บที่บริเวณนี้เกิดขึ้นเมื่อกระดูกอ่อนเสื่อมลงหรือฉีกขาดเนื่องจากอุบัติเหตุ

เส้นเอ็นข้อมืออักเสบ

เส้นเอ็นข้อมืออักเสบเกิดขึ้นเมื่อเส้นเอ็นกล้ามเนื้อฉีกขาดเล็กน้อยหรือเกิดอาการอักเสบขึ้น โดยปกติอาการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนไหวและการใช้งานข้อมือซ้ำๆ

ถุงน้ำที่ข้อมืออักเสบ

ถุงน้ำที่ข้อต่อเป็นถุงขนาดเล็กที่มีของเหลวอยู่ภายในถุงที่ช่วยลดการเสียดสีในข้อต่อ เมื่อถุงน้ำติดเชื้อทำให้เกิดอาการที่เรียกว่าถุงน้ำอักเสบ ซึ่งอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกายรวมถึงบริเวณข้อมือ อาการที่เกิดขึ้นได้แก่อาการกดเจ็บที่เส้นเอ็นกล้ามเนื้อข้อมือและ มีอาการบวมเเดงรอบข้อมือ

ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ

อาการนี้มีสาเหตุเกิดจากมีก้อนเนื้อเยื่อซีสท์ที่มีน้ำอยู่ข้างในซึ่งมักเกิดขึ้นบนข้อมือที่อยู่ตรงข้ามกับฝ่ามือแต่สามารถเกิดขึ้นบนฝ่ามือด้านเดียวกับข้อมือได้เช่นกัน ก้อนซีสท์ขนาดเล็กมักทำให้เกิดอาการเจ็บปวดมากกว่าก้อนซีตส์ขนาดใหญ่ 

ข้อมือเคล็ด

ข้อมูลสถาบันศัลยกรรมมือแห่งประเทศสหรัฐอเมริการะบุว่าโดยปกติอาการข้อมือเคล็ดมักเกิดขึ้นจากการตกจากที่สูงหรือข้อมือหมุนไปด้านหลังเมื่อมือกระทบกับพื้นซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่ทำให้เส้นเอ็นยึดกระดูกยืดออกมากเกินไป

อาการเจ็บข้อมือ

อาการปวดข้อมือได้แก่อาการเจ็บปวดและข้อมือบวมขึ้น

อาการปวดข้อมือมีหลากหลายแบบขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้ปวดข้อมือ บางคนอาจมีอาการเจ็บปวดที่สามารถบอกได้เพียงว่ารู้สึกเจ็บปวดหรือมีอาการชารวมถึงมีอาการปวดแบบแปลบๆ และอาการเจ็บปวดยังสามารถเกิดขึ้นได้หลายแห่ง

นอกจากอาการเจ็บปวดแล้วยังมีอาการอื่นๆเกิดขึ้นจากการบาดเจ็บเช่นอาการข้อมือเคล็ดที่สามารถทำให้เกิดอาการบวมเเละถุงน้ำข้อมืออักเสบได้ รวมถึงอาการข้อมือเป็นเหน็บชาและอาการมืออ่อนแรงสามารถเกิดขึ้นเนื่องจากโรคชามือจากโพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาท 

นอกจากนี้ผู้ที่มีอาการปวดข้อมือยังมีอาการดังต่อไปนี้

  • อาการข้อมือฝืดและสามารถเกิดอาการนิ้วมือล็อคได้
  • เกิดปัญหาเกี่ยวกับการถือของ การจับหรือถือของได้ลำบากมากขึ้น
  • เกิดเสียงดังกริ๊กเมื่อขยับข้อมือและมีอาการเจ็บข้อมือรุนเเรงมากขึ้นหลังจากการพักข้อมือ

ขึ้นอยู่กับสาเหตุเเละอาการปวดข้อมือว่ามีอาการเจ็บปวดระดับที่เริ่มจากปวดแบบเล็กน้อยไปจนถึงอาการเจ็บปวดอย่างรุนเเรงหรือไม่ 

เมื่อเริ่มมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้นมักมีสาเหตุเกิดจากการทำกิจกรรมบางอย่าง เมื่อเวลาผ่านไปมักมีอาการเจ็บปวดรุนเเรงขึ้นถึงแม้ว่าจะหยุดพักการใช้งานข้อมือเเล้ว นอกจากนี้อาการไร้ความรู้สึกยังสามารถเกิดขึ้นได้เเละทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกร้อนหรือเย็นและมักทำของหล่นได้ง่าย

การรักษาและป้องกันอาการปวดข้อมือ

การรักษาอาการปวดข้อมือขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น อย่างน้อยการปฐมพยาบาลข้อมือที่เกิดอาการปวดเป็นสิ่งที่แพทย์แนะนำ ซึ่งวิธีรักษามีดังต่อไปนี้

  • การรักษาที่บ้าน โดยปกติสามารถทำด้วยการพักหรือหยุดใช้ข้อมือให้ได้มากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้เพื่อให้เวลาฟื้นฟูข้อมือที่เกิดอาการเจ็บปวดได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้การทานยาแก้ปวดและการใช้น้ำแข็งประคบยังสามารถช่วยลดการติดเชื้อและอาการเจ็บปวดได้
  • การใส่เฝือก – ในบางกรณีการใส่เฝือกที่ข้อมือสามารถช่วยได้ โดยเฝือกสามารถป้องกันและลดการเคลื่อนไหวของข้อมือได้เนื่องจากการเคลื่อนไหวข้อมือทำให้เกิดการระคายเคืองได้ นอกจากนี้การใส่เฝือกยังสามารถช่วยลดการกดทับของเส้นประสาท ถ้าหากคุณต้องการซื้อเฝือกใส่ข้อมือ คุณสามารถหายซื้อได้ต้องร้านค้าออนไลน์บนอินเตอร์เนต
  • การออกกำลังกาย  การออกกำลังกายสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บข้อมือได้ซึ่งขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวด โดยการออกกำลังกายบางประเภทสามารถช่วยยืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นกล้ามเนื้อทำให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นมากขึ้น สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการออกกำลังกายควรออกกำลังกายภายใต้คำแนะนำจากแพทย์และนักกายภาพบำบัด
  • วิธีการรักษาอื่นๆ ได้แก่การฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อบรรเทาอาการอักเสบและลดอาการเจ็บปวด
  • การผ่าตัดเป็นการรักษาที่นำมาใช้เมื่อการรักษาด้วยวิธีอื่นใช้ไม่ได้ผล ประเภทของการผ่าตัดขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด โดยวิธีการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคชามือจากโพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาททำโดยการตัดเส้นเอ็นยึดกระดูกในข้อต่อเพื่อบรรเทาแรงกดทับบนเส้นประสาท

การรักษาด้วยการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดสามารถทำได้จนกระทั่งอาการเจ็บปวดดีขึ้นและหาไป นอกจากนี้การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดยังสามารถรักษาอาการปวดข้อมือได้ การปฏิบัติตนดังต่อไปนี้สามารถช่วยลดการเกิดอาการเจ็บข้อมือได้

  • การนั่งในท่าที่ถูกต้องเหมาะสมขณะทำงานและรักษาข้อมือให้อยู่ในท่าที่สบาย
  • ควรสร้างสภาวะเเวดล้อมการใช้คีย์บอร์ดให้เป็นมิตรต่อข้อมือเนื่องจากการทำงานที่จำเป็นต้องใช้งานคีย์เป็นเวลานาน
  • เรียนรู้การใช้อุปกรณ์ที่ต้องใช้มือจับอย่างเหมาะสมเพื่อลดเเรงตึงเครียดบนมือเเละข้อมือ
  • ควรมีระยะเวลาพักในการใช้ข้อคีย์บอร์ด
  • ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันข้อมือเมื่อเล่นกีฬาเช่นสเกตบอร์ด สโนวบอร์ดและโรลเลอร์เบรด

ข้อสรุปของอาการปวดข้อมือ

  • ถ้าหากมีส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อมือได้รับบาดเจ็บเช่น เส้นเอ็นยึดกระดูก หรือเส้นเอ็นยึดกล้ามเนื้อ สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บข้อมือ หรือข้อมือซ้นได้
  • อาการเจ็บข้อมือที่เกิดขึ้นซ้ำๆมักมีสาเหตุเกิดจากโรคบางอย่างเช่นมีอาการบาดเจ็บขึ้นซ้ำและเกิดอาการอักเสบในข้อต่อ
  • อาการเจ็บข้อมือสามารถเกิดขึ้นแบบเรื้อรัง

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *