โรคไข้ซิก้า (Zika Virus) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคไข้ซิก้า (Zika Virus) : อาการ สาเหตุ การรักษา

27.04
1606
0

โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า (Zika Virus) เป็นโรคที่ยุงเป็นพาหะ โดยอาศัยยุงลายซึ่งเป็นสายพันธ์ุเดียวกับที่แพร่เชื้อไข้เลือดออกและชิคุนกุนยา

ต่างจากยุงที่เป็นพาหะของไข้มาลาเรีย โดยยุงลายจะออกหากินในเวลากลางวันมากที่สุด วิธีการป้องกันเช่นการกางมุ้งเป็นวิธีที่ไม่ค่อยได้ผล เนื่องจากยุงสามารถอยู่รอดได้ทั้งในร่มและกลางแจ้ง

มียุงหลากหลายสายพันธุ์ที่สามารถแพร่เชื้อซิก้าได้ ตัวหลักๆคือ ยุงลาย (Aedes albopictus) หรือยุงลายเสือเอเชีย (Asian tiger mosquito) และยุงลาย (Aedes aegypti) หรือที่เรียกว่ายุงลายไข้เหลือง (the yellow fever mosquito)

ไวรัสซิก้าถูกพบครั้งแรกในลิงที่ประเทศยูกันดาเมื่อค.ศ.1947 แต่ได้ส่งผลกระทบต่อผู้คนในแอฟริกา, เอเชีย, หมู่เกาะแปซิฟิกและอเมริกาใต้และอเมริกากลาง

ในปีค.ศ.2016 เกิดการระบาดครั้งใหญ่ในประเทศบราซิล เป็นที่รับรู้ไปทั่วโลก  

อาการของการติดเชื้อไม่รุนแรง หากเกิดในหญิงตั้งครรภ์อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อการตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ได้

อาการเชื้อไวรัสซิก้า

ไวรัสซิก้าอาการอาจจะไม่แสดงให้เห็น หรืออาการอาจไม่ชัดเจนและไม่รุนแรง อาการจะเป็นได้นานกว่าสัปดาห์

อาการเริ่มแรก ได้แก่:

การติดเชื้อไวรัสซิก้าแทบจะไม่รุนแรงพอที่จะรับประกันการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและยังเป็การติดเชื้อที่หาได้ยากกว่าที่บุคคลจะเสียชีวิต

อย่างไรก็ตาม ภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้ซิก้าสามารถทำลายล้างได้ โดยเฉพาะหญิงที่เกิดการติดเชื้อไวรัสขณะตั้งครรภ์

มันอาจทำให้เกิดความบกพร่องกับสมองที่เรียกว่า ไมโครเซฟาลี (Microcephaly) ในเด็กทารกในครรภ์ สมองและศีรษะของทารกแรกเกิดจะมีขนาดเล็กกว่าปกติ การแท้งบุตรและความพิการแต่กำเนิดอื่นๆก็มีแนวโน้มมากขึ้นเช่นกัน

ในช่วงที่เพิ่งพบการระบาดในประเทศบราซิล พบทารกแรกเกิดที่มีภาวะไมโครเซฟารีเพิ่มขึ้น 10 เท่าภายหลังเดือนตุลาคม ค.ศ.2015 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้

นอกจากนี้ยังมีรายงานผู้ที่เป็นกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain-Barré syndrome) หลังจากที่ติดเชื้อไวรัสซิก้า กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เรเป็นโรคที่เกิดความผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งพบได้น้อย

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

การเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีไวรัสซิก้า เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของไวรัส

ส่วนใหญ่แพร่เชื้อผ่านยุงกัด แต่ยังสามารถส่อต่อผ่านทาง:

  • การติดต่อจากแม่สู่ลูกในครรภ์
  • ผ่านการมีเพศสัมพันธ์
  • อาจเป็นไปได้โดยผ่านทางการถ่ายเลือด

จวบจนปัจจุบันยังไม่มีการแพร่เชื้อไวรัสจากแม่สู่ลูกในระหว่างให้นมบุตร

หลังจากคนมีไวรัสแล้ว พวกเขาจะได้รับการปกป้องจากไวรัสในอนาคต

สถานที่เสี่ยง

หญิงตั้งครรภ์ควรระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด หากเธออาศัยหรือเดินทางไปยังประเทศที่มีเชื้อซิก้าอยู่ ขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังสถานที่บางแห่งในระหว่างตั้งครรภ์

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (The Centers for Disease Control and Prevention :CDC) ออกคำเตือนการเดินทางเกี่ยวกับการแพร่หระจายเชื้อไวรัสซิก้า

เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เขตร้อน:

  • อเมริกากลางหรือใต้
  • คาริบเบียน
  • โอเชียเย็น
  • อเมริกาเหนือ
  • แอฟริกา
  • เอเชีย

นักท่องเที่ยวควรดูข้อมูลอัพเดตจากเว็บไซต์ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค 

ในสหรัฐอเมริกา กรณีส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับการเดินทาง แต่มีบางรายเกิดจากการแพร่กระจายของยุง ซึ่งยุงที่ติดเชื้อซิก้าอาจมีอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มและอุณหภูมิที่ร้อนชื้น

Zika virus

การวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสซิก้า

อาการของโรคไข้ซิก้าคล้ายกับไข้หวัดและอาจไม่รุนแรงจนแทบไม่มีใครสังเกตเห็น ซึ่งคนส่วนใหญ่จะไม่ได้ไปพบแพทย์หรือไปโรงพยาบาล

มีการส่งตรวจอย่างรวดเร็วหลากหลายรายการสำหรับห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค

ซึ่งสามารถยืนยันการติดเชื้อได้

การรักษาการติดเชื้อไวรัสซิก้า

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคไข้ซิก้า

ผู้ที่มีอาการควร:

  • พักผ่อน
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ
  • รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดและลดไข้

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคไม่แนะนำให้ใช้แอสไพรินหรือยาต้านการอักเสบอื่นๆ ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(NSAIDs) จนกว่าการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกจะถูกตัดออกในผู้ที่มีความเสี่ยง เนื่องจากความเสี่ยงของการตกเลือด

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคยังแนะนำว่าควรพิจารณาหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้ซิก้า เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และโปรแกรมกายวิภาคศาสตร์ทุกๆ 3-4 สัปดาห์

นอกจากนี้ยังแนะนำให้ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติกรรมและโรคติดเชื้อ

การป้องกัน

ปัจจุบันยังไม่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ซิก้า การหลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงกัดเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเลี่ยงการแพร่เชื้อ

เพื่อเพิ่มการป้องกันขอแนะนำให้ประชาชน:

  • ใช้ยาไล่แมลง
  • สวมเสื้อผ้าแขนยาวและกางเกงขายาว
  • ติดมุ้งกันยุงไว้ที่เตียง (ในบางกรณี)
  • ใช้มุ้งลวดหน้าต่างประตู
  • หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีน้ำขัง โดยการเทถังหรือเลือกที่จะตั้งแคมป์ให้ห่างจากทะเลสาบหรือสระน้ำ

ยาไล่แมลงควรมีสารหนึ่งในสารเหล่านี้:

  • DEET (ความเข้าข้นมากกว่าร้อยละ10)
  • picaridin
  • IR3535
  • น้ำมันยูคาลิปตัสมะนาว 

ยาไล่แมลงจะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อทา:

  • หลังจากทาครีมกันแดด
  • ลงบนเสื้อผ้า เช่นเดียวกับร่างกาย เช่น เสื้อผ้าที่ทาด้วยเพอร์เมทริน
  • ใต้เสื้อผ้า

หมั่นตรวจสอบคำแนะนำสำหรับยี่ห้อยาไล่แมลง หรือครีมกันแดดสำหรับคำแนะนำในการใช้งาน

หลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของไวรัส

ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสซิก้าควรทำทุกวิถีทางเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงกัดเป็นเวลา 3 สัปดาห์หลังจากมีอาการ เพราะยุงสามารถส่งผ่านเชื้อไวรัสไปยังคนอื่นได้ ซึ่งรวมไปถึงผู้ที่กลับมาจากการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงแล้วเป็นโรค

บุคคลนั้นต้องระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกันเพราะจะสามารถแพร่เชื้อไวรัสได้เช่นกัน ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยระหว่างและหลังการเดินทางไปยังภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสซิก้า

ในบางประเทศรวมทั้งสหรัฐอเมริกา หน่วยงานด้านสุขภาพแนะนำให้ผู้ชายที่ไปในพื้นที่เสี่ยงแต่ไม่มีอาการ ควรใช้ถุงยางอนามัยนานถึง 6 เดือน หากไม่มีอาการและนานถึง 6 เดือนนับจากที่เริ่มมีอาการ หากคู่กำลังตั้งครรภ์ควรใช้ถุงยางอนามัยตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์

ผู้ที่เคยเป็นโรคไข้ซิก้าจะได้รับการป้องกันตามปกติ และไม่น่าจะเป็นอีก

หลังจากเชื้อไวรัสออกจากร่างกาย ผู้หญิงสามารถตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องเสี่ยงต่อการที่ลูกจะเกิดมาพร้อมกับภาวะไมโครเซฟาลี

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคไข้ซิก้า

  • ไวรัสซิก้ามักเกิดในสภาพอากาศเขตร้อน
  • การติดเชื้อในประเทศสหรัฐอเมริกาเชื่อมโยงกับการเดินทางเข้า-ออกจากพื้นที่เขตร้อน
  • อาการของการติดเชื้อไวรัสซิก้าอาจเป็นนานถึง 1 สัปดาห์ แต่ผลกระทบต่อเด็กทารกในครรภ์อาจรุนแรง
  • ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาไวรัส
  • การหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัดเป็นหัวใจสำคัญของการป้องกันโรคไข้ซิก้า

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *