แผลเบาหวาน (Diabetes Ulcers) : อาการ สาเหตุ การรักษา

แผลเบาหวาน (Diabetes Ulcers) : อาการ สาเหตุ การรักษา

24.12
2363
0

แผลเบาหวาน (Diabetes Ulcers) นั้นสามารถสร้างความเจ็บปวดและบาดแผลให้กับผู้ป่วย บาดแผลบนผิวหนังไม่สามารถรักษาได้อย่างที่ควรจะเป็น มีแนวโน้มอย่างมากที่จะเกิดบาดแผลที่เท้าและขา แต่ก็สามารถเกิดขึ้นในส่วนอื่นๆ ได้เช่นกัน เช่น มือ หรือตามข้อพับ

มีสาเหตุหลายประการที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลจากเบาหวาน อาการหลักของเบาหวานคือระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง เมื่อเวลาผ่านไประดับน้ำตาลในเลือดที่สูงสามารถทำลายเส้นประสาทและหลอดเลือดได้ ทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดที่ลดลง (โดยเฉพาะที่มือ เท้า และแขนขา) ซึ่งทำให้แผลและบาดแผลหายยากขึ้น และมีโอกาสติดเชื้อได้มาก ยิ่งไปกว่านั้นโรคเบาหวานยังเกี่ยวพันกับภาวะที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดส่วนปลาย (PAD) ซึ่งทำให้การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงที่ขาและเท้าน้อยลง

ความเสียหายของเส้นประสาททำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด เกิดแผลได้ง่าย และติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ทำให้รักษาบาดแผลได้ยาก

แผลเป็นอันตราย เพราะสามารถนำไปสู่การติดเชื้อร้ายแรง หรือแม้กระทั่งเนื้อเน่า และหากเป็นแผลที่ติดเชื้อร้ายแรง แพทย์จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีการตัดเนื้อร้ายนั้นเท่านั้น

Diabetes Ulcers

การรักษาแผลในผู้ป่วยเบาหวาน

ในผู้ป่วยเบาหวานหากมีแผล หรือสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของผิวหนัง ควรรีบแจ้งแพทย์ เพื่อจะทำการรักษา แพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับ Debridement คือการนำเนื้อเยื่อที่ไม่แข็งแรงออกจากบาดแผล เพื่อกระตุ้นการรักษา

แพทย์จะทำการรักษาบาดแผลของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อ

ทำความสะอาดแผลเป็นประจำทุกวัน ใช้สบู่และน้ำในการทำความสะอาดแผลเท่านั้น เว้นแต่แพทย์จะแนะนำน้ำยาทำความสะอาดอื่นๆ ห้ามใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในการล้างแผล เพราะจะเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ

พันแผลและปิดแผลด้วยผ้า แพทย์จะแนะนำขั้นตอนการพันแผลสำหรับผู้ป่วยอย่างเหมาะสม และเน้น “ ระบายอากาศ” บาดแผล แต่ในขณะเดียวกันหากแผลเปิดก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้

ไม่ให้เท้าได้รับน้ำหนักกดทับมากเกินไป กรณีที่มีแผลที่เท้า ผู้ป่วยที่มีแผลที่เท้าจำเป็นต้องใช้ไม้ค้ำยัน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ การลดการกดทับ และลดความระคายเคืองที่จะเกิดขึ้นกับแผล โดยเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้แผลหายยาก

ใช้ยาเฉพาะในการรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ อาจหมายถึงน้ำเกลือ และยาทาผิวอื่นๆ

ควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ นอกจากการลดความเสี่ยงต่อการเป็นแผลแล้ว การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเข้มงวด ก็ช่วยให้สามารถรักษาแผลได้ดีขึ้น

เมื่อไรที่ควรเข้ารับการรักษาเพิ่มเติม

หากแผลของผู้ป่วยไม่หายภายในเวลา 1 เดือน หรือกรณีที่การติดเชื้อลุกลามไปที่กระดูก อาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด และการบำบัดด้วยออกซิเจนไฮเปอร์โบลิก ที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนบริสุทธิ์ ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูได้

หากกรณีร้ายแรงที่แผลนั้นทำให้เนื้อเน่า วิธีเดียวในการรรักษาคือ การผ่าตัดออก

เคล็ดลับในการป้องกันแผลเบาหวาน

มีหลายวิธีที่สามารถลดโอกาสที่จะเป็นแผล

หมั่นตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเป็นวิธีเดียวที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้บาดแผลเล็กๆ กลายเป็นแผลใหญ่ หากผู้ป่วยไม่สามารถจัดการระดับน้ำตาลในเลือดได้ควรแจ้งแพทย์ พวกเขาสามารถทำงานร่วมกับคุณเพื่อเปลี่ยนแปลงยาและวิถีชีวิตของคุณที่จะป้องกันไม่ให้น้ำตาลในเลือดสูงเกินไป แม้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดของคุณจะค่อนข้างคงที่ แต่ก็ยังควรไปพบแพทย์เป็นประจำ นี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งหากคุณเป็นโรคระบบประสาทเพราะคุณอาจไม่รู้สึกถึงความเสียหายต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อของคุณ

ตรวจสอบสุขภาพผิวอยู่เสมอ และใส่ใจเท้าของคุณ มองหาแผลรอยแตก รอยแดง จุดขาว หรือบริเวณที่มีสะเก็ดแผล ซึ่งอาจจะไม่มีความรู้สึกเจ็บต่อให้มีแผลเปิดก็ตาม

แผลมักจะเกิดที่ตาตุ่ม หรือปลายนิ้วหัวแม่เท้า โปรดตรวจสอบแผลทุกๆ คืน หากพบแผลควรปรึกษาแพทย์

ห้ามสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่นั้นทำลายหลอดเลือด ลดการไหลเวียนของเลือด และทำให้การรักษาแผลทำได้ช้าลง เสี่ยงต่อการสูญเสียแขนและขา

อย่าเดินด้วยเท้าเปล่า การมีบาดแผล หรือบาดเจ็บที่นิ้วเท้าหรือเท้าสามารถนำไปสู่ความเจ็บปวดทรมานได้  การสวมรองเท้าที่ครอบคลุมทั้งเท้าสามารถช่วยป้องกันการบาดเจ็บโดยไม่ระวังได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *