ภาพรวมของโรคหัวใจสลาย อาการหัวใจสลาย (Broken heart syndrome) คือ ความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ ที่เกิดจากความเครียดและภาวะทางอารมณ์ที่รุนแรง ภาวะนี้อาจเกิดจากความเจ็บป่วยทางร่างกายที่รุนแรงหรือการผ่าตัด หรือที่เรียกว่า stress cardiomyopathy, takotsubo cardiomyopathy หรือ apical ballooning syndrome ผู้ที่เป็นโรคหัวใจสลาย อาจมีอาการเจ็บหน้าอกกะทันหันหรืออาการที่คล้ายกับอาการหัวใจวาย...
หัวใจ
ไตรกลีเซอไรด์สูง (High Trigly cerides) เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย แต่เบื้องต้นหลายคนไม่ทราบเกี่ยวกับไตรกลีเซอไรด์สูง มีการศึกษาพบว่า ระดับของไตรกลีเซอไรด์ที่สูงมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับโรคหัวใจ หัวใจวาย (Heart Attacks) และโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีคอเลสเตอรอลที่ดี ( HDL cholesterol) น้อย และในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มีหลายอย่างที่คุณสามารถทำ...
โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) คือโรคที่พบได้ยาก ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับผู้ชาย โปรตีนที่เรียกว่า องค์ประกอบการแข็งตัวของเลือด (clotting factors) ทำหน้าที่ห้ามเลือดบริเวณที่เกิดบาดแผล ผู้ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียหมายถึงคนที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเกล็ดเลือดได้อย่างเพียงพอและไม่สามารถผลิตองค์ประกอบเลือด Factor VIII หรือ Factor IX ได้ ดังนั้นผู้ที่ร่างกายปราศจากปัจจัยการแข็งตัวของเลือดทั้งสองชนิดนี้จึงเป็นผู้ที่มีเลือดออกนานเเละหยุดช้าหลังจากเกิดบาดแผล นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่เสี่ยงเกิดเลือดออกที่อวัยวะภายใน อาการเลือดออกเนื่องจากโรคฮีโมฟีเลียสามารถทำให้เสียชีวิตได้...
หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันคือภาวะที่หัวใจขาดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจถูกปิดกั้น คนที่เคยมีประสบการณ์กับภาวะหัวใจขาดเลือด (Heart Attack) มาก่อน หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด-จะเกิดอาการเจ็บหน้าอกและส่วนอื่นๆของร่างกายเช่นเดียวกับอาการอื่นๆ การค้นพบอาการในช่วงต้นๆของโรคหัวใจขาดเลือดและเตรียมรักษาไว้ก่อนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ ภาวะหัวใจขาดเลือดแตกต่างจากภาวะหัวใจหยุดเต้นที่ทำให้หัวใจการทำงานอย่างสิ้นเชิง แต่ถือว่าเป็นโรคที่เฉียบพลันทั้งคู่ และหากว่าไม่ได้รับการรักษา ภาวะหัวใจขาดเลือดก็อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจหยุดเต้นได้ บทความนี้จะบอกถึงวิธีดูอาการของภาวะหัวใจขาดเลือดและวิธีการรักษาและป้องกัน อาการของหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจขาดเลือดสามารถทำให้เสียชีวิตได้ จึงต้องจำอาการเตือนที่สำคัญต่างๆไว้ และรีบพบแพทย์ในทันที อาการต่างๆ เช่น:...
โรคไหลตาย (Brugada Syndrome) คือความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจที่พบได้ยาก แต่เป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งบางครั้งอาจถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม ผู้ป่วยกลุ่มอาการบรูกาดามีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติโดยเริ่มต้นที่หัวใจห้องล่าง การรักษากลุ่มอาการบรูกาดานั้นสามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงยาที่ออกฤทธิ์รุนแรง และยาลดไข้ หากจำเป็น อาจต้องรักษาด้วยการฝังเครื่องกระตุกหัวใจ (ICD) อาการไหลตาย คนส่วนใหญ่ที่มีอาการบรูกาดาไม่รู้ตัวว่าป่วย โดยปกติแล้วโรคนี้มักไม่แสดงอาการที่สามารถสังเกตได้ สัญญาณเตือนหรืออาการที่อาจเกี่ยวข้องกับภาวะบรูกาดา มีดังนี้ : การวิงเวียน การเป็นลม ...
ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) ไม่ใช่อาการที่หัวใจหยุดเต้น แต่คือ การที่เลือดไม่สามารถสูบฉีดไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่างกายของมนุษย์จำเป็นต้องอาศัยการสูบฉีดของหัวใจเพื่อส่งสารอาหารและออกซิเจนที่อยู่ในเลือดสามารถลำเลียงไปตามเซลล์ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ หากเซลล์ของร่างกายส่วนใดไม่ได้รับสารอาหาร และออกซิเจนที่เพียงพอก็ส่งผลให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติ ดังนั้นหากหัวใจอ่อนแอ และไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงเซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้รู้สึกเหนื่อยได้ง่าย และหายใจไม่ออก ส่งผลให้การทำกิจวัตรประจำวันที่แม้จะเป็นเรื่องง่าย ๆ ก็เป็นเรื่องที่ยากเกินความสามารถได้เลย...
อาการใจสั่น (Heart Palpitations) อาจเกิดขึ้นที่คอ ลำคอ หรือหน้าอกและอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล อาการใจสั่นอาจแตกต่างกันอย่างมากในแง่ของความรู้สึกของแต่ละคน คำอธิบายทั่วไป ได้แก่ : ใจเต้นรัว เต้นข้ามจังหวะ หรือเกินจังหวะ (หรือที่เรียกว่าใจหวิว) รู้สึกเหมือนเพิ่งออกกำลังกาย เต้นหนักขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถรู้สึกใจสั่นที่คอ ลำคอหรือหน้าอกหรือแม้กระทั่งบางครั้งในหูหากบุคคลนั้นนอนราบ สำหรับบางคนอาการใจสั่นจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วินาทีในขณะที่ในกรณีอื่น...
ภาวะหัวใจโต (Cardiomegaly)หมายถึงภาวะที่หัวใจมีขนาดโตขึ้นมากกว่าปกติ ซึ่งไม่ใช่โรคแต่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอื่นๆ ภาวะหัวใจโตที่ไม่รุนเเรงหมายถึงภาวะหัวใจโตขนาดปานกลาง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาวะหัวใจโต ผู้ที่มีภาวะหัวใจโตระดับปานกลางอาจไม่มีอาการใดๆเกิดขึ้น ภาวะหัวใจโตขนาดปานกลางสามารถหายไปเองได้ในระยะเวลาสั้นๆ วิธีการรักษาสำหรับภาวะหัวโตขึ้นอยู่กับสาเหตุ ภาพรวม ภาวะหัวใจโตภาษาอังกฤษเรียกว่า cardiomegaly เป็นภาวะที่ก่อให้เกิดอันตรายตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงรุนเเรง ภาวะหัวใจโตสามารถเกิดขึ้นจากหลายโรคได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและการติดเชื้อรวมถึงความผิดปกติทางพันธุกรรมและโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจโตเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อหัวใจโตซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการหัวใจโตโดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ หัวใจขยายตัวโตขึ้นและบีบตัวได้ไม่ดีเท่าปกติ :...
ลิ้นหัวใจทั้ง 4 ชนิดทำหน้าที่ในการยอมให้เลือดไหลผ่านไปยังหัวใจและป้องกันไม่ให้เลือดไหลผิดเส้นทาง ซึ่งลิ้นหัวใจนี้จะเปิดและปิดตามจังหวะการเต้นของหัวใจเพื่อให้มั่นใจว่าร่างกายมีเลือดมาเลี้ยงอย่างเพียงพอรวมไปถึงเกิดการไหลเวียนของระบบโลหิต ลิ้นหัวใจมี 4 ชนิดดังนี้ : ลิ้นหัวใจไมตรัล ลิ้นหัวใจเอออร์ติก ลิ้นหัวใจไตรคัสปิด ลิ้นหัวใจพัลโมนารี แพทย์มักจะเรียกลิ้นหัวใจไมตรัลและลิ้นไตรคัสปิดว่า ลิ้นเอตริโอเวนตริคลูลา (Atrioventricular Valves) นอกจากนี้ยังเรียกลิ้นหัวใจเอออร์ติกและลิ้นพัลโมนารีว่า ลิ้นเซมิลูนาร์ (semilunar valves) ...
คอเลสเตอรอลสูง (High cholesterol) คือการที่ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น และสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบหัวใจ และหลอดเลือด ระดับคอลเลสเตอรอลปกติเป็นสารที่จำเป็นต่อร่างกาย อย่างไรก็ตามถ้าหากมีคอลเลสเตอรอลเข้มข้นในเลือดมากเกินไปอาจเป็นภัยอันตรายเงียบที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ คอลเรสเตอรอลมีอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกายและมีหน้าที่สำคัญทางธรรมชาติโดยคอลเลสเตอรอลช่วยทำงานในระบบย่อยอาหารและสร้างฮอร์โมนรวมไปถึงการสร้างวิตามินดี ร่างกายสามารถสร้างคอลเลสเตอรอลได้เองและสามารถรับประทานจากอาหารได้ซึ่งอยู่ในอาหารที่มีลักษณะเป็นของมัน คอลเรสเตอรอลแบ่งเป็น 2 ชนิด : คอลเลสเตอรอลชนิดความหนาเเน่นต่ำ (LDL) หรือ “ไขมันชนิดไม่ดี” คอลเลสเตอรอลชนิดความหนาเเน่นสูง คอเลสเตอรอลสูง...
อาการของโรคอ้วนลงพุง ข้อมูลจาก AHA แพทย์มักจะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคระบบเผาผลาญบกพร่องคือผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ 3 ข้อใน 5 ข้อ มีช่วงกลางของลำตัวที่มีขนาดใหญ่หรือเป็นโรคอ้วนลงพุงโดยเฉพาะผู้ชายที่มีรอบเอวมากกว่า 40 นิ้วขึ้นไปและผู้หญิงที่รอบเอวมากกว่า 35 นิ้วขึ้นไป มีระดับน้ำตาลกลูโคสที่ปริมาณ 100 mg/dL หรือมากกว่า มีความดันเลือด 130/85 mm/Hg...
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease) คืออาการที่เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดเส้นแดงในหัวใจเกิดแคบลง โดยเส้นเลือดแดงนี้ทำหน้าที่นำเลือดที่มีออกซิเจนเข้ามาหล่อเลี้ยงที่หัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (CHD) มีแนวโน้มเกิดขึ้นเมื่อมีก้อนไขมันสะสมคอลเลสเตอรอลเกิดขึ้นบนผนังหลอดเลือดซึ่งก้อนไขมันสะสมที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ผนังหลอดเลือดแคบลงกระแสเลือดจึงไหลเข้าสู่หัวใจได้น้อย นอกจากนี้ก้อนไขมันยังขัดขวางการไหลของกระเเสเลือดจึงทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพร้ายเเรงขึ้นได้ หลอดเลือดโคโรนารีเป็นหลอดเลือดที่อยู่บนพื้นผิวของหัวใจทำหน้านำเลือดที่มีออกซิเจนเข้ามาหล่อเลี้ยงที่หัวใจ ถ้าหากหลอดเลือดเส้นนี้แคบลง หัวใจอาจไม่ได้รับเลือดที่มีออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอ โดยเฉพาะตอนที่หัวใจกำลังทำงาน บางครั้งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (CHD) สามารถทำให้เกิดโรคหัวใจวายได้ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ “เป็นโรคหัวใจที่เกิดขึ้นมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา” โดยทุกปีมีประชากรมากกว่า...
ความคิดเห็นล่าสุด