เนื้องอกในมดลูกคืออะไร
เนื้องอกในมดลูก (Uterine Fibroids) บางครั้งแพทย์อาจเรียกว่า เนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูก (leiomyomas) หรือ เนื้องอกในกล้ามเนื้อ (Myomas) เป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นในมดลูก และมีโอกาสน้อยมากที่จะกลายไปเป็นมะเร็งมดลูก หากท่านมีเนื้องอกในมดลูกไม่ได้หมายความว่าท่านเป็นมะเร็งมดลูก
เนื้องอกสามารถเปลี่ยนแปลงขนาด รูปร่าง และตำแหน่งได้ อาจเกิดขึ้นได้ในมดลูก ผนังมดลูก หรือบนพื้นผิวของมดลูก โดยจะยึดติดกับมดลูกด้วยตัวยึดที่ดูคล้ายก้านหรือแท่ง
เนื้องอกบางจุดจะมีขนาดเล็กมากจนแพทย์ไม่สามารถตรวจพบด้วยตาเปล่า และบางครั้งจะเกิดขึ้นเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ ซึ่งจะส่งผลให้มดลูกเกิดอาการผิดรูปไปจากเดิม
เนื้องอกในมดลูกสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงในทุกช่วงวัย แต่มักจะพบได้บ่อยในหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีช่วงอายุระหว่าง 30-40 ปี และพบในผู้หญิงเชื้อสายอัฟริกัน-อเมริกันมากกว่าผู้หญิงอเมริกันผิวขาวทั่วไป โดยมีแนวโน้มว่าจะพบในผู้หญิงอัฟริกัน-อเมริกันที่ยังมีอายุน้อยกว่า และเนื้องอกจะขยายขนาดได้เร็วกว่าหากเกิดในผู้หญิงเชื้อสายอัฟริกัน-อเมริกัน ซึ่งแพทย์ยังไม่ทราบถึงสาเหตุว่า ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
อาการของผู้ที่เป็นเนื้องอกในมดลูก
เนื้องอกในมดลูกอาจไม่มีความจำเป็นต้องรักษา ขึ้นอยู่กับว่ามันสร้างปัญหาให้เราหรือไม่
เนื้องอกไม่ได้มีขนาดใหญ่ขึ้นไปหมดทุกก้อน แม้ว่าจะมีขนาดโตขึ้นมากก็อาจไม่แสดงอาการใดๆ ให้เห็น และส่วนใหญ่จะค่อยๆ ฝ่อและหดตัวลงไปหลังวัยหมดประจำเดือน
อย่างไรก็ตาม ควรจะตรวจความผิดปกติของการเติบโต หรือขนาดอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการปวดหรือมีเลือดออก หรือควรได้รับการตรวจภายในเป็นประจำทุกปี
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นเนื้องอกในมดลูก
ผู้หญิงหลายคนที่เป็นเนื้องอกในมดลูกแต่ไม่รู้ตัวว่าเป็น เนื่องจากไม่แสดงอาการใดๆ ที่บ่งชี้ว่ากำลังเป็นเนื้องอกในมดลูก
เราอาจไม่รู้ว่าเป็นเนื้องอกในมดลูกจนกว่าจะได้รับการตรวจภายในจากแพทย์ แพทย์จะทราบรูปร่างที่ผิดปกติของมดลูกจากการกดบริเวณมดลูกในขณะที่ทำการตรวจภายใน หากพบอาการผิดปกติดังกล่าว แพทย์อาจแนะนำให้ไปตรวจให้ละเอียดเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นเนื้องอกจริงหรือไม่ โดยใช้วิธีดังนี้
อัลตราซาวด์ (Ultrasound)
โดยปกติ อัลตราซาวด์ จะเป็นวิธีการอันดับแรก ที่แพทย์มักจะใช้ในการตรวจหาเนื้องอกในมดลูก อัลตราซาวด์เป็นการตรวจโดยส่งคลื่นเสียงเข้าไปในมดลูกเพื่อทำให้เกิดคลื่นสะท้อนกลับมาเป็นภาพ ซึ่งภาพที่สะท้อนกลับมาจะแสดงให้แพทย์เห็นว่าเรามีเนื้องอกหรือไม่ อยู่ตำแหน่งใด ขนาดเล็ก หรือใหญ่เท่าใด
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Magnetic Resonance Imaging (MRI)
หากผลจากอัลตราซาวด์ให้ข้อมูลไม่เพียงพอ แพทย์อาจต้องการให้คุณตรวจโดยวิธี MRI วิธีนี้สามารถช่วยให้แพทย์รู้ว่าเนื้องอกที่เกิดขึ้นเป็นเนื้องอกชนิดใด ซึ่งจะช่วยให้แพทย์กำหนดวิธีการรักษาได้ถูกต้องได้มากยิ่งขึ้น
การตรวจด้วยวิธีนี้ แพทย์จะฉีดสีเข้าที่แขน เพื่อจะได้มองเห็นเนื้องอกได้ชัดเจนขึ้น คนที่ได้รับการตรวจจะนอนลงบนเตียงและผ่านเข้าเครื่อง MRI ประมาณ 45 ถึง 60 นาที
นักเทคนิคการแพทย์จะถ่ายภาพบริเวณอุ้งเชิงกรานของผู้ได้รับการตรวจ ซึ่งสามารถแสดงภาพที่มีรายละเอียดของเนื้องอก แพทย์จะรู้ถึงขนาด ตำแหน่ง และจำนวนของเนื้อนอกที่เกิดขึ้นทั้งหมด
Hysterosonography
การตรวจนี้บางครั้งเรียกว่า sonogram เป็นการฉีดน้ำเกลือเข้าไปในมดลูก เพื่อให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งจะช่วยให้แพทย์เห็นเยื่อบุมดลูก เนื้องอก และบริเวณเนื้อเยื่อได้ชัดเจนยิ่งชึ้น ซึ่งภาพเอ็กซ์เรย์ไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเท่าใดนัก
แพทย์จะให้ทำการตรวจโดยวิธีนี้ หลังการงดมีเพศสัมพันธ์มาแล้วประมาณ 2-3 วัน และประมาณ 7 วันหลังจากสิ้นสุดประจำเดือน การตรวจวิธีนี้บางคนจะไม่มีอาการปวดในระหว่างหรือหลังการตรวจ และพบว่าส่วนใหญ่จะเป็นตะคริว แต่สามารถกลับไปทำกิจกรรมต่างๆ ตามปกติได้ทันทีหลังการตรวจ
การรักษาเนื้องอกมดลูก
เนื้องอกในมดลูกอาจจะไม่มีความจำเป็นต้องรักษา ขึ้นอยู่กับว่ามันสร้างปัญหาให้เราหรือไม่
เนื้องอกอาจไม่ได้มีขนาดโตขึ้นทุกก้อน หรือแม้ว่าจะมีขนาดโตขึ้นมาก ก็อาจไม่แสดงอาการใดๆ ให้เห็น และส่วนใหญ่จะค่อยๆ ฝ่อและหดตัวลงหลังวัยหมดประจำเดือน
อย่างไรก็ตาม ควรจะทำการตรวจความผิดปกติของการเติบโต หรือขนาดของมันอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการปวด หรือมีเลือดออกร่วมด้วย หรือควรได้รับการตรวจภายในประจำทุกปี
นี่คือที่มาของแหล่งบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/uterine-fibroids/symptoms-causes/syc-20354288
- https://www.webmd.com/women/uterine-fibroids/default.htm
- https://www.medicinenet.com/uterine_fibroids/article.htm