

อาการเจ็บปวดในช่องท้องคืออะไร
อาการปวดท้อง (Abdominal Pain) เกิดจากปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารเป็นสาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ความผิดปกติหรืออาการระคายเคืองของอวัยวะที่อยู่ภายในช่องท้องหรือเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในช่องท้องทำให้เกิดความเจ็บปวดไปทั่วท้อง
หลายคนคิดว่าอาการปวดภายในช่องท้องเป็นการปวดท้องทั่วไป อย่างไรก็ตามภายในช่องท้องประกอบไปด้วยอวัยวะที่สำคัญเช่นกล้ามเนื้อ หลอดเลือดและเนื้อเยื่อที่เกี่ยวพันกับอวัยวะภายในอื่นๆได้แก่
- กระเพาะอาหาร
- ไต
- ตับ
- ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่
- ไส้ติ่ง
- ตับอ่อน
- ถุงน้ำดี
- ม้าม
เส้นเลือดแดงใหญ่ที่ไหลเข้าสู่หัวใจชื่อว่า aorta และหลอดเลือดดำที่วิ่งเข้าสู่หัวใจมีการลำเลียงเลือดผ่านช่องท้องด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ท้องยังเปรียบเสมือนบ้านของกล้ามเนื้อลำตัวโดยกล้ามเนื้อหลักสี่กลุ่มที่หน้าท้องทำให้ลำตัวมีความมั่นคงและเป็นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะภายในช่องท้อง
เนื่องจากมีหลายส่วนของช่องท้องที่สามารถติดเชื้อได้ดังนั้นอาการปวดท้องจึงสามารถเกิดขึ้นจากหลากหลายสาเหตุ
สาเหตุของอาการปวดท้อง
อาการปวดท้องเป็นอาการเจ็บปวดทั่วไป ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุและหลายปัจจัย
สาเหตุทั่วไปได้แก่
1. กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (โรคไวรัสลงกระเพาะ)
ในกรณีที่เกิดอาการปวดท้องร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียนและอุจจาระเป็นของเหลวเป็นอาการที่เกิดขึ้นทันทีและเกิดขึ้นถี่มากหลังจากการรับประทานอาหารปกติ
ซึ่งอาการเหล่านี้มีสาเหตุเกิดจากแบคทรีเรียหรือไวรัสเป็นส่วนใหญ่และโดยปกติอาการเหล่านี้จะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน หากมีอาการเช่นนี้เกิดขึ้นมากกว่า 2 วันอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายเเรงได้อย่างเช่นการติดเชื้อหรืออาการอักเสบที่เกิดขึ้นจากโรคลำไส้อักเสบเป็นต้น
อาการทั่วไปที่พบได้แก่
- อาการคลื่นไส้
- อาเจียน
- มีไข้
- เกิดตะคริวภายในช่องท้อง
- อาการท้องอืด
- มีกรดแก๊สในกระเพาะอาหาร
นี่คือความแตกต่างของอาการอาหารเป้นพิษ
2. กรดแก๊สในกระเพาะอาหาร
อาการกรดแก๊สเกิดขึ้นเมื่อแบคทรีเรียในลำไส้เล็กทำลายอาหารในช่องท้องทำให้ร่างกายไม่สามารถทนได้
ความดันที่เพิ่มขึ้นจากการเกิดแก๊สในลำไส้เล็กก่อให้เกิดอาการปวดท้องแบบจุกเสียด นอกจากนี้แก๊สภายในช่องท้องยังทำให้เกิดอาการเเน่นท้องหรืออาการท้องอืดและทำให้เรอออกมา
อาหารที่ทำให้เกิดกรดแก๊สในช่องท้อง คลิกที่นี่เพื่อค้นหาอาหาที่ทำให้เกิดกรดแก๊สในช่องท้อง
3. โรคลำไส้แปรปรวน (IBS)
ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวนสามารถย่อยอาหารทั่วไปหรือย่อยอาหารบางชนิดได้น้อยลง
อาการปวดท้องเป็นอาการเริ่มต้นของผู้ป่วยหลายคนที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) และส่วนใหญ่อาการที่เกิดขึ้นมักบรรเทาเมื่อลำไส้ใหญ่เกิดการขยับตัว อาการอื่นๆทั่วไปได้แก่เกิดกรดแก็ส อาเจียน มีตะคริวในช่องท้องและอาการท้องอืด
4. โรคกรดไหลย้อน
บางครั้งกรดจากระเพาะอาหารเกิดการไหลย้อนกลับขึ้นมาที่คอซึ่งกรดที่ไหลย้อนขึ้นมากนี้มักทำให้เกิดความรู้สึกแสบร้อนและเกิดอาการเจ็บปวดตามมา
โรคกรดไหลย้อนเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการผิดปกติภายในช่องท้องเช่นอาการท้องอืดและตะคริวในช่องท้องได้
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุ อาการและการรักษาโรคกรดไหลย้อน
5.การอาเจียน
การแสดงออกของร่างกายด้วยการอาเจียนอาจทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องเกิดความเจ็บปวดขึ้นได้ มีปัจจัยมากมายที่สามารถกระตุ้นทำให้เกิดการอาเจียนได้ซึ่งมีสาเหตุตั้งแต่โรคลำไส้อุดตันไปจนถึงอาการอาหารเป็นพิษจากการดื่มแอลกอฮอล
6. โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
เมื่อเกิดการติดเชื้อที่กระเพาะอาหารหรือกระเพาะอาหารบวมขึ้นทำให้มีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้นและมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีกรดแก๊สรวมไปถึงอาการท้องอืดอาการเหล่านี้เป็นอาการทั่วไปของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
7. อาการแพ้อาหาร
เมื่อร่างกายไม่สามารถย่อยอาหารบางชนิดได้อาหารเหล่านั้นจะถูกทำลายด้วยแบคทรีเรียในกระเพาะอาหารเเละลำไส้เล็กจึงทำให้เกิดแก๊สขึ้น
เมื่อมีอาหารที่ไม่ถูกย่อยเป็นจำนวนมากเกิดขึ้นจะทำให้เกิดการสร้างแก๊สเพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดแรงดันเพิ่มขึ้นภายในช่องท้องและเกิดอาการเจ็บปวด
นอกจากนี้ยังมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องอืดท้องเฟ้อและอาการปวดท้องร่วมด้วย
8. อาการท้องผูก
เมื่อมีของเสียสะสมในลำไส้ใหญ่มากเกินไปทำให้เกิดแรงดันในลำไส้ใหญ่จึงเป็นสาเหตุของอาการปวดท้อง
อาการนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุได้แก่
- การกินอาหารที่มีไฟเบอร์น้อยหรืออาหารที่มีน้ำน้อยเกินไป
- การใช้ยาบางประเภท
- ออกกำลังกายน้อย
อาการนี้ยังเป็นสัญญาณของโรคที่เกิดจากควรผิดปกติของระบบประสาทหรือการอุดตันภายในลำไส้ใหญ่ หากเกิดอาการท้องอืดเป็นระยะเวลานานและรู้สึกไม่สบายผู้ที่มีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์
9.โรคกรดไหลย้อน (GERD)
โรคกรดไหลย้อน (GERD) เกิดจากภาวะกรดไหลย้อนที่เกิดขึ้นในระยะยาว
โรคนี้ทำให้เกิดอาการปวดท้องและอาการปวดแสบร้อนในกระเพาะอาหารรวมถึงหลอดอาหารรวมไปถึงเกิดอาการคลื่อนไส้อาเจียนได้ นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อในหลอดอาหารได้อีกด้วยอาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นเรื่องปกติและมีวิธีการรักษา
10. โรคกระเพาะอาหารหรือแผลในกระเพาะอาหาร
สาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารหรือแผลในกระเพาะอาหารมาจากแบคทรีเรีย H. pylori และการใช้ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) มากเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
11. โรคโครห์น
โรคโครห์นมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในระบบย่อยอาหารที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด เกิดแก๊สและอาการท้อง คลื่นไส้และอาเจียนรวมถึงอาการท้องอืด
หากทำให้เกิดโรคร้ายเเรงได้แต่ทั้งนี้อาการเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นร้อมกันเพราะมีช่วงที่อาการบางอย่างบรรเทาลง โรคนี้มีวิธีการรักษาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับอาการต่างๆได้
12. โรคระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อกลูเตนผิดปกติ
โรคที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อกลูเตนผิดปกติเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการแพ้กลูเตนเป็นสารโปรตีนที่สามารถพบได้ในธัญพืชอย่างเช่นข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ทำให้เกิดการติดเชื้อในลำไส้เล็กจึงทำให้เกิดอาการปวดท้อง
อาการท้องเสียและอาการท้องอืดเป็นอาการปกติของโรคนี้ เมื่อเวลาผ่านไปจะทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารทำให้น้ำหนักลดลงและอ่อนเพลีย
ผู้ที่มีอาการดังกล่าวนี้ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ประกอบไปด้วยกลูเตน
13. อาการกล้ามเนื้อหน้าท้องฉีกขาด
โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากกิจวัตรประจำวันที่ต้องใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องจึงทำให้เกิดอาการบาดเจ็บเป็นธรรมดา คนส่วนใหญ่มักเน้นการออกกำลังกายหน้าท้องอย่างหนักทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดความเสี่ยงหายต่อกล้ามเนื้อหน้าท้องเช่นการออกกำลังกายท่าซิตอัพมากเกินไปอาจทำให้กล้ามเนื้อภายในช่องท้องบาดเจ็บได้
14. อาการปวดประจำเดือนหรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
ประจำเดือนสามารถก่อให้กิดการติดเชื้อและความเจ็บปวดภายในช่องท้องได้ตามมาด้วยอาการท้องอืด มีแก๊สในท้อง เกิดตะคริวในท้องและอาการท้องผูกซึ่งอาการเหล่านี้สามารถขึ้นระหว่างเป็นประจำเดือนได้จึงทำให้แน่นท้องเเละไม่สบายท้อง
ผู้หญิงที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่มักมีอาการติดเชื้ออย่างรุนเเรงหรือเกิดอาการเจ็บปวดแบบเรื้องรัง เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากเนื้อเยื่อเจริญเติบโตผิดปกติในมดลูกซึ่งเนื้อเยื่อนี้เติบโตกลายเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายโดยปกติจะเกิดขึ้นในบริเวณกระดูกเชิงกรานบางครั้งสามารถเกิดที่บริเวณอื่นๆได้เช่นกัน
15. โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบและโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบส่วนใหญ่เกินจากการติดเชื้อจากแบตทรีเรียประเภท E.coli ที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะและทางเดินปัสสาวะ เป็นสาเหตุทำให้กระเพาะปัสสาวะติดเชื้อหรือโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
อาการที่เกิดขึ้นได้แก่อาการเจ็บปวด มีแรงดันในช่องท้องและอาการท้องอืดท้องเฟ้อที่ท้องส่วนล่าง นอกจากนี้การติดเชื้อส่วนใหญ่ยังทำให้เกิดอาการเจ็บปวดตอนปัสสาวะและปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น
สาเหตุอื่นๆ
อาการปวดท้องในบางกรณีอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายเเรงที่สามารถทำให้เสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาทันที
สาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องได้แก่
- ไส้ติ่ง (ไส้ติ่งเเตก) หรือ อวัยวะอื่นๆภายในช่องท้องแตก
- โรคการติดเชื้อในไตหรืออาการเกิดนิ่วในไต
- โรคตับอักเสบ (อาการอักเสบที่เกิดขึ้นในตับ)
- เกิดการสะสมของนิ่วในถุงน้ำดี
- อาหารเป็นพิษ
- เกิดการติดเชื้อจากพยาธิ
- อวัยวะภายในช่องท้องเกิดการติดเชื้อหรือฉีกขาดทำให้อวัยวะนั้นๆขาดเลือดเข้ามาหล่อเลี้ยง
- อาการที่เกี่ยวข้องกับหัวใจเช่นอาการหัวใจแบบเจ็บไม่ตรงแบบหรืออาจไม่เจ็บก็ได้หรือเลือดคลั่งในหัวใจ
- โรงมะเร็งโดยเฉพาะโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โรคมะเร็งที่ตับอ่อนหรือโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่
- โรคไส้เลื่อน
- เกิดซีสต์หรือถุงน้ำที่สะสมในอวัยวะภายในช่องท้อง
ควรไปพบแพทย์เมื่อไหร่
อาการปวดท้องส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตรายมากและอาการที่เกิดขึ้นสามารถหายไปได้เองด้วยการรักษาตัวเองที่บ้านอย่างเช่นการดื่มน้ำเพิ่มขึ้นให้มากๆและสามารถหาซื้อยาทานเองได้ตามร้านขายยาทั่วไปหรือช่องทางออนไลน์เช่นยาลดกรดในกระเพาะอาหารและยาที่ช่วยปรับสภาพความเป็นกรดภายในกระเพาะอาหารที่ช่วยลดและจัดการกับอาการปวดท้องได้
อาการที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้ควรเข้าพบแพทย์ได้แก่
- น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- unexplained exhaustion อาการอ่อนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- การขยังตัวในลำไส้ใหญ่เปลี่ยนแปลงหรือถูกรบกวนเช่นเกิดลำไส้ใหญ่อุดตันเรื้อรังหรืออาการท้องเสียที่ไม่หายภายใน 2-3 วันหรือไม่กี่ชั่วโมง
- มีเลือดออกที่ช่องทวารหรือขับถ่ายเป็นเลือด
- เกิดความผิดปกติในช่องคลอด
- เกิดอาการเจ็บปวดเรื้อรังหลังจากทานยาที่หาซื้อเองหรือหลังจากหยุดใช้ยาตามที่หมอสั่ง
- มีสัญญาณของการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
อาการที่ต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วได้แก่
- อาการปวดท้องที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันเเละรุนเเรง โดยเฉพาะอาการปวดท้องที่มีไข้สูง
- อาการปวดท้องรุนเเรงมาก
- ขับถ่ายเป็นเลือดหรืออุจจาระมีสีดำเข้มเเละเหนี่ยว
- อาการอาเจียนที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะอาเจียนออกมาเป็นเลือด
- ปวดท้องมากจนไม่สามารถสัมผัสท้องได้
- เกิดอาการปัสสาวะขัด
- ไม่สามารถควบคุมการผายลมได้
- อาการปวดท้องที่รุนเเรงและเลวร้ายเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน
- เกิดอาการเเน่นที่หน้าอกและจุกเสียดโดยเฉพาะบริเวณซีโครงไปจนถึงบริเวณท้อง
- อาการปวดท้องอย่างรุนเเรงที่เกิดขึ้นทั้งตอนนอนเเละยืน
แม้ว่าอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้น้อยแต่เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ที่มีอาการเหล่านี้ควรได้รับการรักษาจากทีมเเพทย์โดยด่วน
การรักษาอาการปวดท้อง
สำหรับการรักษาอาการปวดท้องนั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็น หากอาการปวดท้องเนื่องมาจากอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ผู้ป่วยสามารถซื้อยามารับประทานเพื่อบรรเทาอาการเองได้ จำพวกยาลดกรดในกระเพาะอาหาร แต่หากอาการปวดท้องที่มีนั้นเป็นระยะเวลานาน มีอาการปวดที่รุนแรง ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยเนื่องจากอาการปวดท้องบางประเภทอาจจะต้องรักษาอย่างเร่งด่วน หรือมีการผ่าตัดเข้าร่วมเช่น ไส้ติ่ง หากผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับยาที่แพทย์เห็นว่าเหมาะสมกับอาการ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.healthline.com/health/abdominal-pain
- https://www.nhs.uk/conditions/stomach-ache/
- https://www.mayoclinic.org/symptoms/abdominal-pain/basics/causes/sym-20050728
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก