ฝี (Abscess) คือตุ่มหนองที่เกิดการอักเสบ ฝีสามารถเกิดขึ้นกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็ได้ ฝีเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย จะมีอาการเจ็บปวดเมื่อสัมผัส หนองที่บีบออกมานั้นมีกลิ่น และมีขนาดใหญ่
ฝี มีอยู่ 2 ประเภทคือ:
- ฝีที่อยู่บนผิวหนัง – ซึ่งส่วนใหญ่เกิดอยู่ที่ใต้ผิวหนัง
- ฝีที่เกิดภายในร่างกาย – ซึ่งเกิดขึ้นในอวัยวะภายในร่างกาย หรือเกิดขึ้นในที่ว่างระหว่างอวัยวะภายในร่างกาย
อาการของฝี
ลักษณะของฝีที่ปรากฏบนผิวมักเป็นอาการบวมและมีหนองที่มีขนาดใหญ่อยู่ใต้ผิวหนัง ซึ่งโรคฝีที่เป็นอยู่อาจมีอาการอื่นที่เกิดจากการติดเชื้อด้วย เช่นการมีไข้ มีอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้น และมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย
อาการที่เกิดจากการเป็นฝีที่เกิดขึ้นในอวัยวะภายใน ซึ่งอาจพบอาการได้ยาก แต่อาจเป็นสัญญาณที่ทำให้พบฝีภายในอวัยวะได้ เช่น:
- มีอาการปวดในบริเวณที่เป็นฝี
- อุณหภูมิในร่างกายสูง
- มีความรู้สึกไม่สบายตัว
เมื่อไรควรพบแพทย์ผิวหนัง
หากผู้ป่วยมีอาการฝีที่รุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ผิวหนัง เพื่อให้แพทย์ทำการตรวจฝีที่อยู่บนร่างกาย
มีการตรวจอาการของฝีอีกมากมายที่สามารถช่วยในการวินิจฉัยฝีได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับบริเวณที่เป็นฝีว่าเป็นฝีที่ภายนอกร่างกายหรือว่าเป็นฝีที่ภายในร่างกาย
สาเหตุการเกิดฝี
ส่วนมากสาเหตุการเกิดฝีมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถติดเชื้อภายนอกหรือภายในก็ได้
เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้ามาในร่างกายแล้ว ภูมิคุ้มกันก็มีเซลล์เม็ดเลือดขาวไปที่ทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย และเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวต่อต้านเชื้อแบคทีเรียไม่สำเร็จ เนื้อเยื่อที่ถูกทำลายนั้นเกิดหลุมที่ผิวซึ่งเต็มไปด้วยหนอง จนทำให้เกิดการเป็นฝี ซึ่งหนองเกิดจากการผสมผสานกันระหว่าง เนื้อเยื่อที่ตายแล้ว เซลล์เม็ดเลือดขาวและเชื้อแบคทีเรีย
ส่วนฝีที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย สามารถพัฒนามาเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นได้ เช่นการติดเชื้ออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งภายในร่างกาย อย่างเช่น หากคุณมีอาการไส้ติ่งแตกจนเกิดเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ ทำให้เชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายไปยังช่องท้องและทำให้เกิดฝีที่ช่องท้องได้
การรักษาฝี
การรักษาฝีที่มีขนาดเล็ก อาจมีหนองไหลและแห้งออกมาเองโดยไม่ต้องมีวิธีรักษาฝีใดเลย และอาการฝีก็จะหายไปเอง
แต่อย่างไรก็ตามหากมีอาการฝีขนาดใหญ่ จนเป็นฝีอักเสบ อาจต้องรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดการติดเชื้อและมีการผ่าตัดเพื่อระบายหนองฝีออกมาจากแผล ซึ่งปกติแล้ว แพทย์จะทำการผ่าตัดโดยใช้เข็มที่เล็กสอดเข้าไปในฝีหรือทำเป็นเป็นแผลเล็กแล้วใช้เข็มสอดเข้าไปเพื่อระบายฝีออกมาให้หมด เมื่อผ่าตัดเสร็จแล้ว แพทย์จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อลดการติดเชื้อ และทำให้แผลแห้งสนิท ซึ่งการรักษาฝีอักเสบนี้ก็ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ว่า ฝีมีขนาดใหญ่แค่ไหน มีอาการที่รุนแรงหรือไม่ เพื่อที่จะรักษาให้ถูกวิธี
การป้องกันการเกิดฝี
ส่วนใหญ่แล้วสาเหตุการเกิดฝีมาจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในรูขุมขน ซึ่งส่วนใหญเกิดขึ้นที่รากผมที่เกิดการอุดตันของน้ำมันบนศีรษะหรือต่อมเหงื่อเกิดการอุดตัน
การทำความสะอาดผิวหนังให้สะอาดนั้น ช่วยให้ผิวมีสุขภาพที่ดีและปราศจากเชื้อโรค ทำให้ลดการติดเชื้อของแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฝี
คุณสามารถลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการฝีได้ โดยการทำวิธีต่อไปนี้:
- หมั่นล้างมือเป็นประจำ
- ใช้ผ้าเช็ดตัวส่วนตัวของตนเองและไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
- ก่อนที่คุณจะใช้อุปกรณสาธารณะร่วมกับคนอื่นเช่นอุปกรณ์ออกกำลังกาย ห้องซาวน่า หรือสระว่ายน้ำ รอให้อาการฝีหายเสียก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการติดเชื้อซ้ำอีกครั้ง
อย่าบีบฝีออกด้วยตัวเอง เพราะทำให้เชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้ หากคุณใช้กระดาษชำระเช็ดหนองที่ออกมา ทิ้งกระดาษที่เช็ดหนองทิ้งลงถังขยะเพื่อป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายของเชื้อโรค และล้างมือให้สะอาดหลังจากที่คุณเช็ดหนองเสร็จแล้ว
ระมัดระวังการใช้มีดโกน เมื่อใช้โกนขนที่หน้า ขา รักแร้ หรือขอบแนวบิกีนี่ เพื่อไม่ให้โกนแล้วถูกผิวหนัง และไม่ควรใช้มีดโกนหรือแปรงสีฟันร่วมกับผู้อื่นโดยเด็ดขาด
การทำสิ่งเหล่านี้อาจลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดฝี ได้ดังนี้:
- รักษาสุขภาพให้แข็งแรงและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ลดน้ำหนักลงหากคุณมีน้หนักตัวมากเกินไป
- หยุดสูบบุหรี่
ประเภทของฝี
มีฝีประเภทอื่นมากมายที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ซึ่งมีดังต่อไปนี้:
- ฝีบริเวณทวารหนัก – เป็นฝีที่เกิดภายในทวารหนัก(จะเกิดที่ลำไส้ตรงและทวารหนัก)
- ถุงน้ำต่อมบาร์โธลิน – เป็นฝีที่เกิดในต่อมบาร์โธลิน ซึ่งตรงผิวหนังบริเวณแคมอวัยวะเพศหญิง
- ฝีในสมอง – เป็นฝีที่พบได้ยากมาก แต่หากปล่อยไว้นาน ก็เป็นอันตรายถึงกระโหลกศีรษะได้
- ฝีโพรงที่ฟัน – เป็นฝีหนองที่อยู่ภายใต้ฟัน เหงือก และกระดูกกรามใต้ฟัน
- ฝีรอบทอนซิล (หนองบริเวณรอบต่อมทอนซิล) – เป็นฝีที่เกิดขึ้นระหว่างต่อมทอนซิลและผนังลำคอ
- ฝีบริเวณก้น – เป็นฝีที่เกิดขึ้นที่รอยแยกหรือร่องก้น
- ฝีบริเวณรอบไขสันหลัง – เป็นฝีที่เกิดขึ้นบริเวณรอบไขสันหลัง
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.webmd.com/a-to-z-guides/abscess
- https://www.healthline.com/health/skin-abscess
- https://medlineplus.gov/abscess.html
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก