โรคปากนกกระจอก (Angular Cheilitis) คือ ภาวะการอักเสบที่มุมปากเกิดเป็นรอยบวมแดงในมุมปากและเป็นแผลหรือเป็นแผลที่มุมปาก ปากแห้งและแตกบริเวณที่ริมฝีปาก
โรคปากนกกระจอกสามารถเกิดได้ที่มุมปากทั้งสองข้างได้ในเวลาเดียวกัน
อาการ
สิ่งสำคัญที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนของการเป็นโรคปากนกกระจอกคือความระคายเคืองรวมไปถึงอาการเจ็บที่มุมปาก มุมหนึ่งหรือทั้งสองมุมอาจมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยเช่น
- มุมปากมีเลือดออก
- เป็นแผลฉีกขาดหรือพุพอง
- ปากแห้งแตก
- คัน
- เจ็บปวด
- เป็นสะเก็ด
- ปูดบวม
ผู้ป่วยจะรู้สึกแสบร้อนที่บริเวณริมฝีปาก เจ็บปากขณะทานอาหาร หากมีการระคายเคืองรุนแรงอาจทำให้ทานอาหารยาก จนทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรืออาจทำให้น้ำหนักตัวลดได้
สาเหตุ
โรคปากนกกระจอกส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อราที่ผิวหนัง ซึ่งถือเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคนี้คือเชื้อแคนดิดา (Candida) ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคผื่นผ้าอ้อมในเด็กทารก นอกจากนี้ โรคปากนกกระจอกยังเกิดจากสาเหตุอื่นๆอีก
- น้ำลายจากการเลียปาก เนื่องจากน้ำลายจะหมักหมมอยู่บริเวณมุมปาก ทำให้ปากแห้งและแตก เมื่อเลียมุมปากที่แห้ง จะทำให้เชื้อราตรงแผลที่มีอยู่ก่อนแล้วเจริญและแบ่งเซลล์มากขึ้น จนนำไปสู่การติดเชื้อได้
- เกิดการติดเชื้อที่ปาก ผู้ป่วยอาจติดเชื้อต่าง ๆ ที่ปาก โดยเชื้อนั้นได้ลุกลามขึ้น เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราจากโรคเชื้อราในช่องปาก หรือเชื้อไวรัสจากโรคเริมที่ริมฝีปาก
- ขาดวิตตามินบี2
ใครอยู่ในความเสี่ยง
ผู้ที่มีความเสี่ยงและแนวโน้มที่จะเป็นโรคปากนกกระจอก ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่น
- มีเครื่องมือจัดฟันอยู่ในปาก
- มีน้ำลายมาก
- มีผิวหย่อนคล้อยรอบปาก
- ชอบดูดนิ้วโป้ง
- ได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอหรือขาดวิตามินบี2 หรือธาตุเหล็ก
เงื่อนไขทางสุขภาพบางอย่างที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นเช่น
- โรคโลหิตจาง
- โรคมะเร็งของเลือด
- โรคเบาหวาน
- ดาวน์ซินโดรม
- ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันเช่น HIV
- มะเร็งไตตับปอดหรือตับอ่อน
โรคปากนกกระจอกและโรคเบาหวาน
เป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่จะมีอาการของโรคปากนกกระจอกร่วมด้วยเนื่องจากการติดเชื้อ (เชื้อราเช่น Candida )จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ร่างกายต้องการใช้น้ำตาลในเลือดเพื่อเป็นแหล่งพลังงาน หากเป็นโรคเบาหวานก็จะมีกลูโคสในเลือดมากเกินไป ซึ่งการที่มีระดับกลูโคสที่มากเกินไปจะไปกระตุ้นให้เชื้อรา เจริญได้มากขึ้น เช่นกันทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงและส่งผลให้เกิดการติดเชื้อเกิดได้ง่ายขึ้น
คุณสามารถป้องกันสภาวะการเป็นโรคปากนกกระจอกได้โดยการรักษาระดับน้ำตาลในเลือด เลือกทานอาหารสุขภาพ ออกกำลังกายและใช้อินซูลินย่างถูกต้อง สิ่งสำคัญคือไม่ควรสูบบุหรี่
การวินิจฉัยโรค
แพทย์จะตรวจสอบปากของคุณอย่างใกล้ชิดเพื่อดูรอยแตก สีแดง บวม หรือแผลพุพอง และซักประวัติอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับนิสัยและชีวิตประจำวันของคุณที่มีผลต่อการวินิจฉัยโรคปากนกกระจอก
แต่ในบางครั้งแพทย์อาจจะต้องเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือรอยแผลบริเวณรอบๆเพื่อไปส่งตรวจหาเชื้อโรคที่แท้จริงว่าเป็นเชื้อรา Cheilitis หรือเชื้อแบคทีเรีย labialis หรือ lichen planus ในห้องปฏิบัตการ เพื่อให้แน่ใจถึงสาเหตุเพราะมีอาการที่คล้ายคลึงกัน
การรักษาโรคปากนกกระจอก
การรักษาเน้นการกำจัดเชื้อโรคและทำให้แผลบริเวณที่เป็นนั้นแห้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ แพทย์จะแนะนำครีมต้านเชื้อราเพื่อรักษาการติดเชื้อ เช่น
- clotrimazole (Lotrimin)
- ketoconazole (Extina)
- nystatin (Mycostatin)
- miconazole (Lotrimin AF, Micatin, Monistat Derm)
หากการติดเชื้อเกิดจากเชื้อแบคทีเรียแพทย์จะสั่งยาต้านเชื้อแบคทีเรียเช่น
- fusidic acid (Fucidin, Fucithalmic)
- mupirocin (Bactroban)
แต่ทว่าการเป็นโรคปากนกกระจอกที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อของเชื้อราหรือแบคทีเรียแพทย์อาจแนะนำให้คุณใช้ปิโตรเลียมเจลลี่ทาบริเวณที่อักเสบ เป็นการป้องกันปากจากความชุ่มชื้นเพื่อให้แผลที่มุมปาก
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.healthline.com/health/angular-cheilitis
- https://www.self.com/story/angular-cheilitis-facts
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1949217/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก