ต้อกระจก (Cataracts) : อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

ต้อกระจก (Cataracts) : อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

18.09
4366
0

โรคต้อกระจก (Cataracts) คือ ความผิดปกติที่ขุ่นมัวในเลนส์ตา ซึ่งโดยปกติจะโปร่งใส โดยสาเหตุหลักของการสูญเสียการมองเห็นในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป

ต้อกระจกมีผลให้ส่วนหนึ่งของเลนส์ตาขุ่นมัว แสงไม่สามารถส่องผ่านได้ง่ายเหมือนปกติ และการมองเห็นจะพร่ามัว เช่น การมองผ่านหน้าต่างที่มีหมอกลง เลนส์ตาที่ขุ่นมัวจะยิ่งทำให้การมองเห็นแย่ลง

โรคต้อกระจกสามารถเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด ในบางครั้งอาจพบโรคนี้ในช่วงวัยทารกหรือวัยเด็ก

ส่วนโรคต้อกระจกที่เกี่ยวกับอายุที่เพิ่มขึ้น จะเกิดขึ้นในภายหลัง และเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด โดยบทความนี้จะมุ่งเน้นไปที่ต้อกระจกที่เกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้น

นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวว่า ในแต่ละปีมีผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคตาต้อกระจกรายใหม่ 60,000 คน ขณะที่มีผู้ป่วยสะสมรอรับการผ่าตัดกว่า 100,000 คน ซึ่งหากยังปล่อยให้สภาวะดำเนินไปเช่นนี้ จะส่งผลให้ตัวเลขผู้ป่วยสะสมทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้สูงอายุและครอบครัว สปสช.จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขใช้แนวทางการบริหารจัดการโรคเฉพาะ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้มากขึ้น ลดจำนวนผู้ป่วยสะสม เริ่มตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา และให้บริการด้วยคุณภาพและมาตรฐานตามที่ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์กำหนด มีการกำหนดแนวทางการชดเชยที่เหมาะสม ชัดเจนแก่โรงพยาบาลที่รักษา ทำให้ผู้ป่วยตาต้อกระจกเข้าถึงบริการมากขึ้น ลดการรอคิว ลดจำนวนผู้ป่วยสะสม และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนไทย ผลการดำเนินงาน มีผู้ได้รับการผ่าตัดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เฉลี่ยปีละ 100,000 ราย โดยล่าสุดในปี 2555 มีผู้ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกและการเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียม 141,574 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 142 จากเป้าหมาย 100,000 ครั้ง

Cataracts

อาการของต้อกระจก

โดยปกติต้อกระจกจะใช้เวลาหลายปีในการก่อตัว และพบมากในผู้สูงอายุ ส่งผลให้เลนส์ตาขุ่นมัว

ต้อกระจกทำให้อ่านหนังสือหรือขับรถได้ยาก โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน และการมองเห็นใบหน้าของคนนั้นเป็นไปได้ยากขึ้น

เนื่องจากต้อกระจกจะพัฒนาอย่างช้าๆ ผู้ป่วยจึงจะไม่รู้ตัวในระยะเริ่มแรก จนกว่าที่อาการจะทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นแย่ลงจนสังเกตได้

ต้อกระจกมักเกิดกับดวงตาทั้งสองข้าง แต่อาจจะมีความรุนแรงไม่เท่ากัน โดยอาการของคนเป็นต้อกระจกมีดังนี้:

  • การมองเห็นไม่ชัดมีขุ่นมัว คล้ายมีหมอกบังตา
  • การมองเห็นอาจได้รับผลกระทบ ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นจุดเล็ก ๆ โดยทำให้การมองเห็นภาพรวมเบลอ
  • เมื่ออยู่ในไฟสลัวการมองเห็นจะแย่ลงมาก
  • เมื่ออยู่ในสภาวะแสงจ้าการมองเห็นจะแย่ลงมาก
  • ไม่สามารถแยกแยะสีได้ชัดเจน
  • ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ชัดเจนตามปกติ
  • ค่าสายตาเปลี่ยนแปลงบ่อย
  • การสวมแว่นตาไม่ช่วยบรรเทาอาการ
  • มองเห็นรัศมีรอบ ๆ วัตถุสว่าง เช่น ไฟหน้ารถ หรือไฟถนน หรือมีการมองเห็นภาพซ้อนในตาข้างเดียว

เมื่อการมองเห็นแย่ลง และแสงจ้าของไฟบนท้องถนนทำให้การมองเห็นแย่ลง การขับรถจะกลายเป็นอันตราย ผู้ขับขี่ที่เป็นต้อกระจกจะเริ่มจากมีอาการปวดตา และพบว่าตนเองกะพริบตาบ่อยขึ้น เพื่อพยายามทำให้การมองเห็นชัดเจนขึ้น

โดยปกติแล้วต้อกระจกจะไม่เปลี่ยนลักษณะของตา หรือสร้างปัญหาในเรื่องความรู้สึกไม่สบาย เช่น การระคายเคือง ปวด คันหรือผื่นแดง หากมีอาการเหล่านี้มักเกิดจากโรคตาอื่น ๆ

ต้อกระจกไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของบุคคล หากต้กระจกกลายเป็นสีขาวจนหมด อาจมีอาการอักเสบ ปวดศีรษะ และปวดตาบ้าง หากทำให้เกิดอาการดังกล่าว ผู้ป่วยจำเป็นต้องลอกต้อกระจกออก

ประเภทของต้อกระจก

ต้อกระจกมีหลายประเภทมาก สามารถแบ่งประเภทตามสาเหตุการเกิดได้ดังนี้

  • ต้อกระจกในวัยสูงอายุ (Age-related Cataract) อายุที่เพิ่มมากขึ้นเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต้อ กระจกที่พบได้บ่อยที่สุด เนื่องจากระบบโครงสร้างของกระจกตาที่มักเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาและ ภาวะเสื่อมของเลนส์แก้วตาที่มีความยืดหยุ่นและโปร่งใสน้อยลง  
  • ต้อกระจกแต่กำเนิด (Congenital Cataract) ทารกสามารถเป็นต้อกระจกได้ตั้งแต่แรกเกิด โดย อาจเกิดได้จากพันธุกรรม การติดเชื้อ การได้รับอันตรายหรือมีพัฒนาการระหว่างอยู่ในครรภ์ไม่ดี ทารกที่พบว่าเป็นต้อกระจกแต่กำเนิด ได้แก่ ภาวะกาแล็กโทซีเมีย โรคหัดเยอรมัน หรือโรคเท้าแสน ปมชนิดที่ 2 ก็อาจนำมาซึ่งการเกิดต้อกระจกชนิดนี้ เด็กเล็กบางคนอาจแสดงอาการในภายหลัง โดย มักเป็นทั้งสองข้าง บางครั้งต้อกระจกนี้เล็กมากจนไม่ส่งผลต่อการมองเห็น แต่เมื่อพบว่ามีผลกระทบ ต่อการมองเห็นจึงจะผ่าออก  
  • ต้อกระจกทุติยภูมิ (Secondary Cataract) การผ่าตัดรักษาโรคตาชนิดอื่นอย่างเช่นต้อหิน การป่วย เป็นม่านตาอักเสบ หรือตาอักเสบ อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต้อกระจกตามมาได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วย โรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือโรคความดันโลหิตสูง การได้รับยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ยาขับ ปัสสาวะบางตัว ก็ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคต้อกระจกได้ง่าย  
  • ต้อกระจกจากการได้รับบาดเจ็บ (Traumatic Cataract) อุบัติเหตุที่กระทบต่อดวงตา ทั้งที่ต้อง ผ่าตัดและไม่ผ่าตัดดวงตา สามารถนำไปสู่การเกิดต้อกระจกภายหลังได้เช่นกัน 

สาเหตุของต้อกระจก

โรคต้อกระจกสามารถเกิดกับทุกคนได้ เพราะปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดคืออายุ

ปัจจัยที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดต้อกระจก ได้แก่ :

  • อายุ
  • พันธุกรรม
  • โรคเบาหวาน
  • การสัมผัสแสงจ้าเป็นเวลานานต่อเนื่อง
  • การติดเชื้อที่ดวงตา
  • การได้รับความเสียหายที่ดวงตา

นักบินมักแนวโน้มที่จะเป็นโรคต้อกระจกมาก เนื่องจากได้รับรังสีที่ก่อให้เกิดไอออนเป็นประจำ

การรักษาต้อกระจก

หากต้อกระจกไม่สร้างความเสียหายที่รุนแรงอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ในระยะแรกแว่นตาและแสงที่เพียงพอสามารถช่วยให้การมองเห็นดีขึ้นได้

การดูแลรักษาต้อกระจก กรณีที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัด:

  • ใช้แว่นตาให้สอดคล้องกับค่าสายตา
  • ใช้แว่นขยายสำหรับอ่านหนังสือ
  • ใช้ไฟที่ให้แสงสว่างมากกว่าปกติ เช่น หลอดฮาโลเจน
  • สวมแว่นกันแดด เพื่อลดแสงจ้าระหว่างวัน
  • หลีกเลี่ยงการขับรถตอนกลางคืน

เคล็ดลับเหล่านี้สามารถช่วยได้ชั่วคราว เนื่องจากอาการของต้อกระจกนั้นพัฒนาขึ้นในทุกๆ วัน และสายตาจะแย่ลงในที่สุด

หากต้อกระจกเริ่มรบกวนชีวิตประจำวันหรือการทำงาน ผู้ป่วยจำเป็นจะได้รับการผ่าตัดที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

การผ่าตัดต้อกระจก

การรักษาด้วยการผ่าตัดต้อกระจกใช้ในเฉพาะผู้ป่วยต้อกระจกที่มีอาการรุนแรงเท่านั้น

โดยจักษุแพทย์จะทำการแนะนำการผ่าตัดให้กับผู้ป่วยดังนี้:

  • มีปัญหาการดูแลตัวเองหรือผู้อื่น
  • ทัศนวิสัยในการมองระหว่างขับขี่ลำบาก
  • มองเส้นทางไม่ชัดเจน
  • มองเห็นหน้าของผู้คนเลือนลาง
  • มีปัญหาในการทำงาน
  • ไม่สามารถอ่านหนังสือหรือดูสื่อต่างๆ ได้ชัดเจน

ผู้ป่วยที่มีการใช้ Alpha-blockers ควรทราบว่ายาเหล่านี้ จะส่งผลให้การผ่าตัดต้อกระจกลำบากยิ่งขึ้น

การผ่าตัดอื่นๆ

การผ่าตัดอื่นๆ ที่นิยมใช้ในการรักษาต้อกระจกมีดังนี้

Intracapsular cataract extraction (ICCE) : การลอกต้อกระจกโดยเอาเลนส์ออกทั้งลูก

วิธีนี้เคยเป็นมาตรฐานเมื่อหลายสิบปีก่อน ICCE คือการผ่าตัดเปิดแผลที่ขอบตาดำครึ่งตา (ภาพที่ 2) และดึงเอาเลนส์ออกมาทั้งอัน แล้วเย็บปิดแผล ซึ่งจะลดโรคแทรกซ้อนอันเกิดจากเลนส์ที่คงค้างอยู่ในกรรมวิธี couching ไปได้ แต่ก็ยังมีผลข้างเคียงเยอะอยู่ ปัจจุบันแทบไม่มีใครทำ ยกเว้นในผู้ป่วยบางรายเช่น ผู้ป่วยที่เยื่อยึดเลนส์หย่อน หรือฉีกขาด หรือผู้ได้รับอุบัติเหตุกระทบกระแทกที่ตาอย่างรุนแรงเท่านั้น ดังภาพด้านล่าง

Extracapsular cataract extraction (ECCE) : การลอกต้อกระจกโดยเอาเลนส์ออกแบบเหลือถุงหุ้มเลนส์ไว้

ECCE เป็นหนึ่งในวิธีมาตรฐานที่ใช้กันในปัจจุบัน แพทย์จะผ่าตัดเปิดแผลที่ขอบตาดำครึ่งตา เข้าไปในลูกตา เจาะถุงหุ้มเลนส์ด้านหน้า (ภาพที่ 3) เอาเนื้อเลนส์ที่ขุ่นออกโดยเหลือถุงหุ้มเลนส์เอาไว้ และใส่เลนส์เทียมเข้าไปในถุงหุ้มเลนส์นั้น แล้วจึงเย็บปิดแผล (ซึ่งจะปลอดภัยในระหว่างการผ่าตัดมากกว่า และมีโรคแทรกซ้อนในภายหลังน้อยกว่าสองวิธีแรกมาก ปัจจุบันนิยมทำวิธีนี้ ในรายที่เลนส์แข็งๆขุ่นๆครับ แต่แนวโน้มก็ลดลงเรื่อยๆแล้ว เนื่องจากต้องเย็บแผล ทำให้คนไข้เคืองตาหลังทำจากเส้นไหม, การเย็บแผลปิดหลายๆเข็ม ทำให้อาจมีไหมที่ตึงหย่อนไม่เท่ากัน มีสายตาเอียงหลังทำ, แผลค่อนข้างกว้าง ทำให้ต้องระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุหลังผ่าตัดมากขึ้น

Phacoemulsification and aspiration (PE) : การลอกต้อกระจกด้วยวิธีสลายต้อ

วิธีนี้เป็นอีกหนึ่งในมาตรฐานการผ่าตัดลอกต้อกระจกในปัจจุบัน เป็นการผ่าตัดด้วยแผลขนาดเล็กกว่าวิธีที่ 2 และ 3 แผลที่ผ่าตัดเข้าในตาอาจมีขนาดแค่ไม่ถึง 3 มม. (ภาพที่ 4) แพทย์จะเจาะถุงหุ้มเลนส์ด้านหน้า ใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง(อัลตราซาวนด์, ultrasound) เป็นตัวสลายเนื้อเลนส์ให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วค่อยดูดออกมา (วิธีอื่นๆ เป็นการผ่าตัดเอาเลนส์ออกมาเป็นชิ้นใหญ่ ชิ้นเดียว ขนาดของแผลจึงกว้างกว่าวิธีนี้มาก และจำเป็นต้องเย็บแผล) จากนั้นจึงใส่เลนส์เทียมชนิดนิ่มพับผ่านแผลขนาดเล็กเข้าไปกางในตา และอาจจะ เย็บปิดแผลหรือไม่เย็บก็ได้ ขึ้นอยู่กับขนาดของแผล วิธีนี้ทำให้ปวดเคืองตาหลังผ่าน้อยลง

ข้อเสียของวิธีนี้คือ ใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่มีต้นทุนสูง และต้องการการดูแลรักษามากกว่าวิธีอื่นๆ

Manual Small Incision Cataract Surgery (MSICS) : การลอกต้อกระจกแผลเล็กแบบไม่ใช้คลื่นเสียง วิธีนี้เกิดจากความพยายามประยุกต์เอาข้อดีของ ECCE และ PE เข้าด้วยกัน ทำให้ใช้เครื่องมือพอๆกับ ECCE และได้ประโยชน์ในแง่ของความเร็ว และเย็บแผลน้อยหรือไม่ต้องเย็บแบบ PE

ปัจจุบัน มีการใช้เลเซอร์มาช่วยในการลอกต้อกระจกในบางขั้นตอน ซึ่งจะใช้ในขั้นตอนการตัดถุงหุ้มเลนส์ และการตัดเนื้อเลนส์ให้เป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนที่จะสลายเนื้อเลนส์ด้วยคลื่นเสียง และดูดทิ้งต่อไป

เมื่อเอาเลนส์ที่ขุ่นออกแล้ว งานต่อไปที่จักษุแพทย์จะทำคือ ใส่เลนส์เทียม (Intraocula lens, IOL) เข้าไป

การฟื้นตัวหลังการผ่าตัด

ผู้ป่วยส่วนใหญ่การมองเห็นจะดีขึ้นแทบจะทันทีหลังการผ่าตัดต้อกระจก แต่อาจจำเป็นต้องใช้เวลาสักครู่เพื่อให้ดวงตาฟื้นตัวสมบูรณ์ 

ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงเป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเมื่อกลับบ้านแล้วสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบสายตาอีกครั้งหลังการผ่าตัด เนื่องจากอาจจะมีค่าสายตาที่เปลี่ยนแปลงไป  อาจจะรอให้ดวงตาฟื้นฟูก่อนแล้วจึงไปทำการตรวจสอบค่าสายตาใหม่ เพื่อตัดแว่นสายตา

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *