แผลริมอ่อน (Chancriod) : อาการ การรักษา การป้องกัน

แผลริมอ่อน (Chancriod) : อาการ การรักษา การป้องกัน

26.10
12819
0

แผลริมอ่อน (Chancriod) คือการติดเชื้อผ่านทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ซึ่งแผลริมอ่อนสามารถเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศได้ นอกจากนี้ยังทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณขาหนีบโตขึ้นอีกและทำให้เกิดอาการบาดเจ็บอีกด้วย 

แผลริมอ่อนเป็นโรคติดต่อทางเพสสัมพันธ์ (STI) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Haemophilus ducreyi เป็นเชื้อที่พบได้ยากในทวีปอเมริกาเหนือเเละยุโรป

การมีแผลริมอ่อนเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นๆเพราะความเจ็บปวดบนผิวหนังเป็นอุปสรรค์ขัดขวางการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน 

ผู้ที่มีแผลริมอ่อนควรไปพบเเพทย์เพื่อรักษาแผลให้เร็วที่สุดเมื่อสังเกตพบอาการ สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นแผลริมอ่อนควรบอกให้คู่ที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยทราบเพื่อให้เขาได้รับการตรวจวินิจฉัยให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  

ในกรณีส่วนใหญ่ยาปฏิชีวนะสามารถรักษาแผลริมอ่อนได้ 

Chancriod

อาการของแผลริมอ่อนมีอะไรบ้าง 

คนส่วนใหญ่ที่มีอาการแผลริมอ่อนมักเริ่มสังเกตพบอาการได้ภายใน 3 และ 10 วันหลังจากสัมผัสกับการติดเชื้อ

แต่บางคนอาจไม่มีอาการของแผลริมอ่อนที่สามารถสังเกตเห็นได้

อาการส่วนใหญ่ของแผลริมอ่อนได้แก่อาการเจ็บปวดและมีตุ่มนูนสีแดงเกิดขึ้นที่อวัยวะเพศมีลักษณะเป็นแผลเปื่อยเเละเป็นแผลเปิดที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด 

นอกจากนี้แผลเปื่อยยังปรากฎขึ้นให้เห็นเป็นสีเทาหรือสีเหลืองอีกด้วย 

โดยแผลริมอ่อนมักทำให้เกิดความเจ็บปวดในผู้ชายมากและพบในผู้หญิงได้น้อยกว่า 

นอกจากนี้ยังมีอาการที่เกิดขึ้นร่วมกันแผลริมอ่อน ดังต่อไปนี้ 

  • ท่อปัสสาวะอักเสบหรือการติดเชื้อของท่อปัสสาวะ
  • ช่องคลอดเกิดความผิดปกติ
  • เกิดอาการเจ็บปวดและมีเลือดออกจากแผล
  • มีการปัสสาวะที่เจ็บปวดหรือลำบากเนื่องจากการติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะ

การวินิจฉัยโรคแผลริมอ่อน

หากวินิจฉัยพบแผลริมอ่อนเเพทย์สามารถตรวจสอบการมีอยู่ของเชื้อเเบคทีเรีย H. ducreyi  ด้วยการเก็บตัวอย่างจากปัสสาวะ

อย่างไรก็ตามการตรวจสอบค้นหาแผลริมอ่อนไม่สามารถทำได้เสมอไปเพราะสารที่ใช้ตรวจหาเชื้อแบคทีเรียไม่สามารถใช้ได้ทั่วไปในสหรัฐอเมริกา ดังนั้นในการใช้สารตรวจเชื้อเเบคทีเรียจึงสามารถตรวจพบเชื้อเเบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลริมอ่อนได้อย่างถูกต้องเพียง 80% 

สำหรับการวินิจฉัยแผลริมอ่อน เเพทย์จะสอบถามอาการที่เกี่ยวข้องกับแผลและประวัติการมีเพศสัมพันธ์รวมไปถึงประวัติการเดินทางท่องเที่ยว โดยปกติแพทย์จะทำการวินิจฉัยอาการที่พบของคนไข้ว่าตรงกับอาการของแผลริมอ่อนหรือไม่และทำการทดสอบโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงอันดับที่หนึ่งของการติดเชื้อแผลริมอ่อนคือการติดเชื้อจากผู้ที่มีแผลริมอ่อนแบบแผลเปิด  

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่ทำให้เกิดแผลริมอ่อนได้แก่ 

  • การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน
  • การมีคู่นอนหลายคน
  • การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์จากผู้ให้บริการทางเพศ
  • การใช้สารเสพติด
  • การมีเพศสัมพันธ์
  • การมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางทวารหนัก
  • การอาศัยอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนาเช่นแอฟริกาเเละทะเลคาริบเบียน

วิธีรักษาแผลริมอ่อนทำได้อย่างไร

โดยทั่วไปแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการติดเชื้อ

สถาบันควบคุมเเละป้องกันโรค (CDC) ได้แนะนำวิธีใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาแผลริมอ่อนดังต่อไปนี้ 

  • ยาปฏิชีวนะ azithromycin  ทาน 1 กรัม 1 ครั้งทุกวัน 
  • ยาปฏิชีวนะในกลุ่มยาเซฟาโลสปอรินใช้ปริมาณ 250 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน 
  • ยาปฏิชีวนะไซโปรฟลอกซาซินใช้ปริมาณ 500 มิลลิกรัม 2 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน 
  • ยาปฏิชีวนะอิริโทรมัยซินใช้ปริมาณ 500 มิลลิกรัม รับประทาน 3 ครั้งเป็นเวลา 7 วัน  

เป็นสิ่งสำคัญที่ควรใช้ยารักษาแผลริมอ่อนตามคำสั่งยาของเเพทย์ แผลริมอ่อนที่เกิดขึ้นเรื้อรังหรือการติดเชื้อแผลริมอ่อนที่ไม่ได้รับการรักษาสามารถทำให้รักษาเเผลริมอ่อนได้ยากขึ้นเพราะเชื้อแบคทีเรียจะเเพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายได้ 

แพทย์จะทำการประเมินอาการของแผลริมอ่อนเป็นเวลา 3-7 วันหลังจากให้ยาปฏิชีวนะรักษาเเล้ว ถ้าหากยังมีอาการของแผลริมอ่อนอยู่ แพทย์อาจจะ  

  • วินิจฉัยโรคอีกครั้ง
  • สอบถามผู้ป่วยเพื่อทำให้มั่นใจว่าพวกเขาทานยาอย่างเหมาะสม
  • ตรวจโรคติดต่อทางเพสสัมพันธ์ประเภทอื่นๆได้แก่การตรวจหาเชื้อเอชไอวี 
  • ตรวจสอบว่าเชื้อแบคทีเรีย H. ducreyi  เกิดการต่อต้านยาปฏิชีวนะที่ให้ไปหรือไม่  

ระยะเวลาในการรักษาแผลริมอ่อนให้หายขึ้นอยู่กับความรุนเเรงของการติดเชื้อเเละขนาดของแผลที่เกิดขึ้น โดยแผลริมอ่อนที่มีขนาดใหญ่อาจต้องใช้เวลาในการรักษา 2 สัปดาห์จึงจะทำให้แผลหายขาดได้ 

การป้องกัน

การมีเพศสัมพันธ์ที่มีการป้องกันสามารถป้องกับการติดเชื้อแผลริมอ่อ่นได้ 

วิธีเดียวที่สามารถป้องกันแผลริมอ่อนได้ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อแบคทีเรียแผลริมอ่อน อย่างไรก็ตามการอยู่เป็นโสดไม่ใช่ทางเลือกที่สามารถป้องกันการเกิดแผลริมอ่อนได้อย่างเเท้จริง 

วิธีลดความเสี่ยงของการติดเชื้อแผลริมอ่อนทำได้ดังต่อไปนี้ 

  • จำกัดหรือลดจำนวนการเปลี่ยนคู่มีเพศสัมพันธ์
  • มีเพศสัมพันธ์แบบป้องกันทุกครั้ง
  • มั่นตรวจเช็คอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศเช่นมีตุ่มผิดปกติ มีอาการเจ็บปวดหรือมีต่อมน้ำเหลืองเกิดขึ้นหรือไม่ 
  • ตรวจสอบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก่อนมีเพศสัมพันธ์ร่วมกัน 
  • สอบถามอาการผิดปกติของคู่ที่มีเพศสัมพันธ์ว่าเคยมีแผลหรืออาการเจ็บปวดเกิดขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศหรือไม่
  • สอบถามแพทย์เกี่ยวกับอาการเจ็บปวดที่ขาหนีบที่อธิบายได้ยาก
  • มั่นตรวจสอบโรคทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอลในปริมาณที่มากเกินไปและหลีกเลี่ยงการใช้ยาเสพติดที่ทำให้เกิดการตัดสินใจบกพร่องและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

บทสรุป

โดยส่วนใหญ่การใช้ยาปฏิชีวนะสามารถรักษาแผลริมอ่อนได้

แผลริมอ่อนสามารถพัฒนาเป็นการติดเชื้อที่รุนเเรงมากขึ้นได้และทำให้รักษาแผลได้ยากมากขึ้นหากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา 

ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ทันทีหลังจากพบอาการของแผลริมอ่อนเกิดขึ้น 

นี่คือแหล่งที่มาของแหล่งบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *