โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) คือโรคที่เกิดเชื้อไวรัสที่มาจากยุงลาย โดยโรคนี้จะมีอาการคล้ายกับโรคไข้เลือดออก ทำให้เกิดไข้สูง ปวดตามข้อ โรคนี้ไม่รุนแรงถึงชีวิตแต่อาการอาจมีความรุนแรงและยาวนาน
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคชิคุนกุนยา
- คำว่า “ชิคุนกุนยา” แปลว่า “เดินตัวงอ”.
- อาการหลักคือ มีไข้ และปวดตามข้อ
- โรคชิคุนกุนยาสามารถวินิจฉัยได้โดยการตรวจเลือดเท่านั้น
- ยังไม่มีวัคคซีนสำหรับป้องกันโรคชิคุนกุนยา
อาการชิคุนกุนยา
ไวรัสทำให้ผู้ป่วยเป็นไข้ โดยไข้นั้นอาจจะลดลงได้ในเวลาสองถึงสามวัน แต่อาการปวดข้อสามารถเป็นได้นานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน
อาการของชิคุนกุนยา จะคล้ายกับโรคไข้เลือดออก โดยปกติอาการจะปรากฏขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากที่ยุงกัดคน อาการที่พบบ่อย ได้แก่ :
- มีไข้ (บางครั้งอาจจะมีไข้สูงถึง 39 องศา)
- ปวดเมื่อยตามข้อ
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- มีผื่นตามตัว
- ข้อบวม
โดยปกติแล้วอาการจะมาพร้อมกับผื่นที่คล้ายกับหัดหรือผื่นร้อน เยื่อบุตาอักเสบ คลื่นไส้และอาเจียน
การรักษาโรคชิคุนกุนยา
ไวรัสชิคุนกุนยาไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต แต่อาจจะมีอาการรุนแรงได้นาน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากไข้ภายในหนึ่งสัปดาห์ แต่อาการปวดข้อสามารถคงอยู่ได้หลายเดิน และผู้ป่วยร้อยละ 20 รายงานว่ามีอาการปวดข้อเกิดขึ้นซ้ำเมื่อโรคหายแล้ว
ปัจจุบันไม่มียาในการรักษาชิคุนกุนยา แพทย์แนะนำให้พักผ่อนเยอะ ๆ และดื่มน้ำมาก ๆ
ยาที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์จะช่วยบรรเทาอาการไข้และปวดข้อ มีดังนี้:
- naproxen
- ibuprofen
- acetaminophen
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเมื่อยที่ยาวนาน การทำกายภาพบำบัดอาจส่งผลดีและบรรเทาอาการได้
ชิคุนกุนยาวัคซีน
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยาต้านไวรัส โดยจะรักษาตามอาการ และโรคจะหายไปได้เมื่อเชื้อไวรัสหมดไป ขณะนี้สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) กำลังให้ทุนสำหรับการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 ของวัคซีนชิคุนกุนยา วัคซีนประกอบอนุภาคคล้ายไวรัส (VLPs
วัคซีน VLP สามารถกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่คล้ายคลึงกับวัคซีนที่สร้างขึ้นโดยภูมิคุ้มกันที่ได้รับตามธรรมชาติหลังจากการติดเชื้อไวรัส
อาการแทรกซ้อนของโรคชิคุนกุนยา
ภาวะแทรกซ้อน :
- ตาอักเสบ – การอักเสบของชั้นในตาระหว่างเรตินาด้านใน
- จอประสาทตาอักเสบ
- กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
- ไวรัสตับอักเสบ
- ไตอักเสบ
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- ไขสันหลังอักเสบ
- โรคระบบประสาทส่วนปลาย โดยมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- เส้นประสาทสมองเป็นอัมพาต
การป้องกันโรคชิคุนกุนยา
การแพร่เชื้อไวรัสของชิคุนกุนยา มาจากการถูกยุงกัด วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนยุงกัด
- ทาครีมหรือพ่นสเปรย์ที่มีสารกันยุง
- สวมใส่เสื้อผ้าปกคลุมร่างกาย
- หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่พบการระบาด
- การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันจากยูคาลิปตัสหรือ PMD (p-Menthane-3,8-diol)
- ใช้มุ้งลวดกันยุง
- ใช้ยาจุดกันยุงและยาฆ่าแมลง
แม้ว่าชิคุนกุนยาจะก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต แต่สามารถก่อให้เกิดอาการรุนแรงได้ ดังนั้นควรระมัดระวังไม่ให้เกิดยุงกัน
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.cdc.gov/chikungunya/index.html
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/infectious-diseases/expert-answers/what-is-chikungunya-fever/faq-20109686
- https://www.gov.uk/guidance/chikungunya
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก