ตีนปุกเท้าปุก (Clubfoot) คือภาวะที่ดูเหมือนว่าเท้าข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างของทารกแรกเกิดจะหมุนในทิศทางที่ผิดปกติ เท้าจะชี้ลงและหมุนเข้าด้านใน และฝ่าเท้าทั้ง 2 ข้างจะหันเข้าหากัน
เป็นที่รู้จักกันในชื่อ talipes equinovarus (TEV) หรือ congenital talipes equinovarus (CTEV) พบว่าทารก 1 คนในทุก ๆ 1,000 คนมีโอกาสเป็นเท้าปุก
สาเหตุของเท้าปุก
เท้าปุกส่วนมากเป็นโดยไม่ทราบสาเหตุ เชื่อกันว่าปัจจัยทางพันธุกรรมมีบทบาทสำคัญ และรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของยีนบางอย่างที่เกี่ยวข้อง แต่ยังไม่เป็นที่เข้าใจกันดีและดูเหมือนจะส่งผ่านกันภายในครอบครัว
เป็นอาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของทารกในครรภ์ขณะอยู่ในมดลูก
บางกรณีก็เชื่อมโยงกับความผิดปกติของโครงกระดูกส่วนอื่น ๆ เช่น ความผิดปกติที่ไขสันหลัง หรือภาวะสะโพกที่เกิดพัฒนาการที่เรียกว่าข้อสะโพกเสื่อม หรือพัฒนาการ การตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น ทำให้มีการเจริญของเซลล์ที่ผิดปกติของสะโพก (DHH)
สมอง ไขสันหลัง เส้นประสาท หรือกล้ามเนื้อเกิดการชะงักงั้นของสารประสาทและกล้ามเนื้อ
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม การวิจัยพบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างอุบัติการณ์ของเท้าปุกกับวัยของมารดา ตลอดจนการที่แม่สูบบุหรี่หรือเป็นโรคเบาหวาน
พบความเชื่อมโยงระหว่างในการเกิดเท้าปุกกับการเจาะน้ำคร่ำในช่วงต้นของอายุครรภ์ไม่เกิน 13 สัปดาห์
อาการของเท้าปุก
ภายในเท้าปุก เส้นเอ็นที่อยู่ด้านในของขาจะสั้นลง กระดูกจะมีรูปร่างผิดปกติ และเอ็นร้อยหวายจะรัดแน่น
หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษาผู้ป่วยอาจไม่สามารถเดินได้ตามปกติ
กรณีทารกที่เกิดมาพร้อมเท้าปุก:
- ส่วนบนของเท้าบิดลงและหมุนเข้าด้านใน
- ส่วนโค้งจะเด่นชัดมากขึ้นและส้นเท้าจะหมุนเข้าด้านใน
- กรณีอาการรุนแรง เท้าอาจดูเหมือนกลับหัว
- กล้ามเนื้อน่องไม่สามารถทำงานได้เต็มที่
- กรณีเกิดอาการที่เท้าข้างเดียว เท้านั้นมักสั้นกว่าเท้าอีกข้างเล็กน้อย โดยเฉพาะบริเวณส้นเท้า
- ผู้เป็นเท้าปุกมักจะไม่รู้สึกไม่ดี หรือเจ็บปวดเวลาเดิน
โดยปกติแพทย์สามารถสังเกตอาการเท้าปุกได้ตั้งแต่ทารกแรกคลอด บางครั้งอาจตรวจพบได้ตั้งแต่ก่อนคลอด
เด็กส่วนมากจะมีเพียงอาการเท้าปุกโดยไม่มีอาการร่วมอื่น ๆ แต่บางครั้งเท้าปุกก็เกิดขึ้นพร้อมอาการอื่น ๆ เช่นความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง
ปัจจัยเสี่ยงสำหรับเท้าปุก ได้แก่ :
เพศ: เพศชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง 2 เท่าของอาการที่เป็นมาแต่กำเนิด
พันธุกรรม: กรณีพ่อแม่เกิดมาพร้อมอาการเท้าปุก ลูกของพวกเขามีโอกาสสูงที่จะมีอาการเดียวกัน ความเสี่ยงจะสูงขึ้นหากทั้งพ่อและแม่มีอาการนี้ทั้งคู่
การกลายพันธุ์ของยีนที่เรียกว่า PITX1 ก็มีผลต่อพัฒนาของแขนขาส่วนล่าง
การรักษาเท้าปุก
เท้าปุกจะไม่ดีขึ้นหากไม่ได้รับการรักษา การปล่อยทิ้งไว้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในภายหลัง
การรักษามักใช้เวลาหลายสัปดาห์หลังคลอด เพื่อให้เท้ากลับมาใช้ได้ปกติ และไม้มีอาการเจ็บปวด
วิธี Ponseti
วิธีหลักในการรักษาเท้าปุก โดยแพทย์จะรักษาอาการของทารกด้วยมือของพวกเขา จุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขการโค้งงอของเท้า แล้วใช้ปูนปลาสเตอร์ดามตั้งแต่ปลายเท้าไปจนถึงต้นขาเพื่อจัดให้เท้าอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ วิธีการนี้ค่อนข้างนุ่มนวลและไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บ
การหล่อปูนปลาสเตอร์แต่ละครั้งจะปรับใหม่ไปเรื่อย ๆ เพื่อปรับรูปขาให้เข้าที่ขึ้นเรื่อย ๆ โดยต้งทำการเปลี่ยนเฝือกทั้งหมดประมาณ 4 ถึง 10 ครั้ง อาจต้องใช้การผ่าตัดร่วมกับการรักษา Ponseti ในกรณีที่เส้นเอ็นร้อยหวายตึงเครียดมาก ๆ
หลังจากแก้ไขผู้ป่วยต้องสวมรองเท้าบู๊ตแบบพิเศษ เพื่อควบคุมให้เท้าอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุด เป็นการป้องกันการกำเริบของโรค
ใช้เวลาประมาณ 2 ถึง 3 เดือน โดยต้องสวมรองเท้าพิเศษเป็นเวลา 23 ชั่วโมงต่อวัน หลังจากนั้นจะสวมเฉพาะตอนกลางคืน หรือเวลาพักกลางวันจนกว่าผู้ป่วยจะมีอายุ 4 ปี
เพื่อให้วิธีการ Ponseti ได้ผล ต้องทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ และผู้ปกครองต้องควบคุมการสวมรองเท้าบู๊ตด้วย หากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เท้าอาจกลับสู่ตำแหน่งเดิมและต้องเริ่มการรักษาใหม่อีกครั้ง
ในขณะที่ทารกกำลังใส่เฝือก พ่อแม่ควรเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงของสีผิว หรืออุณหภูมิ ที่เกิดจากเฝือดรัดแน่นเกินไป
วิธีการรักษาแบบฝรั่งเศส
วิธีการรักษษแบบฝรั่งเศสจะประกอบด้วยการยืดกล้ามเนื้อทุกวันด้วยการออกกำลังกาย การนวด และการตรึงเท้าด้วยเทปที่ไม่ยืดหยุ่น เพื่อเคลื่อนตำแหน่งของเท้าอย่างช้า ๆ ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
ช่วง 3 เดือนแรกการบำบัด ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของนักกายภาพบำบัด เพราะการรักษาจะให้ผลดีที่สุดในช่วงเวลานี้
ผู้ปกครองจะได้รับการอบรมไปพร้อม ๆ กับเด็กเพื่อนำวิธีการการรักษาไปทำต่อที่บ้าน
การปิดเทปและการเข้าเฝือกจะดำเนินต่อไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี กรณีที่เท้าปุกเป็นอาการเดียวที่เกิดกับทารก แนวทางการรักษานี้มักมีโอกาสสำเร็จด้วยดี แม้ว่าเท้าอาจไม่คืนรูป 100% แต่การทำงานของเท้าก็จะดีขึ้น
การรักษาด้วยการผ่าตัด
การผ่าตัดจะใช้เมื่อวิธีการรักษาอื่น ๆ ไม่ได้ผล
การผ่าตัดเพื่อปรับเส้นเอ็น เอ็นยึด ข้อต่อในเท้า และข้อเท้าให้ปกติ โดยการคลายเส้นเอ็นร้อยหวาย หรือการขยับเส้นเอ็นที่อยู่บริเวณด้านหน้าของข้อเท้าให้ย้ายไปด้านในของเท้า
การผ่าตัดจะส่งผลกระทบมากต่อโครงสร้างเนื้อเยื่ออ่อนในเท้า จากนั้นศัลยแพทย์จะทำให้เท้ามีความมั่นคงด้วยหมุดและเฝือกเสริมการรักษา การผ่าตัดอาจนำไปสู่ผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความตึงและเจ็บปวดได้ และยังอาจกับโรคข้ออักเสบได้ในอนาคต
ภาวะแทรกซ้อนของเท้าปุก
เท้าปุกหากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เด็ก ๆ ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนเด็กคนอื่นๆ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
โดยปกติผู้ป่วยจะไม่มีอาการปวดหรือไม่สบายจนกว่าจะลุกขึ้นยืน และเดินได้ การเดินด้วยฝ่าเท้าจะกลายเป็นเรื่องยาก รวมถึงการเลี้ยงลูกฟุตบอลบนเท้าด้วย
มีความเสี่ยงในระยะยาวที่จะเกิดโรคข้ออักเสบในที่สุด
การไม่สามารถเดินได้อย่างถูกต้องอาจทำให้ผู้ผ่วยเท้าปุกไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมบางอย่างได้อย่างเต็มที่ และอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ได้
แม้จะได้รับการรักษาแล้ว แต่เท้าที่มีอาการก็อาจมีขนาดเล็กกว่าเท้าอีกข้างได้ถึงเท่าตัว และอาจเคลื่อนได้น้อยกว่าเล็กน้อย น่องขาก็อาจมีขนาดเล็กลงด้วย
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/clubfoot/symptoms-causes/syc-20350860
- https://www.nhs.uk/conditions/club-foot/
- https://kidshealth.org/en/parents/clubfoot.html
- https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-is-clubfoot
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก