

ริมฝีปากของเรามีผิวที่อ่อนนุ่ม และละเอียดอ่อน ทำให้ง่ายต่อการแตกออก เมื่อได้รับผลกระทบบางอย่าง แม้ว่าปากแตกจะเจ็บปวด และมีเลือดออก แต่อาการปากแตกโดยส่วนใหญ่ไม่ใช่สัญญาณปัญหาร้ายแรง อย่างไรก็ตามปากแตกสามารถสร้างความรำคาญใจได้ ดังนั้นการทำความรู้จักกับสาเหตุของอาการปากแตก และวิธีการรักษาจึงเป็นสิ่งที่ควรรู้
สาเหตุของอาการปากแตก
อาการปากแตกสามารถพัฒนาได้ทีละน้อย ทำให้งยากที่จะระบุสาเหตุที่แท้จริง การทำความเข้าใจสาเหตุที่เป็นไปได้สามารถช่วยให้เรารักษา และป้องกันอาการปากแตกในอนาคตได้ ต่อไปนี้คือสาเหตุของอาการปากแตกที่พบได้
1. ปากแห้งแตกทั่วไป
ริมฝีปากแตกเกิดจากริมฝีปากที่อักเสบมาจากการระคายเคืองผิวปาก ริมฝีปากอาจแห้ง และแตกได้ตลอดเวลาของปี เนื่องจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศหนาว อากาศแห้ง และลม เป็นต้น รวมถึงบางโรค ริมฝีปากมีแนวโน้มที่จะลอก แตก และแห้งเป็นพิเศษ เนื่องจากไม่มีการปกป้องจากสภาวะต่างๆ ริมฝีก็เหมือนกับผิวหนังทั่วไปในร่างกายที่ไม่สามารถสร้างความชื้นด้วยตนเองได้
2. ถูกทำลายจากแดด
เราใช้ครีมกันแดดสำหรับปกป้องร่างกายของเราจากรังสียูวีที่เป็นอันตรายของดวงอาทิตย์ การปกป้องริมฝีปากก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน การที่ริมฝีปากที่ไม่ได้รับการป้องกันจากแสงแดดอาจทำให้เกิดการอักเสบได้
การที่ริมฝีปากสัมผัสแสงแดดโดยตรงเป็นเวลานานทำให้ริมฝีปากแข็ง และแห้งส่งผลให้เกิดการปากแตก
3. ปากได้รับบาดเจ็บ
ริมฝีปากแตกสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากได้รับบาดเจ็บ เช่น การกัดปากตัวเอง การหกล้ม และปากถูกกระแทก เป็นต้น
นอกจากริมฝีปากจะแตกแล้ว คุณอาจมีเลือดออกและบวมด้วย
4. การขาดน้ำ
บางครั้งปากแตกสามารถเกิดจากปัญหาสุขภาพที่แฝงอยู่ เช่น ภาวะขาดน้ำ เกิดจากร่างกายมีของเหลวไม่เพียงพอ อาจจะขาดน้ำจากสาเหตุต่อไปนี้ เช่น การอาเจียน ท้องเสีย เหงื่อออกมาก และการเจ็บป่วย นอกจากนี้การที่เหงื่อออกมากเกินไปจะทำให้สูญเสียน้ำได้มากขึ้น อีกทั้งการขาดน้ำที่รุนแรงนั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตได้อีกด้วย
5. ขาดวิตามิน และแร่ธาตุ
วิตามิน B ประกอบด้วยไทอามีน ไนอาซิน ไบโอติน กรดโฟลิก และไรโบฟลาวิน ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำซึ่งมีบทบาทในการเผาผลาญ และให้พลังงาน อีกทั้งช่วยให้ร่างกายของคุณต่อสู้กับโรคต่างๆ
เนื่องจากวิตามิน B ยังมีส่วนช่วยให้สุขภาพผิวแข็งแรง การขาดวิตามินที่จำเป็นสามารถทำให้เกิดปัญหาผิวต่างๆ เช่น สิว ปากแตก ความแห้งกร้าน และผื่นขึ้นได้ สังกะสี และธาตุเหล็กในระดับต่ำอาจทำให้ริมฝีปากแตกได้ และสร้างความเจ็บมุมปาก
6. อาการแพ้
อาการแพ้ลิปสติก ยาสีฟัน มอยเจอร์ไรเซอร์ และสิ่งก่ออาการแพ้ใดๆ ที่สัมผัสรอบๆ ริมฝีปาก สามารถทำให้ปากแตกได้ อาการอื่นๆ อาจรวมถึงอาการแห้งอย่างรุนแรง ระคายเคือง คลัน หรือเป็นผื่นรอบๆ ปาก
หากพบปัญหาริมฝีปากหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับริมฝีปากใหม่ ให้หยุดใช้ และสังเกตว่าอาการของคุณดีขึ้นหรือไม่
ปากแตกทำไงดี เมื่อไรที่ควรพบแพทย์
ส่วนใหญ่ริมฝีปากแตกสามารถรักษาได้ด้วยการรักษาเองที่บ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เกิดจากการแตก หรือแห้ง ที่มาจากสภาพอากาศ แต่เนื่องจากปากแตกอาจจะบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่แฝงอยู่ ดังนั้นควรไปพบแพทย์หากริมฝีปากมีอาการแย่ลง หรือมีอาการอื่นๆ แทรกมา การดื่มน้ำไม่พอนั้นสามารถเป็นสาเหตุของปากแตกได้ และอาการอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นมีดังนี้
- กระหายน้ำหอย่างมาก
- ปัสสาวะสีเข้ม
- ปัสสาวะไม่บ่อย
- วิงเวียนศีรษะ
หากร่างกายไม่ได้รับของเหลว และอิเล็กโทรไลต์เพียงพอ อาจทำให้ไตเสียหาย เกิดอาการชัก และระดับออกซิเจนต่ำ การสาเหตุของภาวะขาดน้ำเป็นขั้นตอนสำคัญในการรักษาอาการปากแตก
วิธีรักษาปากแตก
การรักษาอาการปากแตกมีวิธีการดังต่อไปนี้
ป้องกันริมฝีปาก
การสัมผัสกับอากาศเย็น อากาศแห้ง ลม และแสงแดด สามารถทำให้ริมฝีปากแห้ง และแตกได้ การทาลิปมัน และขี้ผึ้งที่ริมฝีปากก่อนออกไปข้างนอก จะช่วยป้องกัน เพื่อให้ริมฝีปากของคุณชุ่มชื้น
ห้ามเลียปาก
การเลียริมฝีปากต่อเนื่องจะทำให้ปากแห้ง และแตกเพิ่มไปอีก
ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงการขาดน้ำ
การรักษาความชุ่มชื้นของริมฝีปากให้เพียงพอด้วยของเหลวที่ไม่ใช่เครื่องดื่มคาเฟอีนเป็นสิ่งสำคัญ การจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากสามารถทำหน้าที่เป็นยาขับปัสสาวะ และทำให้ปัสสาวะมากเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจทำให้อาเจียนและท้องเสีย ที่จะเพิ่มภาวะร่างกายขาดน้ำได้
ประคบเย็นบริเวณที่ปากแตก
การประคบเย็นจะช่วยหยุดเลือดไหล และลดอาการบวมได้ โดยเฉพาะเมื่อปากแตกจากการได้รับบาดเจ็บ
หากสังเกตพบปัญหาแผลเปิดที่ริมฝีปากให้ไปพบแพทย์ นี่อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส แพทย์จะทำการสั่งยา เพื่อรักษาปัญหาพื้นฐาน หากปัญหายังไม่ชชัดเจน อาจจำเป็นต้องมีการตรวจปัสสาวะ และเลือดเพิ่มเติมด้วย
หากขาดน้ำอย่างรุนแรงจำเป็นจะต้องได้รับการรักษาโดยการให้ของเหลวทางเส้นเลือดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ แต่ในกรณีที่ขาดสารอาหาร แพทย์จะทำการควบคุมโภชนาการ หรือแนะนำอาหารเสริมสำหรับสุขภาพ
ภาพรวมของอาการปากแตก
ส่วนใหญ่แล้วอาการปากแตกจะสามารถรักษา และป้องกันได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามอย่าละเลยริมฝีปากแตกที่มาพร้อมกับอาการอื่นๆ หรือริมฝีปากที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยตนเอง โปรดพบแพทย์โดยด่วนหากริมฝีปากแตกโดยไม่ทราบสาเหตุ
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.healthgrades.com/right-care/oral-health/cracked-mouth-corner
- https://www.elliffdental.com/blog/post/cracked-mouth-corners-can-be-irritating—heres-how-to-treat-them.html
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก