ฟันตาย (Dead Tooth) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ฟันตาย (Dead Tooth) : อาการ สาเหตุ การรักษา

08.02
2721
0

ฟันตาย (Dead tooth) คือ ภาวะที่ไม่มีเลือดไหลเวียนไปที่ฟัน  ฟันผุและการบาดเจ็บของฟันอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันตายได้

ฟันประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ 3 ชั้น – ชั้นเคลือบฟัน ชั้นเนื้อฟัน และชั้นของประสาทประกอบด้วย เนื้อเยื่อ เส้นเลือดและเส้นประสาท

หากเส้นประสาทตายหรือไม่ทำงาน ก็จะทำให้เนื้อเยื่อตาย ไม่มีการไหลเวียนของเลือด จึงเกิดอาการฟันตาย เส้นประสาทที่ตายยังทำให้เนื้อเยื่อตายหรือฝ่อได้

เมื่อเกิดอาการฟันจะหลุดออกเอง แต่การปล่อยอาการนี้เอาไว้นั้นเป็นอันตราย เนื่องจากฟันอาจติดเชื้อและส่งผลกระทบต่อขากรรไกรและฟันซี่อื่น ๆ

Dead Tooth

สาเหตุของฟันตาย

ประกอบด้วย 2 สาเหตุหลักคือฟันผุและฟันบาดเจ็บ

ฟันผุ

ฟันผุจะเริ่มจากชั้นนอกสุดของฟัน เมื่อเวลาผ่านไปฟันผุจะยิ่งทะลุเข้าไปเนื้อชั้นในของฟัน หากฟันผุไม่ได้รับการรักษา และสามารถเข้าชั้นเนื้อฟันได้ แบคทีเรียจะเข้าไปทำลายชั้นของฟันและทำให้เส้นประสาทตายได้ ชั้นประสาทฟันที่แข็งแรงจะตอบสนองต่อการอักเสบของแบคทีเรียเพื่อต่อสู้กับภาวะติดเชื้อ แต่เซลล์เม็ดเลือดขาวอาจทำให้การรักษาช้าลงได้ ความดันภายในเนื่อเยื่อจะเพิ่มขึ้นและไปขัดขวางไม่ให้เลือดเดินทางเลี้ยงเส้นประสาทได้ เนื้อเยื่อเกิดภาวะตาย และเกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงได้

ภาวะบาดเจ็บของฟัน

การบาดเจ็บทางร่างกายที่ส่งผลต่อฟัน อย่างการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือหกล้ม อาจทำให้หลอดเลือดแตก หรือทำให้เลือดที่เลี้ยงฟันถูกขัดขวางได้ เมื่อไม่มีเลือดไหลเวียนไปที่ฟัน เส้นประสาทและเนื้อเยื่ออื่น ๆ ในฟันก็จะตาย

อาการของฟันตาย

บางกรณีก็ไม่ง่ายที่จะระบุฟันตายหรือไม่ ด้วยการมองเพียงอย่างเดียว ต้องเป็นแพทย์ด้านทันตกรรมเท่านั้นจึงจะวินิจฉัยได้ การรับการรักษาจากทันตแพทย์เป็นประจำจึงมีความสำคัญ

อย่างไรก็ตามอาการฟันตายมี 2 อาการที่สำคัญ และผู้ป่วยสามารถวินิจฉัยอาการด้วยตนเองได้:

  • ความเจ็บปวด

  • ฟันเปลี่ยนสี

ความเจ็บปวด

ฟันที่ตายหรือกำลังจะตายอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดในระดับที่แตกต่างกันไป เริ่มตั้งแต่ไม่มีความรู้สึกไปจนถึงเจ็บปวดทุรนทุราย เส้นประสาทที่กำลังจะตายหรือติดเชื้อมักสร้างความเจ็บปวดได้มากขึ้น ความเจ็บปวดนี้ไม่ได้มาจากภายในฟัน แต่มาจากปลายประสาทที่บอบบางลงและอยู่รอบ ๆ ฟันด้านนอกเรียกว่าเยื่อปริทันต์ แบคทีเรียและเซลล์เส้นประสาทที่ตาย หรือหนองที่เกิดขึ้นในโพรงเนื้อภายในฟันจะกดดันเยื่อปริทันต์จนทำให้เกิดอาการเจ็บปวดมาก

กรณีเกิดการติดเชื้อมักทำให้เกิดฝีและทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ได้แก่ :

ฟันเปลี่ยนสี

ถ้าฟันตายมักมีสีเข้มขึ้น อาจเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง เทา หรือดำ การเปลี่ยนสีมักเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงกำลังจะตาย คล้ายกันอาการฟกช้ำ การเปลี่ยนสีมักเกิดขึ้นหากฟันที่ตายไม่ได้รับการรักษาและจะยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

การรักษาอาการฟันตาย

การรักษาเพื่อแก้ไขฟันตายทันทีนั้นมีความสำคัญมาก เพราะแม้ว่าผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บปวดก็ตาม แต่หากมีความสงสัยว่าก็ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้เจ็บปวดได้มาก โดยแพทย์อาจใช้การเอกซเรย์เพื่อวินิจฉัยอาการฟันตาย

ทางเลือกในการรักษาฟันตายมี 2 วิธี: ได้แก่:

การกำจัดหรือการถอนฟันที่ตาย

หากทันตแพทย์ไม่สามารถแก้ไขฟันส่วนที่ตายได้ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องถอนฟันที่ตายออกไป เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำการรักษาตั้งแต่แรกมีความสำคัญมาก

การถอนฟันเป็นขั้นตอนที่ง่าย ราคาไม่แพงและเจ็บปวดไม่มาก และทันตแพทย์ยังสามารถเปลี่ยนฟันด้วยสะพานฟันเทียม ฟันเทียมแบบสวม หรือฟันเทียมแบบอื่น ๆ ได้

การรักษารากฟัน

ทันตแพทย์ใช้เมื่อพยายามหลีกเลี่ยงการถอนฟัน ดังนั้นแพทย์จะพิจารณษรักษารากฟันก่อน ลักษณะการรักษารากฟันคือการทำความสะอาดส่วนที่ติดเชื้อออกให้หมดไปจากฟันและรากฟัน เมื่อทำความสะอาดแล้วก็จะทำการปิดผนึกเพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่มเติมเพื่อป้องกันไม่ให้รากฟันตาย

การรักษารากฟันเป็นกระบวนการที่ใช้เวลานานและผู้ป่วยอาจต้องพบทันตแพทย์มากกว่า 1 ครั้งจึงจะรักษาเสร็จสิ้น

เมื่อการติดเชื้อหายไปทันตแพทย์จะทำการอุดฟันอย่างถาวร ฟันที่ตายจะยังคงสามารถใช้งานได้หลังการรักษา เนื่องจากเนื้อฟันส่วนมากยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ แต่ก็อาจมีส่วนของฟันที่ตายแล้วยังมีลักษณะอ่อนแอลง บางคนจึงต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันฟันเพื่อสนับสนุนและเสริมความแข็งแรงให้กับฟัน

การป้องกันอาการฟันตาย

มีข้อแนะนำให้ทุกคนดูแลฟันให้เป็นกิจวัตร:

  • แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ก่อนนอน และในระหว่างวันอีกอย่างน้อย 1 ครั้ง

  • ทำความสะอาดระหว่างซี่ฟันด้วยไหมขัดฟันหรือแปรงขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง

  • หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล

  • การตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ

การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลฟันอย่างยาสีฟันฟลูออไรด์ ไหมขัดฟัน และแปรงขัดฟัน

การป้องกันอาการบาดเจ็บของฟันอาจทำได้ยาก แม้ว่าจะสวมอุปกรณ์ป้องกันเหงือกหรืออุปกรณ์ป้องกันช่องปากสำหรับผู้เล่นกีฬาบางประเภทแล้วก็ตาม

แต่บุคคลควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวน้ำแข็ง และเปิดของแข็ง ๆ ด้วยฟัน กรณีมีอาการกัดฟันตอนกลางคืนอาจพิจารณาใช้อุปกรณ์ป้องกันช่องปากขณะนอนหลับด้วย

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *