โรคซึมเศร้า (Depression) เกิดจาก ความเศร้า ความรู้สึกหดหู่ และการสูญเสียความสุขในชีวิตประจำวันเป็นความรู้สึกที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ถ้าความรู้สึกเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อชีวิตอย่างมาก อาจจะกลายเป็นผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าได้ อ้างอิงจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ภาวะซึมเศร้าเป็นสาเหตุหลักของความพิการที่เกิดขึ้นทั่วโลก เกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย
กรมสุขภาพจิตเคยออกมาระบุถึงสถิติฆ่าตัวตายในปี 2561 สำเร็จ 4,137 คน เฉลี่ยวันละ 11.3 คนต่อวัน ในช่วงอายุ 25-59 ปี ที่เกิดปัญหาภาวะโรคจิต 7.45% โรคซึมเศร้า 6.54% ในปี 2562 มีตัวเลข 14.4คน ต่อคนไทย 1 แสนคน อยู่ในวัยเฉลี่ย 45 ปี ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 7.8%
Depression คือ ปัญหาสุขภาพจิตกำลังเป็นภัยเงียบคุกคามสังคมไทยนี้ นพ.อภิชาติ จริยาวิลาศ จิตแพทย์ และโฆษกกรมสุขภาพจิต ให้ข้อมูลว่า องค์การอนามัยโลกได้ประเมินตัวเลขของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอยู่ที่ 5.4% ของบุคคลทั่วไป นั่นหมายความว่า ในคนทั่วไป 100 คน ต้องมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 5 คน และมีบางประเทศมากถึง 10%
อาการของผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีอาการดังต่อไปนี้:
- อารมณ์หดหู่
- ลดความสนใจในกิจกรรมที่เคยทำ
- สูญเสียความต้องการทางเพศ
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักเพิ่มหรือลดอย่างไม่มีสาเหตุ
- นอนหลับมากเกินไปหรือน้อยเกินไป
- กระสับกระส่าย
- การเคลื่อนไหวและการพูดช้าลง
- เหนื่อยล้า ไม่มีแรง
- รู้สึกไม่มีคุณค่า
- ไม่มีสมาธิ และขาดสมาธิ
- มีความคิดพยายามฆ่าตัวตาย
ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยหญิง
อาการของโรคซึมเศร้าที่มักปรากฏในผู้หญิง มีดังนี้ :
- หงุดหงิด
- กังวล
- อารมณ์แปรปรวน
- ความเมื่อยล้า
- ติดอยู่ในความคิดเชิงลบ
นอกจากนี้ภาวะซึมเศร้าบางประเภทยังมีลักษณะเฉพาะของผู้หญิงเช่น :
- ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
- ภาวะซึมเศร้าก่อนประจำเดือนมา
ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยชาย
อาการของภาวะซึมเศร้าที่มักปรากฏในผู้ชาย มีดังนี้ :
- หลีกเลี่ยงปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคม
- ทำงานหักโหม
- มีปัญหาเรื่องความรับผิดชอบ
- การแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในความสัมพันธ์ต่างๆ
ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเด็ก
อาการของภาวะซึมเศร้าที่มักปรากฏในเด็ก มีดังนี้:
- ร้องไห้
- เหนื่อยล้า
- ติดพ่อแม่
- พฤติกรรมต่อต้าน
- พูดจาเสียงดัง
เด็กนั้นไม่สามารถแสดงอารมณ์อย่างเต็มที่ ทำให้ยากที่จะวินิจฉัยการป่วยโรคซึมเศร้า
สาเหตุของภาวะซึมเศร้า
สาเหตุของโรคซึมเศร้านั้นสามารถเกิดจากหลายปัจจัยรวมกัน ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยดังนี้ :
- พันธุกรรม
- การเปลี่ยนแปลงของสารในสมอง
- สิ่งแวดล้อม
- จิตวิทยาและสังคม
- ปัญหาสุขภาพ เช่น โรคไบโพลาร์
ประเภทของภาวะซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้าที่พบได้บ่อยมีดังนี้
โรคซึมเศร้า
ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าที่เจอสภาวะความเศร้าอย่างต่อเนื่อง ทำให้หมดความสนใจในกิจกรรมที่เคยสนุก การรักษาจะใช้วิธีให้ยาและจิตบำบัด
โรคซึมเศร้าเรื้อรัง
โรคซึมเศร้าทำให้เกิดอาการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 2 ปี ผู้ป่วยที่มีความผิดปกตินี้จะมีอาการเหมือนโรคซึมเศร้า
โรคไบโพลาร์
อาการซึมเศร้าเป็นอาการหนึ่งของโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว และการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีอาการประมาณครึ่งหนึ่งของเวลาที่ใช้ไปกับการซึมเศร้า ทำให้ยากที่จะแยกแยะจากภาวะซึมเศร้าได้
โรคซึมเศร้าแบบมีอาการโรคจิต
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบางรายมีอาการทางจิตเมื่ออยู่ในภาวะซึมเศร้า โรคจิตนั้นเกี่ยวข้องกับอาการหลงผิด เช่น ความเชื่อผิด ๆ และการไม่อยู่กับความเป็นจริง นอกจากนี้อาจจะมีอาการหลอนร่วมด้วย
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
หลังจากคลอดลูกผู้หญิงหลายคนอาจเกิดอาการ “เบบี้บลูส์” เมื่อระดับฮอร์โมนปรับขึ้นใหม่หลังคลอด อาจทำให้ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมีความรุนแรงมากขึ้น
อาการนี้สามารถคงอยู่เป็นเดือนหรือเป็นปี หากมีอาการซึมเศร้าต่อเนื่องหลังคลอดควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา
โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล
โรคอารมณ์ตามฤดูกาลหรือ SAD ภาวะซึมเศร้าประเภทนี้เกี่ยวข้องกับการลดลงของแสงในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว และตอบสนองต่อการรักษาด้วยแสง คนที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีฤดูหนาวที่ยาวนานมักจะมีภาวะซึมเศร้าประเภทนี้
การรักษาโรคซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้าสามารถรักษาได้ และสามารถรับมือได้ด้วยการทำ 3 สิ่งนี้:
การสนับสนุนและให้ความรู้ : การแนะนำวิธีการแก้ไขและการจัดการปัญหา เพื่อให้ความรู้แก่สมาชิกครอบครัว
การทำจิตบำบัด: เป็นการบำบัดด้วยการพูด ได้แก่ การให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัว และการบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา (CBT)
การรักษาด้วยยา: แพทย์จะให้ยาแก้ซึมเศร้ากับผู้ป่วยเพื่อบรรเทาอาการ
ยารักษาโรคซึมเศร้า
ยารักษาโรคซึมเศร้าจะใช้สำหรับผู้ป่วยซึมเศร้าปานกลางไปถึงรุนแรง ยาเหล่านี้ได้แก่
- Antidepressants
- Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)
- Monoamine oxidase inhibitors (MAOIs)
- Tricyclic antidepressants
- Atypical antidepressants
- Selective serotonin and norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs)
ผู้ป่วยควรใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ยาบางตัวเมื่อใช้ไปในระยะเวลาหนึ่งจะก่อให้เกิดผลข้างเคียง และในผู้ป่วยบางรายหยุดรับประทานยาหลังจากอาการดีขึ้น แต่สิ่งนี้อาจนำไปสู่การกำเริบของโรคหากไม่รับประทานยาให้หมดตามคำสั่งแพทย์
ผลข้างเคียงของยารักษาโรคซึมเศร้า
SSRIs และ SNRIs นั้นมีผลข้างเคียงดังนี้
- คลื่นไส้
- ท้องผูก
- ท้องร่วง
- น้ำตาลในเลือดต่ำ
- น้ำหนักลดไม่มีสาเหตุ
- ผื่น
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
การเยียวยารักษาด้วยธรรมชาติ
ผู้ป่วยบางรายใช้การรักษาแบบธรรมชาติ เช่น ยาสมุนไพร เพื่อรักษาอาการซึมเศร้าระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง อย่างไรก็ตามเนื่องจากองค์การอาหารและยาไม่ได้รับรองว่าการเยียวยาด้วยสมุนไพรนั้นมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจไม่ปลอดภัยหรือไม่มีประสิทธิภาพ
สมุนไพรที่นิยมใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า :
โสม: แพทย์แผนโบราณจะใช้สิ่งนี้ เพื่อปรับปรุงความสับสนของจิตใจ และลดความเครียด
คาโมไมล์: มีฟลาโวนอยด์ที่อาจมีฤทธิ์ต้านซึมเศร้า
ลาเวนเดอร์: ช่วยลดความวิตกกังวลและอาการนอนไม่หลับ
ก่อนใช้ยาสมุนไพรหรืออาหารเสริมชนิดใด เพื่อรักษาอาการซึมเศร้า ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้งาน
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.psychiatry.org/patients-families/depression/what-is-depression
- https://www.healthline.com/health/depression
- https://www.nimh.nih.gov/health/topics/depression/index.shtml
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/depression/symptoms-causes/syc-20356007
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก