ท้องเสียหรือ (Diarrhea) คือ อาการที่ท้องเสียถ่ายเป็นน้ำ อาจมีอาการที่ไม่รุนแรงนัก แต่ก็สามารถทำให้มีอาการที่ร้ายแรงจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งเป็นอาการท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร
สาเหตุอาการท้องเสีย
อาการท้องเสียเกิดจากอะไร ส่วนใหญ่นั้นมีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมีเชื้อจุลินทรีย์เป็นสาเหตุสำคัญ นอกจากนี้ยังมีเชื้ออื่นๆที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียซึ่งมีเชื้อดังต่อไปนี้
- เชื้อแบคทีเรีย
- เชื้อไวรัส
- เชื้อปรสิตหรือเชื้อพยาธิ
ในสหรัฐอเมริกานั้น มีการวิจัยที่ค้นพบว่าสาเหตุอาการโรคท้องเสียเฉียบพลันที่พบได้บ่อยนั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรียSalmonella Campylobacter Shigella และ Escherichia coli.
แต่บางครั้งสาเหตุอาการท้องเสียเรื้อรังที่เรียกว่า “อาการท้องเสียรุนแรง” เเม้ว่าในระบบย่อยอาหารจะทำงานอย่างปกติ แต่ก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ซึ่งอาการท้องเสียรุนแรงนั้นอาจพัฒนามาจากโรคลำไส้แปรปรวน(IBS) เป็นโรคที่สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศที่พัฒนาแล้ว
อาการของโรคลำไส้แปรปรวน(IBS)นั้นมีหลายอาการ ไม่ว่าจะเป็น ตะคริวที่ท้อง ปวดท้องและลำไส้มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงอาการท้องเสียและท้องผูกหรือจะมีทั้ง 2 อาการนี้เกิดขึ้นพร้อมกันเลยก็ได้
โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD) เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียเรื้อรังได้ นอกจากนี้โรคนี้ก็ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคลำไส้อักเสบและโรคโครห์น ซึ่งทั้ง 2 โรคนี้ทำให้มีเลือดในอุจจาระได้ สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียเรื้อรัง มีดังต่อไปนี้
- การติดเชื้อจุลลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่เป็นอาการท้องเสียที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากอาการอักเสบในช่องท้องและมักเกิดขึ้นในเวลากลางคืน
- อาการท้องเสียที่เกิดจากภาวะดูดซึมอาหารผิดปกติและภาวะระบบย่อยอาหารผิดปกติ อาการท้องเสียแบบแรกนั้น เกิดจากการดูดซึมอาหารที่ผิดปกติและอาการท้องเสียแบบที่ 2 นั้นมาจากการที่ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ซึ่งทำให้เกิดโรคเซลิแอคหรือโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อกลูเตนบกพร่องได้
- การติดเชื้อที่เรื้อรังเกิดจากการติดเชื้อที่มาจากการเดินทางหรือการใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิด ก็สามารถทำให้เกิดอาการท้องเสียได้และการที่มีเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อพยาธิปรสิตในร่างกายก็สามารถทำให้เกิดอาการท้องเสียได้เช่นเดียวกัน
- ท้องเสียที่เกิดจากการใช้ยาบางชนิด ได้แก่ การใช้ยาระบายและยาชนิดอื่นที่รวมถึงยาปฏิชีวนะ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
- อาการท้องเสียที่มาจากระบบต่อมไร้ท่อ: ในบางครั้งนั้น อาการอุจจาระร่วงหรืออาการท้องเสียนั้นก็มีปัจจัยที่เกิดมาจากการผลิตฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งมักเกิดในผู้ป่วยโรคแอดดิสัน (addison’s disease) และเนื้องอกคาร์ซินอยด์ (carcinoid tumours)
- อาการท้องเสียที่เกิดจากโรคมะเร็งคืออาการอุจจาระร่วงหรือท้องเสียโดยมีสาเหตุมาจากการเกิดเนื้องอกที่เป็นชิ้นเนื้อของโรคมะเร็งในลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ หรือ ในไส้ติ่ง
การรักษาอาการท้องเสีย
หากมีอาการท้องเสียเฉียบพลันที่ไม่รุนแรง อาการท้องเสียนี้สามารถหายไปเองได้เมื่อถ่ายเอาเชื้อแบคทีเรียออกจะระบบย่อยอาหารหมดเเล้วโดยไม่ต้องไปรักษาที่โรงพยาบาลและหากเกิดอาการอ่อนเพลียเนื่องจากการขาดน้ำและเกลือเเร่ควรนำเกลือเเร่ผสมน้ำอุ่นชงให้ผู้ที่มีอาการท้องเสียจิบเรื่อยๆ และต้องระวังอย่าให้ผู้ป่วยขาดน้ำเป็นเวลานาน
แต่สำหรับอาการท้องเสียเรื้อรังนั้น แพทย์จะแนะนำวิธีแก้อาการท้องเสียตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการเครียดเรื้อรังมักจะมีอาการลำไส้แปรปรวนจึงทำให้เกิดอาการท้องเสียหรือผู้ที่มีเนื้องอกเกิดขึ้นในระบบย่อยอาหารเช่นในลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่หรือเเม้เเต่เนื้องอกในไส้ติ่งโดยจะเป็นเนื้องอกปกติหรือเนื้องอกที่เป็นมะเร็งก็ได้ ทั้งนี้แพทย์จะทำการสอบสวนอาการเเละทำการรักษาต่อไปซึ่งสามารถรักษาอาการท้องเสียที่เป็นไปได้ตามอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งมีวิธีการรักษาดังต่อไปนี้
การรักษาภาวะขาดน้ำเนื่องจากการถ่ายเป็นของเหลวจำนวนมาก
อาการท้องเสียนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งอาการท้องเสียที่ถ่ายเป็นน้ำ มักทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและอาการท้องเสียแบบถ่ายเหลวบ่อยๆนั้น ต้องรักษาด้วยการป้องกันสภาวะการขาดน้ำเท่านั้น โดยสามารถทำได้โดยการดื่มน้ำให้มากๆ แต่หากเป็นอาการท้องเสียที่มีความรุนแรงมาก เกิดอาการถ่ายเหลวบ่อยขึ้นและถี่มากขึ้นจนร่างกายหมดเเรง อาจต้องทำการฉีดของเหลวเข้าหลอดเลือดดำ
ทั้งนี้การให้เกลือแร่ (ORS) สามารถทำได้โดยผสมผงเกลือแร่กับน้ำอุ่น ผสมให้เข้ากัน และดื่มจิบบ่อยๆสามารถรักษาอาการท้องเสียและสภาวะขาดน้ำได้เช่นกัน ซึ่งทำให้ลำไส้เล็กสามารถดูดซึมเกลือแร่และกลูโคสเข้าไปได้โดยตรงและเป็นการเติมน้ำและสารอิเล็กทรอไลต์เข้าไปในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งผงเกลือแร่นั้นมีราคาไม่แพงและสามารถซื้อมารักษาอาการท้องเสียเองได้
องค์การอนามัยโลกได้กล่าวไว้ว่า ผงเกลือแร่นั้นสามารถรักษาอาการท้องเสียได้ดีและปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมาก วัดผลโดยการประเมินจากผู้ป่วยท้องเสียมากกว่า 90 เปอร์เซนต์ที่มีอาการท้องเสียดีขึ้นหลังจากได้ดื่มน้ำผสมเกลือแร่
นอกจากนี้อาหารเสริมที่มีสารประกอบของสังกะสี (Zinc) สามารถรักษาอาการท้องเสียได้เช่นกัน ซึ่งเป็นการช่วยลดอาการท้องเสียที่รุนแรงและมีระยะเวลายาวนานได้และปัจจุบันสามารถสั่งซื้ออาหารเสริมที่มีสังกะสีผ่านช่องทางออนไลน์แล้ว
ยารักษาอาการท้องเสีย
เป็นวิธีการรักษาอาการท้องเสียที่นิยมอีกหนึ่งวิธีหนึ่งนั่นคือ การซื้อยาแก้อาการท้องเสียมารับประทานเอง ซึ่งสามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายยาหรือสามารถสั่งซื้อได้ทางออนไลน์ ยาแก้อาการท้องเสียได้แก่ ยาโลเพอราไมด์(Imodium) และยาบิสมัทซับซาลิไซเลต(Pepto-Bismol)
ยาอิโมเดียม(Imodium) เป็นยาที่ยับยั้งในการเคลื่อนไหวของลำไส้ ที่ทำให้อุจจาระหยุดถ่ายเหลวบ่อย สามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาหรือสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์
ยา Pepto-Bismol เป็นยาที่ช่วยลดอาการท้องเสียหรืออุจจาระร่วงได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่และยังสามารถยับยั้งอาการท้องเสียระหว่างเดินทางได้อีกด้วยสามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายยาหรือสั่งซื้อทางออนไลน์
การใช้ยาแก้อาการท้องเสียเป็นเวลานาน อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ในระยะยาวได้ เพราะทำให้เชื้อโรคอยู่ในระบบทางเดินอาหารนานขึ้นและเชื้อโรคไม่ถูกการกำจัดออกจากร่างกายผ่านการถ่ายอุจจาระ
การรักษาอาการท้องเสียโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ
การรักษาอาการท้องเสียโดยการใช้ยาปฏิชีวนะนั้น สามารถรักษาอาการท้องเสียที่มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อจากแบคทีเรียเท่านั้น แต่ถ้าหากเป็นอาการท้องเสียที่เกิดจากการใช้ยา แพทย์จะแนะนำให้เปลี่ยนยาที่รับประทานอยู่ทุกวัน โดยเปลี่ยนไปรับประทานยารักษาอาการท้องเสียชนิดอื่นเพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา ซึ่งวิธีนี้สามารถช่วยรักษาอาการท้องเสียได้ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ก่อนที่จะทำการเปลี่ยนยาเพื่อรักษาอาการท้องเสีย
การรับประทานอาหาร
การปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหารนั้น ก็สามารถทำให้อาการท้องเสียหายไปได้ด้วยเช่นกัน โดยสามารถปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้
- ดื่มน้ำให้มากๆ เช่นดื่มน้ำที่มีสารอิเล็กทรอไลต์ น้ำเปล่า หรือน้ำผลไม้ที่ปราศจากน้ำตาล
- ควรดื่มหรือทานอาหารเหลว 1 ถ้วย หลังจากที่มีอาการท้องเสียหรือถ่ายเป็นน้ำ
- ควรดื่มน้ำระหว่างที่รับประทานอาหารในแต่ละมื้อ
- ควรรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีธาตุโพแทสเซียม เช่น น้ำผลไม้ที่รสไม่จัด มันฝรั่งที่ไม่มีเปลือก และกล้วย
- ไม่ควรรับประทานอาหารที่โซเดียมสูง เช่น ซุปเนื้อ น้ำซุป เครื่องดื่มเกลือแร่ และขนมปังกรอบที่มีรสเค็ม
- ควรรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น กล้วย ข้าวโอ๊ต และข้าว ซึ่งอาหารประเภทนี้ช่วยให้อุจจาระแข็งตัวขึ้นเเละไม่ถ่ายเหลวเป็นน้ำ
- ควรระวังอาหารที่ทำให้อาการท้องเสียแย่ลง เช่น อาหารที่เป็นครีม อาหารทอด อาหารที่มีนมเป็นส่วนผสมและของหวาน
อย่างไรก็ตามยังมีอาหารบางประเภทที่สามารถทำให้อาการท้องเสียแย่ลงได้แก่
- หมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาล หมากฝรั่งรสมิ้นท์ เชอรร์รี่ และลูกพรุน
- ยาหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน
- น้ำตาลฟรุคโตสที่มีอยู่ในน้ำผลไม้ องุ่น น้ำผึ้ง อินทผลัม ถั่ว มะเดื่อ น้ำอัดลม และลูกพรุน
- น้ำตาลแลคโตสในผลิตภัณฑ์นม
- อาหารที่มีธาตุแม็กนีเซียม
- น้ำมันสังเคราะห์ไร้พลังงาน (Olean)ที่มีส่วนผสมที่ทดแทนไขมัน
- สารแทนความหวานทุกประเภท
อาการท้องเสีย
อาการท้องเสียเกิดจากการถ่ายเหลวเป็นน้ำ แต่อาจมีอาการอื่นร่วมด้วยดังต่อไปนี้
- อาการปวดท้อง
- อาการปวดตะคริวที่ท้อง
- อาการท้องอืดและท้องเฟ้อ
- มีน้ำหนักลดลง
- มีไข้อ่อนๆ
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- อาการหนาวสั่น
อาการท้องเสียนั้นมักมีอาการอื่นตามมาด้วย ซึ่งอาจเป็นอาการที่รุนแรง ซึ่งอาการที่สามารถพบได้มีดังนี้:
- มีเลือดหรือหนองในอุจจาระ
- เกิดการอาเจียนบ่อย
- เกิดสภาวะขาดน้ำ
หากมีอาการเหล่านี้ร่วมกับอาการท้องเสียบ่อยๆ หรือมีอาการท้องเสียเรื้อรังติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียที่ร้ายแรงขึ้นได้ อาการท้องเสียรุนแรงนั้นอาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตในหากเกิดขึ้นในเด็ก
สถิติผู้ป่วยโรคท้องเสียในประเทศไทย
ข้อมูลสถิติดังกล่าวนี้มาจาก สำนักงานพัฒนาระบบข่าวข้อมูลสุขภาพ โดยข้อมูลพบว่าในปี 2555 จากรายงาน 506 ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบผู้ป่วยโรคท้องเสียจำนวน 1,013,225 ราย จาก 77 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 1595.00 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 37 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.06 ต่อแสนประชากร โดยสัดส่วนพบเป็นเพศชายต่อเพศหญิง 1: 1.29 กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด เรียงตามลำดับ คือ >65 ปี (10.96 %) 15-24 ปี (9.98 %) และ25-34 ปี (9.94 %)
สัญชาติที่พบผู้ป่วยโรคท้องเสีย ได้แก่ สัญชาติไทยคิดเป็นร้อยละ 98.6 พม่าร้อยละ 0.7 กัมพูชาร้อยละ 0.2 ลาวร้อยละ 0.1 จีน/ฮ่องกง/ไต้หวันร้อยละ 0.0 มาเลเซียร้อยละ 0.0 เวียดนามร้อยละ 0.0 และอื่นๆ ร้อยละ 0.4 ตามลำดับ
แหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diarrhea/symptoms-causes/syc-20352241
- https://www.healthline.com/health/diarrhea
- https://www.medicinenet.com/diarrhea/article.htm
- https://kidshealth.org/en/parents/diarrhea.html
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก