นิ้วซ้น (Dislocated Finger) เกิดขึ้นเมื่อกระดูกนิ้วมือหลุดออกจากข้อต่อ อาจมีสาเหตุเกิดจากการเล่นกีฬาและการพลัดตกจากที่สูงหรืออุบัติเหตุที่สามารถทำให้นิ้วมือหรือนิ้วหัวเเม่มือหลุดออกจากกันได้
ถ้าเกิดกระดูกเคลื่อนที่นิ้วโป้งจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและรู้สึกเป็นกังวลมาก แม้ว่าการเกิดกระดูกนิ้วมือเคลื่อนอาจไม่ได้เป็นอันตรายต่อชีวิตที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาฉุกเฉิน แต่อย่างไรก็ตามอาการนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาทันที
ในบทความนี้ได้เขียนเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการกระดูกเคลื่อนที่นิ้วมือหรือนิ้วโป้ง โดยมีรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับอาการ สาเหตุ การรักษาและระยะเวลาที่ใช้รักษาอาการกระดูกนิ้วมือเคลื่อน
วิธีรักษานิ้วซ้น
ผู้ที่สังเกตุพบอาการนิ้วมือเคลื่อนควรไปพบเเพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที ในช่วงที่รอเข้ารับการรักษาหรือกำลังเดินทางได้ที่คลีนิค สิ่งสำคัญคือไม่ควรขยับนิ้วมือหรือนิ้วโป้งที่กระดูกเคลื่อน ควรใช้น้ำเเข็งประคบที่นิ้วมือเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดเเละอาการบวม
ไม่ควรพยายามดันกระดูกนิ้วมือที่หลุดเข้ากับข้อต่อด้วยตนเอง ควรให้เเพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่ได้รับการฝึกรักษา เนื่องจากการพยายามดันกระดูกนิ้วมือที่หลุดออกด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้องสามารถทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่รุนเเรงขึ้นได้และยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อและอาการบวมได้
นอกจากนี้ผู้ที่ต้องการพยายามดันกระดูกนิ้วมือเข้าที่เดิมด้วยตัวเองยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงทำให้โครงสร้างรอบนิ้วมือเกิดอาการบาดเจ็บหรือเสียหายได้ ซึ่งได้แก่บริเวณดังต่อไปนี้
- เส้นเอ็นกล้ามเนื้อ
- เส้นเอ็นข้อต่อ
- เส้นประสาท
- หลอดเลือด
- กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ
อาการนิ้วซ้น
อาการนิ้วซ้นทำให้เกิดนิ้วมือบวมหรือนิ้วงอและทำให้เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนเเรงได้
นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆที่เป็นสัญญาณของกระดูกนิ้วมือเคลื่อนได้แก่
- มีอาการชาหรือรู้สึกเสี่ยวซ่า
- มีอาการฟกช้ำบริเวณที่เกิดกระดูกเคลื่อน
- สามารถขยับนิ้วที่เกิดอาการบาดเจ็บได้ยาก
- นิ้วหัก
สาเหตุนิ้วซ้น
นิ้วมือประกอบด้วยข้อต่อ 3 ชิ้นและที่นิ้วโป้งมีข้อต่อ 2 ชิ้น ข้อต่ออยู่ที่ส่วนปลายของกระดูกเป็นบริเวณที่กระดูก 2 ชิ้นบรรจบกัน เส้นเอ็นยึดกระดูกเป็นเส้นเอ็นสั้นหรือเส้นใยที่ยึดกระดูกเข้าด้วยกันและช่วยพยุงข้อต่อ
กระดูกนิ้วมือเคลื่อนสามารถเกิดเมื่อมีเเรงดันทำให้เอ็นยึดกล้ามเนื้อหลุดออกจากกันจึงเป็นสาเหตุทำให้กระดูกหลุดออกจากข้อต่อ
อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดกระดูกนิ้วมือเคลื่อน ข้อมูลจากงานวิจัยในปี 2015 ระบุว่ากีฬาทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับการใช้มือส่งผลกระทบต่อนิ้วมือได้ โดยกีฬาที่ทำให้เกิดอัตราการบาดเจ็บที่นิ้วมือสูงได้แก่ฟุตบอล ยิมนาสติก บาสเกตบอล ลาครอสและกีฬามวยปล้ำ
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกระดูกนิ้วมือเคลื่อนอื่นๆได้แก่
- การใช้งานนิ้วมือหนักเกินไป
- เกิดแรงบีบหรือแรงกดที่ปลายนิ้วมือ
- การล้มลงบนแขนที่เหยียดออก
สำหรับผู้ที่มีอาการข้อต่อและเส้นเอ็นยึดกระดูกอ่อนเเรงมีความเสี่ยงเกิดกระดูกนิ้วมือเคลื่อนได้มากกว่าคนปกติ
การรักษานิ้วซ้น
วิธีรักษานิ้วซ้นสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความรุนเเรงของอาการกระดูกนิ้วมือเคลื่อน
การจัดกระดูกให้อยู่ตำแหน่งเดิม
ขั้นตอนเเรกของการรักษาอาการกระดูกนิ้วมือเคลื่อนได้แก่การจัดกระดูกเพื่อให้ต่อเข้ากับข้อต่อในตำแหน่งที่เหมาะสม โดยวิธีการนี้เรียกว่าการจัดกระดูกให้อยู่ในตำแหน่งเดิม
ก่อนทำการจัดกระดูกให้อยู่ในตำแหน่งเดิม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการฉีดยาชาเฉพาะที่เพื่อทำให้บริเวณรอบๆนิ้วมือที่เกิดกระดูกนิ้วมือเคลื่อนมีอาการชา
หลังจากที่แพทย์ได้ทำการจัดกระดูกให้อยู่ในตำแหน่งเดิมเเล้ว แพทย์จะสั่งให้เอกซ์เรย์เพื่อตรวจสอบการจัดเรียงของกระดูกภายในข้อต่อ
การจำกัดการเคลื่อนไหว
หลังจากทำการจัดกระดูกให้อยู่ในตำแหน่งเดิมเเล้ว โดยปกติผู้ป่วยจำเป็นต้องใส่เฝือกเพื่อป้องกันและหยุดเคลื่อนไหวของนิ้วมือที่เกิดอาการบาดเจ็บในขณะรักษา โดยการใส่เฝือกประกอบไปด้วยโลหะที่ใช้ดามกระดูกที่หักหรือกระดูกที่เคลื่อน การจำกัดการเคลื่อนไหวเป็นการลดการเคลื่อนไหวนิ้วมือและป้องกันการเกิดภาวะกระดูกนิ้วมือเคลื่อนหรืออาการบาดเจ็บซ้ำ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจเเนะนำให้ใช้ “บัดดี้เทป” ที่บริเวณที่นิ้วมือที่ใส่เฝือกเพื่อมัดติดกับนิ้วอีกข้างหนึ่งที่ปกติ บัดดี้เทปช่วยพยุงนิ้วที่เกิดอาการบาดเจ็บเพื่อช่วยให้สามารถขยับนิ้วได้มากขึ้น
ผู้ที่มีอาการกระดูกนิ้วมือเคลื่อนจำเป็นต้องสวมใส่เฝือกหลายสัปดาห์ อย่างไรก็ตามการใส่เฝือกเป็นเวลานานเกินไปอาจทำให้ข้อนิ้วมือฝืดเเละสามารถขยับนิ้วมือได้น้อยลด
การใช้พวกลวดขึงยึดกระดูกเข้าหากัน (K-wire fixation)
ขึ้นอยู่กับลักษณะของกระดูกเคลื่อนและความรุนเเรงของอาการบาดเจ็บ นอกจากนี้ผู้ที่มีอาการกระดูกนิ้วมืออาจมีอาการกระดูกหักด้วย กระดูกหักเกิดขึ้นเมื่อมีเเรงจำนวนมากกระทบกับกระดูกทำให้กระดูกแตกออกเป็นสองส่วน
อาการกระดูกนิ้วมือหักจำเป็นต้องรักษาด้วยการจัดกระดูกเเละใส่เฝือก ซึ่งผู้ป่วยบางรายที่มีอาการกระดูกหักจำเป็นต้องรักษาด้วยการใช้ลวดขึงยัดกระดูกเข้าหากัน K-wire เป็นขดลวดบางขนาดเล็กที่ศัลย์แพทย์ใช้ปลูกฝังเพื่อช่วยรักษาความสมดุลของกระดูกที่หัก
การผ่าตัด
อาการกระดูกเคลื่อนได้แก่เส้นเอ็นฉีกขาดหรือกระดูกแตก ซึ่งจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดที่เรียกว่าการผ่าตัดเปิดแผลเพื่อจัดกระดูก
เช่นเดียวกับการรักษากระดูกนิ้วมือเคลื่อนวิธีอื่นๆ การผ่าตัดมีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาและรักษากระดูกนิ้วมือให้มั่นคงรวมถึงช่วยฟื้นฟูเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับโครงสร้างรอบๆนิ้วมือ
บทสรุป
ในขณะที่อาการบาดเจ็บและความกังวลใจเกี่ยวกับอาการกระดูกนิ้วมือเคลื่อนไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาทันที อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญคือการเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม
ผู้ที่มีอาการกระดูกนิ้วมือเคลื่อนไม่ควรจัดกระดูกด้วยตัวเอง เนื่องจากการจัดกระดูกสามารถทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติมที่บริเวณข้อต่อหรือโครงสร้างต่างๆรอบนิ้วมือ
โดยทั่วไปแล้วการรักษาอาการกระดูกนิ้วมือเคลื่อนใช้เวลารักษาเพียงไม่กี่สัปดาห์ แต่ถ้ามีกระดูกหักและมีความเสียหายที่บริเวณเนื้อเยื่อรอบๆอาจจำเป็นต้องใช้เวลารักษายาวนานมากขึ้น
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.healthline.com/health/dislocated-finger
- https://www.webmd.com/fitness-exercise/finger-dislocation
- https://www.physio.co.uk/what-we-treat/musculoskeletal/conditions/hand/dislocated-finger.php
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก