หัวไหล่หลุด (Dislocated Shoulder) คือ การบาดเจ็บที่ข้อไหล่หลุดออกจาก ไหล่เป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวได้มากที่สุดของร่างกาย ซึ่งทำให้ง่ายต่อการหลุด
หากคุณกำลังสงสัยว่าไหล่หลุดหรือไม่ ควรไปพบแพทย์ ส่วนมากแล้วผู้ป่วยจะสามารถใช้ไหล่ได้เหมือนเดิมในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม หากไหล่ของคุณหลุดแล้วครั้งนึง ข้อต่อของคุณอาจมีแนวโน้มที่จะหลุดอีกครั้ง
อาการไหล่หลุด
เหล่านี้เป็นสัญญาณและอาการของไหล่หลุด
-
ไหล่มีลักษณะบิดเบี้ยว
-
บวม หรือ ช้ำ
-
ปวดรุนแรง
-
ไม่สามารถเคลื่อนไหวไหล่ได้
ไหล่หลุดอาจทำให้รู้สึกชา อ่อนแรง หรือเหน็บใกล้ ๆ บริเวณที่บาดเจ็บได้ เช่น ที่คอ หรือที่แขน กล้ามเนื้อที่ไหล่อาจจะกระะตุกซึ่งทำให้เกิดความเจ็บปวดมากยิ่งขึ้นไปอีก
เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์
ควรพบแพทย์ทันทีเมื่อไหล่หลุด
ระหว่างที่รอเพื่อที่จะได้รับการรักษา ควรปฏิบัติตามสิ่งเหล่านี้:
-
อย่าเคลื่อนไหวข้อต่อ: ปล่อยให้ข้อต่อไหล่อยู่ในตำแหน่งที่มันอยู่ อย่าพยายามทำให้ข้อต่อกลับเข้าไปอยู่ที่เดิม เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายต่อ ข้อต่อไหล่ กล้ามเนื้อรอบ ๆ เอ็นยึด เส้นประสาท และหลอดเลือดต่าง ๆ
-
ใช้น้ำแข็งประคบ: ใช้น้ำแข็งประคบที่ไหล่จะช่วยลดอการปวดและอาการบวมโดยการควบคุมเลือดที่ออกภายในและของเหลวต่าง ๆ รอบ ๆ ข้อต่อ
สาเหตุไหล่หลุด
ข้อต่อไหล่คือข้อต่อที่หลุดบ่อยที่สุดในร่างกาย เพราะมันสามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง ทั้งไปข้างหน้า ข้างหลัง หรือ ข้างล่าง อย่างไรก็ตาม ไหล่หลุดมักเกิดการหลุดไปทางข้างหน้า ในส่วนเพิ่มเติม เนื้อเยื่อเส้นใยเชื่อมต่อกระดูกต่าง ๆ ที่ไหล่สามารถฉีกหรือขาดได้ ซึ่งมักทำให้อาการซับซ้อนขึ้น
ไหล่จะหลุดได้นั้น ต้องเกิดจากแรงกระทำที่รุนแรง เช่น การกระแทกอย่างกระทันหัน การหมุนแรง ๆ สามารถทำให้ข้อต่อไหล่หลุดออกจากเบ้าได้ ข้อต่อหลุดออกจากเบ้าบางส่วนก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน
ไหล่หลุดอาจเกิดขึ้นได้จาก:
-
การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ส่วนมากเกิดจากการเล่นกีฬา เช่น ฟุตบอล ฮอคกี้ และกีฬาอื่น ๆ ที่อาจเกิดการล้ม เช่น การเล่นสกีลงภูเขา ยิมนาสติก และ วอลเลย์บอล
-
การบาดเจ็บที่ไม่เกี่ยวกับการเล่นกีฬา: การกระแทกอย่างกระทันหันจากอุบัติเหตุจากยานพาหนะก็เป็นสาเตุของไหล่หลุดที่พบได้บ่อยเช่นกัน
-
การล้ม: การล้ม เช่น การตกจากบันได หรือ การลื่นจากการเหยียบพรมก็เป็นสาเหตุหนึ่งของไหล่หลุดได้ด้วย
การรักษาไหล่หลุด
การรักษาไหล่หลุดอาจมีดังนี้:
-
การจัดกระดูกให้เข้าที่โดยไม่ต้องผ่าตัด: แพทย์อาจพยายามค่อย ๆ จัดกระดูกให้กลับไปอยู่ในที่ ๆ เหมาะสม การที่จะให้ยาคลายกล้ามเนื้อ ยานอนหลับ หรือในเคสที่ไม่พบบ่อย คือ ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน ก่อนที่จะทำการจัดกระดูก๘ึ้นอยู่กับระดับของความเจ็บปวดและอาการบวม เมื่อแพทย์จัดกระดูกให้เข้าที่แล้ว อาการปวดที่รุนแรงนั้นควรจะหายไปในเกือบจะทันที
-
การผ่าตัด: ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดหากผู้ป่วยมีข้อต่อหรือเอ็นยึดที่อ่อนแอ และมีแนวโน้มที่จะกลับไปหลุดอีก ในเคสที่พบไม่บ่อยนัก ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเมื่อเส้นประสาทและหลอดเลือดถูกทำให้เสียหาย
-
การตรึงเอาไว้: แพทย์อาจใช้เฝือกหรือผ้าคล้องไหล่ที่หลุดไว้ไม่กี่วันจนถึงประมาณ 3 สัปดาห์เพื่อไม่ให้ไหล่ของผู้ป่วยเคลื่อนไหว ซึ่งจะนานแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่าไหล่หลุดแบบไหนและได้ใส่เฝือกเร็วแค่ไหน
-
ยา: แพทย์อาจจ่ายยาแก้ปวดหรือยาคลายกล้ามเนื้อให้ผู้ป่วยเพื่อให้รู้สึกดีขึ้นระหว่างการรักษา
-
การฟื้นฟูสมรรถภาพ: หลังจากที่เฝือกหรือสายคล้องได้ถูกนำออกไปแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับการฝึกเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ความแข็งแรง และความมั่นคงของข้อต่อไหล่
หากอาการไม่ได้รุนแรง ไม่มีความเสียหายของเส้นประสาทและเนื้อเยื่อ ข้อต่อไหล่จะดีขึ้นในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ แต่ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่ไหล่จะหลุดอีกในอนาคต ซึ่งการกลับไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ไวเกินไปอาจเป็นสาเหตุให้ไหล่หลุดอีก
การใช้ชีวิตและการดูแลรักษาที่บ้าน
สิ่งเหล่านี้จะช่วยบรรเทาความไม่สบายและทำให้อาการดีขึ้นหลังการรักษาไหล่หลุด
-
พักไหล่: ไม่ควรทำการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ไหล่หลุดซ้ำอีก และพยายามหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่จะทำให้เกิดอาการปวด ไม่ยกของหนัก และไม่หยิบของที่อยู่เหนือศีรษะจนกว่าไหล่จะดีขึ้น
-
ประคบเย็นและร้อน: การประคบด้วยน้ำแข็งจะช่วยลดการอักเสบและความเจ็บปวด ใช้ผ้าหรือถุงใส่น้ำแข็งแล้วประมาณ 15-20 นาทีต่อครั้ง ทำอย่างนี้ทุกสองชั่วโมงในวันแรกและวันที่ 2
หลังจาก 2 – 3 วัน เมื่อความปวดและการอักเสบบรรเทาลงแล้ว การประคบร้อนจะช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ตึงอยู่ ประคบร้อนประมาณ 20 นาทีต่อครั้ง
-
รับประทานยาแก้ปวด: ยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้ายนขายยาทั่วไป เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟ่น (Advil, Motrin IB และ อื่น ๆ) นาโพรเซน โซเดียม (Aleve) หรือ อะเซตามิโนเฟน (Tylenol และอื่น ๆ) อาจช่วยบรรเทาปวดได้ อ่านฉลากและทำตามคำแนะนำและหยุดยาเมื่อหายปวด
-
รักษาการเคลื่อนไหวไหล่: หลังจาก 1 หรือ 2 วัน ออกกำลังกายเบา ๆ ตามที่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์เพื่อช่วยให้หัวไหล่เคลื่อนไหวได้ตามปกติ หากไม่เคลื่อนไหวเลยจะทำให้หัวไหล่ติดและแทบจะเคลื่อนไหวไม่ได้
เมื่ออาการบาดเจ็บหายดีแล้ว และผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวไหล่ได้ดี ให้ออกกำลังกายต่อไป การยืดไหล่ การออกกำลังกายไหล่ จะช่วยให้ไม่เกิดไหล่หลุดอีก แพทย์จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยออกกำลังกายอย่งเหมาะสมได้
นี่แหล่งคือที่มาในบทความของเรา
-
https://www.webmd.com/fitness-exercise/dislocated-separated-shoulder
-
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17746-dislocated-shoulder
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก