เมื่อสุนัขกัด จะทำให้แบคทีเรียจากสัตว์เข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง อาจจะเป็นสาเหตุของการติดเชื้อได้
การล้างแผลให้สะอาดหลังจากโดนสุนัขกัด สามารถกำจัดแบคทีเรียออกจากร่างกาย และช่วยป้องกันการติดเชื้อ หากแบคทีเรียอยู่ในร่างกายอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ เช่นบาดทะยัก พิษสุนัขบ้า หรือภาวะติดเชื้ออื่นๆ
สำหรับผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง จากจำนวนสูงสุดในปี 2523 ที่มีผู้เสียชีวิต 370 ราย และลดลงจนในบางปีเหลือน้อยกว่า 10 รายต่อปี โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2557-2561) มีผู้เสียชีวิต 5, 5, 14, 11 และ 18 ราย ตามลำดับ ส่วนปี 2562 (ตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 ส.ค. 62) พบผู้เสียชีวิต 2 ราย ในจังหวัดสุรินทร์ และนครศรีธรรมราช จากข้อมูลพบว่าผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 90 ไม่ได้ไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา และผู้เสียชีวิตทั้งหมดไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างถูกต้อง สำหรับสถานการณ์โรคในคน (ข้อมูล ณ วันที่ 22 พ.ค. 62) มีจำนวนผู้สัมผัสโรคที่เข้ารับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เพิ่มจาก 294,749 ราย ในปี 2561 เป็น 550,481 ราย ในปี 2562
ในบางครั้งการติดเชื้อสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ หรือรับการฉีดวัคซีน เพื่อรักษาการติดเชื้อประเภทนี้
อาการของการติดเชื้อจากการโดนสุนัขกัด
อาการติดเชื้อจากหมากัด ประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้:
- แผลบวมและแดงรอบ ๆ
- ความเจ็บปวดบริเวณแผลนานกว่า 24 ชั่วโมง
- มีของเหลวไหลจากบาดแผล
- ลำบากในการเคลื่อนไหวในบริเวณที่โดนสุนัขกัด
- รู้สึกอุ่นรอบๆ แผล
สัญญาณที่บอกว่าการติดเชื้อแพร่ไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย:
- มีไข้
- สั่น
- เหงื่อออกตอนกลางคืน
การจัดการเมื่อถูกสุนัขกัด และป้องกันการติดเชื้อ
เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อจากสุนัขกัด ผู้ที่ถูกกัดควรล้างแผลโดยเร็วที่สุด โดยปกติแล้วเราสามารถรักษาบาดแผลเล็กน้อยได้โดย:
- ล้างแผลด้วยสบู่ และน้ำอุ่นทำความสะอาดบริเวณแผลให้สะอาด
- แช่แผลใต้น้ำอุ่น เพื่อล้างแบคทีเรีย
- ทาครีมยาาปฏิชีวนะที่แผล และทำความสะอาด รอบๆแผล
หากบาดแผลลึกและร้ายแรง ควรจัดการดังนี้
- กดผ้าแห้งสะอาดให้แน่นกับแผล เพื่อหยุดเลือด
- ไปพบแพทย์ทันที
- โทรหาศูนย์ช่วยเหลือฉุกเฉิน หากเลือดออกไม่หยุด หรือรู้สึกเป็นลม
ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ
การถูกสุนัขกัดที่มือ หรือเท้ามีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ การติดเชื้อบางอย่างจากการถูกสุนัขกัดอาจร้ายแรง และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้ และถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้
แบคทีเรีย Capnocytophaga
หากผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรีย Capnocytophaga จากสุนัขจะมีอาการดังต่อไปนี้:
- แผลมีการพุพอง
- รอยแดงบวมและอาการปวดรอบ ๆ แผล
- ของเหลวไหลออกจากบาดแผล
- ไข้
- อาเจียน
- ท้องร่วง
- ปวดหัว
- ปวดข้อ
อาการจะปรากฏภายใน 14 วันหลังจากถูกสุนัขกัด ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้แก่:
- การใช้แอลกอฮอล์มากเกินไป
- ม้ามไม่ทำงานตามปกติ
- ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
- มีการใช้ยาที่สามารถทำลายเซลล์ เช่น เคมีบำบัด
หากไม่ได้การรักษา แบคทีเรีย Capnocytophaga จะทำลายสุขภาพดังนี้:
- ไตวาย
- หัวใจล้มเหลว
- แผลเน่า
แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะรักษา กรณีที่ติดเชื้อแบคทีเรีย Capnocytophaga
ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ
การกัดของสุนัขหรือสัตว์ที่ไม่ได้รับการรักษาบางครั้งอาจทำให้ติดเชื้อได้ Sepsis หรือภาวะพิษเหตุติดเชื้อความผิดปกติที่รุนแรงจากการติดเชื้อ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต นี่คืออาการของ Sepsis :
- อุณหภูมิร่างกายสูงหรือต่ำกว่าปกติ
- มึนงง
- ง่วงนอนตอนกลางวันมาก
- ปวดอย่างรุนแรง หรือรู้สึกไม่สบายตัว
หากสงสัยว่าตนเองมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ควรรีบไปพบแพทย์ทันที แพทย์จะทำการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและของเหลวทางหลอดเลือดดำ
โรคพิษสุนัขบ้า
นี่คืออาการเบื้องต้นของผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้า:
- ปวดศีรษะ
- มีไข้และอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
- อ่อนเพลีย
- รู้สึกคันรอบๆ แผล
โรคพิษสุนัขบ้านั้นสามารถสร้างอันตรายถึงชีวิต หากผู้ที่ถูกกัดไม่ได้รับการรักษา ควรไปพบแพทย์ทันทีหากไม่แน่ใจว่าสุนัขที่กัดมีเชื้อพิษสุนัขบ้าหรือไม่ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังถูดกัด สามารถรักษาการติดเชื้อได้
โรคบาดทะยัก
โรคบาดทะยักสามารถเกิดได้จากการถูกสุนัขกัด โดยจะมีอาการดังต่อไปนี้:
- เป็นตะคริวที่ขากรรไกร
- กล้ามเนื้อกระตุกมักพบมากในกระเพาะอาหาร
- กลืนอาหารลำบาก
- กล้ามเนื้อตึง
บาดทะยักถือว่าเป็นเชื้อที่ร้ายแรง หากมีความเสี่ยงหรือมีอาการเป็นโรคบาดทะยักต้องไปพบแพทย์ทันที แพทย์จะทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักให้
การรักษาบาดแผลจากสุนัขกัด
ผู้ป่วยอาจรักษาตัวเองที่บ้าน ในการป้องกันบาดแผลจากสุนัขกัดไม่ให้ติดเชื้อ การทำความสะอาดบาดแผลเล็กน้อยในทันทีก็เพียงพอ อย่างไรก็ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ หากเป็นบาดแผลที่รุนแรง
แพทย์จะทำความสะอาดแผลด้วยน้ำจากเข็มฉีดยา และทายาให้ การทำเช่นนี้จะช่วยล้างแบคทีเรียออกจากแผล จากนั้นแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกาย
แพทย์จะสามารถตรวจดูบาดแผลเพิ่มเติม เพื่อดูว่ามีส่วนอื่นๆ เช่น เส้นประสาท หรือกระดูกได้รับความเสียหายหรือไม่
หากผู้ที่โดนกัดนั้นไม่ได้รับวัคซีนบาดทะยักในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับวัคซีนบาดทะยักด้วย
และอาจจะมีการฉีดอิมมูโนโกลบูลินเป็นการให้ภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคพิษสุนัขบ้าหลังโดนสัตว์กัด โดยอิมมูโนโกลบูลินสามารถทำลายเชื้อไวรัสบริเวณแผลได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังฉีด หากแพทย์พิจารณาฉีดอิมมูโนโกลบูลินร่วมกับการให้วัคซีน จำเป็นต้องฉีดอิมมูโนโกลบูลินโดยเร็วที่สุดและฉีดเพียงครั้งเดียว โดยฉีดบริเวณในและรอบบาดแผล ขนาดที่ให้ปรับตามน้ำหนักตัวของผู้ป่วย
อิมมูโนโกลบูลินที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 ชนิด แตกต่างกัน คือ
- อิมมูโนโกลบูลินที่ผลิตจากซีรั่มของมนุษย์ (Human rabies immunoglobulin: HRIG)
- อิมมูโนโกลบูลินที่ผลิตจากซีรั่มของม้า (Equine rabies immunoglobulin: ERIG) ก่อนการพิจารณาให้อิมมูโนโกลบูลินชนิดนี้ ต้องทดสอบการแพ้ทางผิวหนังก่อนทุกครั้ง เนื่องจากอาจมีผื่นคันหรือลมพิษขึ้นตามตัว ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงที่พบได้บ่อย
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://health.clevelandclinic.org/if-a-dog-bites-you-do-these-7-things-now
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/326976
- https://www.healthline.com/health/dog-bite-treatment
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก